ทฤษฎีข้าว อธิบายวัฒนธรรม (จีน-อินเดีย-เอเชีย)


แผนที่: ผลผลิตข้าวสาลี ปลูกมาก ในเขตอบอุ่น ใช้น้ำน้อย

แผนที่: ผลผลิตข้าวเจ้า ปลูกมาก ในเขตร้อน (มากกว่า เขตอบอุ่น) ใช้น้ำมาก

แผนที่: ทางเหนือของจีน ปลูกข้าวสาลีมาก, ทางใต้ของจีน ปลูกข้าวเจ้ามาก

เส้น A-B เป็น แนวแบ่ง อู่อารยธรรม "ข้าวสาลี-ข้าวเจ้า"

แผนที่: แสดงพื้นที่ปลูกข้าวเจ้า, จากขาว (0%) ไปจนถึงม่วงเข้ม (90%)

แผนที่: แสดงพื้นที่ปลูกข้าวสาลี (สีน้ำเงิน) - ข้าวเจ้า (สีแดง)

แผนที่อินเดีย มีรูปคล้าย 4 เหลี่ยมตะแคง หรือรูปว่าวลอยลม

....................................

มีส่วนยื่นไปทางตะวันออก คล้ายรูปหัวไก่

คอคอดอยู่ที่คอ (chicken neck) เป็น จุดอ่อนของอินเดีย

โดยเฉพาะ อยู่ใกล้ อรุณาจัลประเทศ ที่ตกลงเขตแดนกับจีนไม่ได้

.

หมู่เกาะทางตะวันออก (Andaman) อยู่ใกล้พม่า

เป็น จุดยุทธศาสตร์ ใกล้ปากทางเข้า-ออก ช่องแคบมะละกา

....................................

อู่ อารยธรรมอินเดีย น่าจะแบ่งได้เป็น

"2 ข้าว 2 วัฒนธรรม" คล้ายจีน

.

ในอาเซียน, แม้จะมีการปลูก

ทั้ง ข้าวเหนียว (ข้าวไร่ ใช้น้ำน้อย)

และ ข้าวเจ้า (ข้าวที่ลุ่ม ใช้น้ำมาก)

.

ทว่า... ความแตกต่างทางวัฒนธรรม

น่าจะไม่มากเท่า "ข้าวสาลี-ข้าวเจ้า"

....................................

คนอเมริกัน มีแนวโน้ม แห่ง ความเป็นปัจเจกชน (individualistic),

อิสระ นิยมวิเคราะห์ โดยใช้ "ความรู้" (เช่น สถิติ ฯลฯ)

และกล้าที่จะ "คิดต่าง" (ไม่เหมือน คนอื่นในกลุ่ม) มากกว่า

.

คนจีน มีแนวโน้ม แห่ง ความพึ่งพาอาศัย ซึ่งกันและกัน (interdependence)

รักวัฒนธรรม, ชอบ "คิดตาม"

และ "ทำตาม" หรือ "ให้ความร่วมมือ (cooperative)" กับ กลุ่มที่สังกัด

เช่น หมู่บ้าน-ตำบล-มณฑล สูงกว่า

....................................

อาจารย์โตมัส ทาวเฮม (Thomas Talhelm)

นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยมิชิแกน สหรัฐฯ

ทำการศึกษา จากลุ่มตัวอย่างนักศึกษาจีน 1,162 คน ทั่วประเทศ

ร่วมกับ มหาวิทยาลัยหลายแห่งในจีน พบว่า

.

"2 ข้าว เป็นเครื่องกำหนด 2 วัฒนธรรมจีน"

โดยมีแม่น้ำยังสี่ (Yangtze - แยงซีเกียง) เป็นเส้นแบ่ง แนวเหนือ-ใต้

....................................

อ.ทาวเฮล์ม พัฒนา "ทฤษฎีข้าว (rice theory)" หลังจากเข้าไปอยู่ในจีน 4 ปี

ปี 2007/2553 ท่านเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ ในโรงเรียนมัธยมศึกษา

ที่กวางโจว (Guangzhou) ทางใต้ (รัฐข้าวเจ้า)

.

ต่อมา ท่านย้ายไปสอนที่ ปักกิ่ง (รัฐข้าวสาลี)

ก่อน ทำงานเป็นนักข่าว

และ สังเกตว่า คนที่นั่นเป็นตัวของตัวเอง

ตรงไปตรงมา

และ ไม่ค่อยเกรงใจใครมาก แบบคนจีนทางใต้

....................................

ทางเหนือ ปลูก ข้าวสาลีมากกว่า

วัฒนธรรม คล้าย คนตะวันตกมากกว่า

.

ทางใต้ ปลูก ข้าวเจ้ามากกว่า

วัฒนธรรม คล้าย คนตะวันออก

เน้น ความเป็นคน "ของสังคม"

เช่น หมู่บ้าน-ตำบล-มณฑล มากกว่า

....................................

ความต่างนี้ รวมไปถึง การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ด้วย

คือ ชาวตะวันตก และ คนจีนทางเหนือ

มีแนวโน้มจะมีเพื่อน กลุ่มใหญ่กว่า

.

ส่วนคนจีนทางใต้ มีแนวโน้มจะมีเพื่อน กลุ่มเล็กกว่า

คล้าย กับ มีความเป็น "หมู่บ้าน-ตำบล" มากกว่า

....................................

พื้นฐานทางวัฒนธรรม มาจากการปลูกข้าว

เพราะ ข้าวสาลี ใช้น้ำน้อย

ต่างคนต่างปลูกได้

.

ทำให้ คนจีนทางเหนือ มีแนวโน้ม คือ

  • aggressive = ก้าวร้าว ชอบแข่งขัน เอาชนะ
  • independent = เป็นตัวของตัวเอง อิสระ มีความเป็นปัจเจกชน

....................................

ข้าวเจ้า ใช้น้ำมาก

ต้องหาแหล่งน้ำ ทำเขื่อน วิดน้ำเข้า วิดน้ำออก

ถ้าช่วยกันทำ เช่น "ลงแขก" มักจะเหนื่อยน้อยลง

ได้ผลผลิตมากขึ้น

.

ทำให้ คนจีนทางใต้ มีแนวโน้ม คือ

  • cooperative = ให้ความร่วมมือ กับกลุ่มที่สังกัด, มีความเป็น "ท้องถิ่นนิยม"
  • interdependent = พึ่งพาอาศัย ซึ่งกันและกัน

....................................

"ความจำเป็น (ต้องร่วมมือกัน)" ที่สืบทอดกันมานับร้อย นับพันปี

ค่อยๆ หล่อหลอม ให้ คนข้าวเจ้า (ทางใต้ของจีน)

ต่างจาก คนข้าวสาลี (ทางเหนือของจีน)

.

มีคำกล่าวว่า "ตะวันออกเป็นตะวันออก และ ตะวันตกเป็นตะวันตก"

= คนเอเชีย กับคนตะวันตก (ฝรั่ง) ไม่เหมือนกัน

ทว่า... การศึกษาใหม่บอกเป็นนัยว่า

"คนข้าวสาลี กับ คนข้าวเจ้า (มักจะ) ไม่เหมือนกัน"

....................................

ก่อนหน้านี้ มีการศึกษาพบว่า

คนในเขตอบอุ่น หรือ คนในเขตที่อากาศเย็นกว่า

มีแนวโน้มจะ ต้องเตรียมการก่อนเข้าฤดูหนาว

เช่น สะสมเสบียงอาหาร เชื้อเพลิง ฯลฯ

.

ทำให้ คนในเขตอบอุ่น พัฒนา อารยธรรมไปได้

ไกลกว่าคนในเขตร้อน

เรื่องเหล่านี้ คงจะทำให้เราเข้าใจ

คน "จีน-อินเดีย-เอเชีย" มากขึ้นได้เช่นกัน

.

ถึงตรงนี้... ขอให้ทุกๆ ท่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

........................................................

From > https://news.virginia.edu/content/rice-theory-explains-north-south-china-cultural-differences-study-shows

From > http://www.businessinsider.com/two-cultures-of-china-2014-5

Reference by BI > J Science.

.......................................................

หมายเลขบันทึก: 585825เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2015 23:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2015 23:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Interesting theory!

When I was young I was told stories about 2 lands one eats rice and fish, another eats wheat and chicken. I now wonder if these stories bear more truth than just 'bed times'.

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท