Website knowledge Management สำนักบริหารสาธารณสุขภูมิภาค


การจัดการความรู้ภายในองค์กรของสำนักบริหารสาธารณสุขภูมิภาค

         การจัดการความรู้ภายในองค์กรของสำนักบริหารสาธารณสุขภูมิภาค

    การจัดการความรู้และองค์กรแห่งการเรียนรู้เป็นเรื่องสำคัญ มีบทบาทในการทำงานในสมัยปัจจุบันต้องใช้องค์ความรู้ และการบริหารจัดการความรู้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

สำนักบริหารสาธารณสุขภูมิภาค เป็นหน่วยงานที่มุ่งมั่นในการพัฒนาองค์กรและวางแผนจัดหาทรัพยากรสาธารณสุขแก่หน่วยงานสาธารณสุขส่วนภูมิภาค ภายใต้ระบบการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพโดยบุคลากรที่มีศักยภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการของหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชนด้านสาธารณสุข ได้อย่างครอบคลุมและเหมาะสม ส่งผลให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนทั่วประเทศ หากองค์กรไม่นำหลักความรู้มาเป็นตัวกำหนด ก็ไม่สามารถกำหนดทิศทางหรือดำเนินการไปในทิศทางที่กำหนดได้ ฉะนั้น องค์กรมีนโยบายมุ่งเน้นให้บุคลากรในองค์กร เห็นความสำคัญและความจำเป็นเรื่องการบริหารจัดการความรู้ โดยนำบุคคลที่มีความรู้ความสามารถในองค์กร มาสร้างคุณ ประโยชน์ให้กับองค์กร หรือเชิญบุคคลที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญจากภายนอกที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพที่องค์กรที่รับผิดชอบ มาถ่ายทอดความรู้ / ให้ความรู้กับคนในองค์กร รวมทั้งการรวบรวมความรู้ที่มีอยู่ / ที่ได้รับ มาจัดระบบให้เป็นหมวดหมู่ ให้สามารถเข้าถึงข้อมูล ความรู้ได้ง่าย สะดวก / รวดเร็ว และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ความคาดหวังการบริหารจัดการความรู้ของบุคลากรในสำนักบริหารสาธารณสุขภูมิภาค ต้องการให้คนในองค์กร เห็นความสำคัญและความจำเป็นการบริหารจัดการความรู้ โดยนำความรู้ที่อยู่ในแต่ละบุคคล มาถ่ายทอดความรู้ให้กับคน ในองค์กร หรือถ่ายทอดความรู้ออกมาในรูปของสื่อ เอกสาร ข้อมูล นำมาจัดระบบข้อมูลความรู้ให้เป็นหมวดหมู่ ให้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ต่อการเข้าถึงข้อมูล และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เกิดการเรียนรู้ ประสบการณ์ใหม่ และพัฒนาองค์ความรู้ต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ( Key Success Factor)

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ( Key Success Factor) เพื่อให้ดำเนินการจัดการความรู้ตามเป้าหมาย KM
ที่เลือกทำ สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมภายในองค์กร คือ

1. บุคลากรบริหารจัดการเวลาของตนเอง
2. บุคลากรตระหนักและเห็นคุณค่าความจำเป็นในการทำผลงานทางวิชาการ
3. บุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมที่ให้ความรู้ในการจัดทำผลงานทางวิชาการ 

องค์ประกอบความสำเร็จในการทำงานใช้หลัก  4 ท. 

1. ทุ่มเทการทำงาน : ทุ่มเททั้งกำลังกาย กำลังใจ และกำลังปัญญา ถึงแม้จะท้อ แต่ไม่ถอย ถึงจะเหนื่อย แต่ไม่หน่าย มีปัญหาก็ต้องหาแนวทางแก้ไข

2. ทัศนะคติ : มีทัศนคติที่ดีต่อองค์กร รักงาน รักองค์กร ปรับทัศนคติให้ยอมรับ การเปลี่ยนแปลง

3. เทคโนโลยี : นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
4. ทะเยอทะยาน : ต้องอยู่บนพื้นฐานของเหตุและผล ของความเป็นไปได้ ( ทำให้มีการเรียนรู้ และ พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องหาแนวทาง วิธีการ ปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย และวัตถุประสงค์)
     ที่มา ==>  http://ict.moph.go.th/loops/course/view.php?id=14

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 58575เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2006 00:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 16:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท