นิทานสอนใจ


นิทานสอนให้ดิฉันเป็นคนดี ดิฉันจึงชอบอ่านนิทาน และสนใจนิทานทุกเรื่อง ดังเรื่องต่อไปนี้ ที่ดิฉันชอบ และสอนใจเป็นอย่างดี!!

เทพารักษ์กับคนตัดไม้

ชายตัดฟืนคนหนึ่ง...เข้าไปตัดฟืนในป่า เผอิญเขาทำขวานพลัดตกลงไปในสระน้ำ"โธ่...โธ่...โธ่...ฉันจะทำอย่างไรดี ว่ายน้ำก็ไม่เป็น"ชายตัดฟืนคร่ำครวญอยู่ริมสระ เพราะเขาไม่มีเครื่องมือทำมาหากินอีก

เทพารักษ์ที่อยู่ใกล้ๆ อดสงสารไม่ได้ จึงปรากฏกายให้เห็น แล้วเอื้อมมือลงไปในสระน้ำ คว้าขวานเล่มหนึ่งส่งให้คนตัดฟืน "โอ...ท่าน...นี่มันขวานทอง ไม่ใช่ขวานของข้าหรอก" ชายตัดฟืนไม่ยอมรับ เทพารักษ์จึงงมขวานขึ้นมาให้อีกเล่มหนึ่ง

"นี่ก็ไม่ใช่ขวานของข้า...ของข้าขวานเหล็กธรรมดาท่าน ไม่ใช่ขวานเงิน" "เจ้าเป็นคนซื่อสัตย์" เทพารักษ์พูด "คนอย่างเจ้าหายาก เอ้าข้าให้ขวานทองกับขวานเงินเจ้าเป็นรางวัลก็แล้วกัน" กล่าวเสร็จแล้ว เทพารักษ์ก็หายตัวไป

คนตัดฟืน นำขวานทองและขวานเงินเดินกลับบ้าน พบใครก็อวดให้ชมและเล่าว่าได้มาอย่างไร "เทวดาท่านดีใจมากเลย ข้านั่งร้องไห้อยู่ริมสระเดี๋ยวเดียวเท่านั้น ท่านก็มางมขวานให้ แล้วก็ให้ขวานทองขวานเงินแก่ข้าอีกด้วย"

เพื่อนบ้านคนหนึ่ง อยากได้บ้าง จึงเข้าไปในป่า ทำทีหาฟืน แล้วก็โยนขวานของตนทิ้งลงในน้ำ "ฮือ...ฮือ...ฮือ... คราวนี้ข้าหมดทางหากินแน่ ๆ " เทพารักษ์มางมขวานให้เช่นเคย "เอ้า ขวานทองเล่มนี้ของเจ้าใช่ไหม ? " "ใช่ ใช่แล้วท่าน ของข้าเอง" ชายโลภมากพูดอย่างยินดี "เจ้าคนโกงไม่น่าคบ " พูดแล้ว เทพารักษ์ก็หายวับไปกับขวานทอง และเพื่อนบ้านคนนั้นก็ไม่ได้รับขวานที่ตกลงไปในสระคืนอีกด้วย

ชาวนากับงูเห่า

ชาวนาเดินออกจากบ้านในฤดูหนาววันหนึ่ง

ระหว่างทางพบงูเห่าตัวหนึ่ง นอนตัวแข็งใกล้ตายอยู่บนคันนา ด้วยความเหน็บหนาว

ชาวนาเวทนามันมาก จึงก้มลงประคอง แล้วอุ้มมันไว้ในอ้อมแขนเพื่อให้มันหายหนาว

เมื่องูเห่าได้รับความอบอุ่นก็เริ่มมีกำลังมากขึ้น มันจึงกันชาวนา ก่อนที่จะเลี้อยหนีไป

ชาวนาทนพิษบาดแผลไม่ไหวก็สิ้นใจตายในเวลาต่อมา

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า "ทำคุณกับคนชั่ว มีแต่จะได้รับความเดือนร้อน

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า "โลภมากลาภหาย

เด็กเลี้ยงเเกะ

วันหนึ่งเด็กเลี้ยงเเกะคิดหาเรื่องสนุกๆ เล่น จึงเเกล้งร้องตะโกน ขึ้นมาว่า

"ช่วยด้วย! หมาป่ามากินลูกเเกะเเล้ว ช่วยด้วยจ้า ! "

พวกชาวบ้านจึงพากันวิ่งมาช่วยพร้อมด้วยอาวุธต่างๆ เเต่เมื่อมาถึงก็ไม่พบหมาป่าสักตัว

"มันวิ่งไปทางโน้นเเล้วล่ะ"

เด็กเลี้ยงเเกะโป้ปดเเล้วก็เเอบหัวเราะชอบใจภายหลัง

ต่อจากนั้นเด็กเลี้ยงเเกะก็เเกล้งหลอกให้ชาวบ้านวิ่งหน้าตื่น เช่นเดิมได้อีก ๒- ๓ ครั้ง

จนกระทั่งวันหนึ่งมีหมาป่ามาไล่กินเเกะจริงๆ คราวนี้เด็กเลี้ยงเเกะ ตะโกนขอความช่วยเหลือจนคอเเหบ คอเเห้ง พวกชาวบ้านก็ไม่มาเพราะคิดว่าเด็กหลอก

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า "คนที่มักโป้ปดมดเท็จ เมื่อถึงคราวพูดจริงก็ยากที่จะมีใครเชื่อ

คนขี้เหนียวกับทองคำ

ชายคนหนึ่งเป็นคนขี้เหนียว เขามักจะเอาสมบัติฝังดิน ไว้รอบๆ บ้านไม่ยอมนำมาใช้จ่ายให้เกิดประโยชน์

ต่อมาเขากลัวว่าจะไม่ปลอดภัยถ้าฝังเงินทอง ไว้หลาย เเห่ง เขาจึงขายสมบัติทั้งหมดเเล้วซื้อทองคำเเท่งหนึ่ง มาฝังไว้ที่หลังบ้าน เเล้วหมั่นไปดูทุกวัน

คนใช้ผู้หนึ่งสงสัยจึงเเอบตามไปดูที่หลังบ้าน เเล้วก็ขุด เอาทองเเท่งไปเสีย

ชายขี้เหนียวมาพบหลุมที่ว่างเปล่าในวันต่อมาก็เสียใจ ร้องห่มร้องไห้ไปบอกเพื่อนบ้านคนหนึ่ง

เพื่อนบ้านจึงเเนะนำประชดประชันว่า

"ท่านก็เอาก้อนอิฐใส่ในหลุมเเล้วคิดว่าเป็นทองคำสิ เพราะถึงอย่างไรท่านก็ไม่เอาเอามาใช้อยู่เเล้ว"

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า "ของมีค่า ถ้าไม่นำมาทำให้เกิดประโยชน์ก็ย่อมเป็นของไร้ค่า

นักโทษประหารกับมารดา

กาลครั้งหนึ่ง นานมาแล้ว มีเด็กคนหนึ่งขโมยหนังสือของเพื่อนกลับมาบ้านแม่ ของเขาเห็นแทนที่จะห้ามปรามและสั่งให้
นำไปคืนกลับกล่าวชมเชยว่าลูกของตนนั้น เก่ง ทำให้เด็กคนนั้น

ได้ใจลักเล็กขโมยน้อยของผู้อื่นนำมาให้แม่อยู่เรื่อยๆ แม่ของเขาก็แสดงความพอใจทุกครั้งครั้นโตเป็นหนุ่มเขาได้เข้าไป
ขโมยของที่บ้านหลังหนึ่งและฆ่าผู้เป็นเจ้าของบ้านตาย

เมื่อเจ้าหน้าที่บ้านเมืองจับตัวได้จึงถูกตัดสินให้ประหารชีวิตขณะที่กำลัง ถูกใส ่ขื่อคาพาแหประจานไปยังลานประหาร
ผู้เป็นแม่ทราบข่าวก็ร้องไห้ฟูมฟายตีอกชนตัววิ่งตามลูกของตนพร้อมกับคร่ำ ครวญว่า

"โธ่ลูกเอ๋ย ทำไมเจ้าถึงทำผิดคิดร้ายถึงเพียงนี้""แม่อย่าร้องไห้เลย" นักโทษผู้เป็นลูกชายกล่าวเสียงเย็นชา"ตอนที่ผมเป็นเด็กเที่ยว
ลักขโมยของผู้อื่น มาให้ ถ้าแม่ดุด่าสั่งสอนแทนที่จะชมเชยให้ท้าย วันนี้ผมจะต้องถูกประหารหรือ"

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า "กวัวให้ผูก รักลูกให้ตีอยากให้ลูกให้ดีต้องอบรมสั่งสอน

หมายเลขบันทึก: 585746เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2015 21:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2015 21:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท