บันทึกที่ 28 ภูมิปัญญาท้องถิ่น (การเลี้ยงปลา) (4/2/58)


ภูมิปัญญาท้องถิ่น (การเลี้ยงปลา) (4/2/58)

วันนี้ดิฉันพานักเรียนมาศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น เกี่ยวกับการเลี้ยงปลา เจ้าของภูมิปัญญาก็คือ คุณลุงมนูญ คุณยศยิ่ง

คุณลุงมนูญ คุณยศยิ่ง

คุณลุงยังเล่าให้ฟังอีกว่า การการเลี้ยงปลาในตอนแรกนั้นเริ่มจากการทำสวนในบริเวณสวนมีลำเหมืองไหลผ่านมีน้ำอุดมสมบูรณ์ตลอดปีจึงมีความคิดที่จะเลี้ยงปลาไว้เป็นอาหารภายในครอบครัวจึงไปปรึกษาจากประมงมหาวิทยาลัยแม่โจ้และได้ซื้อพันธุ์ปลามาเริ่มเลี้ยงจนมีปริมาณปลาจำนวนมากจึงนำไปจำหน่ายภายในหมู่บ้านกลายเป็นรายได้เสริมเป็นอย่างดี ปัจจุบันถือเป็นอาชีพหลักที่ทำรายได้ให้กับครอบครัว

ระหว่างนั้นคุณลุงก็พาพวกเรามากระชังปลาของคุณลุง และยังเล่าอีกว่าการเลี้ยงปลากระชังในบ่อดินจะทำให้ปลาโตเร็ว เนื่องจากในบ่อเดินจะได้รับสารอาหารจากธรรมชาติ เช่น แพลนตอน และลูกน้ำที่เป็นอาหารปลา

คุณลุงจะมีบ่อเลี้ยงปลาอยู่ 2 บ่อ และอีก 1 บ่อ เป็นบ่อพักน้ำเสีย โดยจะมีการหมุนเวียนน้ำ 3 บ่อ เพื่อให้น้ำในแต่ละบ่อมีออกซิเจนเพียงพอสำหรับปลา โดย 2 บ่อ จะเอาไว้ใช้เลี้ยงปลา และมี 1 บ่อไว้สำหรับพักน้ำจาก 2 บ่อ

บ่อที่ 1

บ่อที่ 2

บ่อที่ 3


กระชังปลาของคุณลุงมนูณ ตอนนี้มีปลาอยู่ ประมาท 15,000 ตัวค่ะ

หมายเลขบันทึก: 585742เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2015 21:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2015 22:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท