ลำเจียก
อาจารย์ ลำเจียก กำธร (อ.น้อง)

ผลงานวิชาการ : ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดการเรียนการสอน


ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดการเรียนการสอน

ผลงานการวิจัย

  • ลำเจียก กำธรและอรุณี ชุนหบดี. (2549). ค่านิยมทางเพศ พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดตรัง. ตรัง: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง.
  • ลำเจียก กำธรและอรุณี ชุนหบดี. (2550). สัมพันธภาพเชิงช่วยเหลือ ของอาจารย์พยาบาลในการศึกษา ภาคปฏิบัติทางคลินิกรายวิชา การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิตสำหรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาล  ศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง. ตรัง: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง.
  • กนกวรรณ  ศิลปกรรมพิเศษ,โสภิต  สุวรรณเวลา,จิราภรณ์ ชูวงศ์และลำเจียก  กำธร. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้หลักบริหารคุณภาพและรูปแบบความเชื่อด้านสุขภาพ กับความพึงพอใจในคุณภาพบริการของพยาบาลเวชปฏิบัติในการรักษาโรคเบื้องต้น การให้คำปรึกษา การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในพื้นที่สาธารณสุขเขต 7.ตรัง : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง.
  • ลำเจียก  กำธร.  (2554). ความผูกพันในครอบครัว  ความเชื่อที่ไร้เหตุ  และภาวะซึมเศร้าของ เด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอารมณ์เด็กและเยาวชน.วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 23(1), 15-26.
  • กนกวรรณ  ศิลปกรรมพิเศษ, ลำเจียก  กำธร. (2554). การศึกษาความยั่งยืนของโปรแกรมการฝึกพูดกับตัวเองทางบวก ต่อภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 21(2), 51-64.
  • ลำเจียก  กำธรและจิณัฐตา  ศุภศรี. (2554). พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดตรัง. ตรัง : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง.
  • ลำเจียก  กำธรและสุนทรีภรณ์  ทองไสย. (2554). ความเครียดและวิถีการปรับแก้ความเครียดใน  การฝึกภาคปฏิบัติทางคลินิกรายวิชา ปฎิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต  ของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่  3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง. ตรัง : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี ตรัง.
  • ลำเจียก  กำธรและจิณัฐตา  ศุภศรี. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของ  อาจารย์วิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข.รายงานวิจัย, ตรัง: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง.
  • ขวัญตา  บุญวาศ,ลำเจียก  กำธรและจิณัฐตา  ศุภศรี. (2555). ความสุขและปัจจัยที่มีผลต่อความสุขของ  ประชาชนจังหวัด ตรัง. ตรัง : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง.
  • ลำเจียก  กำธรและจิณัฐตา  ศุภศรี. (2555). ผลการรณรงค์ป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึง  ประสงค์ของวัยรุ่นในสถานศึกษาเขตจังหวัดตรังต่อค่านิยมเรื่องเพศ  พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ และการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรที่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์. ตรัง : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง.
  • ลำเจียก  กำธรและจิณัฐตา  ศุภศรี. (2556) .ปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ม่พึงประสงค์ของวัยรุ่นในจังหวัดตรัง.ตรัง : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง.
  • ลำเจียก  กำธร. (2556). ผลการสำรวจคุณลักษณะของบัณฑิตพยาบาลที่พึงประสงค์  ตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต ปีการศึกษา 2555 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง. ตรัง : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง.
  • ลำเจียก  กำธร และจิณัฐตา  ศุภศรี. (2555. (ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงาน ของอาจารย์วิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. ตรัง: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง.
  • ลำเจียก  กำธรและจิณัฐตา  ศุภศรี. (2556(. การสังเคราะห์งานวิจัยด้านการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพของประเทศไทยปี พ..2548-2555. ตรัง : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง.
  • ฐาปนีย์  อัครสุวรรณกุล และลำเจียก  กำธร. (2557). ผลการสำรวจคุณลักษณะของบัณฑิตพยาบาลที่พึงประสงค์ตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต ปีการศึกษา 2556 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง . ตรัง : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง.
  • ลำเจียก  กำธรและจิณัฐตา  ศุภศรี. (2557 .(สุขภาพจิตและการสร้างเสริมสุขภาพจิตโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของผู้สูงอายุในเทศบาลนครตรัง จังหวัดตรัง.ตรัง : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง.
  • ลำเจียก  กำธร โสภิต สุวรรณเวลา และจิณัฐตา  ศุภศรี. (2558).  พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง.ตรัง: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง.
  • ลำเจียก  กำธร, จิณัฐตา ศุภศรี และฐาปนีย์  อัครสุวรรณกุล. (2558.( การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาลในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต. ตรัง : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง.
  • ลำเจียก  กำธร,จิณัฐตา  ศุภศรีและฐาปนีย์  อัครสุวรรณกุล. (2558).  การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาลในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต. ตรัง : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง.
  • ขวัญตา บุญวาศ,ลำเจียก  กำธร และจิณัฐตา ศุภศรี. (2559).  การพัฒนาอาจารย์ในการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด ของวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขเครือข่ายภาคใต้ สถาบันพระบรมราชชนก. ตรัง : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง.
  • ลำเจียก  กำธร .(2555). บทความวิชาการ “วัยรุ่น…วัยวุ่นกับปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม…ป้องกันอย่างไรHow to prevent unwanted teenage pregnancy? .วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ. 30 (3), 97-105
  • ลำเจียก  กำธร จิณัฐตา  ศุภศรี และ ฐาปนี  อัครสุวรรณกุล (2559). บทความวิจัย “การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาลในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต” วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 4 (1), 15-27
  • ลำเจียก  กำธร และจิณัฐตา  ศุภศรี. ((2558). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังที่บ้าน. ตรัง : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง.  
  • ลำเจียก  กำธร. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง. ตรัง : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง.  
  • ลำเจียก  กำธร และจิณัฐตา  ศุภศรี. (2557). “สุขภาพจิตและการสร้างเสริมสุขภาพจิตโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของผู้สูงอายุในเทศบาลนครตรัง จังหวัดตรัง”.วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. 10 (1), 55-62
  • ดวงวิภรณ์  พ่วงรอดและลำเจียก  กำธร. (2559).ภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นหายได้ด้วยการพูดกับตัวเองทางบวก. วารสารกองการพยาบาล. 43 (3) พิเศษ, 182-190
  • ลำเจียก กำธร และจิณัฐตา ศุภศรี. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในสถาบันการศึกษากับความสุขในการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง. ตรัง : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง.  
  • ลำเจียก กำธร. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมกับทักษะชีวิตของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง. ตรัง : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง.  
  • ลำเจียก  กำธร และสุริยา  ยอดทอง. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่าง สภาพแวดล้อมในสถาบันการศึกษา ความสุขในการเรียนรู้กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง. ตรัง : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง.
  • ลำเจียก  กำธร และจิณัฐตา ศุภศรี. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมกับทักษะชีวิตของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง. ตรัง : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง.   

ผลงานตำรา

  • ลำเจียก  กำธร, สุริยา  ยอดทอง และจิณัฐตา  ศุภศรี. (2555). ตำรา สุขภาพจิตและการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต. ตรัง: อักษรทอง   
  • ลำเจียก  กำธร และจำเริญ  จิตรหลัง. (2559). ตำรา จิตวิทยาพัฒนาการของมนุษย์. ตรัง: อักษรทอง

ผลงานวิชาการ : ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดการเรียนการสอน

ความภาคภูมิใจและผลลัพธ์ที่ได้ในการเรียนการสอนอีกด้านคือวิจัยและตำรารวมทั้งการได้ตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการ ดิฉันภูมิใจที่มีผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่องในแต่ละปีและได้เชื่อมโยงงานทั้ง 3 พันธกิจเข้าด้วยกัน คือการจัดการเรียนการสอน การบริการวิชาการ และการการทำวิจัย

โดยเริ่มจากคำถามหรือโจทย์ปัญหาด้านการบริการวิชาการ เช่น การเพิ่มจำนวนการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่นในจังหวัดตรัง กำหนดในหัวข้อการสอนนักศึกษารายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต และนำผลที่ได้จากกระบวนการให้บริการวิชาการ ในการรณรงค์ป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่นในสถานศึกษาภายใต้ชื่อโครงการ "Up To Me" นำมาสู่การทำวิจัย ซึ่งกระบวนการวิจัยคือทางออกสำคัญในการช่วยค้นหาความรู้ใหม่อย่างเป็นระบบ เพื่อนำผลลัพธ์ที่ได้จากงานวิจัยไปพัฒนาต่อยอดงานบริการวิชาการต่อไป โดยดำเนินการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ 2554 – 2456 เป็นระยะเวลา 3 ปี เมื่อกระบวนการส่งต่อความรู้ดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องถึงแม้จะยังไม่บรรลุเป้าหมายของการทำงานทั้งหมดก็ตาม ได้นำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาพยาบาลในรายวิชาทฤษฎีและได้ผลิตตำราเรื่องสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษา

จากการเชื่อมโยงการทำวิจัย การบริการวิชาการ และการเรียนการสอนเข้าด้วยกันทำให้มีการสร้างสรรค์ ประเภทบทความทางการวิจัยและวิชาการ ตีพิมพ์เผยแพร่ เช่น เรื่อง ผลความยั่งยืนของโปรแกรมการฝึกพูดกับตัวเองทางบวก ต่อภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง เผยแพร่ทางวารสารสมาคมพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งปีที่ดำเนินการวิจัยนั้น มีนักศึกษาตามโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่ม ซึ่งเป็นนักศึกษาที่มาจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งนักศึกษากลุ่มหนึ่งมีภาวะซึมเศร้า ที่เกิดจากการเผชิญภาวะวิกฤตในชีวิต และสถานการณ์ที่ไม่พึ่งประสงค์ เช่น การสูญเสียบุคคลที่รัก ในการทำวิจัยซึ่งเป็นการใช้โปรแกรมทำกลุ่มบำบัดกับนักศึกษา ทำให้รับรู้และเข้าใจความทุกข์ของนักศึกษา จึงสามารถช่วยเหลือนักศึกษาทีมีภาวะซึมเศร้าได้ นั่นคือสิ่งที่ภูมิใจที่สุด

จากองค์ความรู้ดังกล่าว นำไปสู่การจัดทำคู่มือการให้การปรึกษา ตามแนวทางของการพูดทางบวก และมีโอกาสได้นำเสนอผลงานวิจัยเรื่องดังกล่าวในเวทีวิจัยนานาชาติที่ประเทศสเปน สำหรับผลงานวิจัยเรื่อง ความผูกพันในครอบครัวความเชื่อที่ไร้เหตุผลและภาวะซึมเศร้าของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนเผยแพร่ทางวารสารพระปกเกล้าจันทบุรี และบทความวิชาการเรื่อง "วัยรุ่น…วัยวุ่นกับปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม…ป้องกันอย่างไร" เผยแพร่ทางวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีกรุงเทพ

หมายเลขบันทึก: 585713เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2015 15:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มกราคม 2018 22:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ตามมาเชียร์เลยครับ

อาจารย์น้องมีผลงานเยอะเลยนะครับ

ผมเอามาฝากด้วย

บางเล่ม download ได้นะครับ

https://www.gotoknow.org/user/khajitfoythong/profi...


ขอบคุณค่ะท่านวิทยากรที่ใจดีมาก ๆ สอนแล้วยังเชียร์ลูกศิษย์อีกค่ะ ดีใจมากเลยที่มีพื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ และขอบคุณสำหรับแหล่งข้อมูลนะค่ะ

มีผลงานเยอะ น่าภูมิใจมากค่ะ

ขอบคุณมากค่ะคุณ nui ยังต้องทำและเรียนรู้อีกเยอะ ขอบคุณสำหรับกำลังใจนะค่ะ ฝากตัวด้วยค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท