อิทธิปาฏิหาริย์ไม่มีอยู่จริง


ผมมีหลักคิดอยู่อย่างหนึ่ง ซึ่งผมคิดว่า "เป็นจริง" คือ พระถ้าไม่เชื่อพระไตรปิฎกก็ควรจะสึกไปทำมาหากินเอง ไม่ควรเป็นพระให้เปลืองข้าวสุกประชาชน

เพราะการที่พุทธศาสิกชนตักบาตรให้ ถวายเงินให้ใช้ ให้ความเคารพนับถือนั้น พุทธศาสนิกชนเชื่อว่า "พระเหล่านั้นเชื่อถือพระไตรปิฎก"

อย่างไรก็ดี มีพระภิกษุเป็นจำนวนมากเลย ส่วนหนึ่งมีชื่อเสียง เป็นที่นับหน้าถือตาในสังคมไทยปัจจุบันนี้ด้วย ที่ไม่เชื่อพระไตรปิฎก แต่ไปเชื่อวิทยาศาสตร์

ขอยกตัวอย่างเรื่อง "อิทธิปาฏิหาริย์" ในพระไตรปิฎก

ในพระไตรปิฎกนั้น มีเรื่องที่เป็น "อิทธิปาฏิหาริย์" เต็มไปหมด ขอยกตัวอย่างเรื่อง พระพุทธเจ้าทรงสอนพุทธศาสนิกชน

พระไตรปิฎกเขียนไว้ชัดเจนว่า ไม่ว่าจะมีพุทธศาสนิกชนมาฟังกี่พัน กี่หมื่นคน คนทั้งหลายก็จะได้ยินพระสุรเสียงของพระพุทธองค์เท่ากัน เหมือนพระพุทธองค์ทรงเทศน์ต่อหน้าเลย

สมัยนั้น ไม่มีเครื่องขยายเสียงเหมือนสมัยนี้ ดังนี้ การที่พระสุรเสียงของพระพุทธองค์ไปถึงผู้ที่ฟังอยู่ทั้งหมด เหมือนพูดต่อหน้าเลยนั้น ต้องเป็น "อิทธิปาฏิหาริย์" แน่ๆ

ในพระไตรปิฎกนั้น ถ้าตัดเอาเรื่อง "อิทธิปาฏิหาริย์" และที่เกี่ยวข้องออกไป สงสัยจะเหลือเพียงไม่กี่หน้ากระดาษ

มีพระรูปหนึ่ง กล้าประกาศและเขียนหนังสือออกมาว่า

...........................

ความเป็นไปได้ที่ประหลาดน่าเหลือเชื่อ ดูเป็นอิทธิปาฏิหาริย์ หรืออัศจรรย์ใดๆ ก็ตาม ย่อมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น และเป็นไปตามเหตุปัจจัยทั้งสิ้น แต่ในกรณีที่เหตุปัจจัยในเรื่องนั้นสลับซับซ้อน และยังไม่ถูกรู้เท่าทัน

เรื่องนั้นก็กลายเป็นเรื่องประหลาดอัศจรรย์ แต่ความประหลายอัศจรรย์จะหมดไปทันที เมื่อเหตุปัจจัยต่างๆ ในเรื่องนั้น ถูกรู้เท่าทันหมดสิ้น

ดังนั้น คำว่าสิ่งเหนือหรือนอกเหนือธรรมชาติ ตามที่กล่าวมาแล้ว จึงเป็นเพียงสำนวนภาษาเท่านั้น ไม่มีอยู่จริง

..................................

กล่าวคือ "อิทธิปาฏิหาริย์" ไม่มีจริง พระรูปนี้ยังกล่าวในที่อื่นอีกว่า "นรก-สวรรค์ไม่มีจริง" แต่พระรูปนี้ก็ยังคงเป็นพระต่อมา ไม่สึกออกไป ยังคงอาศัยศาสนามาเรื่อยๆ

ผมจึงสงสัยว่า "ในเมื่อไม่เชื่อพระไตรปิฎก ทำไมไม่สึกออกไปเลี้ยงตัวเอง"

สนใจเรื่องดังกล่าวก็ไปอ่านได้ http://phraprayut.blogspot.com/2011/08/blog-post_05.html

บทความอื่นๆ ไปอ่านที่ www.manaskomoltha.net

หมายเลขบันทึก: 585617เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2015 13:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2015 13:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท