การเขียนเอกสารและรายงานวิจัยที่เกี่ยวข้องหรือการทบทวนวรรณกรรม


การเขียนเอกสารและรายงานวิจัยที่เกี่ยวข้องหรือการทบทวนวรรณกรรม

อาจารย์ สุภัชชา พันเลิศพาณิชย์

บางสถาบันก็ใช้ชื่อว่า การเขียนเอกสารและรายงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แต่บางสถาบันก็ใช้ชื่อการทบทวนวรรณกรรมเป็นเรื่องของการสืบค้นข้อมูลเดิมเพื่อมาสนับสนุนแนวคิดในงานวิจัยที่เราทำอยู่ต้องหาข้อมูลให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้โดยเฉพาะ แนวคิด ทฤษฎีและผลการวิจัยใหม่ๆไม่ควรเกิน๕ปี มีความทันสมัย ครบถ้วน สมบูรณ์ในเนื้อหาซึ่งผู้ทำการวิจัยต้องนำมาเขียนเรียบเรียงใหม่ตามแนวทางความถนัดแต่ละคนที่ต้องเรียบเรียง อย่างมีระบบ ระเบียบ มีเหตุผลและต้องอยู่ในขอบเขตเนื้อหา สาระ ขั้นตอน และมีประโยชน์กับเรื่องการทบทวนวรรณกรรม มี การสำรวจและการประเมินเอกสารถึงความเที่ยงและตรงของที่มาของข้อมูล ผ่านการอ่าน คิด วิเคราะห์ จดบันทึกและนำมาเขียนผลการทบทวนซึ่งในการเขียนไม่มีรูปแบบตายตัวเพราะว่าขึ้นอยู่กับวิธีเขียน ความเชี่ยวชาญในการนำเสนอที่มี ทั้ง เนื้อหา บุคคลและ สถานที่ ของเรื่องที่ทำวิจัยอยู่เป็นหลักซึ่งสำหรับเนื้อหาสาระที่ต้องทบทวนต้องมีทั้ง สถานการณ์ที่เป็นปัญหา แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องการการวิจัย วิธีการทำ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเครื่องมือการวิจัย และผลที่ได้ แนวทางในการใช้ข้อมูล สถิติที่ใช้ รวมไปถึงรูปแบบและลีลาการเขียนรายงาน แต่ไม่ใช้ยกมาทั้งหมดแต่ควรเลือกเนื้อหาที่ตรงกับวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนั้นนักวิจัยจึงต้องมีการวางแผนเป็นขั้นตอนว่าจะทบทวนเอกสารและรายงานวิจัยที่เกี่ยวข้องอย่างไรบ้างที่จะทำให้ไม่เสียเวลาและได้ข้อมูลที่ไม่มีคุณภาพ

ขั้นตอนการทบทวนวรรณกรรม

๑.ต้องสำรวจแหล่งที่อยู่ของข้อมูล ที่มีเนื้อหาที่ต้องการ อยู่ใน ตำรา หนังสือ เอกสารประเภทใด อยู่ที่ไหน ใช้วิธีสืบค้นอย่างไร

๒.ประเมินคุณค่าเอกสาร ข้อมูล เนื้อหา มีความน่าเชื่อถือ ทันสมัยไม่เกิน๕ปี รูปแบบการเขียน ความน่าเชื่อถือของผู้เขียน ความถูกต้อง แหล่งที่มาแบบปฐมภูมิว่ามาจากผู้เขียนโดยตรงที่มีความน่าเชื่อถือมากกว่าแหล่งทุติยภูมิที่มิใช่จากผู้เขียนโดยตรง วิธีการเขียนมีแหล่งอ้างอิงน่าเชื่อถือมีการจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ที่มีคุณภาพมาตรฐาน(หน้า๑๑๒-๑๑๔)

๓.กำหนดจุดมุ่งหมายในการอ่านให้แน่ชัด อ่านอย่างสำรวจแบบกว้างๆเพื่อให้รู้โครงสร้างและเนื้อหาโดยสรุปโดยอาจจะอ่านจากสารบัญ เนื้อหา คำนำ คำสรุป ย่อหน้าแรกของแต่ละบทหรือสรุปท้ายบทอย่างรวดเร็วแล้วค่อย อ่านจับใจความสำคัญตามขั้นตอนเนื้อหาซึ่งอาจตั้งเป็นประเด็นว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน ทำไมถึงทำแล้วทำเพราะอะไร มีวิธีการนำไปใช้ในขั้นตอนไหนในการทำวิจัย รวบรวบคำตอบมาเรียบเรียงเขียนให้เหมาะสมตามลำดับของเนื้อหา วิเคราะห์คำ วิเคราะห์ประโยคถึงความชัดเจน ถูกต้อง ไม่เขียนวนไปวนมา วิเคราะห์ทรรศนะผู้เขียนว่าเมื่ออ่านแล้วเรารู้สึกขัดแย้งหรือคล้อยตามแล้วตีความหมายข้อความทั้งหมดอย่างละเอียดมีเหตุผลประมวลเข้ากับความรู้เดิมที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยที่เรามีตัดสินการใช้ข้อมูลจากการยึดหลึกเหตุผลเป็นสิ่งสำคัญเมื่อจับใจความได้แล้วต้องมานำมาขยายความอธิบายเพิ่มเติมอย่างละเอียดโดยการยกตัวอย่างประกอบหรือมีการอ้างอิงจากนั้นสรุปใจความแยกส่วนที่สำคัญและไม่สำคัญออกจากกัน เรียงลำดับสิ่งไหนคือประเด็นหลักสิ่งไหนคือประเด็นรองและส่วนใดควรขยายเพิ่มเติม(หน้า๑๑๕-๑๑๗)

๔.เมื่ออ่านแล้วต้องลงมือจดบันทึก ตามวิธีความถนัดของผู้วิจัยแต่ละคน แต่สิ่งที่ควรทำคือ การจัดลำดับเรียงความสำคัญ จัดหัวข้อประเด็นๆหลักแล้วค่อยแยกหัวข้อย่อยโดยทำความเข้าใจ ตามขั้นตอนอย่างละเอียด รอบคอบ มีข้อมูลไว้สำหรับการเขียนและการอ้างอิงครบถ้วนสมบูรณ์ควรจดบันทึกข้อมูลในบัตรสำหรับบันทึกที่มีขนาดความกว้าง๓คูณ๕หรือ๔คูณ๖ นิ้ว เพราะข้อมูลที่บันทึกต้องนำไปจัดทำโครงเรื่องสำหรับการเขียนรายงานต่อไปได้อย่างสะดวก ครบถ้วน ถูกต้อง ดังนั้นก่อนบันทึกควรมีบัตร๓ประเภท คือ๑.บัตรบรรณานุกรม(Bibliography Cary)บัตรนี้ใช้บันทึกแหล่งอ้างอิงเนื้อหาที่อ่านและบันทึกเนื้อหาไว้๒.บัตรข้อมูล(Information Card)ใช้บันทึกเนื้อหาที่คัดลอกสรุปและถอดความจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง๓.บัตรความเห็น(Opinion Card)ใช้บันทึกความคิดเห็นต่างๆที่เกิดขึ้นขณะอ่านเนื้อหาซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องกับการวิจัยก็เป็นได้ เช่น บันทึกว่าต้องกลับมาอ่านอีก บันทึกว่าควรเพิ่มเติมส่วนไหนหรือส่วนไหนควรตัดออกและวิจารณ์เนื้อหาตามข้อเท็จจริง

๑.บัตรบรรณานุกรม(Bibliography Cary) มีข้อมูลที่ควรบันทึก ดังนี้

๑.๑ ชื่อผู้เขียน

๑.๒.ชื่อหนังสือ ชื่อบทความ

๑.๓. สถานที่พิมพ์

๑.๔ สำนักพิมพ์

๑.๕ ปีพิมพ์

๑.๖ ปีที่(สำหรับวารสาร)

๑.๗ จำนวนหน้าและหน้าอ้าง

๑.๘ เลขเรียกหนังสือ(Call Number)

บัตรบรรณานุกรม(Bibliography Cary)แต่ละใบควรมีหลายเลขบัตรกำกับไว้ส่วนบนขวามือเพื่อความสะดวกในการจัดเรียงและอ้างถึง(หน้า๑๑๗-๑๑๙)

ประโยชน์ของการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องหรือการทบทวนวรรณกรรม

๑.ทำให้ไม่ทำงานวิจัยซ้ำกับคนอื่น

๒.เป็นแนวทางในการกำหนดปัญหาการวิจัย กำหนดรูปแบบและวิธีการทำวิจัย

๓.ช่วยให้ตั้งสมมุติฐานการวิจัยได้อย่างถูกต้อง

๔.สามารถวิเคราะห์ข้อมูลและเลือกใช้สถิติอย่างเหมาะสม

๕.เป็นแนวทางวิธีการฝึกการเขียนรายงานวิจัยและการอภิปรายผล

(หน้า๑o๕-๑o๙)

หลักการเขียนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

๑.เลียนแบบ(Adapting)ดูตัวอย่างจากคนอื่นแล้วนำมาเขียนตามสำนวน ลีลา ภาษาแบบตนเอง

๒.ขยาย(Maximizing)นำเนื้อหาผู้อื่นมาขยายเพิ่มเติม เพิ่มเนื้อหา ยกตัวอย่างประกอบให้มีความสมบูรณ์ มีรายละเอียด ชัดเจน ยิ่งขึ้น

๓.ย่อ(Minimizing) สรุปย่อ เนื้อหาด้วยสำนวนตนเอง

๔.ปรับ(Modifying)ปรับเนื้อหาสาระให้สอดคล้องกับประเด็นที่เราต้องการศึกษา

๕.กลับ สลับกัน(Reversing)นำเนื้อหามาเขียนกลับ สลับที่กัน แต่ต้องเขียนเรียบเรียงใหม่ให้ข้อความผสมกลมกลืนเป็นเนื้อหาหรือข้อความเดียวกัน

๖.เรียบเรียงใหม่(Rearranging)นำเอหามาเขียนเรียบเรียงใหม่ด้วยภาษาแบบฉบับตนเอง

๗.แก้ไข ดัดแปลง(Revising)นำแนวคิด หลักการ เนื้อหามาแก้ไข ดัดแปลงให้เป็นแนวคิดและหลักการใหม่

๘.จัดโครงสร้างใหม่(Re-Organizing)เรียบเรียงจัดโครงสร้างใหม่ให้ต่างจากเดิม

๙.แทน(Substituting)ใช้คำอื่นแทนทำให้ได้เนื้อหาสระใหม่

(หน้า๑๒๙-๑๓o)

ข้อควรระวังในการเขียนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องคือต้องดูการจัดลำดับความสำคัญหัวข้ออย่างเป็นระบบ และต้องระวังหัวข้อกับเนื้อหาไม่สอดคล้องกัน ขาดความผสมกลมกลืน ขาดความต่อเนื่องในการปรับปรุงเนื้อหา มีการอ้างอิงไม่ถูกต้องและคัดลอกข้อมูล ตัวเลข ทศนิยม ศัพท์ทางเทคนิค ชื่อศัพท์เฉพาะผิด(หน้า๑๓o)

ขอบพระคุณแหล่งที่มาคะ

(ศ.บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ คู่มือการวิจัย การเขียนรายงานการวิจัยและวิทยานิพนธ์ ฉบับปรับปรุงครั้งที่๑o โรงพิมพ์เรือนแก้ว ๒๕๕๓)

หมายเลขบันทึก: 585615เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2015 13:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2015 13:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท