หลักสูตรการบริหารจัดการนโยบาย วทน. STI Policy Management Program : PMP


อุปสรรคในการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศเปรูเกิดจาก "I" (ตัวอักษร "ไอ") 3 ตัว ดังนี้ Indifference (ความเฉยเมย) ประชาชนไม่สนใจและไม่รู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ Ignore (ความละเลย) คือ เมื่อประชาชนเริ่มตระหนัก แต่ก็ไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร และ Incompetence (การไม่มีความสามารถ) คือ เมื่อประชาชนทราบว่าจะต้องทำอย่างไร แต่ก็ไม่สามารถทำได้เพราะขาดความ .....

ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมอบรมในหลักสูตรการบริหารจัดการนโยบาย วทน. ภาคอีสานตอนบน ในระหว่างวันที่ 21 มค.-27 กพ.58 ที่ สวทน. เป็นผู้จัด เพื่อให้ความรู้ด้านการจัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์ วทน. สู่จังหวัด ท้องถิ่น

ผมจึงจะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ พร้อมเอกสารการนำเสนอของท่านวิทยากรต่าง ๆ มาแชร์ให้ทุกท่านได้ รับรู้ รับทราบการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น และเพื่อสร้่างสังคมฐาน วทน. เพื่ออนาคตของชุมชน ท้องถิ่น และของประเทศต่อไป

ก่อนอื่นผมขอยกคำกล่าวของ Francisco Sagasti ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจแสดงความคิดเห็นในการหารือ ระดับนานาชาติที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนา เขาเป็นชาวเมืองลิมา ประเทศเปรู งานของเขา คือ ให้คำ ปรึกษาเกี่ยวกับการจัดลำดับความสำคัญด้านวิทยาศาสตร์และการ พัฒนาในประเทศในกลุ่มลาตินอเมริกาและประเทศที่กำลังพัฒนาอื่นๆ

คำถามหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาที่เขามักจะได้ยิน คือ ประเด็นเรื่องช่องว่างทางความรู้ระหว่างประเทศที่ร่ำรวยและประเทศที่ยากจน ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่เกิดขึ้นในหลายๆ วงการและมีผลกระทบต่อการพัฒนา เทคโนโลยีใหม่ๆ ในประเทศที่ยากจน มีนักวิทยาศาสตร์เพียงไม่กี่คนที่ สามารถอ่านและสามารถแปลผลจากการทดลองเรียงลำดับของ ยีน มีผู้เชี่ยวชาญไม่กี่คนที่สามารถเข้าใจวิธีการผลิตเซลล์ พลังงานแสงอาทิตย์ การประยุกต์ใช้ การบำรุงรักษา และการพัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์ ฯลฯ

ผลที่ตามมาคือ ประเทศเหล่านี้ต้องยอมซื้อเทคโนโลยีสำเร็จรูป หรือที่อยู่ในลักษณะ กล่องดำ (Black Box) ซึ่งผู้ใช้ขาดความ เข้าใจในเทคโนโลยีอย่างถ่องแท้ ปัญหานี้เกิดจากการขาดความสามารถ ที่จำเป็นและความเข้าใจในคุณค่าของ วิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนา

"หากคุณไม่เชื่อ ในคุณค่าของวิทยาศาสตร์แล้ว คุณก็จะไม่สามารถสร้าง ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ได้ ในทางกลับกัน หากคุณไม่มี ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์แล้ว คุณก็จะมองไม่เห็นคุณค่าของ วิทยาศาสตร์ได้" Sagasti

ตัวอย่างอุปสรรคในการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศเปรูเกิดจาก "I" (ตัวอักษร "ไอ") 3 ตัว ดังนี้

Indifference (ความเฉยเมย) ประชาชนไม่สนใจและไม่รู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
Ignore (ความละเลย) คือ เมื่อประชาชนเริ่มตระหนัก แต่ก็ไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร และ
Incompetence (การไม่มีความสามารถ) คือ เมื่อประชาชนทราบว่าจะต้องทำอย่างไร แต่ก็ไม่สามารถทำได้เพราะขาดความสามารถที่จำเป็น

( http://ostc.thaiembdc.org/13th/?p=2401)

ปัจจัยที่สำคัญและยังขาดอยู่ขณะนี้คือ การลงทุนในการสร้างความเข้าใจใน ทรัพยากรต่างๆ และวิธีการใช้ทรัพยากรเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์ นอกจากนี้ การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ คู่กับวิทยาศาสตร์เป็นอีกวิธีการหนึ่งในการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนา

ติดตามอ่านและเข้าไปโหลดเอกสารเพิ่มเติมได้ที่

http://www.clinictech.most.go.th/online/blog/blog_show1.asp?blog_id=623

หมายเลขบันทึก: 585460เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2015 11:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2015 13:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท