(บันทึกครั้งที่ 3) ข่าวปัญหาการศึกษา ( 2 ) ปฎิรูปการศึกษา : กระบวนทัศน์การศึกษาไทย


ปฏิรูปการศึกษา : กระบวนทัศน์การศึกษาไทย

ชื่อเรื่อง ปฏิรูปการศึกษา : กระบวนทัศน์การศึกษาไทย  

ที่มา  http://suanpalm3.kmitnb.ac.th/english/readnews.asp?id=491การเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษา
เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแบบ"ทันสมัย" รวมทั้งการผลิตกำลังคนเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจตามแนวทางดังกล่าว จึงต้องมีการรวมศูนย์จัดการศึกษาให้ตอบสนองต่อแผนพัฒนาฯที่รัฐกำหนดขึ้น การขยายการศึกษาภาคบังคับ การจัดตั้งโรงเรียนประชาบาล โรงเรียนเทคนิค(เพื่ออุตสาหกรรม) มหาวิทยาลัยภูมิภาค จึงขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงแผนพัฒนา ฯ การที่นิยามของ"ความรู้"ถูกกำหนดขึ้นใหม่โดยรัฐ ตามเกณฑ์กำหนดของแนวคิดตะวันตก หลักสูตรการศึกษาที่จัดขึ้นตามคำนิยามนั้น จึงมีความคับแคบ ไม่เชื่อมโยง เพราะ"ความรู้"ถูกระบุให้มีอยู่เฉพาะในโรงเรียน สถานศึกษา และผู้เป็นครูอาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ ทำให้แหล่งความรู้และเนื้อหาความรู้อื่น ๆ ที่มีอยู่เดิม มิใช่ความรู้อีกต่อไป การศึกษาที่รัฐจัดขึ้น จึงทำลายความหลากหลายของเนื้อหา ทำลายความเชื่อมโยงทุกระดับ แยกชีวิตออกมาสู่มิติเดียว คือการศึกษาให้มีความรู้ประกอบอาชีพ มิหนำซ้ำยังมุ่งที่อาชีพในตลาดงานจ้าง ( วิชาชีพ งานเทคนิค ฯลฯ) มิใช่งานเกษตรกรรม หัตถกรรมในฐานเก่าของสังคมไทย

ระบบการศึกษาในรอบ ๔ ทศวรรษ จึงไม่เกี่ยวข้องกับสังคม ไม่สนใจธรรมชาติ การศึกษาในระบบโรงเรียนที่บังคับเรียนของรัฐ จึงเป็นการเรียนรู้ที่ไม่มีบูรณาการ ไม่ปรับเข้ากับกระบวนเรียนรู้แบบบูรณาการที่มีอยู่เดิมในชุมชน ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในวิถีชีวิตของผู้เรียน ผ่านกิจกรรมในชีวิตประจำวันอันหลากหลายมากมาย ผ่านหน้าที่ของการเป็นสมาชิกครอบครัว ชุมชน ศาสนิกชน ฯลฯ โดยมีแหล่งหรือฐานการเรียนรู้หลากหลาย เช่นเดียวกับเนื้อหา และมีพลวัตเปลี่ยนแปลงเป็นกระบวนการอยู่ตลอดเวลา เป็นการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง สังคมจริง มิได้จำกัดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้เพื่อการอาชีพหรือเพื่อเรียนต่อยอดสูงขึ้นไปเพียงอย่างเดียว

การศึกษาในกระบวนทัศน์แบบแยกส่วน จึงไม่สามารถพัฒนาชีวิต สังคม ธรรมชาติ ได้ดังที่ถูกคาดหวัง ในทางตรงข้าม การศึกษาดังกล่าวได้สร้างการเรียนรู้แบบไม่บูรณาการ ซึ่งทำให้คนเห็นแก่ตัวมากขึ้น( ยิ่งเรียนยิ่งเห็นแก่ตัว ) มีความเครียด ขาดความคิดสร้างสรรค์ แก้ไขปัญหาไม่เป็น ไม่สนใจการเมืองการปกครอง ขาดจิตสำนึกสาธารณะ ไม่อนุรักษ์ธรรมชาติ เพราะการเรียนรู้ถูกแยกส่วน ไม่เห็นความเชื่อมโยงของชีวิต สังคม และธรรมชาติ
 
คำสำคัญ (Tags): #ปัทมา#สนธิการ
หมายเลขบันทึก: 58501เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2006 17:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 05:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท