HI และโครงการโรคเบาหวาน


เรื่องที่เราคิดว่ามี impact มากที่สุดคือ primary prevention ส่วนเรื่องที่ทำง่ายที่สุดคือ training professional

ความก้าวหน้าของการวางแผนทำงานด้านเบาหวานของ Handicap International (HI) ประเทศไทย ต่อจากที่ได้บันทึกไว้คราวที่แล้ว (อ่านที่นี่)

เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ องค์การ HI ได้จัดการสัมมนาเพื่อพัฒนาโครงการโรคเบาหวานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ขึ้นที่ห้องประชุมบ้านท่านพลเอกชาติชาย ชุณหะวัน ซอยลือชา ถนนพหลโยธิน กรุงเทพ

มีผู้เข้าประชุมจากภายนอกประมาณ ๑๑ คน และของ HI เองอีก ๕ คน การประชุมเริ่มเวลา ๐๙.๐๐ น. คุณศุษิรา ชนเห็นชอบ ผู้จัดการงานพัฒนาด้านความพิการ กล่าวต้อนรับผู้เข้าประชุม บอกเหตุผลน่าฟังว่าเหตุใดจึงมาจัดประชุมที่นี่ แล้วให้ผู้เข้าประชุมแต่ละคนแนะนำตนเอง

ต่อจากนั้นคุณ Yvan Thebaud ผู้อำนวยการ HI ประเทศไทยนำเสนอเรื่องราวของ HI งานที่ได้ทำมาแล้วและเหตุผลที่มาเกี่ยวข้องกับเบาหวาน ๒ ข้อคือเบาหวานกลายเป็นโรคระบาดไปแล้ว และเบาหวานเกี่ยวข้องกับ disability งานเบาหวานเป็นเรื่องใหม่สำหรับ HI ประเทศไทย แต่เขามีประสบการณ์ในงานด้าน advocacy, resource mobilization, community-based rehabilitation และน่าจะสามารถประสานส่วนงานต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยได้

หลังจากนั้นคุณ David Beran ที่ปรึกษาจาก International Insulin Foundation ได้นำเสนอข้อค้นพบจากการสำรวจสถานการณ์โรคเบาหวานในกรุงเทพ ที่ดำเนินการในระหว่างวันที่ ๖-๒๗ กันยายน ๒๕๔๙ โดยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มีการพบปะกับ stakeholders หลายส่วน รวมทั้งผู้ป่วยเบาหวานด้วย ได้ identify needs หลายเรื่องแล้วสรุปว่ามีเรื่องอะไรที่ดีอยู่แล้ว เรื่องอะไรที่สามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ และเรื่องที่ยังขาดหรือต้องมีการปรับปรุงอย่างมาก

เรื่องที่ดีอยู่แล้วคือ accessibility and affordability of medicines, organized centres, diagnostic tools and infrastructure, drug procurement and supply

เรื่องที่สามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้คือ patient education and empowerment, healthcare workers, positive policy environment

เรื่องที่ยังขาดหรือต้องมีการปรับปรุงอย่างมากคือ community involvement/diabetes association, prevention measures, adherence issues

พวกเราผู้เข้าประชุมฟังแล้วรู้สึกทึ่งที่คุณ David มองปัญหาเบาหวานของเราได้ทะลุหมด มีแพทย์หนุ่ม ๒ ท่านจาก กทม.ก็เห็นตรงกัน เราซักถามข้อสงสัยแล้วก็ discuss กันเองเป็นภาษาไทย คนทำงานเบาหวานจากที่ต่างๆ มาเจอกันก็เป็นอย่างนี้ มีเรื่องให้คุยให้อภิปรายได้มากมายจริงๆ โดยคุณศุริษาช่วยแปลเป็นภาษาอังกฤษให้เป็นระยะๆ

งานต่อไปคือให้พวกเราช่วย rank needs ต่างๆ ที่ค้นพบ โดยส่วนแรกให้ rank ว่าเรื่องไหนมี impact ต่อคนเป็นเบาหวานในกรุงเทพมากไปจนถึงน้อย อีกส่วนหนึ่งให้ rank การ implementation จากง่ายไปถึงยาก เดิมในเอกสารที่เตรียมไว้มี ๑๓ needs แต่คุณ Yvan ปรับใหม่เหลือเพียง ๕ เรื่องคือ primary prevention, secondary prevention, training professional, advocacy และ research เมื่อทุกคนให้ ranking เสร็จแล้วก็นำคะแนนมารวมกัน สรุปได้ว่าเรื่องที่เราคิดว่ามี impact มากที่สุดคือ primary prevention ส่วนเรื่องที่ทำง่ายที่สุด (แต่มี impact น้อยที่สุด) คือ training professional

เรานำ needs ทั้ง ๕ เรื่องข้างต้นมาพิจารณาและช่วยกัน list ว่ามี resources อะไรอยู่แล้วบ้าง ปรากฏว่า resources มีอยู่มากมาย แต่พวกเราเห็นว่ายังไม่มีการจัดการหรือการจัดระบบที่มีประสิทธิภาพ ต่อจากนั้นก็ช่วยกันดูว่า needs แต่ละเรื่องมี strength และ weakness อะไรอยู่บ้าง ระหว่างที่เรา discuss ขาดข้อมูลตรงไหน คุณ David สามารถให้คำตอบเราได้หมด เช่น พื้นที่สาธารณะต่อหัวประชากรในกรุงเทพ จำนวนคนที่เป็นเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนกับ PCU ของกรุงเทพ เป็นต้น

หลังจากนี้ทาง HI จะทำรายงานและเขียน concept paper พยายามที่จะออกแบบงานโดยคำนึงถึง strength และ weakness ที่เราพูดกันแล้วจะติดต่อกับพวกเราอีกครั้ง

ช่วงท้ายของการประชุมคุณ David กล่าวว่าการประชุมครั้งนี้ก็เพื่อ confirm ผลของการสำรวจ ฟังความคิดเห็นของ professional และสร้างสัมพันธภาพระหว่างกันด้วย สุดท้ายขอให้ทุกคนบอกว่าตนเองฝันอยากให้เบาหวานในประเทศไทยเป็นอย่างไรในอีก ๕ ปี ๑๐ ปีข้างหน้า จบการประชุมด้วยความรู้สึกดีๆ ตอน ๑๖ น.พอดี

สิ่งที่ได้เกินความคาดหวังจากการประชุมครั้งนี้คือได้เรียนรู้ว่าการจะเริ่มทำงานเรื่องใหม่ จะต้องมีการศึกษาสถานการณ์อย่างรอบด้านและทำงานอย่างมีขั้นตอน ได้เรียนรู้การ run workshop อีกแบบหนึ่งซึ่งสามารถเอาไปปรับใช้ใน KM Workshop ได้ และที่สำคัญได้รู้จักคุณหมอวงวัฒน์ ลิ่วลักษณ์ ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๖ ที่เคยสัมผัสการใช้เครื่องมือธารปัญญาในงาน AIDS และคุณหมอประวิทย์ สัมพันธ์สันติกูล ผู้อำนวยการศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๐ ที่อาจจะมีโอกาสร่วมงานเบาหวานด้วยกันในอนาคต

วัลลา ตันตโยทัย วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๙

หมายเลขบันทึก: 58492เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2006 17:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท