จากข้อมูล 12 แฟ้ม เป็น 18 แฟ้ม และ 21 แฟ้ม ตอนนี้เป็น 43 + 7 แฟ้ม ??????


18 เป็น 21 ตอนนี้ก็เพิ่มเป็น 43+7 แฟ้ม ทำไมต้องทำอะไรมากมายขนาดนี้ด้วย(โวย) แน่นอนครับนโยบายกับแนวทางการปฏิบัติบางครั้งก็ยากจะอธิบาย แต่ถ้าเราติดตามและทำความเข้าใจ พอจะจับใจความได้ว่า ที่ผ่านมาระบบข้อมูลบริการสุขภาพรายบุคคลตามโครงสร้างมาตรฐานระดับโรงพยาบาลตั้งแต่ปี 2540 และสถานบริการในระดับปฐมภูมิในปี 2550เจตนาของผู้บริหารก็เพื่อนำข้อมูลมาใช้กำกับ ติดตามนโยบาย แผนงานโครงการด้านสุขภาพ นั้นมันยังปรองดองกันไม่ค่อยได้


เรื่องของเรื่องก็เนื่องมากจากโครงสร้างข้อมูลโรงพยาบาลและสถานบริการปฐมภูมิ มันความแตกต่างกันอย่างมั๊กๆ ทำให้เวลาเอาไปประมวลผลในภาพรวมในระดับประเทศกลายเป็นความยุ่งยาก.. ตั้งแต่ปี 2553 มาแล้วครับที่เขาพยายามบูรณาการ สมานฉันท์ ให้โครงสร้างข้อมูลทั้งของโรงพยาบาลและสถานบริการปฐมภูมิ ไปด้วยกันได้ ความฝันของทุกฝ่ายก็คือ ข้อมูลต้องตอบสนอง สอดคล้องต่อนโยบายผู้บริหาร ไม่ต้องทำงานซ้ำซ้อน ลดรายงาน และใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลร่วมกัน..

จากทั้งหมดที่กล่าวอ้างจึงเป็นที่มาของ โครงสร้างมาตรฐานข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ 50แฟ้ม หรือ 43+7 ที่หลายๆท่าน(กำลัง)จะคุ้นเคย ซึ่งข้อมูลชุดนี้จะประกอบด้วย

  1. แฟ้มข้อมูลประชาชนในเขตรับผิดชอบและผู้ป่วย
  2. แฟ้มข้อมูลครัวเรือนของประชาชนในเขตรับผิดชอบ
  3. แฟ้มข้อมูลการให้บริการ
  4. แฟ้มข้อมูลบริการผู้ป่วยนอก
  5. แฟ้มข้อมูลบริการผู้ป่วยใน
  6. แฟ้มข้อมูลบริการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค
  7. แฟ้มข้อมูลคัดกรองและติดตามผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
  8. แฟ้มข้อมูลบริการในชุมชน
  9. แฟ้มข้อมูลความบกพร่องทางสุขภาพและบริการฟื้นฟูสภาพ
  10. แฟ้มข้อมูลชุมชนและกิจกรรมในชุมชน
  11. แฟ้มข้อมูลผู้ให้บริการ

ชุดข้อมูล 50 แฟ้ม (43+7) มีสาระที่ต้องจดจำให้ขึ้นใจดังนี้ ครับ

  • ข้อมูลผู้ป่วยนอก/ผู้ป่วยใน ข้อมูลส่งเสริมป้องกัน จำนวน 43 แฟ้ม
  • ข้อมูลส่งต่อผู้ป่วย จำนวน 7 แฟ้ม

การจัดส่งข้อมูล

  1. หน่วยงานที่ต้องจัดส่ง
    1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล
    2. โรงพยาบาลชุมชน
    3. โรงพยาบาลทั่วไป
    4. โรงพยาบาลศูนย์
    5. สถานบริการระดับปฐมภูมิ
  2. สสจ.รวบรวมข้อมูลของทุกหน่วยบริการ-->ส่งข้อมูลผ่านระบบรับ-ส่งตามที่ สนย.กำหนด-->ตรวจสอบข้อมูล-->ประมวลผลรายงานตามความต้องการของพื้นที่--->เผยแพร่ข้อมูลในจังหวัด
  3. ระหว่างเปลี่ยนผ่านให้ส่งข้อมูลตามโครงสร้าง 21แฟ้ม ไปจนกว่าระบบจะมีความพร้อมจึงจะเริ่มส่งข้อมูล 43 แฟ้ม
  4. รอบการส่งข้อมูล "ตามรอบการจัดส่งข้อมูล 21 แฟ้ม"
  5. ปี 2556กำหนดให้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชื่อมโยงข้อมูล 43แฟ้ม ด้วย HDCไปยังสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์

ประเภทของข้อมูลโครงสร้างมาตรฐานข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ 50 แฟ้ม มี 3 ลักษณะ

  1. แฟ้มสะสม
    • แฟ้มสำรวจจัดเก็บข้อมูลปีละ 1ครั้ง ในเดือนสิงหาคม และปรับข้อมูลเสร็จภายใน 1ต.ค.ของทุกปี
    • หากข้อมูลผู้รับบริการมีการปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติม จะส่งข้อมูลให้ส่วนกลางภายในรอบเดือนนั้นๆ
    • แฟ้มสะสมมีจำนวน 14 แฟ้ม
      1. PERSON : ข้อมูลทั่วไปของประชาชนในเขตรับผิดชอบ และผู้มารับบริการ
      2. ADDRESS : ข้อมูลที่อยู่ของผู้มารับบริการที่อาศัยอยู่นอกเขตรับผิดชอบหรือประชาชนในเขตแต่ทะเบียนบ้านอยู่นอกเจต
      3. DEATH : ข้อมูลประวัติการเสียชีวิตของประชาชนทุกคนในเขตรับผิดชอบและผู้ป่วยที่มารับบริการ
      4. CHRONIC : ข้อมูลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
      5. CARD : ข้อมูลประวัติการมีหลักประกันสุขภาพของประชาชนทุกคนในเขตรับผิดชอบและผู้ป่วยที่มารับบริการ
      6. WOMEN : ข้อมูลหญิงวัยเจริญพันธุ์
      7. NEWBORN : ข้อมูลประวัติการคลอดของทารก
      8. PRENATAL : ข้อมูลประวัติการตั้งครรภ์
      9. LABOR : ข้อมูลประวัติการคลอดของหญิงคลอด
      10. HOME : ข้อมูลครัวเรือนของประชาชนในเขตรับผิดชอบ
      11. PROVIDER : ข้อมูลผู้ให้บริการของสถานพยาบาล
      12. VILLAGE : ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของชุมชน
      13. DISABILITY : ข้อมูลผู้พิการทุกคนที่อาศัยอยู่ในเขตรับผิดชอบ
      14. DRUGALLERGY : ข้อมูลประวัติการแพ้ขาของผู้ป่วยที่มารับบริการ
  2. แฟ้มบริการ
    • จัดเก็บและบันทึกข้อมูลบริการทุกครั้งที่มารับบริการ และส่งข้อมูลให้ส่วนกลางภายในรอบเดือนนั้นๆ
    • แฟ้มบริการมีจำนวน 27 แฟ้ม
    1. SERVICE : ข้อมูลการมารับบริการฯและการให้บริการนอกสถานพยาบาล
    2. DIAGNOSIS_OPD : ข้อมูลการวินิจฉัยโรคของผู้ป่วยนอกและผู้มารับบริการ
    3. APPOINTMENT : ข้อมูลการนัดมารับบริการครั้งต่อไปของผู้มารับบริการ
    4. SURVEILLANCE : ข้อมูลรายงานทางระบาดวิทยา
    5. DRUG_OPD : ข้อมูลการจ่ายยาสำหรับผู้ป่วยนอกและผู้มารับบริการ
    6. PROCEDURE _OPD : ข้อมูลการให้บริการหัตถการและผ่าตัดของผู้ป่วยนอกและผู้มารับบริการ
    7. CHRONICFU : ข้อมูลการติดตามผู้ป่วยโรคเรื้อรัง/ความดัน
    8. LABFU : ข้อมูลการตรวจทางห้องปฏิบัติการของผู้ป่วยเบาหวาน/ความดัน
    9. CHARGE_OPD : ข้อมูลค่าใช้จ่ายของบริการแต่ละรายการสำหรับผู้ป่วยนอกและผู้มารับบริการ
    10. ADDMISSION : ข้อมูลประวัติการรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล
    11. CHARGE_IPD : ข้อมูลค่าใช้จ่ายของบริการแต่ละรายการสำหรับผู้ป่วยใน
    12. DIAGNOSIS_IPD : ข้อมูลการวินิจฉัยโรคของผู้ป่วยใน
    13. DRUG_IPD : ข้อมูลการจ่ายยาสำหรับผู้ป่วยใน
    14. PROCEDURE _IPD : ข้อมูลการให้บริการหัตถการและผ่าตัดของผู้ป่วยใน
    15. ACCIDENT : ข้อมูลผู้มารับบริการที่แผนกฉุกเฉิน (ER) ของ รพ. และแผนกทั่วไปของ รพ.สต.
    16. COMMUNITY_SERVICE : ข้อมูลการให้บริการในชุมชนสำหรับกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบและผู้ป่วยนอกเขตรับผิดชอบ
    17. COMMUNITY_ACTIVITY : ข้อมูลกิจกรรมในชุมชนที่อยู่ในเขตรับผิดชอบ
    18. DENTAL : ข้อมูลการตรวจสภาวะทันตสุขภาพของฟันทุกซี่ และข้อมูลการวางแผนการส่งเสริม ป้องกัน รักษา (หญิงตั้งครรภ์,เด็กในโรงเรียน,ผู้รับบริการ)
    19. FUNCTIONAL : ข้อมูลการตรวจประเมินความบกพร่องทางทางสุขภาพของผู้พิการและผู้สูงอายุ
    20. ICF : ข้อมูลการประเมินสภาวะสุขภาพ ความสามารถ และปัจจัยอื่นๆ กลุ่มเป้าหมายที่มารับบริการในโรงพยาบาล ของผู้พิการ
    21. CARE_REFER : ข้อมูลประวัติการได้รับยาของผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อ ส่งกลับ หรือตอบกลับ
    22. CLINICAL_REFER : ข้อมูลการประเมินทางคลินิกของผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อ ส่งกลับ หรือตอบกลับ
    23. DRUG_REFER
    24. INVESTIGATION_REFER : ข้อมูลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและตรวจวินิจฉัยอื่นๆของผู่ป่วยที่ได้รับการส่งต่อ ส่งกลับ หรือตอบกลับ
    25. PROCEDURE _REFER : ข้อมูลประวัติการได้รับการทำหัตถการและผ่าตัดของผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อ ส่งกลับ หรือตอบกลับ
    26. REFER_HISTORY : ข้อมูลประวัติการส่งส่งต่อผู้ป่วย
    27. REFER_RESULT : ข้อมูลการตอบรับการส่งต่อ/ส่งกลับผู้ป่วย
  3. แฟ้มบริการกึ่งสำรวจ
    • จัดเก็บและบันทึกข้อมูลทุกครั้งที่มารับบริการ และสำรวจข้อมูลประชากรที่อาศัยในเขตรับผิดชอบที่ไปรับบริการที่สถานบริการอื่นและบันทึกข้อมูล (จะเห็นว่ามีการเน้นเรื่องประชากรในเขตรับผิดชอบ ดังนั้นถ้ามีผู้มารับบริการเช่น มีเด็ก 6เดือนมาฉีดวัคซีนซึ่งเด็กเพิ่งย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาในเขตรับผิดชอบ เจ้าหน้าที่จะต้องบันทึกการให้บริการและลงข้อมูลจากสำรวจข้อมูล ว่าคลอดที่ไหน วัคซีน BCG,DTPHBรับมาจากที่ไหน ลงย้อนหลังให้ครบถ้วนด้วย)
    • ส่งข้อมูลให้ส่วนกลางภายในรอบเดือนนั้นๆ
    • แฟ้มสะสมมีจำนวน 9 แฟ้ม
    1. FP : ข้อมูลบริการวางแผนครอบครัว
    2. EPI : ข้อมูลการให้บริการวัคซีนกับผู้มารับบริการ และประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
    3. NUTRTION : ข้อมูลการวัดระดับโภชนาการและพัฒนาการเด็ก 0-5 ปีและนักเรียน
    4. ANC: ข้อมูลบริการฝากครรภ์
    5. NEW BORNCARE : ข้อมูลการดูแลหลังคลอดทารก
    6. POSTNATAL : ข้อมูลบริการดูแลหลังคลอด
    7. NCDSCREEN : ข้อมูลการคัดกรองประชากรกลุ่มเป้าหมายอายุ 15 ปี ขึ้นไป
    8. SPECIALPP : ข้อมูลการให้บริการส่งเสริมป้องกันโรคเฉพาะผู้ที่มารับบริการ
    9. REHABILITATION : ข้อมูลการให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้พิการหรือผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้

ประโยชน์ของข้อมูล 43 แฟ้ม

  1. ประมวลผลรายงานให้บริการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับจังหวัดและระดับกระทรวง (ขอให้จริงเถอะ..สาธุ)
  2. ออกรายงานตาม Data set สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสามารถนำรายงานมาทำตัวชี้วัดได้ (ว้าว)
  3. วิเคราะห์ นำเสนอข้อมูลที่ได้จาก 43 แฟ้มในมิติต่างๆ
  4. มีการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่ประมวลผลร่วมกัน ลดภาระในการจัดทำรายงานของหน่วยงาน

เอาละครับวันนี้ว่ากันพอเป็นน้ำจิ้ม ให้ได้ลิ้มกันพอหอมปากหอมคอ ในครั้งหน้าว่ามาล้วง แคะ แกะ เกากันทีละแฟ้มครับว่าต้องปรับอะไรบ้าง แก้ไขตารางไหน และวิธีการลงข้อมูลจะลงอย่างไรเพื่อให้โดนใจ 43 แฟ้มกันเต็มๆ

เวปไซด์ที่เกี่ยวข้อง

http://healthcaredata.moph.go.th


ปล.จะอธิบายให้ภาพรวม 43 + 7 เป็น mind map ครั้งหน้า

คำสำคัญ (Tags): #43+7 แฟ้ม
หมายเลขบันทึก: 585007เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2015 15:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2015 15:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท