การแนะนำอย่างหยาบๆในเรื่องการตระหนักรู้ภาษา (Language Awareness) ตอนที่ 5


ความแตกต่างระหว่างการตระหนักรู้ภาษากับไวยากรณ์แบบเก่า (Difference between language awareness and traditional grammar)

การตระหนักภาษาไม่ใช้เทคนิคแบบโบราณ และไม่ได้สอนไวยากรณ์เหมือนกับหนังสือไวยากรณ์เหมือนกับการสอนไวยากรณ์แบบสมัยก่อน แต่ใช้แบบฝึกหัดและไวยากรณ์แบบของเขาเอง นอกจากนี้การตระหนักรู้ภาษายังแตกต่างจากวิธีการสอนแบบ 3P ได้แก่ การนำเสนอ การฝึกหัด และการผลิตภาษา (Presentation-Practice-Production) เพราะว่าการสอนแบบ 3P ในการสอนไวยากรณ์จะเน้นอยู่ที่การฝึกแบบควบคุม (controlled practice) ซึ่งต้องฝึกการพูดซ้ำ (drill) และการฝึกไวยากรณ์ที่ควบคุมบริบท (contextualized grammar exercise) การสอนแบบ 3P เกิดขึ้นมาจากทฤษฎีการรับภาษา (theory of language acquisition) ซึ่งมีแนวคิดอยู่ว่า ปลูกฝังผ่านการฝึก

ในทางตรงกันข้าม แบบการสอนการตระหนักรู้ภาษา จะเกี่ยวข้องกับกระบวนการใส่ตัวป้อน (input procession) และการทำความเข้าใจ ซึ่งซับซ้อนกว่าการฝึกการอ่านซ้ำซ้อน นอกจากนี้การตระหนักรู้ภาษาจะเกี่ยวข้องกับผู้เรียน (ไม่ว่าจะเป็นรายบุคคล หรือกลุ่มก็ตาม) ในภาระงานที่เป็นการสำรวจตรวจตรา โดยมากแล้วจะเป็นภาษาที่ทำไม่ได้ในหมู่ผู้เรียน

ความแตกต่างระหว่างความตระหนักรู้ภาษาและการสอนไวยากรณ์แบบโบราณ ก็มีดังนี้

1. การตระหนักภาษามิใช่เป็นโครงสร้างและวิธีการใช้อย่างไวยากรณ์แบบโบราณ การตระหนักรู้ภาษาคือผลทั้งหมดของคน ที่จะใช้ในการจัดการกับระบบภาษา การตระหนักรู้ภาษา ต้องเกี่ยวข้องกับยุทธวิธีแบบพุทธพิสัย (cognitive strategies) เช่น การสังเกต การตั้งสมมติฐาน การทดสอบ, การแก้ปัญหา และการสร้างใหม่

2. การตระหนักรู้ภาษา เริ่มต้นที่ความหมาย (meaning) วัตถุประสงค์ก็คือ การสำรวจว่ารูปแบบไหนสามารถที่จะใช้ในสถานการณ์ต่างๆได้ โดยการตระหนักรู้ถึง ความหมาย (meaning), สังกัป (concept and notion), และหน้าที่ทางภาษา (language function)

3. จุดหมายของการตระหนักรู้ภาษา คือ การพัฒนาให้ผู้เรียนให้ตระหนักรู้ และมีความอ่อนไหวต่อรูปแบบ แต่ยังไม่เรียนไวยากรณ์ทั้งหมด ผู้เรียนจะต้องเรียนตัวป้อนที่เป็นโครงสร้าง (structured input) และพัฒนาการตระหนักรู้ในลักษณะทางภาษาที่มีลักษณะเฉพาะเพื่อการใช้ ตามที่ Schmits ได้กล่าวว่า มีการเรียนรู้ ที่มีเจตนา และไม่มีการเรียนรู้ ที่ปราศจากความสนใจ

4. การตระหนักภาษาเกิดขึ้นในการสอนที่เป็นทางการ หรือ การเรียนรู้แบบภาระงาน ที่ผู้เรียนเรียนไวยากรณ์เป็นกลุ่ม ทั้งหมดนี้ไม่ใช่การทำแบบฝึกหัด แต่จะเป็นเรื่องกระบวนการตัวป้อน (input processing), การสังเกตโครงสร้างที่แน่นอนอันหนึ่ง หรืออาจเป็นความสัมพันธ์, การค้นพบกฎ, และสังเกตความแตกต่างระหว่างภาษาที่ตนใช้กับระบบภาษาที่เป็นมาตรฐาน สรุปว่าจะเป็นระบบไวยากรณ์ที่พัฒนาขึ้น ที่เป็นของตนเอง

5. การตระหนักรู้ภาษาจะมีลักษณะหลายด้าน ซึ่งจะมีลักษณะทางภาษาหลายระดับเช่น คำศัพท์ (vocabulary), ระบบคำ (morphology), ระบบเสียง (phonology), และวาทกรรม (discourse) อย่างไรก็ตาม งานที่พิมพ์จะเป็นปัญหาเรื่องระบบคำ (lexical) และไวยากรณ์ เท่านั้น

6. การตระหนักรู้ภาษา จะเป็นการกระตุ้นข้อมูล (data driven) ผู้เรียนจะไม่ได้รับการบอกกฎเกณฑ์ทางภาษา แต่จะได้รับกลุ่มของข้อมูล ซึ่งพวกเขาจะได้สรุปกฎ หรือ หลักเกณฑ์ทั่วไปจากการได้เห็นข้อมูลในสภาวะเปิด พวกเขาจะได้ตรวจสอบกฎที่อาจเป็นไปได้จากข้อมูล และก็ดูว่ามันสามารถมีความหมายต่อบริบทในการใช้หรือไม่ ทั้งหมดนี้ก็เป็นการสังเกตซึ่งช่องว่างระหว่างการผลิตภาษา (production) และรูปแบบที่ถูกต้อง กฎทางภาษาน้อยครั้งที่จะชัดเจนแจ่มแจ้ง

หนังสืออ้างอิง

James M. Bourke. (2014). A Rough Guide to Language Awareness.

หมายเลขบันทึก: 584816เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2015 19:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มกราคม 2015 19:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณค่ะ .... บันทึกนี้ดีนะคะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท