สอนรายวิชามนุษย์กับการเรียนรู้ ครั้งที่ ๓ : มณฑลแห่งพลัง


วันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๘ เป็นครั้งที่ ๓ ของการจัดการเรียนการสอนรายวิชามนุษย์กับการเรียนรู้ บันทึกการสอนนี้อาจจะมีประโยชน์สำหรับนิสิตที่ว่างๆ เข้ามาอ่าน ข้อความข้อเขียนอาจนำความคิดกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียน กลับมาเข้ามาในวิถีคิด เกิดกระบวนการเรียนรู้ซ้ำอีกครั้งได้

สืบเนื่อง : หยิบยกประเด็นให้เห็นและเรียนรู้ด้วยตนเอง

การเรียนครั้งที่แล้ว เราสำรวจว่า ปัจจัยอะไรที่ทำให้ชีวิตมีความสุข โดยใช้วิธีการวาดรูป แล้วสำรวจความคิดเห็นต่อความจำเป็นต่อชีวิตที่มีความสุข ด้วยการกากบาททับทิ้ง สรุปข้อมูลทั้งหมดได้ดังตารางนี้


ปัจจัยที่ทำให้มีความสุข

จำเป็นมาก

จำเป็นปลานกลาง

ไม่จำเป็น

รวม

ครอบครัวที่ดี

๔๑

๑๐

๕๖

มีเพื่อนที่ดี

๓๑

๒๓

๕๘

มีงานทำที่ดี

๓๕

๔๙

เรียนจบ

๓๓

๑๑

๔๖

มีเงินเยอะๆ

๓๒

๑๑

๒๓

๖๖

มีบ้าน

๓๒

๑๔

๒๔

๗๐

พ่อแม่สบาย ภูมิใจ

๑๗

๒๕

มียารักษาโรค ไม่เจ็บป่วย

๑๗

๒๗

มีคนรักที่ดี, ความรัก

๑๓

๑๕

๑๘

๔๖

มีรถ

๑๖

๑๑

๓๕

๖๒

มีครูอาจารย์ที่ดี การศึกษาดี

๒๐

มีธุรกิจส่วนตัว

๒๙

๓๘

มีญาติพี่น้องที่ดี

๑๗

ทำสิ่งที่ตนเองชอบ

๑๓

๑๗

ดนตรี เสียงเพลง

๑๑

๒๓

มีชาติ มีประเทศอยู่ สังคมที่ดี

เที่ยวในประเทศ

๒๒

๓๔

กินอาหารดีๆ อร่อยๆ

๑๑

๑๔

๓๐

เทคโนโลยีสารสนเทศ

๑๖

๒๘

ได้เป็นครู

ศาสนา ที่พึ่งทางใจ

แต่งตัวสวยๆ มีเครื่องแต่งกายสวย

๑๖

๒๑

มีพระมหากษัตรย์

ทำบุญ เห็นคนรอบข้างมีความสุข

เป็นตัวของตัวเอง พึ่งพาตนเองได้

เกรด A

๑๖

อยู่กับธรรมชาติที่สวยงาม

๑๖

ร้องเท้า เสื้อผ้า ของใช้

๑๐

สวย หล่อ ผอม

๑๑

๑๗

ที่ดิน ที่อยู่

๑๖

สังสรรค์กับเพื่อน

มีลูกที่ดี

มีสระว่ายน้ำ

ได้ออกกำลังกาย

เครื่องอำนวยความสะดวก

ได้เป็นทหาร

ตั้งใจเรียน

ส่งเสียน้องเรียนต่อ

เที่ยวต่างประเทศ

๑๙

๒๒

ได้ทำตามใจตัวเอง อิสระ

ช๊อปปิ้ง

ดูหนัง เล่นเกม

เที่ยวตะวันแดง

มีคนรับใช้

เครื่องบินส่วนตัว

ถูกล็อตเตอรี่

ศิลปะ


จากตารางเราจะสังเกตข้อสังเกตที่น่าสนใจหลายๆ อย่าง ทั้งที่บางอันเกิดคำถามว่า "ไช่เหรอ?" ในใจของเรา บางข้อน่าจะสะท้อนความคิดของวัยรุ่นสมัยนี้ได้อย่างน่าสนใจยิ่ง เช่น

  • สิ่งที่นิสิตส่วนใหญ่เห็นว่าจำเป็นที่สุดต่อความสุขในชีวิตคือ ครอบครัว (๔๑-๑๐-๕-๕๖) สะท้อนถึงวิถีไทยที่ให้ความสำคัญกับความผูกพันในครอบครัว ความกตัญญู กตเวที เป็นอันดับต้น หากไปสำรวจชาวตะวันตก อาจจะไม่ใช่ครอบครัวที่มาเป็นอันดับหนึ่งอย่างมีนัยสำคัญเช่นนี้
  • ความจำเป็นที่สุดต่อความสุขของนิสิตถัดจากครอบครัวมีหลายปัจจัย ได้แก่ งาน ( ปริญญา เพื่อน เงิน และบ้าน ที่นี่น่าสนใจคือ มีนิสิตอีกเกือบจะเท่าๆ กัน เห็นว่า การมีเงินเยอะๆ และมีบ้านหลังใหญ่ๆ นั้น ไม่ใช่สิ่งจำเป็นต่อความสุข แต่อย่างไรก็แล้วแต่ "บ้าน" ก็ยังเป็นสิ่งที่นิสิตเห็นว่าเป็นปัจจัยทำให้มีความสุขมากที่สุด (๗๐ คน)
  • สำหรับความรัก ผลการสำรวจ ๑๓-๑๕-๑๘-๔๖ แสดงถึงความเห็นหลากหลาย ต่างมุมมองในเรื่องของความรัก
  • หลายอย่างไม่น่าเชื่อ เช่น เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งในที่นี้นิสิตจะหมายถึงโทรศัพท์มือถือดีๆ ส่วนใหญ่ที่พูดถึงเห็นว่า ไม่มีก็มีความสุขได้ รถยนต์ไม่มีก็มีความสุขได้ ความสวย ความหล่อ รูปร่างหน้าตา นิสิตส่วนใหญ่เห็นว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นสำหรับความสุข ... แต่โดยทั่วไปในสังคมปัจจุบัน ค่อนข้างจะกลับกันกับความเห็นของพวกเขาขณะนี้
  • อีกประเด็นที่น่าสนใจ คือ นิสิตเห็นว่า "การเรียนจบ" หมายถึงสำเร็จการศึกษา ได้ใบปริญญานั้น มีความจำเป็นมาก แต่ในขณะเดียวกันบอกว่า การมีงานเป็นของตนเอง หรือมีธุรกิจส่วนตัว เป็นเรื่องที่ไม่จำเป็น ... สองข้อความเห็นนี้ อาจเป็นไปได้ว่า นิสิตส่วนใหญ่ตั้งใจที่จะเรียนไป "หางานทำ" คือไปเป็นลูกจ้าง ข้าราชการ ไม่ได้คิดว่าจะกลับไป "สร้างงาน" หรือเป็นผู้ประกอบการด้วยตนเอง

ผมมอบการบ้านให้นิสิตไปเขียนตีความในมุมมองของตนเองแบบนี้บ้าง บันทึกถัดไป จะนำตัวอย่างของงานนิสิตมาเล่าให้ฟังต่อ....

เตรียมความพร้อม "เตรียมภาชนะ"

ความรู้และทักษะที่สำคัญต่อการเรียนรู้เรื่อง "มณฑลแห่งพลัง" คือ สติ สมาธิ และหลักการสังเกตตนเอง ผมจึงนำเอาคลิปวีดีโอของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช ที่ท่านเคยมาแสดงธรรมเทศนาที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มาเป็นสื่อสำหรับเตรียมความพร้อมให้นิสิต โดยมอบหมายให้นิสิตไปฟังเป็นการบ้านและเขียนเรียงความสะท้อนความเข้าใจจากการฟังลงในสมุดอนุทินตั้งแต่วันอังคารที่แล้ว


ถ้านิสิตตั้งใจฟังให้ดี หรือฟังคลิปนี้หลายๆ รอบ จะ "จับหลัก" ในการสังเกตตนเองได้ว่า สตินั้นแบ่งได้เป็น ๒ แบบ แบบแรกคือ "สติทั่วไป" ที่ใช้ในการทำงาน ในการทำสิ่งใดๆ เป็น "สติ" เดียวกันกับสติที่แมวตอนที่มันวิ่งจับหนู แบบที่สองคือ "สติรู้กายรู้ใจตนเอง" สติแบบนี้สัตว์เดรัจฉานไม่มี เป็นสติที่ใช้ในการ "เรียนรู้และพัฒนาตนเอง" ให้เกิดปัญญารู้ตามเป็นจริงตามหลักทางพุทธธรรม


ร้อยเรียงประสบการณ์เดิม


นิสิตทุกคนต้องรู้จัก "พลังงาน" และน่าจะเคยได้ยินเกี่ยวกับกฎธรรมชาติของการอนุรักษ์พลังงานที่ว่า "พลังงานจะไม่มีวันสูญหาย แต่อาจเปลี่ยนแปลงไปได้เป็นรูปแบบต่างๆ " เช่น พลังงานเคมีในน้ำมันเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนจาการจุดระเบิด พลังงานความร้อนเปลี่ยนเป็นพลังงานกลของเครื่องยนต์รถ พลังงานกลจากเครื่องยนต์เปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์ที่ทำให้รถเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว หรือบางส่วนเปลี่ยนเป็นพลังงานเสียง เป็นต้น หรือใครรู้เรื่องระเบิดนิวเคลียร์ ก็ต้องรู้ว่า พลังงานสามารถเปลี่ยนเป็นมวล (E=mc^2)หรือมวลก็คือพลังงานรูปหนึ่งนั่นเอง โดยสรุป ทุกสิ่งทุกอย่างคือพลังงาน ในทีนี้ขอใช้คำว่า ทุกสิ่งทุกอย่างมี "พลัง" ในตัว


คำว่า "พลัง" ในที่นี้หมายถึง "พลังใจ" ในทีนี้คือ "พลังงาน" ในรูปแบบใดๆ ที่มนุษย์พอจะรู้สึกและสัมผัสรู้สึกได้ชัดเจนมากน้อยแตกต่างไปตามแต่คุณภาพและความละเอียดของใจแต่ละคน เรื่องนี้เป็นการยากยิ่งที่จะพิสูจน์ให้เห็นจริงด้วยการบอก หรือเรียนรู้จากคนอื่น เพราะดูเหมือนจะ "นอกเหตุ เหนือผล ของคนสมัยนี้" ที่เข้าใจว่า "วิทยาศาสตร์" ต้องสามารถวัดและเขียนเป็นตัวเลขได้เท่านั้น นิสิตจึงต้องพิสูจน์ด้วยการลงมือ เรียนรู้ดูกายดูใจของตนเอง ให้รู้เอง เห็นเอง ด้วยตนเองเท่านั้น

เติมประสบการณ์ใหม่ด้วยการใส่ใจรายละเอียด

เป้าหมายของการเรียนเรื่อง "มณฑลแห่งพลัง" ในระดับที่นำไปปรับใช้ในการเรียนรู้ในชีวิตประจำวัน คือ นิสิตสามารถรู้เท่าทันสิ่งแวดล้อมหรือสิ่งเร้าต่างๆ ที่เข้ามาสัมผัส รู้จักความเคยชิน กระแส และสมดุลในธรรมชาติ กิจกรรมที่นำมาใช้ในการเรียนรู้คือ การเขียนรูปด้วยมือข้างที่ไม่ถนัดเปรียบเทียบกับมือที่ถนัด การสะท้อนหลังกิจกรรม น่าจะทำให้นิสิตสังเกตเห็นพอสมควร นิสิตสะท้อนคล้ายๆ กันดังภาพ







ดูภาพทั้งหมดได้ ที่นี่

โดยปกติเราจะอยู่กับความเคยชิน หากเราทดลองปรับไปอยู่ในสิ่งที่ไม่ชิน ความรู้สึกในใจจะค่อนข้างชัด การติดๆ ขัดๆ ส่วนใหญ่จะนำความทุกข์ ซึ่งก็คือความเคยชินของใจที่เมื่อใดเจอสิ่งที่ไม่สะดวกไม่ชอบใจก็จะทุกข์ บางคนเป็นประเภท "โทสะจริต" ก็จะโกรธง่าย เป็นต้น แต่ถ้าเราฝึกทำในสิ่งนั้นบ่อยๆ ถึงระดับหนึ่ง กระบวนการเรียนรู้จะทำให้เกิด "ทักษะ" จนใจไม่รู้สึกว่าติดขัดใดๆ หรือเรียกได้ว่า "ถนัด" หลักสำคัญคือต้องได้ฝึก อยากจะมีทักษะหรือเก่งเรื่องใดก็ต้องฝึกเรื่องนั้น เช่น อยากจะคิดเก่งก็ต้องฝึกคิด อยากจะว่ายน้ำเก่งก็ต้องไปฝึกว่ายน้ำ อยากจะทำอะไรเก่งก็ต้องฝึกทำอย่างนั้นๆ จนเกิดทักษะทั้งกายและใจที่เรียกว่าถึงขั้นเป็น "อัตโนมัติ"

แต่ต้องแยกแยะให้ชัดว่า อะไรคือสิ่งดีที่จะเป็น "พลัง" หรือสิ่งใดไม่ดีที่เป็น "กระแส" กระแสของกิเลส คำสอนของในพุทธธรรมบอกชัดว่า โดยธรรมชาติแล้ว จิตใจของมนุษย์จะไหลลงต่ำ คือไหลไปตามกระแสของโลภ โกรธ หลง ซึ่งคนในโลกส่วนใหญ่กำลังไหลไปตามกระแสทุนนิยม ที่นำด้วยความอยากและความโลภ และก่อปัญหามากมายดังที่นิสิตทราบดี ดังนั้นการพัฒนาตนเองให้มีพลัง จะต้องมั่นใจว่า กำลังเดินทางไปในทิศทางที่ถูกต้อง ไม่หลงไปในกระแสของกิเลสเหตุแห่งการของทุกข์ ...

บันทึกหน้ามาว่ากันเรื่องพื้นที่ปลอดภัยครับ


หมายเลขบันทึก: 584787เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2015 23:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มกราคม 2015 00:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท