* Multiple Representations in the Teaching and Learning Chemistry - part III chemistry knowledge and representations


Chemical knowledge and multiple representations - ความรู้ทางเคมีและภาพแทนในรูปแบบที่หลากหลาย

(1) ภาษาเคมีกับชีวิตประจำวันแตกต่างกันอย่างไร

Prof. Tan ยกตัวอย่างการใช้คำในชีวิตประจำวันที่ความหมายไม่สอดคล้องกับแนวคิดทางเคมี


น้ำแอ๊ปเปิ้ลบริสุทธ์ 100% (100% pure apple juice)

ซึ่งแนวคิดทางเคมี น้ำแอ๊ปเปิ้ลไม่สามารถทำให้เป็นสารบริสุทธ์ได้ แต่เป็นสารผสม (mixture)

.............................................................................................................

อีกตัวอย่างหนึ่ง คือคำว่า share


เช่นถ้าเราซื้ออาหารมาแล้วแบ่งให้เพื่อน เราก็ใช้คำว่า share แต่เป็นความหมายในเชิงยกให้

แต่ในแนวคิดทางเคมี การที่อะตอม 2 อะตอม share อิเล็กตรอนนั้น แต่ละอะตอมจะต้องนำอิเล็กตรอนของตนเองมาใช้ร่วมกัน

ลองคิดดูเล่นๆ ในภาษาไทย มีคำไหนอีกบ้างที่เป็นคำศัพท์ที่เราใช้ในชีวิตประจำวันแต่ไม่สอดคล้องกันแนวคิดทางเคมี

สำหรับผม ผมคิดออกอยู่ 1 อย่าง คือ “น้ำแข็งละลาย"


(2) ภาพแทน (representation) คืออะไร

ก่อนจะไปรู้จักกับภาพแทน ผมอยากให้ผู้อ่านลองนึกย่อนกลับไปว่า ท่านเคยสอนแนวคิดเรื่องการละลาย (dissolution) ด้วยวิธีการใด


> อธิบายความหมายของคำว่าการละลาย

> ใส่ด่างทับทิมลงในน้ำแล้วให้นักเรียนสังเกต

> วาดภาพวงกลมโมเลกุลของน้ำที่เข้าไปแทรกและล้อมโมเลกุลของเกลือ

> ใช้ สัญลักษณ์ เกลือด้วย NaCl สัญลักษณืของน้ำด้วย H2O

> ใช้ animation แสดงโมเลกุลขณะละลาย

> ใช้กราฟอธิบายผลของอุณหภมิต่อการละลาย

และอื่นๆ

สิ่งต่างๆ เหล่านี้แหละครับ เรีบกว่า ภาพแทน (representations)

การใช้ภาพแทนจึงเป็นสิ่งสำคัญมากๆ สำหรับการจัดการเรียนรู้ในวิชาเคมี

อะตอมรูปร่างหน้าตาเป็นยังไง เกิดเป็นโมเลกุลได้อย่างไร ปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นได้อย่างไร

ล้วนเป็นแนวคิดทางเคมีที่เกิดขอบเขตการมองเห็นของมนุษย์

นักวิทยาศาสตร์คิดและสร้างความหมายขึ้นในสมองเพื่อใช้อ้างอิงถึงโลกหรือเหตุการณ์และสื่อสารออกมาในรูปแบบของภาพแทนนั่นเอง (Representation) ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ

Multiple representations are different representations of aspects of the same concept, for example, in the form of photographs, animations, graphs, formulas, text, or diagrams.

การใช้ภาพแทนในการจัดการเรีบนรู้เคมีมีแบ่งออกเป็น 3 ระดับ

  1. Microscopic level
  2. Sub- microscopic level
  3. Symbolic level

ติดตามต่อในบันทึกถัดไปนะครับ

หมายเลขบันทึก: 584565เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2015 18:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มกราคม 2015 12:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท