การศึกษารายงานการวิจัย


การศึกษารายงานการวิจัยที่ใช้สถิติในการวิจัยเรื่องผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่อง ทรัพยากรในท้องถิ่น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

โดยใช้การสอนแบบวัฎจักรสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es)

1.ชื่อเรื่อง: ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่อง ทรัพยากรใน

ท้องถิ่น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การสอนแบบวัฎจักรสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น

(5Es)

2.ชื่อผู้วิจัย: สหพรบุญสุข

3.แหล่งที่มา: วิทยานิพนธ์ก.ศม.มหาวิทยาลัยขอนแก่นปี พ.ศ.2551

4.ความมุ่งหมายของการวิจัย

1.เพื่อศึกษาทักษะการคิดพื้นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง ทรัพยากรในท้องถิ่นโดยใช้การสอนแบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es)ให้มีจำนวนนักเรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม

2.เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง ทรัพยากรในท้องถิ่นโดยใช้การสอนแบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es)ให้มีจำนวนนักเรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม

5.ขอบเขตของการวิจัย

1.กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1ภาคเรียนที่ 2ปีการศึกษา 2550โรงเรียนบ้านม่วงอำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 1จำนวน 1 ห้องเรียนนักเรียนทั้งหมด 23 คน

2.เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยคือเนื้อหากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง ทรัพยากรในท้องถิ่น

3.ระยะเวลาที่ในการวิจัยดำเนินการในภาคเรียนที่ 2ปีการศึกษา 2550

4.ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยคือทักษะการคิดพื้นฐานและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่สอนโดยใช้การสอนแบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es)

6.สถิติที่ใช้ในการวิจัย

สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละ

7.ผลการวิเคราะห์ด้วยสถิติ

1.ผลการวัดทักษะการคิดพื้นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปรากฏว่าจากคะแนนเต็มทั้งหมด 30 คะแนนนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยทั้งหมด 23.09จำนวนนักเรียนที่สอบผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จากคะแนนเต็มมีผู้สอบผ่าน 19 คนจากนักเรียนทั้งหมด 23 คนคิดเป็นร้อยละ 82.61 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมดมีผู้สอบไม่ผ่านเกณฑ์จำนวน 4 คนจากนักเรียนทั้งหมด 23 คนคิดเป็นร้อยละ 17.39 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมดดังตารางที่ 1

จำนวนนักเรียน

คะแนนเต็ม

คะแนน

เฉลี่ยทั้งหมด

เกณฑ์

จำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์

ร้อยละ (%)

จำนวนนักเรียน

ที่ไม่ผ่านเกณฑ์

ร้อยละ (%)

คะแนน

ที่ผ่านเกณฑ์

ร้อยละ (%)

23

30

23.09

21

70

19

82.61

4

17.39

ตารางที่ 1แสดงจำนวนนักเรียนที่สอบผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70ในการทำแบบทดสอบวัดทักษะการคิดพื้นฐาน

2.ผลการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3ปรากฏว่าจากคะแนนเต็มทั้งหมด 30 คะแนนนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยทั้งหมด 22.74จำนวนนักเรียนที่สอบผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จากคะแนนเต็มมีผู้สอบผ่าน 18 คนจากนักเรียนทั้งหมด 23 คนคิดเป็นร้อยละ 78.26 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมดมีผู้สอบไม่ผ่านเกณฑ์จำนวน 5 คนจากนักเรียนทั้งหมด 23 คนคิดเป็นร้อยละ 21.74 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมดดังตารางที่ 2

จำนวนนักเรียน

คะแนนเต็ม

คะแนน

เฉลี่ยทั้งหมด

เกณฑ์

จำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์

ร้อยละ (%)

จำนวนนักเรียน

ที่ไม่ผ่านเกณฑ์

ร้อยละ (%)

คะแนน

ที่ผ่านเกณฑ์

ร้อยละ (%)

23

30

22.74

21

70

18

78.26

5

21.74

ตารางที่ 2แสดงจำนวนนักเรียนที่สอบผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70ในการทำแบบทดสอบวัดวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

8.วิจารณ์การใช้สถิติ

สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละเหมาะสมกับการวิจัยเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากความมุ่งหมายของการวิจัยได้ตั้งไว้ว่าต้องการให้มีจำนวนนักเรียนร้อยละ 70 ที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70ของคะแนนเต็มทั้งทักษะการคิดพื้นฐานและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้สถิติร้อยละ (Percentage) เพื่อหาค่าร้อยละของจำนวนนักเรียนที่มีทักษะการคิดพื้นฐานและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ที่ความมุ่งหมายของการวิจัย (ข้อ 4)ได้ตั้งเอาไว้ส่วนการใช้ค่าเฉลี่ย (ArithmeticMean)เป็นสถิติที่ใช้กับข้อมูลที่อยู่ในมาตราอันตรภาคชั้น (IntervalScale)

อนึ่งในการใช้สถิติค่าเฉลี่ยจำเป็นต้องใช้คู่กับการหาสถิติค่าร้อยละ

การศึกษารายงานการวิจัยที่ใช้สถิติในการวิจัยเรื่องการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมลำน้ำปาวโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

1.ชื่อเรื่อง: การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้เรื่อง สิ่งแวดล้อมลำน้ำปาวโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน

สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

2.ชื่อผู้วิจัย: ทนงศักดิ์ปัดสินธุ์

3.แหล่งที่มา: วิทยานิพนธ์ก.ศม.มหาวิทยาลัยขอนแก่นปี พ.ศ.2551

4.ความมุ่งหมายของการวิจัย

1.เพื่อพัฒนาหน่วยการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมลำน้ำปาวโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

2.เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เกิดจากการเรียนรู้ตามกิจกรรมการเรียนรู้ในหน่วยการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมลำน้ำปาวโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

3.เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหน่วยการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมลำน้ำปาวโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

5.ขอบเขตของการวิจัย

1.กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6โรงเรียนบ้านเทพปัญญาอำเภอกุมภวาปีจังหวัดอุดรธานีภาคเรียนที่ 1ปีการศึกษา 2550จำนวน 36 คน

2.เนื้อหาที่ใช้ในการสร้างหน่วยการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมลำน้ำปาวจะเน้นเนื้อหาในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมโดยบูรณาการแบ่งเป็นหน่วยย่อยในเรื่องของสิ่งแวดล้อมรอบตัวรักษ์ทรัพยากรป่าไม้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพย์ในดินแหล่งน้ำอันอุดมสมบูรณ์และอากาศอันบริสุทธิ์

3.การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ในครั้งนี้ดำเนินการตามแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544

4.การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในครั้งนี้มีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายวิธีขึ้นอยู่กับเนื้อหาสาระในแต่ละแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

5.ระยะเวลาที่ในการวิจัยดำเนินการในภาคเรียนที่ 1ปีการศึกษา 2550

6.สมมติฐานของการวิจัย

นักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้ตามกิจกรรมการเรียนรู้ในหน่วยการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมลำน้ำปาวโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในหน่วยการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียน

7.สถิติที่ใช้ในการวิจัย

สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือค่าเฉลี่ยค่าร้อยละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความเรียง

8. ผลการวิเคราะห์ด้วยสถิติ

1.ผลการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมลำน้ำปาวโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6ผู้วิจัยได้พัฒนาหน่วยการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมลำน้ำปาวโดยบูรณาการเนื้อหาในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมและได้หน่วยการเรียนรู้ทั้งหมด 6 หน่วยการเรียนรู้จำนวน 6 แผนการจัดการเรียนรู้ได้แก่

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1ประโยชน์คุณค่ากับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2ทรัพยากรธรรมชาติกับการอนุรักษ์

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3ป่ากับแนวทางการอนุรักษ์

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4ชนิดของดินและการอนุรักษ์ดิน

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5การอนุรักษ์น้ำเพื่อการดำรงชีวิตในชุมชน

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6อากาศกับการปฏิบัติตนในการดำรงชีวิต

ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติมอยู่ในภาคผนวก(สำเนาเอกสารเรื่องการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมลำน้ำปาวโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6)

2.ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้เรียนรู้จากการเรียนรู้ตามกิจกรรมการเรียนรู้ในหน่วยการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมลำน้ำปาวโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนได้ผลดังนี้

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจำนวน 36 คนก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01ดังตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 3แสดงคะแนนวัดผลสัมฤทธิ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

คนที่

คะแนนเต็ม (30)

เฉลี่ยร้อยละ (%)

ก่อน

หลัง

ก่อน

หลัง

1

20

26

67

87

2

15

24

50

80

3

16

21

53

70

4

14

20

47

67

5

15

25

50

83

ตารางที่ 3แสดงคะแนนวัดผลสัมฤทธิ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (ต่อ)

คนที่

คะแนนเต็ม (30)

เฉลี่ยร้อยละ (%)

ก่อน

หลัง

ก่อน

หลัง

6

12

19

40

63

7

13

26

43

87

8

14

23

47

77

9

10

25

33

83

10

10

18

33

60

11

13

20

43

67

12

12

21

40

70

13

10

22

33

73

14

15

19

50

63

15

15

24

50

80

16

15

25

50

83

17

10

26

33

86

18

14

21

47

70

19

11

20

37

66

20

11

23

37

76

21

12

20

40

66

21

12

20

40

66

22

14

26

47

68

23

11

23

37

76

24

10

24

33

80

25

14

21

47

70

26

14

20

47

67

27

10

19

33

63

28

12

22

40

73

29

12

24

40

80

30

12

25

40

83

ตารางที่ 3แสดงคะแนนวัดผลสัมฤทธิ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (ต่อ)

คนที่

คะแนนเต็ม (30)

เฉลี่ยร้อยละ (%)

ก่อน

หลัง

ก่อน

หลัง

31

14

20

47

67

32

13

19

43

63

33

14

21

47

70

34

16

23

53

77

35

13

24

43

80

36

14

23

47

76

_

ตารางที่ 4แสดงการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

การทดลอง

n

X

S.D.

t

ก่อนการทดลอง

36

13.06

2.19

18.77**

หลังการทดลอง

36

22.28

2.41


**มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

_

3.ผลการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหน่วยการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมลำน้ำปาวโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนพบว่าความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหน่วยการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมลำน้ำปาวโดยภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับ”มาก”(X= 2.60)โดยในด้านเนื้อหาในหน่วยการเรียนรู้นักเรียนเห็นว่าเนื้อหาเป็นที่น่าสนใจของผู้เรียนและน่าสนใจในการเรียนรู้เนื้อหามีความสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมในชุมชน(X= 2.92)ส่วนในด้านกะบวนการเรียนรู้นักเรียนและครูปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันอย่างสนุกสนานนักเรียนได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมในชุมชนโดยตรงและครูใช้กิจกรรมการเรียนรู้อย่างหลากหลายและมีความน่าสนใจ(X= 2.92)

ตารางที่ 5แสดงความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหน่วยการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมลำน้ำปาวโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน

ข้อที่

รายการ

_

ระดับความคิดเห็น

แปลความ

X

S.D.

ด้านเนื้อหาในหน่วยการเรียนรู้

1

เนื้อหามีความง่าย เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน

2.72

0.45

มาก

2

เนื้อหามีความทันสมัยทันต่อเหตุการณ์ในปัจจุบัน

2.67

0.48

มาก

3

เนื้อหาเป็นที่น่าสนใจของผู้เรียนและน่าสนใจในการเรียนรู้

2.92

0.28

มาก

4

เนื้อหามีความสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมในชุมชน

2.92

0.28

มาก

ด้านกระบวนการเรียนรู้

5

การนำเข้าสู่บทเรียนมีความสัมพันธ์กับเนื้อหา

2.72

0.45

มาก

6

การนำเข้าสู่บทเรียนมีความสัมพันธ์กับประสบการณ์เดิมของนักเรียน

2.47

0.51

มาก

7

การนำเข้าสู่บทเรียนมีวิธีที่น่าสนใจ

2.89

0.31

มาก

8

นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นและแสดงออกอย่างอิสระ

2.83

0.38

มาก

9

นักเรียนและครูปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันอย่างสนุกสนาน

2.92

0.28

มาก

10

นักเรียนได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมโดยตรง

2.92

0.28

มาก

11

นักเรียนมีโอกาสได้ซักถามข้อสงสัยจากครูผู้สอน

2.64

0.49

มาก

12

ครูใช้กิจกรรมการเรียนรู้อย่างหลากหลายและมีความน่าสนใจ

2.92

0.28

มาก

13

ครูใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนมาจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างน่าสนใจ

2.89

0.32

มาก

14

กิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมให้นักเรียนร่วมมือกันเรียนรู้และทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม

2.89

0.32

มาก

15

การสรุปกิจกรรมและเนื้อหามีความน่าสนใจ

2.89

0.32

มาก

16

นักเรียนสามารถสรุปบทเรียนได้ด้วยตนเอง

2.89

0.40

มาก

ด้านการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้

17

สื่อการเรียนรู้มีความน่าสนใจ

2.81

0.44

มาก

ตารางที่ 5แสดงความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหน่วยการเรียนรู้ เรื่องสิ่งแวดล้อมลำน้ำปาวโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน

ข้อที่

รายการ

_

ระดับความคิดเห็น

แปลความ

X

S.D.

18

สื่อการเรียนรู้มีความสัมพันธ์กับเนื้อหาที่เรียน

2.75

0.44

มาก

19

สื่อการเรียนรู้มีความเหมาะสมกับวัยของนักเรียน

2.81

0.40

มาก

20

นักเรียนมีส่วนร่วมในการใช้สื่อการสอน

2.81

0.40

มาก

21

นักเรียนได้เรียนรู้ตามแหล่งเรียนรู้ในชุมชน

2.86

0.35

มาก

ด้านการวัดและประเมินผล

22

มีการวัดและประเมินผลจากสภาพจริงเช่นผลงานพฤติกรรมฯลฯ

2.42

0.50

มาก

23

นักเรียนมีส่วนร่วมในการวัดและประเมินผล

2.33

0.48

มาก

24

นักเรียนได้เรียนรู้ตามแหล่งเรียนรู้ในชุมชน

2.42

0.50

มาก

ด้านการนำความรู้ไป

25

นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้เรียนไปใช้ในชีวิตประจำวัน

2.64

0.49

มาก

26

นักเรียนมีความภาคภูมิใจที่ได้เรียนหน่วยการเรียนรู้เกี่ยวกับท้องถิ่นของตนเอง

2.72

0.45

มาก

27

นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้กับวิชาอื่น ๆ

2.50

0.51

มาก

ด้านเวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

28

เวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละเรื่องมีความเหมาะสมกับสาระการเรียนรู้

2.17

0.38

มาก

29

เวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชุมชนมีความเหมาะสมในแต่ละกิจกรรม

2.22

0.42

มาก

30

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละชั่วโมงมีช่วงเวลาที่เหมาะสมในแต่ละกิจกรรม

2.14

0.35

มาก

รวมค่าเฉลี่ย

2.60

0.40

มาก

9.วิจารณ์การใช้สถิติ

สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือค่าเฉลี่ยค่าร้อยละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและความเรียง

ความเหมาะสมของการใช้สถิติกับการวิจัยเรื่องดังกล่าวเหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง(เฉพาะค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละ)เนื่องจากหากใช้สถิติทางการวิจัยเฉพาะค่าเฉลี่ยค่าร้อยละและความเรียงก็สามารถตอบคำถามของวัตถุประสงค์ของการวิจัย (ความมุ่งหมายของการวิจัย)และสมมติฐานของการวิจัยได้แล้วเนื่องจากการหาค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละเป็นการเทียบตัวเลขจำนวนหนึ่งหรือหลายจำนวนกับตัวเลขจำนวนหนึ่งนั่นคือการเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน(อนึ่งสถิติทั้งสองตัวนี้จำเป็นต้องใช้คู่กันเสมออีกประการหนึ่ง)ส่วนการใช้ความเรียงหรือเรียกว่าสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics)เหมาะสมกับการนำไปใช้ในความมุ่งหมายของการวิจัยข้อ 1)เพื่อพัฒนาหน่วยการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมลำน้ำปาวโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6เพราะผู้วิจัยประสงค์พัฒนาหน่วยการเรียนรู้และหน่วยการเรียนรู้เป็นเรื่องของเนื้อหาของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจึงจำเป็นต้องใช้ความเรียงเป็นสถิติที่ใช้ในการวิจัยอีกตัว

ส่วนสถิติส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานทำให้มองเห็นการกระจายตัวของคะแนนก่อนและหลังการพัฒนา

บรรณานุกรม

คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2551).วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย = Statistical

Methods for Research. พิมพ์ครั้งที่ 4.กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.

ทนงศักดิ์ปัดสินธุ์. (2551). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมลำน้ำปาวโดยใช้แหล่ง

เรียนรู้ในชุมชนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสต

มหาบัณฑิตสาขาสิ่งแวดล้อมศึกษาคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ภูษิตบุญทองเถิง.(2536).การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ศึกษาในระดับ

ประถมศึกษา.ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สหพรบุญสุข. (2551). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่อง

ทรัพยากรในท้องถิ่น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การสอนแบบวัฎจักรสืบเสาะหาความรู้ 5

ขั้น (5Es). วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาหลักสูตรและการสอนคณะ

ศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุชาจันทน์เอม.การวิจัยทางการศึกษา = Research in Education.กรุงเทพฯ : แพร่พิทยา, 2521.


ภาคผนวก

ข้อมูลส่วนตัวผู้รายงาน

ชื่อ - สกุล:นางกลิ่นแก้วลิวไธสง

วัน เดือน ปี เกิด:วันที่ 4เดือนธันวาคมพุทธศักราช 2515

วุฒิการศึกษา:ปริญญาตรีวิชาเอกบรรณารักษศาสตร์สถาบันราชภัฏนครราชสีมา

สถานที่ปฏิบัติราชการ:โรงเรียนบ้านสงเปือยฮ่องเดื่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ขอนแก่น เขต 1

ที่อยู่ปัจจุบัน: โรงเรียนบ้านสงเปือยฮ่องเดื่อตำบลบึงเนียมอำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่นรหัสไปรษณีย์ 40000

หมายเลขโทรศัพท์ :08-6864-6865

E-mail :[email protected]

ศึกษาเพิ่มเติม : ปีการศึกษา 2556

รูปภาพผู้จัดทำรายงาน(นางกลิ่นแก้วลิวไธสง)

หมายเลขบันทึก: 584473เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2015 01:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มกราคม 2015 11:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท