ประสบการณ์กับสมาธิสั้น


สวัสดีคะ ในวันพฤหัสที่ 22 มกราคม ที่ผ่านมาดิฉันอยากแบ่งปันเรื่องราวที่ได้มีโอกาสเรียนรู้ประสบการณ์ตรงจากอ.พญ.หัทยา ดำรงค์ผลจากสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดลที่ท่านได้ให้เกียรติมาให้ความรู้ ประสบการณ์ในการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตสังคมในเด็กและวันรุ่น อาจารย์ได้มาให้ความรู้เรื่องADHD(Attention Deficit Hyperactivity Disorder)หรือที่รู้จัดในภาษาไทยว่า โรคสมาธิสั้นคะ

รคสมาธิสั้นเป็นโรคทางสมองที่สารเคมีในสมองทำงานไม่สมดุลกัน ไม่ใช่เกิดจากการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมคะ มีอาการ 3 ประเภท คือ

  • 1.Inattention type ดูภายนอกสงบ นิ่งๆ แต่หากในทำกิจกรรมก็จะอยู่กับกิจกรรมนั้นไม่ได้นานคะ ยกเว้นกิจกรรมการดูโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์คะ มักใจลอย ไม่ฟังเวลาผู้อื่นพูด มักทำของหายเป็นประจะและหลงลืมง่าย
  • 2.Hyperactive type มีการเคลื่อนไหวมาก ไม่อยู่นิ่ง ลุกไปมา ซนมาก วิ่งปีนป่าย ไม่สามารถรอคอยได้
  • 3.Combined type ผสมกับของสองข้อแรกคะ


การสังเกตพฤติกรรม

  • มักเกิดอาการก่อน 7ขวบ
  • สังเกตพฤติกรรมตามอาการข้างต้น และเกิดพฤติกรรมมากกว่า 2 สถานที่ เช่น ที่บ้าน ที่โรงเรียน ที่ห้างสรรพสิ้นค้า (ต้องสังเกตพฤติกรรมมากกว่า 2 สถานที่นะคะ เพราะอาจไม่ใช่เด็กสมาธิสั้นแต่อาจเป็นเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรม) แต่เด็กอาจไม่แสดงอาการเมื่อ อยู่กันหนึ่งต่อหนึ่ง อยู่ในสถานที่แปลก ถูกดุให้หยุดนิ่ง
  • มีแบบประเมินพฤติกรรมให้ผู้ปกครองและคุณครูทำด้วยคะ


การรักษานั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคในแต่ละคน ซึ่งหากรุนแรงมากก็อาจต้องรับประทานยาไปตลอดเพื่อปรับสมดุลของสารเคมีในสมอง ร่วมกับการทำกิจกรรมบำบัดและความร่วมมือของผู้ปกครอง ครอบครัวด้วยคะ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการรักษา


https://stayhealthylivefit.files.wordpress.com/2014/07/positive_apsects_to_adhd_add

หมายเลขบันทึก: 584470เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2015 23:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มกราคม 2015 23:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท