ถอดบทเรียน "ฝ่ายจิต" ณ ศรีธัญญา


ที่มา:http://www.thairath.co.th/content/455725


จากการเรียนวิชา"กิจกรรมบำบัดจิตสังคม"ในวันนี้ ดิฉัน นางสาววรนิษฐา ชาญพิทยานกูลกิจ นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ฟังประสบการณ์การบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตในผู้รับบริการที่โรงพยาบาลศรีธัญญาของ อ.พญ.สมรัก ชูวานิชวงศ์ ผู้มีประสบการณ์การทำงานกับผู้รับบริการที่มีความผิดปกติทางจิตเป็นเวลา 20 ปี ซึ่งจากการฟังในครั้งนี้ดิฉันสามารถถอดบทเรียนได้ดังนี้

  1. ดิฉันได้คำตอบของคำถามที่ตั้งไว้ในใจตั้งแต่ตอนแรกที่เริ่มฟังได้ว่า "ผู้ป่วยทางจิตสามารถหายเป็นปกติ และกลับไปใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้จริง"

หากได้รับการสนับสนุนจากทั้ง3ฝ่าย ดังต่อไปนี้

  • บุคลากรทางการแพทย์รวมถึงนักกิจกรรมบำบัด : เป็นผู้ให้การบำบัดรักษา ให้ความรู้เกี่ยวกับโรค ให้กำลังใจผู้ป่วยรวมถึงญาติของเขา ผู้ทำให้สังคมรู้และเข้าใจคุณค่าของความเป็นคนในตัวผู้ป่วย ถึงแม้ว่าเขาจะมีอาการทางจิตแต่สังคมก็ไม่ควรไปตีตราว่า"คนนี้มันบ้า มันไม่ดี มันน่ากลัว"
  • ครอบครัวของผู้ป่วย : เป็นกำลังสำคัญที่มีส่วนช่วยให้การบำบัดรักษาผู้ป่วยทางจิตนั้นได้ผลดีขึ้น โดยครอบครัวจะต้องตระหนักรู้ถึงความสำคัญในการดูแลเอาใจใส่ เช่น ครอบครัวควรช่วยเหลือดูแลเรื่องการกินยาอย่างสม่ำเสมอ ให้กำลังผู้ป่วย มีทัศนะคติที่ดี ไม่ซ้ำเติมด้วยการทอดทิ้ง ผูกมัด ลามโซ่ หรือขังกรง ควรกระทำกับผู้ป่วยให้เหมือนว่าเขาแค่ไม่สบาย หากให้การสนับสนุนดูแลอย่างดีแล้วก็จะสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
  • ตัวผู้ป่วย : ในผู้ป่วยบางคนที่รับรู้ตัวเองดี ดูแลตัวเองได้ กินยาตามแพทย์สั่ง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ก็จะส่งผลให้อาการนั้นดีขึ้นและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ แต่ในผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะไม่รู้ตัวและควบคุมตัวเองไม่ได้ จึงจำเป็นจะต้องอาศัยเวลาการบำบัดรักษาเพื่อให้ตระหนักรู้และยืนอยู่ในสังคมได้ต่อไป

2. ดิฉันได้เรียนรู้ประสบการณ์การรับมือกับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง

  • โดยปกติแล้วในรพ. ศรีธัญญาจะมีเจ้าหน้าที่เปลคอยตรวจผู้ป่วย ดูความปลอดภัย หากพบคนไหนเสี่ยงจะเกิดอาการคุ้มคลั่งก็จะให้ไปนั่งในห้องแยก ให้สงบสติอารมณ์
  • หากมีอาการรุนแรงขึ้นจะมีการเข้าล็อคจับตัวไว้ ควบคุมสติอารมณ์ด้วยการฉีดยา
  • เมื่อผู้ป่วยพอตั้งสติได้จะเข้าหาด้วยการพูดคุยกับเขา ฟังเขาพูดแล้วนำกลับมาคิดวิเคราะห์ ค้นหาว่าเรื่องใดจริงเรื่องใดเท็จ นำมาบำบัดรักษาต่อไป
  • ทำให้ได้เรียนรู้ว่าเราควรหัดสังเกตผู้ป่วย ตระหนักอยู่ตลอดเวลาว่าอะไรที่จะกลายมาเป็นอาวุธที่ใช้ทำร้ายผู้อื่นและตัวเขาเองได้บ้าง เช่น แปรงสีฟันอันนึงที่เราใช้แปรงฟันกันอยู่ทุกวันก็สามารถกลายมาเป็นอาวุธที่อันตรายได้หากเราไม่รู้จักระมัดระวัง

3. ได้เรียนรู้การเข้าหาผู้ป่วยโดยเราจะต้องใช้ความจริงใจของเรา + ทักษะการสื่อการ + ให้เกียรติและเข้าใจเขา

4. ได้เรียนรู้เรื่องการมองผู้ป่วยว่า

  • เราควรมองเขาเป็นองค์รวมและยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง
  • ดูว่าผู้ป่วยกระทบสิ่งแวดล้อมอะไรและอะไรที่กระทบต่อตัวเขาบ้าง เช่น ครอบครัว สังคมรอบข้างที่มองเขาเป็นอย่างไร
  • มองถึงบทบาทที่เขาเคยเป็นและอะไรที่อยากเป็น
  • แรงจูงใจของผู้ป่วยคืออะไรและอะไรจะมาเป็นแรงจูงใจของผู้ป่วยได้

ทุกอย่างคือสิ่งที่ผู้บำบัดต้องร่วมค้นหาเพื่อให้ได้คำตอบไปใช้ในการบำบัดรักษาต่อไป

จากที่ได้ฟังในครั้งนี้ทำให้ดิฉันได้รู้ว่า งานของนักกิจกรรมบำบัดที่รพ.ศรีธัญญาจะต้องเป็นงานที่ท้าทายมากแน่ๆที่จะทำให้ทุกคนได้เห็นหน้าที่ของเราอย่างเด่นชัดว่ามีประโยชน์ต่อผู้ป่วยทางจิตมากเพียงใด ซึ่งการที่จะพัฒนาให้มากขึ้น ตัวดิฉันเองก็จะต้องหาความรู้เกี่ยวกับฝ่ายจิตสังคมให้มากขึ้น ได้ลงมือทำกับผู้รับบริการจริงๆ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดกับผู้รับบริการและทำให้เขาสามารถกลับไปมีส่วนร่วมในสังคมได้อย่างเต็มความสามารถของเขา เพื่อความสุขกับคุณภาพชีวิตใหม่ที่ดีขึ้น


หมายเลขบันทึก: 584260เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2015 23:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มกราคม 2015 23:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท