กูรู ผู้รู้ จิตเวช


20 ม.ค 2558 9.00 น.

วันนี้นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 ได้มีโอกาสเรียน...จริงๆจะใช้คำนี้อาจไม่ถูกต้องนัก ถ้าเปลี่ยนเป็นฟังบรรยายการถ่ายทอดประสบการณ์เห็นจะเหมาะที่สุด โดยผู้บรรยายคือ อ.พญ.สมรักษ์ ชูวานิชวงศ์ อาจารย์หมอผู้ปฏิบัติงานอยู่ที่โรงพยาบาลศรีธัญญาได้ให้เกียรติมาเป็นวิทยากรในการบรรยายในครั้งนี้


ที่มารูป


ในการเรียนครั้งนี้ อาจารย์ได้ในนักศึกษาทุกคนได้ตั้งคำถาม ในสิ่งที่ตนเองอยากรู้ในเรื่องบทบาทในทีมสหวิชาชีพและคำถามเกี่ยวกับโรงพยาบาลศรีธัญญา โดยที่อาจารย์จะค่อยๆตอบคำถามของพวกเราผ่านการบรรยายในรูปแบบต่างๆ ชี้ให้เห็นภาพผ่านกรณีตัวอย่างและเปิดโอกาสให้แสดงความเห็นในมุมมองที่หลากหลาย ซึ่งทำให้การบรรยายในครั้งนี้เหมือนการโต้วาทีย่อมๆเลยทีเดียว...

สิ่งที่น่าสนใจในการฟังบรรยายในครั้งนี้มีหลายประเด็นมากๆ ยกตัวอย่างเช่น อาจารย์ได้กล่าวถึงวงจรของผู้รับบริการที่เมื่อมีอาการที่ดีขึ้น -->กลับบ้าน-->ลืมกินยาหรือไม่มีคนเตือนกินยา-->อาการกำเริบ-->กลับมาที่โรงพยาบาล กลายเป็นวงจรซ้ำไปซ้ำมาเรียกว่า "วงจรอุบาทว์"

อาจารย์จึงได้แบ่งกลุ่มให้พวกเราเป็นผู้รับบริการ พ่อแม่/ญาติของผู้รับบริการ และผู้บำบัด แล้วให้พวกเราใส่ความรู้สึกว่า ถ้าเราไปเป็นเขาเราจะรู้สึกยังไง จากการพูดคุยกันในห้อง สรุปได้ว่า ตัวผู้รับบริการเองอาจจะรู้สึกท้อแท้ ผิดหวัง ว่าทำไมต้องกินยา ในเมื่อเราดีขึ้นแล้ว แต่เมื่อหยุดยา อาการก็กลับมาอีก ก็อาจทำให้ท้อแท้ในการรักษาได้ พ่อแม่/ญาติอาจส่งให้โรงพยาบาลดูแลถาวร เพราะเมื่อกลับบ้านอาจกลับมาสร้างความเดือดร้อนอีก ผู้บำบัดอาจจะเป็นผู้ให้ความรู้ ให้คำแนะนำ กับญาติและผู้รับบริการ ในเรื่องต่างๆทั้งกินยา การดูแลตนเองรวมไปถึงการเข้าไปมีอาชีพในสังคม

คำว่าผู้บำบัดในโรงพยาบาลจิตเวชไม่ได้มีแค่สหวิชาชีพเดียว แต่มีตั้งแต่ จิตแพทย์ นักจิตวิทยา นักจิตบำบัด นักสังคมสงเคราะห์ และ นัก กิจกรรมบำบัด ซึ่งแต่ละคนก็มีบทบาทที่แตกต่างกันออกไป โดยนักกิจกรรมบำบัดในงานจิตเวชตามมุมมองจิตแพทย์นั้นยังไม่เห็นบทบาทที่ชัดเจน เราเป็นวิชาชีพที่ประดิษฐ์ดอกไม้ ทำงานฝีมือ ยังไม่เห็นการทำบทบาทในด้านอื่น ซึ่งเมื่อได้ฟังที่อาจารย์เล่า ทำให้ตัวนักศึกษาอย่างเราเกิดแรงกระตุ้นให้เราพยายามแสดงบทบาทให้ชัดเจน เพื่อให้สหวิชาชีพอื่นๆเห็นถึงความสำคัญและนึกถึงเราเมื่อมีการส่งต่อการรักษา ซึ่งทุกคนในห้องนั้นเห็นตรงกันว่า...เป็นสิ่งที่ท้าทายแต่คุ้มที่จะทำ

ในฐานะนักกิจกรรมบำบัดสิ่งที่เราให้ความสำคัญในการทำกิจกรรม คือ ความต้องการของตัวผู้รับบริการและญาติ ดังนั้น "Client center " ผู้รับบริการต้องการอะไร รู้สึกอย่างไร ต้องให้ความสำคัญ นอกจากนี้ การวิเคราะห์กิจกรรม(Activity analysis) ซึ่งสิ่งนี้คือสิ่งที่ทำให้เราแตกต่างจากวิชาชีพอื่นๆ ซึ่งการวิเคราะห์กิจกรรมนี้เพื่อดูทักษะความสามารถ บริบทแวดล้อมของผู้รับบริการ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการรักษาต่อไป

ที่มารูป

หมายเลขบันทึก: 584255เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2015 23:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มกราคม 2015 23:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท