วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช

สรุปผลการพัฒนากระบวนการจัดการความรู้เพื่อสร้างแนวปฏิบัติที่ดีในองค์กร (ครั้งที่ ๑ "การวิจัยในช้ันเรียน")


สรุปผลการพัฒนากระบวนการจัดการความรู้เพื่อสร้างแนวปฏิบัติที่ดีในองค์กร (ครั้งที่ ๑)

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช ได้จัดโครงการพัฒนากระบวนการจัดการความรู้เพื่อสร้างแนวปฏิบัติที่ดีในองค์กร โดยกำหนดประเด็นการจัดการความรู้ ๒ ประเด็น คือ ๑. การวิจัยในชั้นเรียน ๒. เทคนิคการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของนักศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑

ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประกอบด้วยอาจารย์จากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร พิษณุโลก โดยผู้เชี่ยวชาญ คือ รศ.ดร.เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย

จากผลการประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "การวิจัยในชั้นเรียน" สรุปผลการเรียนรู้ดังนี้

การวิจัยในชั้นเรียน เป็นการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาการเรียน หรือ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาได้เต็มศักยภาพ ปัญหาการวิจัยจึงเกิดขึ้นในชั้นเรียน ในการแก้ไขปัญหาให้ผู้เรียน ซึ่งมีกระบวนการวิจัยและการประเมินผลที่ชัดเจน

ลักษณะการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

๑. เป็นการวิจัยที่ก่อให้เกิดการพัฒนาผู้เรียน ตั้งแต่เริ่มทำวิจัยจนกระทั่งเสร็จสิ้นการวิจัย ทำให้การคิดค้นวิจัยและการใช้ผลการวิจัยเกิดขึ้นในกระบวนการเดียวกัน และมีการนำผลไปใช้พัฒนาการเรียนการสอนที่เป็นพลวัต

๒. เป็นการวิจัยที่มีลักษณะเป็นการวิจัยและพัฒนา (research and development) ทำให้ได้นวัตกรรมการเรียนการสอนซึ่งพัฒนาขึ้นจากความรู้และประสบการณ์ของครูผู้ทำวิจัยที่เหมาะสมกับบริบทของผู้เรียน

๓. เป็นการวิจัยที่ทำให้อาจารย์เกิดการเรียนรู้อันเป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากสร้างสรรค์ความคิด การทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง และสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์ในการเรียนการสอน

๔. เป็นการวิจัยที่มีส่วนในการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ขององค์กร อันเนื่องมาจากลักษณะสำคัญของขั้นตอนการวิจัยที่ต้องมีการสะท้อนผล (reflection)

ชนิดของการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

๑. การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) เป็นกระบวนการแสวงหาความรู้ใหม่ที่ประกอบด้วยกระบวนการวิจัยและกระบวนการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการพัฒนานวตกรรมทางการศึกษาและนำไปใช้ปรับปรุงการเรียนการสอน โดยมีขั้นตอนดังนี้ ๑. ขั้นการวิเคราะห์ เป็นการวิเคราะห์ปัญหาและความจำเป็นทางการเรียนการสอน ๒. ขั้นออกแบบและพัฒนานวตกรรม ครอบคลุมการตรวจสอบนวตกรรม ๓. ขั้นการทดลองใช้นวตกรรม ๔. ขั้นประเมินนวตกรรม ประยุกต์ใช้และเผยแพร่

๒. การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เป็นกระบวนการศึกษาค้นคว้าเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฎิบัติงาน โดยผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการวิจัยในสถานที่ปฏิบัติงานภายใต้สภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่แท้จริง โดยมีขั้นตอนดังนี้ ๑. สังเกตปรากฏการณ์ในชั้นเรียน/การปฏิบัติงานของตน ๒. วิเคราะห์ปรากฏการณ์ ๓. วางแผนแก้ปัญหาด้วยวิธีที่เหมาะสม ๔. ดำเนินการแก้ปัญหา ๕. สังเกตการเปลี่ยนแปลง ๖. วางแผนแก้ปัญหาต่อหากไม่ได้ผล ๗. ดำเนินการต่อเนื่อง

การกำหนดประเด็นปัญหาการวิจัย สามารถวิเคราะห์ปัญหาในห้องเรียนได้ ดังนี้

๑. ปัญหาที่เกิดขึ้นคืออะไร ๒. ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาของใคร

๓. ปัญหาที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อใครและอะไรบ้าง ๔. ปัญหามีความสำคัญระดับใด

๕. การแก้ปัญหานั้นเกี่ยวข้องกับใครหรือไม่อย่างไร

ลักษณะของโจทย์ปัญหาวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนที่ดี

๑. สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น ๒. มีความจำเป็น ชัดเจนดี มีคุณค่า

๓. เป็นปัญหาปัจจุบัน ๔. อยู่ในวิสัยที่จะทำได้สำเร็จ

เมื่อทำวิจัยเสร็จสมบูรณ์การเขียนรายงานการวิจัย มีทั้งการเขียนรายงานแบบไม่เป็นทางการ และเป็นทางการ

ปัจจัยแห่งความสำเร็จของงานวิจัยในชั้นเรียน มีดังนี้

๑. องค์กรกำหนดนโยบายการพัฒนาผู้เรียนโดยการทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างชัดเจน

๒. มีคณะกรรมการวิจัยฯ ของสถาบันดำเนินการกลั่นกรอง พิจารณาโครงร่างการวิจัย

๓. งานวิจัยถือเป็นบทบาทของอาจารย์ในการทำวิจัยด้านวิชาการและการเรียนการสอน โดยการ บูรณาการกระบวนการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์กับการจัดการเรียนการสอน

๔. การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ใช้กระบวนการประกันคุณภาพ คือ P D C A

...........................................

หมายเลขบันทึก: 584200เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2015 09:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มกราคม 2015 16:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

เป็นกำลังใจให้ทุกคนน่ะค่ะ

ได้รับความรู้ใหม่ ๆ เพราะไม่เคยทำวิจัยในชั้นเรียนมาก่อน ขอบคุณค่ะ

เคยทำวิจัยในชั้นเรียนมาครั้งหนึ่งแต่ไม่มั่นใจว่าใช่หรือไม่ วันนี้ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้แล้วมั่นใจว่าสิ่งที่ทำมานั้น ใช่เลย มีกำลังใจเพิ่มขึ้นค่ะ

ได้รับความรู้จากการเเลกเปลี่ยนทำให้เพิ่มความมั่นใจในการทำวิจัยในชั้นเรียนมากยิ่งขึ้นคะ

ขอบคุณนะคะ

ลองไปทำไม่รู้ว่าจะใช้ได้หรือเปล่า ในภาคปฏิบัติวิชา BCPN การดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์( โดยใช้การสะท้อนคิด)

หนูก็ว่าจะลองไปทำในวิชาปฏิบัติสร้างเสริม ที่กำลังจะขึ้นวันที่ 20 เมษายน นี้เหมือนกัน แต่หนูไม่เคยทำเลย ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน :) คงต้องเริ่มจาก literature review เหมือนวิจัยหรือเปล่านะ :) ..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/584200

เดี่ยวลองทำดูนะค่ะ

ทำให้ได้แนวทางที่น่าสนใจ คิดว่าสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในการทำวิจัยในชั้นเรียนของตนเอง ตอนนี้ก้กำลังลองทำในรายวิชาที่นิเทศภาคปฏิบัติค่ะ ได้ผลอย่างไรจะมาแชร์ในโอกาสต่อไปนะคะ

อ.จิตติพร ศรีษะเกตุ

ดีมากค่ะ อยากแก้ปัญหาการเรียนของนักศึกษาวิชาจรยศาสตร์และกฎหมาย เนื่องจากพบว่า นศ.เรียน กฎหมายไม่เข้าใจวิเคราะห์โจทย์ไม่ได้ อยากใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียนมาแก้ปัญหานี้ ขอบคุณความรู้ดีๆค่ะ.....

ได้เรียนรู้การทำวิจัยในชั้นเรียนเพิ่มขึ้นครับ

อัญชลี แก้วสระศรี

ทำให้มีความรู้ความเข้าใจในการวิจัยในชั้นเรียนมากขึ้น

เป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาการเรียนการสอนได้ดีคะ..........

ดีมากคะ เข้าใจง่ายและนำไปใช้ได้จริง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท