beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

สมุดบันทึกการเรียนรู้ของบีแมน <๘> : บันทึกการเรียนรู้วันพุธที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘


มี ๑๐ เรื่องราวที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

เรื่องที่ ๑ (7.30-9.00 น.)ทบทวนความรู้ โดยการอ่านบันทึก บันเทิงชีวิตครูสู่ชุมชนการเรียนรู้ (๑) กำเนิด และ อานิสงส์ ของ PLC ตีความและให้ความเห็น ขั้นตอนของทักษะการปฏิบัติ คือ ครูแต่ละคนลงมือศึกษา 21st Century Skills, 21st Century Learning, 21st Century Teaching, เป็นไปตามลำดับ ไม่ข้ามขั้นตอน แต่อาจปฎิบัติไปได้พร้อมกันได้....อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/user/somluckv/comments

เรื่องที่ ๒ (9.15-9.30 น.) ไปสังเกตการสอนปฏิบัติการ เรื่องกล้องจุลทรรศน์ 4 ห้อง ที่ brief lab โดยอาจารย์สมจิตต์, อาจารย์สุนีย์, อาจารย์เนริสา และอาจารย์ชัยชาญ แม้เรื่องหลักเหมือนกัน แต่การลงรายละเอียดของการสอนไม่เหมือนกัน

เรื่องที่ ๓ (9.30-10.00 น.)เรียนรู้เรื่องวินัยการจราจรของนิสิตม.นเรศวร และปัญหาเรื่องสถานที่จอดรถ จะไปธนาคารกรุงศรีอยุธยา เพื่อไปฝากเงินชำระหนี้บัตรเครดิต แต่ต้องไปกดเงินที่ตึก QS ตู้ธนาคารกสิกรไทย พอหาที่จอดรถได้ แต่มีรถมอเตอร์ไซด์สวนตลอดเวลา ทั้งๆ ที่เป็นวันเวย์...มน.หรือที่อื่นๆ น่าจะประสบความล้มเหลวในการสร้างวินัยจราจร
อีกเรื่องหนึ่ง คือ ไปวนหาที่จอดรถที่หน้าธนาคารกรุงศรีฯ แต่หาไม่ได้เลย เลยต้องมาจอดที่คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ แล้วก็เดินไปแทน

เรื่องที่ ๔ เรียนรู้เรื่องกระแสเงินสดและสภาพคล่อง จากการที่เงินขาดมือประมาณ 20,000 บาท เนื่องจากต้องจ่ายค่าน้ำผึ้งและฝากเงินชำระหนี้บัตรเครดิต ที่เข้ามาพร้อมกันช่วงหลังปีใหม่ เตรียมกระแสเงินสดไม่พอ บางอย่างไม่เป็นไปตามคาด ถ้าชำระไม่ตรงเวลาจะไม่มีวินัยทางการเงิน ดังนั้นจึงต้องใช้วิธีหยิบยืมเงิน ให้คนโอนเงินข้ามเขต (ธนาคารเดียวกัน) โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม และยืมเงินระยะสั้นโดยไม่เสียดอกเบี้ย และจะชำระคืนไม่เกิน 10 วันทำการ

เรื่องที่ ๕ (10.00-10.15 น.) กำหนดจิตว่าอยากได้ปฏิทินแบบตั้งโต๊ะจากธนาคารกรุงศรีอยุธยาสาขาม.นเรศวร-เป็นเพราะเมื่อวันที่ 5 มกราคม ไปที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาเซ็นทรัล พิษณุโลก แล้วไปขอปฏิทินอย่างเดียว เจ้าหน้าที่บริการตรงจุดบัตรคิว บอกว่าปฏิทินหมดแล้ว (สงสัยว่าหมดจริงไหม)
พอตรงเข้าไปธนาคาร พบเด็กฝึกงาน (จากมน.สาขาการเงินการธนาคาร) ๒ คน เตรียมบริการตรงจุดบัตรคิว ตอนไปไม่มีคนอยู่ในคิว แล้ว ผจก.ธนาคารก็เดินมาหา ถามว่ามาใช้บริการอะไร ตอบว่า ฝากเงิน และก็มาขอปฏิทินด้วยเพราะยังไม่ได้ ผู้จัดการตอบว่า เดี๋ยวจะจัดให้ แล้วก็ไปหยิบปฏิทินแบบตั้งโต๊ะใส่ซองน้ำตาลมาให้ ๑ ฉบับ...ทุกปีอยากได้ปฏิทินของธนาคารนี้ เพราะว่าจะได้ปฏิทินสีเหลือง ซึ่งเป็นสีที่ชอบมาก-
คิดเองว่าการได้ปฏิทินตั้งโต๊ะสีเหลืองมานี้ไม่ใช่เหตุบังเอิญแน่นอน

เรืองที่ ๖ (10.20-11.00) ถ่ายทอดประสบการณ์เรื่องการบริหารจัดการการเงินและหลักการธนาคาร ให้นิสิตฝึกงานสาขาการเงินการธนาคาร ม.นเรศวร โดยเล่าเรื่องการโยกวงเงิน ๓ วง คือวงเงินบัตรเครดิต, เงินกู้กรมธรรม์ประกันชีวิต, หุ้นและเงินกู้สหกรณ์ ถ้าจัดการให้ดีแล้วใช้เงินไม่มาก...อ่านต่อได้ใน ครอบครัวตึ๋งหนืด

เรื่องที่ ๗ จดบันทึกในกระดาษเป็นโครงเรื่อง ก่อนเขียนเรื่องใน GotoKnow-เรื่องนี้พบว่าสอนเยอะจึงไม่มีเวลาได้อยู่กับคอมพิวเตอร์ ทำให้พลาดโอกาสเขียนอนุทินหรือเขียนบันทึก

เรื่องที่ ๘ เตรียมการสอนระหว่างเดินและเปลี่ยนแปลงการสอนที่หน้างาน-เดินไปสอนระหว่างตึกใช้เวลาเดิน 10-15 นาที เตรียมการสอนไปด้วย แล้วก็ทำโน๊ตย่อโดยเขียนในกระดาษ โน๊ตนี้ไม่ได้เตรียมเนื่อหา แต่เตรียมกระบวนการ ตัว BAR ไปเล่าให้นิสิตฟังว่าจะทำอะไร ตัว DAR นิสิตเป็นคนทำ และตัว AAR นิสิตสอบทวนความรู้ และอาจารย์สอบทวนความรู้โดยมาเขียนเป็นบันทึก

เรื่องที่ ๙ ไปเขาค้อเป็นการลงโทษหรือให้รางวัล ..ระหว่างเดินผ่านหน้าตึกชีววิทยา เห็นนิสิตกลุ่มหนึ่งนั่งทานอาหารกัน เดินไปทักทาย เห็นเม็ด macadamia จึงถามว่าได้มาจากไหน คำตอบคือเพื่อนซื้อมาฝากจากเขาค้อ (น่าจะมาจากร้านขายของฝาก) จึงถามว่า "ไปเขาค้อเป็นการลงโทษหรือให้รางวัล" แล้วเล่าเรื่องราวที่เคยไปเขาค้อทั้งแบบถูกลงโทษและให้รางวัล (คนที่ไปด้วยกันมีทั้งที่ถูกลงโทษและให้รางวัล) สรุปว่า ถ้าเราไปแบบถูกลงโทษจะไม่มีความสุข แต่ถ้าเราไปแบบให้รางวัลจะมีความสุข ดังนั้นความสุข อยู่ที่ได้รางวัลหรือ-อันที่จริง ความสุขไม่อยู่ที่ได้รางวัล แต่ความสุขเกิดจากวิธีคิดของเราต่างหาก เช่นเดียวกัน ความทุกข์ก็เ้กิดจากวิธีคิดของเราเช่นกัน

เรื่องที่ ๑๐ เรียนรู้จากการสอบทวนความรู้ของผู้เรียน-วันเสาร์ ไปสอนวิธีหาความรู้เรืองผึ้ง โดยสืบจากกล่อง (beehive=หีบเลี้ยง) วันจันทร์ผู้เรียนมา Present เป็น Mind mapping กลุ่มที่๑ นำเสนอเป็นกระบวนการได้มาซึ่งความรู้ แต่กลุ่มที่ 2 มานำเสนอใน 2 แบบ คือ สิ่งที่เห็น (คือได้เห็นอะไร) กับสิ่งที่ได้ (คือได้แนวคิด) ซึ่งต้องวิเคราะห์ ตีความ และมีแรงกระตุ้นที่จะไปหาความรู้เพิ่มเติม

หมายเลขบันทึก: 583964เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2015 17:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มกราคม 2015 18:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท