beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

สมุดบันทึกการเรียนรู้ของบีแมน <๑> : เรียนรู้จากการก้าวเดิน สู่อิสรภาพ (ทางความคิด)


จุดประสงค์ของการเดิน ต้องไม่ใชการก้าวเดินแบบธรรมดา แต่ต้องเป็นการก้าวเดินเพื่่อทำให้เกิดอิสรภาพทางความคิด

วันแรกของการสอน (วันเสาร์-วันเด็ก ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘) วิชาการเลี้ัยงผึ้ง sect๒ นิสิตกลุ่มศึกษาศาสตร์ มีคำถามหนึ่งเกิดในชั้นเรียน ให้ผู้เรียนได้วิเคราะห์ ในสิ่งที่มองเห็นและมองไม่เห็นในมุมมองของตนเอง และเมื่อรวมความเห็นของหลายๆ คน ก็จะเกิดพลังของการวิเคราะห์คือการสนธิพลังหรือ synergy และบีแมนได้มองเห็นว่า นี่คือขั้นตอนของวิทยาศาสตร์อันหนึ่ง คือ อยู่ในขั้น การวิเคราะห์ข้อมูลหรือ Data analysis ในยุคของ Big data เราจะรู้ได้อย่างไรว่า อันไหนถูกอันไหนผิด

จากคำถาม " ทำไมบีแมน จึงเดินไปสอน"

นิสิต 11 คน แบ่งเป็น ๒ กลุ่ม กลุ่มหนึ่ง ๖ คน กลุ่ม ๒ อีก ๕ คน Sharing 1 รอบได้ ๑๑ คำตอบ เท่าที่จำได้มีดังนี้

  1. เป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่ง (เรียนรู้ที่จะเดิน 10,000 ก้าวต่อวัน)
  2. เป็นการเผาผลาญแคลอรี่ คือ อาหารที่เรารับประทานไปในวันนั้น เป็นการลดน้ำหนักได้
  3. เป็นแบบอย่างให้นิสิตที่ได้เห็น ได้เดินแบบนี้บ้าง (รวมถึงอาจารย์หรือผู้บริหารด้วยก็ไม่ว่ากัน)
  4. เป็นระยะทางที่ใกล้ๆ สามารถเดินได้ (ใช้เวลาครั้งแรก 10 นาที ครั้งต่อไปลดมาเรื่อยๆ จนเหลือไม่เกิน 5 นาที)
  5. เป็นความสะดวก เพราะหาที่จอดรถได้ยาก (บางครั้งเอารถไปเสียเวลามากกว่า-คือเดินจากตึกชีววิทยาไปตึกศึกษาศาสตร์ตึก ๒ ห้อง ED2105-การเดินทำให้รู้ว่า ที่ตึกนี้มีคณะมนุษย์ศาสตร์มาขอ Share พื้นที่ใช้ด้วย)
  6. ระหว่างเดินจะมีสมาธิ จะได้คิดอะไรที่จะนำไปสอนได้ หรือ อาจมีความคิดดีๆ ซึ่งจะตกผลึกไปเป็นปัญญาต่อไป
  7. ระหว่างเดินจะมองเห็นบางสิ่งบางอย่างที่อาจมองไม่เห็นเมื่อมีการเคลื่อนไหวที่เร็วเหมือนการขับรถ (ยนต์) หรือขี่รถ (จักรยาน)ไป
  8. ระุหว่างเดินเหมือนเตรียมการสอน อาจจะพบเห็นสิ่งปัจจุบันขณะนั้น แล้วนำไปเล่าขณะสอน
  9. ระหว่างเดินอาจพบปะผู้คน ซึ่งทำให้ต้องมีการทักทาย เกิดความคุ้นเคย "วิสาสา ปรมา ญาติ"-ความคุ้นเคยเป็นญาติอย่างยิ่ง
  10. ทำให้เห็นความเสียสละุอันยิ่งใหญ่ (ครูคือผู้ให้) ของผู้สอน ที่เปิด sect ให้คณะศึกษาศาสตร์ และต้องเดินจากคณะวิทยาศาสตร์ไปคณะศึกษาศาสตร์ทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ คล้ายๆ กับผู้สอนที่ต้องเดินไปสอนนักเรียนในพื้นที่ที่ห่างไกล, นักเรียนชาวเขา (โครงการพระดาบส) เป็นการมองแบบ Deep Learning ซึ่งสัมผัสได้ด้วยใจของนิสิตชื่อ "เต้"
  11. ระหว่างเดินนั้น ทำให้เกิดอิสรภาพทางความคิด

ดังนั้น จุดประสงค์ของการเดิน ต้องไม่ใชการก้าวเดินแบบธรรมดา แต่ต้องเป็นการก้าวเดินเพื่่อทำให้เกิดอิสรภาพทางความคิด สมดังชื่อเรื่องของบันทึกนั้นเอง

หมายเลขบันทึก: 583795เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2015 08:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มกราคม 2015 09:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท