หลักฐานแห่งความรู้


สวัสดีคะ ในวันนี้ดิฉันได้เรียนในวิชาหลักฐานเชิงประจักษ์ ซึ่งในวันนี้ได้เริ่มเรียนเป็นคาบแรก เป็นความรู้เบื้องต้นของหลักฐานเชิงประจักษ์ ซึ่งดิฉันอย่างจะแบ่งปันความรู้ที่ได้กับทุกๆท่านคะ

หลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence) เป็นหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร สามารถเห็นได้จริง สืบค้นได้ โดยมี 2 แบบ คือ

  • Fast knowledge เป็นข้อมูล ความรู้ที่มาเร็วไปเร็ว
  • Slow knowledge เป็นความรู้ที่ได้จากการ ลงมือปฏิบัติ (learning by doing)

มีแบ่งเป็น 4 อย่าง คือ

  • หลักฐานจำแลง คือข้อมูลความรู้ที่จำเป็นชั่วครู่ชั่วคราว เป็นความรู้ที่มาเร็วไปเร็ว(Fast knowledge)
  • หลักฐานจำลอง คือข้อมูลความรู้ที่จำเป็น เป็นความรู้ที่ได้จากการลงมือปฏิบัติ คือ การไปสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม Slow knowledge ขั้นที่1
  • หลักฐานจำเป็นอย่างยิ่ง เป็นความรู้ที่ได้จากการลงมือปฏิบัติเช่นกัน แต่เริ่มเรียนรู้ ได้ข้อมูลความรู้มากขึ้น จากการถามผู้รู้และลงมือปฏิบัติจริงอย่างต่อเนื่อง (learning by doing) Slow knowledge ขั้นที่2
  • หลักฐานจำเป็นที่สุด เป็นการเขียนบันทึกข้อมูลความรู้ที่เราได้ศึกษาเป็นตำราของตนเอง Slow knowledge ขั้นที่3

การจะเป็นจาก Fast knowledge เป็น Slow knowledge ได้นั้นอาศัยระยะเวลาและความมีระเบียบวินัยในตนเอง คือเราลงมือสืบค้นข้อมูล สอบถามจากผู้รู้ ลงมือปฏิบัติและการจดบันทึกเป็นตำราของตนเองอย่างสมำ่เสมอ จะทำให้เป็นความรู้ที่อยู่ติดตัวเอราไปตลอด

รูปภาพจากhttp://gonereading.com/book-journal/

หมายเลขบันทึก: 583577เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2015 11:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มกราคม 2015 11:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท