มาเรียนกันแบบ Slow but sure! จำได้ตลอดชีพ


วันนี้ดิฉันได้มีโอกาสเรียนกับ อ.ดร.pop ในเรื่องหลักฐานเชิงประจักษ์ ในคาบนี้อาจารย์ท่านจะสอนแบบถามตอบซึ่งเป็นวิธีการสอนแบบใหม่สำหรับพวกดิฉันมาก ซึ่งในการเรียนวันนี้ทำให้ดิฉันฉุกคิดขึ้นมาว่าเราคงต้องเริ่มทำ diary หรือ สมุดบันทึก เพื่อบันทึกสิ่งต่างๆที่เราเรียนรู้มาเพื่อให้จดจำไปตลอดแล้วหล่ะ ...เพราะการเรียนทุกวันนี้ของเด็กไทย เป็นเหมือนการเรียนแบบ "ความรู้ที่ไปเร็วมาเร็ว (fast knowledge)" คือยังไม่ได้เป็น "ความรู้" แต่เป็นเพียง "ข้อมูล" ที่รับมาเท่านั้น เมื่อวันเวลาผ่านไป สิ่งที่เรารับมาหรือเรียนมาก็จะหายไปจากสมองเราตามกาลเวลา แต่ถ้าหากเราอยากทำให้มันเป็นความรู้ที่ติดตัวไปตลอดชีวิตหล่ะ? เราจะทำยังไง?

สิ่งที่ง่ายที่สุดในการทำให้ความรู้ที่เราเรียนหรือรับมาติดตัวเราไปตลอดก็คือเราต้องเปลี่ยนการเรียนแบบ Fast knowledge เป็น "ความรู้ที่ใช้ได้จริงอย่างค่อยเป็นค่อยไป (Slow knowledge)" เรียกสั้นๆว่า "Fast to slow" ซึ่งการเรียนแบบ Slow แบ่งเป็น 3 ระดับ

- Slow ระดับ 1 คือ การสืบค้น

- Slow ระดับ 2 คือ การแลกเปลี่ยน พบผู้รู้ หรือฝึกกับ case จริงๆเพื่อให้เราเห็นภาพจริงๆ

- Slow ระดับ 3 คือ การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นตำราชีวิตหรือหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence Based practise)

ถ้าหากเรา 1.มีการเรียน -> 2.ลองไปเห็นภาพจริง/ถามผู้รู้ -> 3.ทำสมุดบันทึกความรู้ไว้ ... เพียง 3 ขั้นตอนนี้ก็จะทำให้เราสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

และสิ่งสุดท้ายที่สำคัญที่สุดคือ "การเรียนรู้แบบ slow ต้องเรียนตลอดชีวิต" นะค่ะ :D


หมายเลขบันทึก: 583575เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2015 11:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มกราคม 2015 11:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท