การสอนชั้นเรียนขนาดใหญ่ (Teaching large classes) ตอนที่ 1


ชั้นเรียนขนาดใหญ่มีอยู่ในหลายประเทศ แต่ชั้นเรียนเหล่านั้นสร้างการท้าทายบางอย่างขึ้นมา บทความนี้จะนำเสนอให้ครูทั้งหลายได้ฝึกวินัย ใช้งานกลุ่ม และสื่อการสอนที่มีน้อยไม่เพียงพอกับชั้นเรียนขนาดใหญ่นั้น ในบทความนี้จะนำเสนอ ดังนี้

1. อะไรคือความท้าทายของชั้นเรียนขนาดใหญ่

2. ครูจะใช้งานกลุ่มเพื่อช่วยในการเรียนรู้ชั้นเรียนขนาดใหญ่ได้อย่างไร

3. ในกรณีที่สื่อการสอนมีจำกัด จะใช้ในชั้นเรียนที่มีขนาดใหญ่ได้อย่างไร

4. เราจะสร้างวินัยในชั้นเรียนขนาดใหญ่ได้อย่างไร

5. ข้อได้เปรียบของชั้นเรียนที่มีขนาดใหญ่

6. ขั้นต่อไปควรทำอะไร

1. อะไรคือความท้าทายของชั้นเรียนขนาดใหญ่ (What are the challenges of teaching a large class?)

1.1 การสร้างวินัยในชั้นเรียนขนาดใหญ่เป็นสิ่งที่ยาก

1.2 ครูจะต้องนำเสนอเด็กที่มีอายุแตกต่างกันมากขึ้น และมีความสามารถที่แตกต่างหลากหลายมากขึ้น เด็กเหล่านี้ต้องการเรียนสิ่งที่แตกต่างกัน ด้วยระยะเวลาในการเรียนที่ต่างกัน และมีวิธีการเรียนที่แตกต่างกัน

1.3 ครูไม่สามารถที่จะให้ความสนใจกับเด็กเป็นรายบุคคล อย่างที่เขาต้องการได้

1.4 ครูอาจไม่มีหนังสือที่เพียงพอ หรือสื่อการสอนที่เพียงพอกับเด็กของตนได้

2. ครูจะใช้งานกลุ่มในการช่วยเหลือการเรียนรู้ในชั้นเรียนขนาดใหญ่ได้อย่างไร (How can you use group work to help learning in a large class?)

ในชั้นเรียนขนาดใหญ่ การจับกลุ่มกันทำงานเป็นคู่หรือเป็นกลุ่มสามารถช่วยเหลือและเรียนรู้ซึ่งกันและกันได้ พวกเด็กๆไม่เบื่อที่ฟังเสียงของตน ลองดูยุทธวิธีเหล่านี้

2.1 จงจัดกลุ่มให้มีความสามารถใกล้เคียงกัน (organize the groups to suit the children's abilities)

พวกครูที่สอนชั้นเรียนขนาดใหญ่ต้องมียุทธวิธีที่แตกต่างหลากหลาย เช่น

1. กลุ่มที่มีความสามารถคละกัน (mixed-ability group) ผู้เรียนที่มีความสามารถในขั้นปานกลาง-ดีที่อยู่ในกลุ่มจะช่วยสอนให้คู่หรือกลุ่มของตนมีความเข้าใจในภาระงาน ดังนั้นครูจึงไม่จำเป็นที่สอนกลุ่มนี้ในบางส่วน

2. กลุ่มที่มีความสามารถใกล้เคียงกัน (same-ability group) ครูสามารถทิ้งนักเรียนที่เรียนเร็ว เพื่อให้อยู่กับงานของตน เขาหรือหล่อนสามารถที่จะช่วยผู้เรียนอื่นๆที่เป็นเด็กเรียนช้า

3. จะต้องใช้หัวหน้ากลุ่ม หรือ นักเรียนที่ช่วยครูดูแลความประพฤติของคนอื่น การใช้บุคคลทั้งนี้เพื่อช่วยครูในการแก้ปัญหานักเรียนที่เรียนช้า


2.2 ครูต้องดูแลกลุ่มด้วยตนเอง (Monitor the groups yourself)

ครูจะต้องเดินไปรอบๆห้องเพื่อจะเห็นความก้าวหน้าของนักเรียนและปัญหาที่นักเรียนพบเป็นประจำ ครูสามารถให้คำแนะนำ, จูงใจ, ให้การช่วยเหลือเป็นรายบุคคลสำหรับคนที่ต้องการ

3. งานกลุ่มสามารถใช้ในการช่วยเหลือห้องเรียนที่ไม่ขนาดใหญ่ได้อย่างไร ในเมื่อมีสื่อน้อยไม่เพียงพอกับเด็ก (How can group work help in a large class when resources are lacking?)

งานกลุ่มสามารถที่จะช่วยพวกครูที่มีหนังสือเพียง 2-3 เล่ม หรือบางทีอาจมีหนังสือแค่เล่มเดียว ถ้าพวกครูไม่มีหนังสือไม่เพียงพอกับตัวเด็ก ให้สร้างกลุ่มขึ้นมา ในแต่ละกลุ่มสามารถใช้หนังสือเพียงแค่เล่มเดียวได้

ถ้ามีหนังสือแค่เล่มเดียว ให้แต่ละกลุ่มมีเวลาใช้หนังสือ ส่วนกลุ่มอื่นๆก็ต้องทำกิจกรรมทีเหมาะสมกับแก่นเรื่องของภาษาที่อยู่ในหนังสือ เช่น สำหรับแก่นเรื่อง "ชีวิตครอบครัว" กลุ่มอื่นที่ยังไม่อ่าน ก็มีเวลาทำกิจกรรมก่อนอ่านได้ พวกเด็กสามารถที่จะเขียนคำต่างๆในเรื่องดังกล่าว หรือพูดในเรื่องชีวิตครอบครัวก็ได้ สำหรับกลุ่มอื่นที่ได้อ่านแล้ว ก็สามารถที่จะพูดเรื่องที่ได้อ่านไป หรือเขียนบทสรุปได้ เมื่อเวลาผ่านประมาณ 10 นาที ครูจึงให้หนังสือแก่กลุ่มอื่น เมื่อครบชั่วโมงแล้ว นักเรียนจึงมีโอกาสได้อ่านเรื่องนี้ทุกคน

ในกรณีที่มีงานกลุ่มหรือไม่มีงานกลุ่ม และถ้าคุณมีหนังสือเพียงแค่เล่มเดียว คุณควรจะ

1. เขียนตัวบทที่สำคัญบนกระดานดำก่อนมีการเรียน

2. สร้างตัวบทให้กลายเป็นการฟังและเขียนตาม (dictation) ดังนั้ทุกคนจะมีการต้นฉบับของตัวบทที่เขียนลงไป

หนังสืออ้างอิง

George Kankam, Maria Asamwe Bothawe, Joseph Garty Ampia, and other. Teaching large classes. http://www.teachingenglish.org.uk/articles/teaching-large-classes?utm_source=facebook-teachingenglish&utm_mediu%C2%ADm=wallpost&utm_campaign=bc-teachingenglish-facebook

หมายเลขบันทึก: 583547เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2015 18:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มกราคม 2015 18:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท