ตัวชี้วัดเปรียบได้กับนิ้วมือที่ชี้ดวงจันทร์


KPI ก็เสมือนนิ้วชี้ที่ใช้ชี้ดวงจันทร์ ฉนั้นก็อย่าไปเกรงว่าเครื่องมือจะวัดถูกไหม แต่ให้ความสำคัญว่าสิ่งที่ได้รับไป วิธีคิดที่เกิดขึ้นในตัวเรา หรือพูดง่ายๆว่า องค์ความรู้ที่อยู่ในนักเรียน ในบัณฑิต หรือองค์ความรู้ที่อยู่ในตัวข้าราชการเอง นั้นได้ถูกนำมา ทดลอง ทำ ปฏิบัติการ ตรวจสอบย้อนกลับ(PDCA) บริหารความเปลี่ยนแปลงและนำไปปรับปรุงแก้ไขวิธีการปฏิบัติราชการที่ถูกปรับปรุงครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างต่อเนื่องจนได้ "วิธีการปฏิบัติที่เหมาะสมที่สุด ที่ก่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด" (Best Practice) และต้องมีการปรับปรุงพัฒนา วิธีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและมี ปสผ.เพิ่มขึ้นเป็นลำดับในทุกๆปีที่ผ่านมาอย่างต่อเนื่องและดีขึ้นไม่หยุดยั้ง

นิ้วมือที่ชี้ไปที่ดวงจันทร์

......หลายครั้งเวลาเรานำตัวชี้วัด ชนิดต่างๆมาใช้พัฒางานบริหารประสิทธิผลงาน ให้ได้ดี เราไปให้น้ำหนักความสำคัญอยู่ที่นิ้วที่ใช้ชี้ ดวงจันทร์ ไปมองว่าจะทำอย่างไรให้ผลตัวเลข ร้อยละ แผนที่อยู่ในแบบฟอร์มตัวชี้วัด ออกมาประสบผลดี ได้ตัวเลขดี ได้ 5 คะแนน 4.5 คะแนน แต่เราลืมมองดวงจันทร์ นั่นคือลืมมอง เป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ ประสิทธิผลหรือคุณภาพผลงานที่ดีขึ้น เพราะดวงจันทร์ ต่างหากที่เรามุ่งหวัง ฉนั้นผู้ดูแลตัวชี้วัดควรระวังอย่าถามว่าทำไมถึงได้คะแนนตัวชี้วัดเท่านั้นเท่านี้? ควรถามว่าเหตุใดบ้างที่ทำให้งานออกมาไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ตามที่ตัวชี้วัดบ่งชี้ออกมาให้เห็น หรือตามที่แบบประเมินความเสี่ยง บ่งชี้ชัดให้เห็น มีเหตุจริงไหม ตัวชี้แม่นไหม ถ้าตัวชี้แม่นตามเหตุ ก็แสดงว่าการนำตัวชี้มาใช้นัน้ คุณใช้ได้สมบูรณ์ถูกวิธีใช้แล้ว ส่วนถ้าจะแก้ ไม่ได้แก้ตัวชี้ แต่ต้องแก้ที่เหตุ เหมือนกับที่ยังไม่ได้ทำตัวชี้วัดมาใช้ เราก็แก้ที่เหตุแบบเดิมนั่นเอง

........ลองเปรียบเทียบตัวชี้วัดเหมือนเทอร์โมมิเตอร์ อุณหภูมิห้องเป็นเหตุและผลลัพธ์ เป้าหมายคือการทำให้ห้องอุ่นขึ้น ฉนั้นไม่ว่าเทอร์โมมิเตอร์จะวัดอย่างไร ก็ ไม่ใช่เวลาจะมาบอกว่าเทอร์โมมิเตอร์ไม่ดีหรือเปล่าวัดผิดเพี้ยนหรือเปล่าเป็นหลักสำคัญ แต่ควรจะหาเหตุว่าทำไมฮีทเตอร์ถึงร้อนไม่พอ อุณภูมิจึงได้ไม่อุ่นและห้องยังมีอุณหภูมิเย็นอยู่ ส่วนวิธีการใช้เทอร์โมมิเตอร์ ก็เพียงดูว่า ได้รับการตรวจสอบเทียบมาแล้ว ติดตั้งถูกต้อง มีบริบทแวดล้อมที่เกี่ยวข้องอันจะทำให้การวัดผิดเพี้ยนได้ไหม ถ้ามีก็รีบกำจัดออก หรือถ้ากำจัดไม่ได้ก็ให้ตัดออกจะไม่นำมาคิดรวมนั่นเอง

หลักศาสนา "นิ้วที่ชี้ดวงจันทร์หาใช่ดวงจันทร์ไม่"

........ผู้คนโดยมาก ยากที่จะตระหนักรู้อยู่ตลอดเวลาถึงข้อจำกัดและความเป็นสิ่งสัมพันธ์ของความรู้เชิงเหตุผล เนื่องจากการจัดฉวยเอาสิ่งที่เป็น"ตัวแทนของความจริง"นั้นง่ายกว่าการจับฉวยเอา"ตัวความจริง"มาก เราจึงมักจะสับสนเกี่ยวกับตัวแทนและความจริง และทึกทักเอาว่าความคิดและสัญลักษณ์ต่าง ๆ เป็นตัวความจริงศาสนาของตะวันออกมีเป้าหมายสำคัญประการหนึ่งในการที่จะขจัดความสับสน (ตัวแทนในความหมายนี้น่าจะหมายถึง โมเดล ตามทฤษฎีต่างๆที่เราเปีรยบเทียบเพื่อให้ทำความเข้าใจได้ง่ายๆ)

นิกายเซนกล่าวไว้ว่า

"นิ้วที่ชี้ดวงจันทร์หาใช่ดวงจันทร์ไม่"

"นิ้วชี้ไปที่พระจันทร์ ก็หมายความว่า นิ้วนี้ไม่ใช่พระจันทร์นะ

ภาษาก็เหมือนกับนิ้วที่ชี้ไปที่พระจันทร์ จุดมุ่งเราอยู่ที่พระจันทร์
อย่าเอานิ้วเป็นพระจันทร์ หรืออย่าติดอยู่แค่นิ้ว เอานะ เข้าใจ…"

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)

และจางจื้อกล่าวว่า

ไซมีไว้สำหรับจับปลา แต่เมื่อได้ปลา คนก็ลืมไซ

แร้วมีไว้สำหรับดักกระต่าย แต่เมื่อได้กระต่าย คนก็ลืมแร้ว

คำพูดมีไว้ถ่ายทอดความคิด แต่เมื่อจับความคิดนั้นได้แล้ว คนก็ลืมคำพูด (2)


นิ้วชี้ - เครื่องมือ - ตัวชี้วัด - อุปายะ - ความรู้จากประสบการณ์

......ฉนั้นนิ้วที่ใช้ชี้ก็คือเครื่องมือ คือภาษาสอน คือวิธีการจัดการ หรือตัวชี้วัด ที่เรานำมาจัดการถ่ายทอดให้ทั้งตนเองและผู้รับการถ่ายทอด สามารถคิด วิเคราะห์ ตรวจสอบ และปรับปรุงการปฏิบัติการ ให้ได้เป้าหมาย จนเกิดเป็นความรู้ที่ได้ เรียนรู้ ทดลอง ทำ ซตพ จนเกิดมาเป็นองค์ความรู้คือ ความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ ในการทำมาจนสำเร็จได้ผลแล้ว หรือความรู้สัมบูรณ์นั่นเอง

.......ชาวพุทธเรียกความรู้ซึ่งมาจากประสบการณ์เช่นนั้นว่า "ความรู้สัมบูรณ์" เพราะไม่ขึ้นกับการแบ่งแยก การย่อสรุป การจำแนกแจกแจงในทางปัญญา (ซึ่งเราก็ได้เห็นแล้วว่าเป็นความรู้สัมพัทธ์ และเป็นความรู้ซึ่งมาจากการประมาณ) ความรู้สัมบูรณ์เป็นประสบการณ์โดยตรงต่อ "ความเป็นเช่นนั้นเอง" (suchness) ซึ่งไม่มีการแบ่งแยก แตกต่าง ความเข้าใจอย่างสมบูรณ์ต่อความเป็นเช่นนั้นเองเป็นแกนสำคัญของศาสนาตะวันออกและของประสบการณ์ทางจิตวิญญาณในทุกสายวัฒนธรรม

........ความจริงนั้นจะสัมผัสได้ ก็ด้วยประสบการณ์จากชีวิตจริงเท่านั้น หลักการในพระพุทธศาสนาจึงมิได้มีจุดมุ่งหมาย
ที่จะบรรยายให้เห็นถึงความจริง พุทธศาสนาจึงเป็นเพียงวิธีการ เป็นเครื่องชี้นำให้ผู้ปฏิบัติได้เข้าถึงความจริงด้วยตนเอง

ใน มหาไวปุลยปูรณพุทธสูตร ปรากฏข้อความความว่า
" หลักการทุกประการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้ อาจเปรียบได้กับ

" นิ้วอันชี้นำสู่ดวงจันทร์ "
เราใช้นิ้วเพื่อชี้ดวงจันทร์แต่เราจะต้องไม่เกิดความสับสนระหว่าง
นิ้วชี้กับดวงจันทร์ ด้วยนิ้วนั้นหาใช่ดวงจันทร์ไม่


คำว่า อุปายะ ( อุบาย ) ในภาษาสันสกฤต คือสิ่งที่ดัดแปลงขึ้น

(ในที่นี้ก็คือเครื่องมือ ตัวชี้วัด หรือโมเดล ที่ได้ทำการพิสูจน์ให้เห็นแจ้งแล้วตามหลักทฤษฎีเรื่องนั้นๆ)

โดยจุดมุ่งหมายที่จะเป็นแนวทางแก่บุคคล
เพื่อทำความเพียรไปสู่การรู้แจ้ง(ปฏิเวธ) และถ้าถือเอาวิธีการนี้
มาเป็นตัวจุดมุ่งหมายเสียเองแล้วละก็
ย่อมเหมือนดั่งการถือเอาคำอธิบายเกี่ยวกับการตรัสรู้มาเป็นการตรัสรู้เสียเอง
ทำให้อุบายนั้นไม่อาจสัมฤทธิ์ผลได้ ในทางตรงกันข้าม
ก็จะกลับกลายเป็นเครื่องจองจำอันถาวรเสียอีก ในทันใดที่บุคคล
ไปคิดนึกเอาว่านิ้วมือคือดวงจันทร์เองแล้วไซร้ เขาย่อมไม่ปรารถนา
ที่จะมองต่อไปในทิศทางที่นิ้วได้ชี้ไปยังดวงจันทร์อีกเลย

" อุบาย " ในที่นี้ อาจจะเป็นคำพูดประโยคสั้น ๆ หรืออาจจะเป็น
อากัปกิริยาธรรมดาสามัญก็ได้ อาจารย์ใหญ่ ๆ นั้นมักมี
สิ่งที่เรียกว่า อุปายญาณ คือความสามารถที่จะจัดสรรวิธีการต่าง ๆ
มาใช้ให้เหมาะกับสภาพจิตแบบต่าง ๆ ในโอกาสที่ผิดแผกกันไป
การสนทนาระหว่างท่านเจาจูและนานจว๋าน คือตัวอย่างของอุบายเหล่านี้
" ต้นสนในสวน " และ " ดอกไม้ในอุ้งหัตถ์ของพระพุทธองค์ " ก็คืออุบายเหล่านี้

แต่ วิธีการเหล่านี้จะเป็นอุบายที่แท้จริง ก็ต่อเมื่อมีความสอดคล้อง
เหมาะสมกับเหตุการณ์นั้น ๆ
จะต้องมีประสิทธิผลและต้องตอบสนองต่อปัจจัยแห่งอารมณ์ของผู้แสวงหา
หากว่าอาจารย์ไม่เข้าใจถึงสภาพจิตของศิษย์แล้ว
ท่านย่อมไม่สามารถสรรหา อุบายที่มีประสิทธิภาพขึ้นมาได้
วิธีการแบบเดียวกันไม่อาจนำไปใช้กับทุกเหตุการณ์ ดังนั้นอาจารย์จึง
ต้องสรรหาวิธีการต่าง ๆ นานา แล้วแต่ว่าท่านมีความรู้ชัด
ในสภาวะจิตของปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มคนเพียงใด


ในพุทธศาสนากล่าวกันว่ามีวิธีเข้าสู่ความจริงถึง ๘๔,ooo วิธี
และพุทธศาสนานิกายเซน ได้นำเอาอุบายที่สำคัญยิ่ง
และมีประสิทธิภาพสูงมาใช้ โดยบรรดาอาจารย์เซน มุ่งประสงค์
ที่จะบันดาลให้ศิษย์ทั้งหลายได้เข้าถึงโมกขธรรมโดยทั่วกัน


ตัวชี้วัด- เครื่องมือ- นิ้วชี้- KPI -ความรู้จากประสบการณ์- พระธรรมขันธ์ -เทคนิคการถ่ายทอดองค์ความรู้ -สมรรถนะในการปฏิบัติราชการ-องค์กรแห่งการเรียนรู้

....................ในขณะที่ครูก็พัฒนาการสอน โดยใช้อุปายะ ใช้นิ้วชี้ใช้เครื่องมือวัด หมายมั่นว่าจะสร้างดวงจันทร์หรือนักเรียนที่มีความรู้และรู้จักคิดเป็น พร้อมๆกับการวัดความสำเร็จในการถ่ายทอด การแบ่งนักเรียนแต่ละชั้นเหมาะสมกับวิธีการถ่ายทอดของครูแต่ละท่านให้เหมาะสม เพราะนักเรียนแต่ละชั้นก็มีการรับรู้ที่แตกต่างกัน ดังนั้นเครื่องมือที่ครูใช้วัดประสิทธิผลอาจเป็นข้อสอบวัดผล ถ้าเป็นข้าราชการก็มีเครื่องมือ ได้แก่ KPI วัดประสิทธิผล ซึ่งข้อสอบและ KPI ก็เสมือนนิ้วชี้ที่ใช้ชี้ดวงจันทร์ ฉนั้นก็อย่าไปเกรงว่าเครื่องมือจะวัดถูกไหม แต่ให้ความสำคัญว่า สิ่งที่ได้รับไป วิธีคิดที่เกิดขึ้น ในตัวเราในนักเรียน หรือพูดง่ายๆว่า องค์ความรู้ที่อยู่ในนักเรียน ในบัณฑิต หรือองค์ความรู้ที่อยู่ในตัวข้าราชการเอง นั้นได้ถูกนำมา ทดลอง ทำ ปฏิบัติการ ตรวจสอบย้อนกลับ (PDCA) บริหารความเปลี่ยนแปลง และนำไปปรับปรุงแก้ไขวิธีการสอน วิธีการถ่ายทอด ตลอดจนวิธีการปฏิบัติราชการ ที่ถูกปรับปรุงครั้งแล้วครั้งเล่า อย่างต่อเนื่องจนได้ "วิธีการปฏิบัติที่เหมาะสมที่สุด ที่ก่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด" (Best Practice) และต้องมีการปรับปรุงพัฒนา วิธีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและมี ปสผ.เพิ่มขึ้นเป็นลำดับในทุกๆปีที่ผ่านมาอย่างต่อเนื่องและดีขึ้นไม่หยุดยั้ง

..............

...............นี่เป็นเหตุผลว่า เหตุใดหลักการบริหารจัดการวิธีการปฏิบัติราชการที่ดี จึงไม่ได้เฉพาะได้เน้นการเรียนรู้อบรมองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานใน Functioning ทุกๆ Competency ของงานให้ครอบคลุมครบถ้วนเพียงเท่านั้น แต่ได้มุ่งหวังจะให้เกิดการทบทวนการฝึกอบรม ในทุกๆเท่านั้นเท่านี้ปี และหวังให้บุคคลากรได้รับองค์ความรู้ในระดับที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเวลาหน่วยงานเราได้รับการตรวจออดิต จากคณะออดิตเตอร์มาตรวจ ก็จะถูกถามถึงเรื่องนี้ และยังถามอีกด้วยว่า มีการพัฒนาบุคคลากรให้ได้รับการฝึกอบรมในระดับที่สูงขึ้นกว่าระดับปกติระบุไว้ใน แผนพัฒนาบุคคลกรขององค์กรอีกหรือไม่ นั่นแสดงว่า บุคคลากรทุกคนต้องร่วมกันพัฒนาองค์กรให้มีการเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุดได้ หรือ พัฒนาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่อง (Learning Organization :LO) ให้ได้ ซึ่งก็ต้องเริ่มที่การพัฒนาตนเองให้ทำงานในหน้าที่ให้สมบูรณ์ ด้วยหลักราชการ ของ ร.๖ และหลักสมรรถนะในการปฏิบัติงานราชการ Competency ของ กพ. ให้ได้มากที่สุดนั่นเอง

..............สิ่งที่เหมือนกันคือ ขณะที่อาจารย์นิกายเซนพยายามหาวิธีการ เครื่องมือ ที่จะทำให้ศิษย์ได้เข้าถึงโมกขธรรม

ขณะที่พระพุทธเจ้าได้ศึกษาและเรียบเรียง วิธีการและเครื่องมือ ได้แก่ พระธรรมขันธ์ให้เหล่าปุถุชนพ้นทุกข์สู่นิพพาน

ฉนั้นการไขว่คว้า แสวงหา หรือแม้กระทั่ง การสร้างเครื่องมือใหม่ๆ ก็เพื่อมาทำให้ผู้อื่นได้เข้าใจ รู้แจ้ง สามารถปรับปรุงวิธีการคิด ให้ถูกต้องตามธรรมนองคลองธรรม รวมทั้งออกแสวงหาประสบการณ์จากการพบสิ่งต่างๆในโลก แล้วนำมาคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ จนตกผลึกเป็นองค์ความรู้ ที่จะสามารถนำมาใช้สั่งสอน แล้วเร่ง เผยแพร่ เผือแผ่ ให้มนุษย์ปุถุชนไม่ว่าจะศาสนาใดๆในโลก ได้หลุดพ้นโทสะ โมหะ กิเลส ต่างๆได้ ....

..............ฉนั้นสิ่งที่ศาสดาเอกของโลกกระทำนั่นก็คือ การเรียนรู้ เผยแพร่ แจกเครื่องมือ แนะวิธีการใช้งาน เขียนตำราความรู้ฝังลึกที่ตกผลึกเป็นวิธีการปฏิบัตินำไปใช้งานได้ทันที การทำอย่างต่อเนื่องนั้นก็เพราะรู้แจ้งแล้วว่า วิธีการนี้ เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกยุคสมัย จะได้ประโยชน์จาก คลังความรู้และจากเครื่องมือ อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนือย นี่เป็นผลลัพธ์สำหรับโจทย์ที่ว่า เหตุใดคนๆหนึ่งถึงได้ตั้งใจทำอะไรมากมายและทำอย่างต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง เพราะซึ้งแล้วว่าการช่วยเหลือให้พ้นทุกข์โดยการให้ความรู้นั้น เป็นคุณอนันต์ที่จะทำให้คนที่รับได้เข้าใจโลกธรรม หลุดจากกรรมไม่ดี หลุดจากวิธีปฏิบัติที่ผิด กลับมามีวิธีคิดที่ถูกเสียใหม่ และความสุขของการให้ การเผยแพร่แชริ่ง นั้นก็ส่งผลทำให้ผู้ให้ ได้รับความสุขเนื่อจากการทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น และยิ่งทำต่อเนื่องก็จะมีความสุขในการทำงานอย่างต่อเนื่องยั่งยืนตลอดไปนั่นเองครับ

เรื่องเล่า (เฉพาะสีน้ำตาล)โดยว่าที่ร้อยตรีโสตถิทัศน์ เอี่ยมลำเนา วิศวกรไฟฟ้าชำนาญการ

หัวหน้างานมาตรฐานเครื่องอำนวยความสพดวกในการเดินอากาศ

คณะทำงานการจัดการความรู้กรมการบินพลเรือน และสำนักมาตรฐานสนามบิน

องค์ความรู้สำนักมาตรฐานสนามบิน กรมการบินพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๘

................................................................................................................................................

Case Study การจัดทำคู่มือดำเนินการ เครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศด้วยทัศนวิสัย

.....การกำกับดูแลเป็นแค่เครื่องมือ แค่นิ้ว ที่ชี้ดวงจันทร์
ตราบใดดวงจันทร์ยังสว่างสุกใสอยู่
ใยเล่าจะมาถกเถียงกันเรื่องเครื่องมือ
เพราะเครื่องมือมีไว้ให้มั่นใจ
แต่ในเมื่อระบบ คน เกิด Safety Culture เกิด Just Culture แล้ว
ก็มิต้องจะกลัวเครื่องมือ กลัวนิ้วคดนิ้วงอเสียงานเสียเวลาไปเปล่า
คือไม่ต้องกลัว ไปหลีกไปเลี่ยงความเสี่ยง ให้การงานชะงัก เสียผลสัมฤทธิ์
ก็ให้รีบจัดทำจัดกระบวนการตรวจสอบตรวจติดตามให้ครอบคลุม
ก็ให้หลักการผ่อนปรนของ ร.๖ และมุ่งผลสัมฤทธิ์ตาม Concept Desing ที่ รธม.ฉบับปัจจุบันมุ่งหมาย
คือต้องมุ่งให้ดวงจันทร์ทอแสงได้ต่อเนื่องต่อไป
โดยใช้เครื่องมือเพิ่มมาตรการอะไรระหว่างที่หน่วยกำกับจัดทำกระบวนการ ก็ให้เร่งตรงนี้

จะมีประโยชน์อะไร มีแต่จะเสีย หากจะเลือกใช้วิธีหยุดความเสี่ยงเพราะขาดกระบวนการกำกับที่ไม่พอเพียงที่จะมั่นใจว่า ผู้ประกอบการจะทำ (You have maganisym but not enought for ensure that .....operator can do OK , ....can to sanction , ....can to law enforcement)

ในเมื่อผู้ประกอบการตระหนักทำตามข้อกำหนดอยู่เป็นปกติอยู่ปัจจุบัน และดีอย่างต่อเนื่องมาเป็นปรกติสุข......

และผู้โดยสารปลอดภัยอย่างต่อเนื่องมาเป็นปรกติสุข...และที่สำคัญที่สุดระบบ SMS นั้นขับเคลื่อนได้ (Implement 100%)มีการประเมินและประเมินซ้ำมาตรการที่ดีถูกจัดให้มีอย่างต่อเนื่อง...

</span>

.................................................................................

วิธีคิดให้การงานมุ่งผลสัมฤทธิ์

คู่มือ เป็น กระบวนการ กลไก การทำให้มั่นใจ ว่า ขั้นตอนวิธีการ (Procedure,SOP,OM,MI) การทดสอบ (Inspection,Checklist,Test,System Analysis) การบำรุงรักษา คสบ. หลักๆ (CM,PM,Predictive MT,Total MT) ความเที่ยง ()ความตรง (Integrity)ของผลลัพธ์จากระบบ เสถียรภาพความน่าเชื่อถือ (Stability and Reliability)และคุณภาพของระบบ (Quality of Information) คุณภาพของข้อมูล(Quality Information)จากระบบควบคุมคุณภาพ Quality Control System แล ระบบประกันคุณภาพ Quality Assurance System นั้นจะมีการดำเนินงานถูกต้องมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง หากไม่ดำเนินการจะต้องมีบทลงโทษ และได้รับการประเมินซ้ำหลังจากมีมาตรการความปลอดภัยเพิ่มเติมจากเดิม

ดังนั้นก็ต้องพัฒนาเครื่องมือกรบวนการ กฎระเบียบกะเกณฑ์กำหนด ให้ครอบคลุม ตามเอกสารข้อแนะนำแก้ไข SARPs Standard And Reccommended Practice

แต่ในเมื่อมีผู้มาบอกว่า เครื่องมือไม่สมบูรณ์ ก็ต้องทราบวัตถุประสงค์ของ สิ่งนั้น เช่น คู่มือดำเนินการฯเป็นเครื่องมือกำกับต้องได้รับการเพิ่มเติมในส่วนนั้นส่วนนี้ ก็ต้องพยายามหาเครื่องมือคือกระบวนการกำกับที่พอมีอยู่ แล้วเป็นแนวที่จะผ่อนปรนให้เขามีเวลาดำเนินการเรื่อง เอกสารขั้นตอนการปฏิบัติ โดยจะต้องมุ่งให้งานเดินต่อได้อย่างต่อเนื่อง (Visual Aids can to be operation sustainable)

ร่วมด้วยช่วยกันครับ

ป. หลักการผ่อนปรนในหนังสือ หลักราชการในพระราชนิพนธ์ ร.๖ นั้น ได้ถูกนำมาใช้ประเมินสมรรถนะตามหลัก Competency ของ กพ. อีกด้วย

...............................................................................

ความรู้จักผ่อนผัน

อันข้อนี้เป็นข้อสำคัญอัน ๑ ซึ่งปฏิบัติให้เหมาะได้ยากกว่าที่คาดหมาย เพราะฉะนั้นจึงมีผู้ที่ปฏิบัติให้ดีจริง ๆ ได้น้อย

คนโดยมากที่มีหน้าที่บังคับบัญชาคน ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน มักเข้าใจคำว่าผ่อนผันนี้ผิดกันอยู่เป็น ๒ จำพวก คือ จำพวก ๑ เห็นว่าการผ่อนผันเป็นสิ่งซึ่งจะทำให้เสียระเบียบทางการไป จึงไม่ยอมผ่อนผันเลย และแปลคำผ่อนผันว่า "เหลวไหล" เสียทีเดียว อีกจำพวก ๑ เห็นว่าการใด ๆ ทั้งปวงควรจะคิดถึงความสะดวกแก่ตัวเองและบุคคลในบังคับบัญชาของตนเป็นที่ตั้ง จึงยอมผ่อนผันไปเสียทุกอย่าง จนเสียทั้งวินัยทั้งแบบแผนและหลักของการทีเดียวก็มี ทั้ง ๒ จำพวก เข้าใจผิดทั้ง ๒ จำพวก

จำพวกที่ ๑ ซึ่งอ้างตนว่าเป็นคนเคร่งในทางรักษาระเบียบแบบแผนนั้น แท้จริงถ้าไตร่ตรองดูสักหน่อยคงต้องแลเห็นได้ว่าการที่จะไม่ผ่อนผันเสียเลยนั้น บางคราวอาจจะทำให้ตนได้ผลหย่อนไปหรือถึงแก่เสียการทีเดียวก็ได้

ข้างฝ่ายจำพวกที่ ๒ ซึ่งเห็นความผ่อนผันเป็นของสำคัญยิ่งกว่าสิ่งอื่นนั้น ก็เหมือนคนซื้อลาในนิทานเอสปกรณัมซึ่งเล่าเรื่องไว้ว่า

ชายผู้ ๑ ไปซื้อลามาได้แล้ว ให้ลูกชายขึ้นขี่ลาเดินไปบ้านพบคนเดินสวนทางไปเขาพูดกันว่า

"ดูแน่เด็กออกโตแล้วขึ้นไปขี่ลา ปล่อยให้พ่อต้องเดินเหนื่อยอยู่ได้"

พ่อก็ไล่ให้ลูกลงไปแล้วตัวขึ้นขี่ลาเอง พบคนสวนไปอีกเขาพูดกันว่า

"ดูแน่ ตานั่นใจดำจริง ๆ ปล่อยให้เด็กเดินไปได้ แกขี่ลาเสียคนเดียว"

พ่อก็เรียกให้ลูกขึ้นไปขี่ลาด้วย จนพบคนเดินสวนไปอีกเขาพูดว่า "ดูแน่ คนอะไรไม่รู้ ช่างไม่รู้จักกรุณาแก่สัตว์เลย ลาตัวนิดเดียวดันขึ้นไปขี่อยู่ได้เป็น ๒ คน"

ทั้งพ่อทั้งลูกเลยลงจากหลังลาช่วยกันหามลาไปบ้าน พอถึงบ้านคนเขาหัวเราะกันครืนร้องว่า "แน่, ดูอ้ายบ้าคู่นี้สิ เอาลาเป็นนาย"

เรื่องนี้พอจะเป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่า การผ่อนผันตะบันไปนั้นไม่มีผลดีอันใด และในที่สุดก็มีแต่จะถูกเขาหัวเราะเยาะให้เท่านั้น

..... อ่านต่อได้ที่:

https://www.gotoknow.org/posts/587837

..................................................................................

หมายเลขบันทึก: 583436เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2015 05:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มกราคม 2017 09:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ชอบค่ะ ขออนุญาตแชร์ต่อในเฟสค่ะ

ขอบคุณครับสำหรับเนื้อหาดีๆ

ชลัญธร ยินดีครับ แชร์ต่อๆกันเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างแวดกว้างได้ครับยินดีครับ

-ครูพีร์- ขอบคุณครับ ผู้เขียนกำลังใจมาเรยครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท