โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รุ่นที่ 2 ช่วงที่ 7 (สุดท้าย) (25 - 26 /12/57)


สวัสดีครับชาว Blog และลูกศิษย์ชาวคณะแพทยศาสตร์ มอ. รุ่นที่ 2

การเรียนรู้ของ โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รุ่นที่ 2 มาถึงวันนี้เรียกได้ว่ากำลัง "เข้าโค้งวัดเบญจฯ" คือ เป็นช่วงสุดท้ายของหลักสูตรแต่มีความสำคัญมาก เพราะเป็นเวลาที่จะให้ลูกศิาย์ของผมได้คิดทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลบอดโครงการฯ นำมาคิดต่อเพื่อวางแผนพัฒนาโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อการทำงานในอนาคตของคณะแพทย์ฯ มอ. ด้วยความเป็นเลิศบนพื้นฐานที่สำคัญ คือ เพื่อสังคมไทยของเรา

การเรียนรู้ในช่วงสุดท้ายนี้ ถือว่าเป็นการพิสูจน์ฝีมือและความตั้งใจจริงของลูกศิษย์ของผม สุดท้าย ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าแม้การเรียนรู้ในห้องเรียนของเราจะจบลงแบบสวยงามแล้วก็ตาม แต่การเรียนรู้ของเราต้องต่อเนื่องตลอดชีวิต อยากฝากไว้ว่า "ลูกศิษย์ของผมต้องไม่ตกราง" เป็นกำลังใจให้ทุก ๆ คนเสมอครับ

Merry Christmas & Happy New Year

จีระ หงส์ลดารมภ์

........................................................................................

ภาพบรรยากาศการเรียนรู้

วันพฤหัสบดีที่ 25 ธันวาคม 2557

นำเสนอโครงการวิจัยและโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อการพัฒนางานของคณะแพทย์ มอ. ต่อผู้บริหาร

โดย ตัวแทนของทั้ง 5 กลุ่ม (กลุ่มละ 20 นาที)

ร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็นแนวทางสู่การปฏิบัติเพื่อความสำเร็จ

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

รศ. นพ. สุธรรมปิ่นเจริญ

คณบดี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ศ.นพ.สงวนสิน รัตนเลิศ

รองคณบดี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

อาจารย์วรวุฒิ โตมอญ

ดำเนินรายการโดย อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

รายชื่อโครงการเชิงนวัตกรรมฯ

กลุ่ม 4 โครงการศูนย์การเรียนรู้และการจัดการนวัตกรรม คณะแพทยศาสตร์ มอ.

(Learning and Innovation Management Center : LIMC)

กลุ่มที่ 2 โครงการศูนย์ส่งเสริมสุขภาพสำหรับประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คสชต)

กลุ่มที่ 5 Magnet Hospital for Excellent and Talent Staff of MED PSU 2020

กลุ่ม 1 การบริหารจัดการองค์กรแบบ Self-Financing Unit

กลุ่มที่ 3 โครงการ "ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาความเป็นเลิศทางการแพทย์สงขลานครินทร์

หมายเลขบันทึก: 583094เขียนเมื่อ 25 ธันวาคม 2014 16:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มกราคม 2015 11:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สรุปการบรรยายโดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

การนำเสนอโครงการวิจัยและโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาบุคลากรคณะแพทยศาสตร์

วันที่ 25 ธันวาคม 2557

กลุ่มที่ 4 "ศูนย์การเรียนรู้และจัดการนวัตกรรมคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์"

โครงร่างนำเสนอ

-เกริ่นนำ

-วัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมาย

-กรอบแนวคิดและวิธีการดำเนินงาน

-ผลการศึกษาเบื้องต้น

-บทสรุปหัวข้อ

ถ้าพูดถึงองค์กรแห่งการเรียนรู้และนวัตกรรม มีตัวอย่างเช่น ฝังต.ต. Google Apple Microsoft

ฝั่งต.อ. มี Sumsung Toyotaไทยมี SCG , True

สังเกตว่านวัตกรรมเป็นทิศทางสู่อนาคตเพราะสำคัญและสินทรัพย์มากมาย

จุดเริ่มต้นของข้อเสนอการวิจัย

คณะแพทยศาสตร์เป็นคณะที่มีมีงานวิจัยและนวัตกรรมเป็นที่รู้จักและมีคุณค่าแก่สังคม

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากโครงการรุ่นนี้

8K's แล้วมาสู่ 5K'sและสิ่งที่ตามมาคือ 3V – Value Added, Value Creation , Value Diversity

ถ้าองค์กรมีทั้ง 3 ตัวนี้แสดงว่าองค์กรจะมีความสุขแน่นอน

โจทย์วิจัย

สิ่งที่ตั้งคำถามคือ บุคลากรคณะแพทย์ มีความรู้เกี่ยวกับงานวิจัย องค์ความรู้ของคณะหรือไม่ แล้วนักวิจัยที่มีผลงานนวัตกรรมของคณะมีปัญหาอะไรไหม ?

โจทย์และปัญหาคือ

1. นักวิจัย คิดไม่เป็น ทำอย่างไรก็ไม่ได้ อยากได้องค์ความรู้ไปใช้ต่อ

2. คิดได้ แต่ทำไม่เป็น จะทำอย่างไร

3. คิดได้ อยากทำแต่ไม่มีเงิน จะหาได้จากที่ไหน ไม่สามารถพัฒนาเป็นชิ้นเป็นหลักได้

4. คิดได้ ทำได้ แต่ขายไม่เป็น อยากหาคนมาเผยแพร่ ใครจะช่วย

5. วิจัยขึ้นหิ้ง ทำอย่างไรให้วิจัยจากหิ้ง ไปสู่ห้าง

วิธีการหาข้อมูล

การสอบถามนักวิจัยในการทำงาน

บทสัมภาษณ์จากผศ.นพ.สุนทร วงษ์ศิริ และ ผศ.พญ.นลินี โกวิทวนาวงษ์

ผศ.นพ.สุนทรวงษ์ศิริ

ปัญหาด้าน Innovation คือ

1.เรื่องของกำลังใจ อยากให้นักประดิษฐ์ทราบว่าการทำงานชิ้นแรกยากสุด ๆ ไม่เคยมีตำนานไหนเลยที่บอกการพัฒนาอุปกรณ์ทางสายแพทย์และพยาบาล แต่สิ่งที่พยายามคือการค้นหาอย่างมีสติ เราต้องคิดใหม่ และไม่ย่อท้อ ปัญหาที่สำคัญที่สุดคือการล้มเลิก และเมื่อไรที่พัฒนาแล้วตอบโจทย์สิ่งที่รักและเป็นประโยชน์ต่อสังคม จะมีความสุขมากที่สุด

การพัฒนาสิ่งที่สำคัญคือการพัฒนาเพื่อประโยชน์สังคม และให้ตรงทางแล้วสิ่งต่าง ๆ จะตามมา

2. กรอบและวิธีการทำงานแบบเดิม ที่ต้องอาศัยเอกสาร การทำงาน วิธีการต่าง ๆ สิ่งต่าง ๆ ในการทำเชิงเอกสารมากนักประดิษฐ์ต้องพยายาม Focus ทำให้ผลสำเร็จ ตามงานต่าง ๆ ที่ผ่านมาด้วย เพื่อสร้างความหมายในการใช้งานต่อๆ ไปด้วย

ผศ.พญ.นลินี โกวิทวนาวงษ์

เมื่อคิดงานแล้วจะมาดูในเรื่องการจดสิทธิบัตรที่เกิดขึ้น และใครจะช่วยขายการเลือกสิทธิบัตรต้องดูว่างานที่ค้นหาสามารถจดสิทธิบัตรได้จริงหรือไม่ และการนำออกสู่ตลาดให้ใช้ ให้เผยแพร่ไปทั่วถึง ให้สามารถขายได้ในเชิงพาณิชย์ได้

การศึกษา Literature Review

การบริหารจัดการองค์ความรู้ ต้องมีการแบ่งปันให้การจัดการเรียนรู้สามารถเกิดประโยชน์สูงสุดด้วย

จุดเริ่มต้นของข้อเสนอการวิจัย

KM = (P+L+H)S

โดยKMคือการบริหารจัดการความรู้

Pคือมนุษย์ (People)

Lคือการเรียนรู้ (Learning)

Hคือการจัดการ (Handling)

Sคือการแบ่งปัน (Sharing)

+คือการเชื่อมต่อกัน เช่น อินเตอร์เน็ต

วัตถุประสงค์

1. การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ จัดการนวัตกรรม คณะแพทยศาสตร์

2. เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการแบบองค์รวมของการเรียนรู้

กรอบแนวคิด

ระยะที่ 1 การสำรวจสืบค้นเอกสารและศึกษากรณีตัวอย่าง

ระยะที่ 2 การสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

ระยะที่ 3 การรวบรวมและประมวลข้อมูลเพื่อกำหนดรูปแบบของศูนย์การเรียนรู้และจัดการนวัตกรรม

ระยะที่ 4การนำเสนอรูปแบบของศูนย์การเรียนรู้และจัดการนวัตกรรม

การสืบค้นเอกสาร

มี 4 ตัวประกอบ 1 วงจร คือ

1. สำรวจความรู้

2. รวบรวมพัฒนา

3. จัดเก็บสังเคราะห์

4. ถ่ายทอด

- การเรียนรู้เป็นเป้าหมายหลักของการจัดการความรู้ ถ้าการจัดการความรู้ดี ทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพ

- Strategic Plan มีเรื่องการจัดการ Knowledge management การจัดการเป็นวัฒนธรรมองค์กร ใช้ระบบเทคโนโลยีระหว่างประเทศมาช่วย

- ดูตัวอย่าง KM Framework ของคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล

- ได้มีการสืบค้นเอกสารกรณีศึกษา ที่ศูนย์นวัตกรรม และจัดการความรู้ วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)

หน่วยงาน KIC

ให้ศูนย์ขึ้นตรงกับคณบดีเพื่อความรวดเร็วมี 4ฝ่ายคือ ฝ่ายเลขานุการ ฝ่ายบริหารโครงการ ฝ่ายสนับสนุนโครงการ และฝ่ายวิจัย

- คณะแพทยศาสตร์ มอ.มีการจัดการความรู้แบบไหน สู่บุคลากร กลุ่ม และองค์กร

วิธีการอีกอย่างที่เลือกใช้คือ

การสัมภาษณ์ความคิดเห็นจากนักวิจัย และผู้บริหาร ว่าอาจารย์มีแนวโน้มอย่างไร

การสัมภาษณ์ ผศ.นพ.สุนทรวงษ์ศิริ

Innovation Center สิ่งสำคัญคือโครงสร้างของระบบที่ควรออกมานอกกรอบ ทำหน้าที่เชื่อมจุดต่าง ๆ ตั้งแต่การกล่อมเกลาความคิดการ Prototypeการ Sample Unit การพัฒนาสู่ Manufacturing แสดงให้เห็นถึงปลายทาง และให้มีการเชื่อมโยงกับทีม ซึ่งจะมี Process ให้เขาทั้งหมด ถ้าได้บุคลากรที่ผ่านสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้เกิดดีมาก

การสัมภาษณ์ผศ.นพ.บุญสิน ตั้งตระกูลวนิช

เราต้องดูว่านวัตกรรมมีความจำเป็นหรือไม่ อยากส่งเสริมมากน้อยแค่ไหน อยากให้การวิจัยมีความก้าวหน้า และเป็นสินทรัพย์สำคัญของคณะแพทย์ ต้องมีนโยบายในการส่งเสริมและผลักดัน

สิ่งสำคัญคือสร้างให้เกิดเป็นรูปเป็นร่าง และเป็นสินค้าในอนาคต มีการสนับสนุน การจัดทำรูปแบบต่าง ๆ ในเชิงพาณิชย์ คิดว่าใน 2 ปีข้างหน้า จะเห็นผลงานที่ชัดเจนมากขึ้นจะแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุน และเกิดผลงานอะไร ต้องดูกันไป

สรุป

จากที่ได้ทำการศึกษาไม่ว่าจะอ่าน Literature หรือสัมภาษณ์ ได้นำสู่ผลการศึกษาและวิจัย มีการกำหนดวิสัยทัศน์ และพันธกิจออกมา โครงสร้างที่เอื้ออำนวยคือมีเอกสารมากโมเดลควรขึ้นตรงต่อคณบดี ควรแยกออกมาให้ชัดเจนเพื่อให้บริหารงานง่ายและรวดเร็ว

โครงสร้าง ดูว่ามีหน่วยใด Support ได้บ้าง

1. สำนักเลขานุการ (Secretary Office)

2. หน่วยงานเรียนรู้อย่างฉลาด ( Smart Learning Unit) ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ และเอา ITมาช่วย

3. หน่วยสนับสนุนนวัตกรรม (Innovation Support Unit) หาทุน จดสิทธิบัตร ทรัพย์สินทางปัญญา หาเครือข่าย ระบบการจัดการของหน่วยงาน มีระบบข้อมูล

4. หน่วยเผยแพร่และนำเข้าสู่เชิงพาณิชย์ (Technology Transfer and commercialization unit) การเผยแพร่สู่ประชาชนและสาธารณประโยชน์ และต่อยอดเชิงพาณิชย์

มีการวิจัยที่ก่อให้เกิดมูลค่าเกิดขึ้น มีการต่อยอดสู่สังคม รับใช้ประชาชน สังคม มีการต่อยอดในเชิงพาณิชย์ มีผลตอบแทนในอนาคต จึงควรมีหน่วยงานด้านนี้ Support

Roadmap หรือแผนดำเนินการ

ระยะที่ 1 ปีแรก การวางระบบและโครงสร้างของศูนย์ การสรรหาบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและอบรมบุคคลากร

ระยะที่ 2 ปีที่ 2-3 การสร้างระบบเครือข่ายและเชื่อมโยงเกี่ยวข้องทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ผ่านการทำข้อตกลงร่วม (MOU) การสร้างระบบการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา จัดหลักสูตรอบรม

ระยะที่ 3 ปีที่ 4 เริ่มปฏิบัติตามพันธกิจของศูนย์ ประเมินผล

มีการจัดการโครงสร้างต่าง ๆ ให้เรียบร้อย

1. ต้นน้ำ

ปัญหา คิดไม่เป็นทำอย่างไร ต้องการแหล่งข้อมูลเพื่อนำมาใช้

วิธีการแก้ เพิ่มความรู้ ส่งเสริมการเรียนรู้ จัดอบรมworkshop สร้าง website ระบบ IT ห้องสมุด online

นวัตกรรมเพิ่มความรู้ ส่งเสริมการเรียนรู้ จัดอบรมworkshop สร้าง website ระบบ IT ห้องสมุด online

หน่วยงานย่อยที่ดูแลSmart learning unit

ปัญหา สงสัย อยากรู้ จะหาจากไหน ปรึกษาใครดี

วิธีการแก้ส่งเสริมการเรียนรู้ สร้าง website ระบบ IT ห้องสมุด online และมีเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือ

นวัตกรรม ส่งเสริมการเรียนรู้ สร้าง website ระบบ IT ห้องสมุด online และมีเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือ

หน่วยงานย่อยที่ดูแลSmart learning unit

2. กลางน้ำ

ปัญหา คิดได้ ทำไม่เป็น จะทำอย่างไร

วิธีการแก้ สร้างระบบการ Matching ระหว่างผู้คิดกับผู้ทำ โดยการจับคู่โดยการใช้ระบบการสร้างเครือข่าย เพื่อหาคนมาช่วยทำ การช่วยเหลือในการขอจดคำร้อง

นวัตกรรม นวัตกรรมแห่งการจัดการ โดยใช้ระบบ IT มาช่วย เช่น การสร้างระบบ online ที่ช่วยให้ผู้คิดสามารถค้นหาผู้เชี่ยวชาญเพื่อมาร่วมงานและมีระบบการนัดหมายหรือเป็น web-based communication

หน่วยงานย่อยที่ดูแล Innovation support unit

ปัญหา คิดได้ อยากทำ ไม่มีเงิน หาได้จากที่ไหน

วิธีการแก้ มีเจ้าหน้าที่ช่วยอำนวยความสะดวกในเรื่องการหาแหล่งทุนหรือหาบริษัทเอกชนมาเป็นผู้ร่วมทำ รวมทั้งการช่วยเหลือการจัดทำโครงการเพื่อการขอทุน และการนำระบบ IT มาช่วยในการขอทุนเพื่อทำวิจัยโดยเชื่อมโยงกับ ระบบ MRIS ของคณะ

นวัตกรรม มีเจ้าหน้าที่ช่วยอำนวยความสะดวกในเรื่องการหาแหล่งทุนหรือหาบริษัทเอกชนมาเป็นผู้ร่วมทำ รวมทั้งการช่วยเหลือการจัดทำโครงการเพื่อการขอทุน และการนำระบบ IT มาช่วยในการขอทุนเพื่อทำวิจัยโดยเชื่อมโยงกับ ระบบ MRIS

หน่วยงานย่อยที่ดูแล Innovation support unit

3.ปลายน้ำ

ปัญหา คิดได้ ทำได้เอง ขายไม่เป็น อยากเผยแพร่ ใครจะช่วยวิจัยขึ้นหิ้ง ทำอย่างไรดี

วิธีการแก้ มีระบบบ่มเพาะธุรกิจและเจ้าหน้าที่ที่ช่วยดูแลเรื่องการเผยแพร่และติดต่อบริษัทเพื่อนำไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ผลงาน

นวัตกรรมนวัตกรรมในการเผยแพร่ เข่น การทำ website เพื่อการเผยแพร่ application ในการประชาสัมพันธ์และ จำหน่าย

หน่วยงานย่อยที่ดูแล Technology transfer and commercialized unit

ปัจจัยจะสำเร็จ

1. บุคลากรและทีมงานที่มีศักยภาพ

2. ระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ

3. ระบบการติดตามประเมินผล และปรับปรุงที่มีประสิทธิภาพ

4. เงินทุนสนับสนุน

5. เครือข่ายทั้งภายในและภายนอกคณะ

ผลที่คาดหวัง

ผลผลิตของโครงการ

•ระบบ IT ด้านการเรียนรู้และจัดการนวัตกรรม

•โครงการจัดอบรม

•หน่วยงานที่สนับสนุนเพื่อการเป็นองค์กรการเรียนรู้และนวัตกรรม

•ระบบการติดตามและประเมินผล

ผลลัพธ์ของโครงการ

•ความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

•ระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน

•จำนวนทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้รับการคุ้มครอง

•จำนวนเครือข่าย นักวิจัย และผู้ประกอบการ

อนั่น อาชารี (2009) กล่าวว่า "องค์กรที่จะอยู่รอดได้ คือ องค์กรที่สร้ างนวัตกรรม ผู้สร้างนวัตกรรมคือมนุษย์มนุษย์ที่ จะสร้างนวัตกรรมดี ๆ ได้ ขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ของผู้นํา ศักยภาพของทรั พยากรมนุ ษย์สภาพแวดล้ อมในการทํางานและวัฒนธรรมองค์กร"

สรุปถ้ามีศูนย์ LIMC เกิดขึ้น ควรมีการสร้าง Connection ให้คณะอื่นร่วมกันได้จะได้ Networking ในมหาวิทยาลัยเกิดขึ้น

องค์กรภาคของรัฐได้ผลงานวิจัย ให้ทุนต่าง ๆ

ในด้านระหว่างประเทศ มีการสร้างความสัมพันธ์กับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ MOU เป็นช่องทางให้งานวิจัยหรือนวัตกรรมเกิดขึ้น งานสามารถตอบโจทย์ที่อื่นถ้ามี Connection ที่ดีจะให้สามารถเอางานไป Share ได้ ทำให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนได้ดี และหน่วยงานข้างนอกสามารถเข้ามาดูงานและใช้ประโยชน์ได้ เพราะต้องการสร้างองค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

สิ่งนี้สามารถขับเคลื่อนให้คณะแพทยศาสตร์ไปสู่การจัดการเรียนรู้ด้านนวัตกรรมได้อย่างดี

ร่วมให้คำแนะนำโดย ศ.ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

ในหลักสูตรนี้สอนให้เราคิดไกล (Dream Big) แล้วไปสู่ความสำเร็จ การคิดสิ่งนี้เป็นการคิดใหญ่ แต่ Realistic คือเป็นสิ่งที่สามารถเดินไปสู่เป้าหมายตรงนั้นได้ คิดว่าหลักสูตรนี้ ทิศทางของมหาวิทยาลัยไม่จำเป็นต้องเป็นแค่คณะแพทยศาสตร์ แต่สามารถรวมถึงทั้งมหาวิทยาลัยด้วย

ถ้าดูในคณะแพทย์ศาสตร์ พบว่ามีความ Smart แต่อีกครึ่งหนึ่งอยากให้ Creative ด้วย คือให้ Smart และมีความคิดสร้างสรรค์ ด้วยนอกจากมีทุนแล้วต้องมีแรงบันดาลใจ และมีความบ้าคลั่งด้วย

คนจะเป็น CEO ของศูนย์ ต้องมอบอำนาจเขาให้เต็มที่แต่ที่สำคัญต้องให้เขารู้ว่าทำงานเพื่อ มอ. ดร.จีระ เสนอให้เชิญ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็น CEO

บางครั้งไม่ต้องมีโครงสร้างก็ทำได้ อาจเกิดจากการคุยกันก่อนแล้วค่อยเขียนแผนด้วยก็ได้

คนที่จะขับเคลื่อนองค์กร ต้องมีความพยายามที่จะเอาชนะอุปสรรค เพราะศูนย์วัฒนธรรมตั้งไม่ยากแต่คนที่จะขับเคลื่อนองค์กรนี้ไปสู่ความสำเร็จคือใคร ต้องคำนึงถึง Customer ในมหาวิทยาลัยของเราด้วย ไม่ใช่แค่เป็นคนเรียนเก่ง เขียน Paper เยอะ แต่อยากให้มีบุคลิกที่สามารถไปคุยกับองค์กรต่างประเทศได้ ต้องมีคนระดับมันสมองที่ประสบความสำเร็จแล้ว อาจอยู่ Banking หรือ Bank ชาติ และอยากให้ไปดูในจุดสุดท้าย

7 habits สอนเรื่อง What you do with the end in mind

ดร.สมคิด บอกว่าทำไมเราต้องพึ่งสำนักงบประมาณแผ่นดิน ทำไมเราไม่สามารถสร้างขึ้นมาเอง

คนไทยทำได้ขึ้นอยู่ ศักยภาพผู้นำ ทรัพยากรมนุษย์ สภาพแวดล้อมในองค์กร และสามารถเอาชนะอุปสรรคได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับเห็นโอกาส เห็นช่อง โอกาสอยู่ในด้าน Health care มหาศาล

ให้หาที่ดี ๆ เพื่อเป็น Meeting Place มันสมองของโลก และให้รวมทั้งบริษัทข้ามชาติ และบริษัทในประเทศเช่น ปูนซีเมนต์

สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้อยู่ที่ 8K's แล้วถึงกระเด้งมาที่ 5K'sสิ่งสำคัญคือทำเป็นหรือไม่เขียนเป็น มีตัวช่วย ความสามารถที่จะเห็นช่อง ให้อดทน สร้างวัฒนธรรมองค์กรให้ทุกคนมีส่วนร่วมและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เข้ามา

คุณพิชญ์ภูรี จันทรกมล

งานวิจัย สำคัญที่จะมีผู้ซื้อหรือไม่

คณบดี รศ.นพ.สุธรรมปิ่นเจริญ

ขอชื่นชม และให้ความสำคัญกับเรื่อง Creative & Innovation นับว่าเป็นความตั้งใจที่ดีมาก การขับเคลื่อนองค์กรอยู่ที่องค์กรไหนสามารถขับเคลื่อนได้ดีกว่า ได้มากกว่า

งบประมาณจากต่างประเทศ สนับสนุนให้เรียน มีความเป็นอิสระมากกว่า ไม่ติดกรอบให้ตั้งคำถามว่ามหาวิทยาลัยขับเคลื่อนประเทศได้มากน้อยแค่ไหนเป็นคำถาม

การนำเสนอมีการนำเสนออย่างเป็นระบบ มีการศึกษาและข้อมูลประกอบ

ประเด็นคือ เราต้องการตั้งศูนย์ หรือต้องการให้เกิดนวัตกรรมและเราต้องการให้เกิดนวัตกรรมบนหิ้ง หรือใช้ประโยชน์ได้จริง ๆ ตัวอย่างโคลัมบัสไปอเมริกา ใช้คนและทรัพยากรเยอะมาก

ในอดีตมนุษย์ใช้ไฟทำเครื่องปั้นดินเผา โลหะ เครื่องจักรไอน้ำ อยากให้ดูว่านวัตกรรมที่แรงสุดที่ไหน สังเกตได้ในช่วงสงครามผลิตอาวุธแรง ๆ มีการทดลองยาต่าง ๆ

ที่ LIMC เห็นว่าจะไปสร้างความมั่งคั่งกับการผลิต ให้ไปโยงกับภาคธุรกิจไห้ได้การประดิษฐ์

ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ให้อยากรู้อยากเห็นทำอะไรให้นอกกรอบ ดังนั้นหน่วย LEMC ถ้าเริ่มต้นเป็นสิ่งที่ดี แต่ต้องเตือนเสมอว่าไม่ใช่ตัวเดียวที่ขับเคลื่อนนวัตกรรม แต่อยู่ที่ความมุ่งมั่นของตัวคนทำ

ต้องเสาะแสวงหาช่องทางในการเกิดนวัตกรรม

นวัตกรรมที่สร้างขึ้นต้องเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์

การผลิตนวัตกรรมเพื่ออะไร ถ้าผลิตเพื่อมนุษย์ชาติจะออกมาแบบหนึ่ง ถ้าจะออกมาแบบความมั่งคั่งผู้ผลิตจะมาอีกแบบหนึ่ง

รองคณบดี นพ. สงวนศิลป์

ทางทีมได้แสดงถึงแก่นที่ทำให้เกิดนวัตกรรม และบทสรุป อย่างที่ นพ.สุนทรได้กล่าวไว้คือความคิดนอกกรอบ เราได้เสนอความคิดนอกกรอบอะไรบ้าง

แนวคิดเรื่องการจัดการองค์กรนวัตกรรมเป็นอย่างไรเป็นประเด็นที่เราควรรู้ว่าจะใช้ประโยชน์ อะไรทำให้เกิด Innovation

สิ่งที่อยากให้ช่วยติดตามคือ เรื่องของชมรมนวัตกรรม ถ้าได้ดำเนินการในการสร้างพลังจะเป็นองค์ประกอบทั้งหมด

อะไรที่เป็นโครงสร้างชัด ๆ จะช่วยกันอย่างไรเราจะสร้างอย่างไรเราต้องช่วยกันสร้าง

ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

ขอเรียกโครงการนี้ใหม่ว่า Management Innovation Knowledge Centerเรื่องการปรับกระบวนทัศน์ Paradigm Shift แต่ที่มองแล้วยังอยู่ใน Paradigm เดิมอยากให้ดูตัวอย่างเช่นCrysler ที่ดูตัวอย่าง Toyota และให้ทุกฝ่ายใน Crysler ทั้งหมด ระดมความคิดเห็นแบบ Paradigm ใหม่ ออก Crysler Neon สามารถตีตลาดได้ดีมาก แต่ตอนหลัง Toyota ก็เรียนรู้และปรับใหม่ออกรถใหม่ตลอด

ให้เด็กเป็นส่วนหนึ่งของการคิด Generation Z

กรณีที่น่าสนใจคือการปรับตัวของไปรษณีย์ไทย ทำไมถึงรอด

อาจารย์วรวุฒิ โตมอญ

ขอบคุณผลงานที่นำเสนอ ผลงานโดยรวมยิงเข้าเป้าธนู แต่ยังไม่อยู่ในวงกลมที่ได้คะแนน

ศูนย์ LIMCขอเรียกว่าเป็นR&D unit สิ่งที่นำเสนอเรียก Project design แต่ตรรกะในการนำเสนอยังไม่ได้เชื่อมกัน สิ่งที่ระบุไว้ในข้อเสนอ พูดเรื่อง IT กรม ยังเป็นส่วนย่อย

ในมุมมองที่เรียกว่า R&D คือผลผลิตหรือ Innovation ที่ทำขึ้นมาตอบสนองหรือสนับสนุนต่อภารกิจหลักของคณะแพทยศาสตร์หรือไม่อย่างไร

การทำไม่ใช่เรื่องยาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหาบุคลากรความรู้ เครือข่าย

สิ่งที่น่าจะต้องคิดคือ จะผลิตอะไร จะ Create อะไร ที่เป็นที่ต้องการและจำเป็นสำหรับคณะแพทยศาสตร์ มอ. เป็นโจทย์ที่จะออกแบบในการนำมาใช้ในการเลือกและจัดลำดับความสำคัญ

สิ่งที่งานวิจัยไม่ควรทำคือ อะไรที่มีในท้องตลาดแล้วเอาลงตระกร้าให้หมด

งานเหล่านี้แนวคิดคืออยากให้มีศูนย์ R&D ขึ้นมา แต่ขึ้นอยู่กับ Vision ของผู้บริหารด้วยให้ทำเป็นศูนย์กลางของการวิจัย เป็นกระบวนการจัดทำงานวิจัย แต่จะออกแบบกระบวนการวิจัยอย่างไรในแต่ละชิ้นงาน

สิ่งที่อยากให้ศึกษาคือ อย่าคิดเกินความจำเป็นในเบื้องต้น สิ่งอื่น ๆ ควรค่อยคิดตามมามากกว่า จะทำให้เกิดความเข้าใจในองค์ความรู้ของกระบวนการวิจัย กับนักวิจัยที่คัดเลือกมาให้ได้ผลผลิตและนำมาใช้ให้เกิดการยอมรับจากภายนอก

กระบวนการนำไปสู่การสร้างศักยภาพของหน่วย สิ่งที่เป็นตัวชี้วัดคือ เคยคิดหรือไม่ว่าหน่วยงานวิจัยควรได้รับงบประมาณกี่เปอร์เซ็นต์

แนวคิดเรื่องการจัดสัดส่วนงบประมาณ คณะทีมวิจัยในเรื่องต่าง ๆ ถ้าไม่มีปัจจัยหรือทรัพยากรที่เพียงพอ จะทำให้การวิจัยไม่เป็นไปตามเป้าหมายนั้น ๆ

คุณพิชญ์ภูรี จันทรกมล

ข้อมูลดีมากในภายนอก ยังไม่เห็นข้อมูลภายใน แต่ด้วยกระบวนการคิดมีการนำเสนอที่ดี

Innovative ปรับได้ Creativity คิดเพิ่มได้ด้านความหลากหลายพยายามหามากเช่นความหลากหลายภายใน

กลุ่มที่ 2ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพสำหรับประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศสชต)

หลักการและเหตุผล

- ประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้: ปัญหาสุขภาพเพิ่มขึ้นทั้งในเด็ก สตรีและคนสูงอายุ

- การสำรวจสุขภาพคนไทยครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2552

-เด็กอายุ 0-5 ปี: โภชนาการเกินและอ้วนเพิ่มขึ้น

ภาคใต้: ภาวะอ้วน เด็กเตี้ย และน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์สูงสุดโดยเฉพาะในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

- โรคเรื้อรังในผู้สูงอายุและโรคมะเร็งของอวัยวะสืบพันธ์สตรีเพิ่มขึ้น

-การเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตด้วยโรคเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับโภชนาการต่างๆ สามารถควบคุมและป้องกันได้

  • (สำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย 2553องค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับสุขภาพในประเทศไทยตระหนักและเห็นความสำคัญ

- องค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับสุขภาพในประเทศไทย: ตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหาสุขภาพและโรคที่พบบ่อยต่อเด็ก สตรีและคนสูงอายุ

- นโยบายและยุทธศาสตร์ที่กำหนดและดำเนินการผ่านทางสื่อและตัวชี้วัดระดับประเทศ

- การเข้าถึงประชาชนในเขตพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ยังมีข้อจำกัด และเน้นในสถานบริการ

(สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2556)

- คณะแพทยศาสตร์: โรงเรียนแพทย์แห่งแรกในภาคใต้

Ø เป็นที่พึ่งทางวิชาการและบริการทางการแพทย์

Ø มีพันธกิจในการสร้างและส่งเสริมแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ให้มีคุณภาพและจริยธรรมสูง

Ø ให้การดูแลทั้งระดับส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและควบคุมโรค ตลอดจนโรคยากต่างๆ

- การมีศูนย์ส่งเสริมสุขภาพสำหรับประชาชนในจังหวัดชายแดนใต้

Ø สอดคล้องกับวิกฤตบริการสุขภาพ

Ø ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการ การบริการไม่เพียงพอและการเลือกใช้เทคโนโลยีไม่เหมาะสม

-ปรัชญาชี้นำและยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนของคณะแพทยศาสตร์"ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง"

- บริการเชิงรับ & บริการเชิงรุกในครอบครัว/ชุมชนป้องกันก่อนเป็นโรค

- เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงพัฒนาทั้งด้านพัฒนาวิชาการและปฏิรูปบริการทางการแพทย์และแพทยศาสตรศึกษา และอาศัยการทำงานเป็นเครือข่าย

(ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา)

Value Added

- ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพสำหรับประชาชนในจังหวัดชายแดนใต้ (ศสชต) จึงเป็นแนวทางที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จะใช้ในการพัฒนาส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ได้อย่างทั่วถึง ในแบบ Learn Share Care

- การสนับสนุนและความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและชุมชน

Value Creativity

- ยุทธศาตร์และกิจกรรมของศูนย์ส่งเสริมสุขภาพสำหรับประชาชนในจังหวัดชายแดนใต้ เน้นกิจกรรมสร้างความเข้าใจไว้วางใจ การใช้สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม

- ประยุกต์หลักการที่ได้เรียนรู้มาจากศูนย์กลางความรู้ด้านการออกแบบและบ่มเพราะความคิดสร้างสรรค์ (TCDC) เชียงใหม่

รู้ว่ามีอยู่ ทำให้สนใจ เข้าใจรับฟัง ตัดสินใจ และปฏิบัติ

- ประชาชนเกิดความไว้วางใจและสนใจการส่งเสริมสุขภาพนำไปสู่พฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม

Value Diversity

- วางแผนจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วย

- เหมาะสมกับบริบทของวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยเฉพาะหลักศาสนาซึ่งเป็นปัจจัยป้องกันที่สำคัญ

- การบูรณาการความรู้เรื่องศาสนาให้สอดคล้องกับพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง อาจมีผลช่วยการส่งเสริมให้การดูแลสุขภาพในกลุ่มเป้าหมายดีขึ้น นำไปสู่การป้องกันโรคและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

- การนำร่องสำหรับประเทศอื่น ๆ ที่มีบริบทหรือปัญหาใกล้เคียงกับเรานำไปประยุกต์ใช้

  • ดังนั้นศูนย์ส่งเสริมสุขภาพจึงตอบรับกับวิกฤตด้านนี้ คณะแพทยศาสตร์จึงควรดำเนินตามปรัชญาชี้นำที่ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่ 1 ควรมีการตั้งรับ และรุก อาศัยการทำงานเป็นเครือข่าย
  • หาเครือข่ายความร่วมมือภาครัฐและเอกชน สร้างเป็น Value Added สร้างยุทธศาสตร์ และกิจกรรมศูนย์ เน้นการคุยกัน
  • TCDC แนะนำว่าทำอย่างไรให้สื่อเข้าถึงประชาชนอย่างแท้จริง
  • ทำให้เห็นว่ามีอยู่จริง ต้องให้เขาสนใจและให้เขารับฟังด้วย มีการให้ทำกิจกรรมว่าเขามีความสนใจปฏิบัติตามหรือไม่ ถ้าสนใจและปฏิบัติตาม จะทำให้ประชาชนเกิดความไว้วางใจและปรับพฤติกรรมที่เหมาะสมอย่างไร
  • กิจกรรมต้องให้เหมาะสมกับบริบทของวัฒนธรรมท้องถิ่น มีหลักศาสนาให้ประชาชนยึดเป็นหนึ่งเดียวในการปฏิบัติตามได้
  • ควรมีการบูรณาการความรู้ไปสู่การรักษาสุขภาพที่ถูกต้อง ปรับให้สอดคล้องกับหลักศาสนา มีภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น
  • วัตถุประสงค์หลัก

ประชาชนในจังหวัดชายแดนใต้ มีความตระหนัก ความรู้และพฤติกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในเด็ก สตรีและคนสูงอายุ โดยในเบื้องต้นเป็นการนำร่องในภาวะต่อไปนี้ คือ ภาวะโภชนาการสำหรับเด็ก โรคทางนรีเวชเวชกรรมของสตรี โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในคนสูงอายุ

  • วัตถุประสงค์จำเพาะ

1. สร้างความตระหนักและเพิ่มความรู้ของประชาชนในจังหวัดชายแดนใต้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพผ่านทางสื่อและเทคโนโลยี ผ่านทางกลุ่มแกนนำสุขภาพชุมชนต่าง ๆ

2. ทราบปัจจัยเสี่ยงทั้งในด้านพันธุกรรม พฤติกรรม และสิ่งแวดล้อมของเด็ก สตรี และคนสูงอายุในจังหวัดชายแดนใต้

3. ป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในเด็ก สตรี และคนสูงอายุในจังหวัดชายแดนใต้ตามปัจจัยเสี่ยงที่พบ

  • กลุ่มเป้าหมาย

ภายในองค์กร

(1) การสร้างสื่อและเทคโนโลยีที่เป็นการสร้างสรรค์และเป็นนวัตกรรมของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่เหมาะกับประชาชนในพื้นที่ เช่น ภาษาไทย ภาษาท้องถิ่นภาคใต้ และภาษายาวี

(2) การจัดอบรมให้ความรู้ต่อกลุ่มแกนนำสุขภาพชุมชนต่าง ๆ เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพที่เกี่ยวข้องและการเผยแพร่สื่อ ตลอดจนวิธีการใช้สื่อและเทคโนโลยีที่สร้างขึ้น

ภายนอกองค์กร

กลุ่มแกนนำสุขภาพชุมชน ผู้นำศาสนา และประชาชนทั่วไปในจังหวัดชายแดนใต้

  • ยุทธศาสตร์
  • พัฒนาให้ชุมชนมีทักษะและนำองค์ความรู้เปลี่ยนพฤติกรรมตนเองได้

ระยะที่หนึ่งสร้างสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อสร้างความเข้าใจ ความร่วมมือและความตระหนักในการปฏิบัติของกลุ่มแกนนำสุขภาพชุมชน ตลอดจนวิธีการเผยแพร่ที่เหมาะสม ปี 2558-2559

ระยะที่สอง สร้างระบบการเก็บข้อมูลสุขภาพออน์ไลน์ (mHealth and eHealth) เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงทั้งในด้านพันธุกรรม พฤติกรรม และสิ่งแวดล้อมภายใต้การสนับสนุนด้านเทคโนโลยีจากสำนักงาน กสทช.ปี 2559-2560

ระยะที่สาม สร้างวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาปัจจัยเสี่ยงและวิธีปฏิบัติการเพื่อนำไปสู่การป้องกันและแก้ไขปัญหาปี 2560-2561

  • กระบวนคิด
  • ใช้หลัก Learn-Share –Care ผ่านการใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม ทำให้โรคที่ตั้งใจไว้ลดลงให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  • วิธีการดำเนินงาน

การประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ต้องมีการประสานกับฝ่ายนโยบายและแผน ทรัพยากรบุคคล ศูนย์ สวทช. ด้วย และ Chira Academy

ในการสร้างสื่อในการอบรม

จัดกิจกรรมกลุ่มสำหรับแกนนำชุมชนปี 2558-2559

การสร้างสื่อเทคโนโลยี และการจัดเก็บข้อมูลที่มีคุณภาพ เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลและแก้ไขปัญหาคาดว่าจะดำเนินการในปี 2551

การลดปัจจัยเสี่ยงและป้องกันโรคในปี 2552

วิธีการประเมินผล/การติดตามผล

1. ประเมินความถูกต้องและตรงประเด็นของสื่อและเทคโนโลยีโดยผู้เชี่ยวชาญ

2. ประเมินความตระหนักและความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาของแกนนำชุมชน

3. ประเมินความตระหนักและความรู้ของประชาชนในพื้นที่

4. ประเมินการนำสื่อและเทคโนโลยีไปใช้ในพื้นที่

5. ประเมินความพึงพอใจและประโยชน์ที่ได้จากโครงการ

ปัจจัยของความสำเร็จ

1. โครงการตอบสนองต่อปรัชญาชี้นำและยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนของคณะแพทยศาสตร์: ผู้บริหารคณะแพทยศาสตร์ มีวิสัยทัศน์ ซึ่งหนึ่งในนโยบายหลักในการบริหารคณะแพทยศาสตร์ คือ นโยบายหลักข้อ 8 สร้างความร่วมมือ ความเชื่อมโยงและเครือข่าย

2. สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐ และกฎบัตรออตตาวา ว่าด้วยการส่งเสริมสุขภาพ

3. ทีมบุคลากรที่เกี่ยวข้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถและจิตสาธารณะ ตามค่านิยมลูกพระราชบิดา

4. มีเครือข่ายมีประสิทธิภาพทั้งภาครัฐและเอกชน

5. ผู้นำชุมชนเข้มแข็ง มองเห็นปัญหาและพร้อมแสวงหาโอกาสในการพัฒนาชุมชน

6. ประชาชนในชุมชนพร้อมรับในสิ่งที่มอบให้ ที่เข้าถึง เข้าใจ ตรงตามความต้องการ

7. การสื่อสารที่เข้าใจซึ่งกัน มีเป้าหมายร่วมกันทั้งผู้ให้และผู้รับ

8. กลไกของการเผยแพร่สื่อเหมาะสม นำสื่อไปใช้ได้จริง

ผลผลิต

1.สื่อชุดสุขภาพเพื่อครอบครัว ผลิตโดยคณะแพทยศาสตร์

2. เทคโนโลยีที่มีการติดต่อระหว่างศูนย์ส่งเสริมสุขภาพสำหรับประชาชนในจังหวัดชายแดนใต้ (ศสชต) และแกนนำชุมชนในพื้นที่

3. เทคโนโลยีเก็บข้อมูลสุขภาพ

4. การเผยแพร่สื่อผ่านทางแกนนำชุมชน

5. ความตระหนักและความรู้เกี่ยวกับสุขภาพที่นำไปประยุกต์ใช้กับตนเองและผู้อื่น

6. ประชาชนในชุมชนมีความตระหนักมีความรู้ และเข้าใจในการดูแลสุขภาพที่ดี

ผลลัพธ์ของโครงการ

1. ประชาชนในจังหวัดชายแดนใต้มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม

2. ประชาชนในจังหวัดชายแดนใต้มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี

3. ได้ชุมชนต้นแบบการดูแลสุขภาพที่ดี

4. ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลสุขภาพที่ดีในวงกว้างแบบต่อเนื่องและยั่งยืน ครอบคลุมทุกพื้นที่ในอนาคต (Learn-Share-Care)

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

เมื่อทำแล้วอยากให้กระเด้งไปที่ความมั่นคงด้วย นอกจากร่วมมือกับศาสนาแล้วอยากให้ร่วมมือกับมาเลเซียด้วย

อะไรที่เกี่ยวกับ กสทช. คณบดี ดร.จีระ และคุณสาธิตช่วยประสานได้

ความสัมพันธ์ระหว่าง IT กับชุมชน ไปเอาที่สารภีมาด้วย

สิ่งที่จะทำเป็นโรงพยาบาลเล็ก ๆ

Health ดี ความมั่นคงจะดีขึ้น ปัญหาของภาคใต้ คนให้ความสนใจมากที่สุด

อยากให้ชุดนี้มุ่งมั่นและเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีอาเซียนได้ด้วยด้วย

คณบดี รศ.นพ.สุธรรม

ทำไมใช้ว่า 3 จังหวัดภาคใต้ ไม่ใช้ว่าภาคใต้และพยายามใช้เครือข่าย เช่น กสทช. ในการเชื่อมโยง มอ. เกิดขึ้นในปี 2510 สมัยรัฐบาลสฤษดิ์ ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเพื่อป้องกันประเทศไทยต่อการขยายของคอมมิวนิสต์ ทำอย่างไรให้ลดความเหลื่อมล้ำ แก้ปัญหาป่าล้อมเมือง จึงเป็นนโยบายรัฐบาลสมัยนั้นที่จะสร้างมหาวิทยาลัยที่ภูมิภาค เช่นเชียงใหม่ ขอนแก่น มอ.

แม้อยู่ในวงการแพทย์ ต้องทำให้ภาคใต้มีความสะดวกขึ้น

ให้สังเกตได้ว่าที่ไหนที่มีภาวะสงคราม ประชาชนสุขภาพไม่ดี ดังนั้นความไม่สงบเป็นต้นเหตุของสุขภาพไม่ดี ดังนั้นถ้าอยากขับเคลื่อนสุขภาพดีอาจย้อนไปที่ความสงบเสียก่อน

การลดใช้ความรุนแรง มีระดับคนที่ทำงานและขยายผลด้านความสงบ

การขับเคลื่อน เห็นด้วยว่าคู่กรณีไม่ไว้ใจภาครัฐ มีตัวอย่างซึ่งแรงมากเมืองใหญ่มีคนถูกยิงกลางกรุง สภาพความขัดแย้งต่าง ๆ เกิดจากความไม่ไว้วางใจกันเราจะทำอย่างไรเพราะการทำบางสิ่งบางอย่างถ้าเขาไม่ไว้วางใจหรือต้องการเขาอาจจะไม่พอใจได้ สิ่งนี้จึงเป็นสิ่งแรกที่เราควรแก้ไขเพื่อที่จะเข้าไปได้ จึงน่าคิดว่าจะเป็นการเริ่มต้นที่ดี

รองคณบดี นพ.สงวนศิลป์

ขอให้ทำต่อ และอยากให้กำหนด Position ของศูนย์ให้ดี จะเสริมการเรียนรู้อย่างไร สร้างเครือข่ายอย่างไร

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การที่คณบดีพูดว่าความมั่นคง ความไว้ใจมาก่อน ถ้า Link กับชุมชนที่ติดมาเลเซีย อาจเชิญทูตเข้ามา ถ้าเป็นเรื่อง Health จะเหนือเรื่องการเมือง สามารถสร้างความไว้วางใจได้

ควรเอามาเลเซียมาด้วยเพื่อหาช่องทาง

อยากให้คณะแพทยศาสตร์มีบทบาท แต่มีหลายคนเตือนว่าถ้ามีบทบาทเยอะจะกลายเป็นเป้าอาจเป็นการสร้างศัตรูได้ เพราะเป็นศัตรูที่มองไม่เห็น

โครงการนี้ Sensitive เรื่องการเมืองและความมั่นคงแต่สามารถช่วยสร้างความมั่นคงได้เช่นกัน หรือเอาความมั่นคงแล้วช่วยสร้างศูนย์ส่งเสริมสุขภาพก็ได้และให้เอาการทูตเข้ามาเสริมภาคประชาชนด้วย

คุณพิชญ์ภูรี จันทรกมล

มีกิจกรรมความไว้วางใจ มีสารสนเทศที่เหมาะสม มีภาษาที่หลากหลายเข้าถึงกลุ่มที่หลากหลายด้วย มีเรื่องเทคโนโลยีใหม่ มีผู้นำศาสนาและประชาชน

ยุทธศาสตร์ใช้ความจริง มีการเอากฎบัตรมาพูด มีการใช้เครื่องมือศูนย์สุขภาพ online มีการวิเคราะห์ข้อมูล

ใครทำงานกลุ่มและตอบโจทย์ได้ ถือว่าประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง

มีการพูด Learn – Share- Care ที่บอกว่ามีความเข้าใจที่ลึกซึ้งมาก

กลุ่ม 5Magnet Hospital for Excellentand TalentStaff of Med PSU 2020

หลักการและเหตุผล

รู้อยู่แล้วว่า มอ.เป็น Excellent Center แต่ยังขาดอัตรากำลัง ยังมีการโอนย้าย ลาออกต่อเนื่อง

โดยการโอนย้ายลาออกให้เหตุผลว่าย้ายตามภูมิลำเนา และไปตามโรงพยาบาลเอกชน มีการสัมภาษณ์เชิงลึกอาจารย์แพทย์ที่อายุ 20 ปีคือ ท่านเหล่านั้นเป็นคนท้องถิ่น เป็นศิษย์เก่าที่รักสถาบัน มีครุภัณฑ์เยอะ รักมอ. อยากทำงานในมอ.

ด้านบวก

  • •เป็นคนท้องถิ่น

•ศิษย์เก่าผูกพัน

•รักสถาบัน

•ครุภัณฑ์ทันสมัย

•ได้ทำงานที่รัก

•รู้สึกทำงานที่ มอ.ทำอะไรได้เยอะ / เรื่องเงินไม่สำคัญ

เงินไม่สำคัญ

ด้านลบ เมื่ออยากมีครอบครัวมีลูก รายได้จะเข้ามามีอิทธิพลกับเขา การสนับสนุนทีมบริหารมีน้อย ค่าตอบแทนไม่ตรงเวลา มีการพัฒนาคนตลอดแต่บางจุดไม่ยอมรับ อาจารย์บางท่านชอบสอน ชอบบริการแต่ไม่ชอบทำผลงานจึงเป็นความรู้สึกกดดันว่าถ้ามีอะไรดีกว่าจะเลิกได้

•รายได้ไม่เพียงพอเมื่อมีครอบครัว

•อาจารย์แพทย์ที่มีอุดมการณ์มีน้อย

•ผู้บริหารบริหารแบบกดและตัด

•การสนับสนุนทีมบริหารมีน้อย

•จ่ายค่าตอบแทนไม่ตรงเวลา

•พัฒนาตนเองแต่ไม่มีระบบรองรับ

•ไม่อยากทำผลงาน

McClure และคณะ,1983 ได้ให้ความหมายของ Magnet Hospital ว่าเป็นโรงพยาบาลที่ประสบผลสำเร็จในการธำรงรักษาพยาบาลเหมือนกับเป็นแม่เหล็ก ที่สามารถดึงดูด และธำรงรักษาพยาบาลให้คงอยู่กับองค์กรได้อย่างดีและมีคุณภาพการดูแลทางการพยาบาลได้อย่างดีเยี่ยม

Magnet Hospital

•ปัญหาการขาดแคลนพยาบาลในอเมริกาในปี 1980

•โรงพยาบาลบางแห่งที่ประสบความสำเร็จในการสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่ดึงดูดและรักษาบุคลากรพยาบาล

•บุคคลากรพึงพอใจในงาน

•มีผลลัพธ์ทางการพยาบาลที่ดี

St.Luke Hospital

- Magnet award แห่งแรกของ ปี ค.ศ.2001-2005 และ 2006-ปัจจุบัน ผ่านการ Reaccredit เรียบร้อยแล้ว จุดเด่นคือมีการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เน้น

Outcomes/ research เป็นแรงผลักดันในการพัฒนาคน

สร้างสภาพแวดล้อมให้บุคลากรได้อยู่ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด

§ให้ความสำคัญกับคุณค่าทรัพยากรมนุษย์ และการพัฒนาคน

Professional accountability : ทำให้สหสาขาวิชาชีพได้แสดงบทบาทของแต่ละวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยอย่างชัดเจน

การวัดความพึงพอใจ

ผลออกมาในระดับปานกลาง ได้มีการศึกษาว่าองค์กรที่จะดึงคนได้มากและนานเป็นโรงพยาบาลแบบไหน

Magnet Hospital

ช่วยให้มีความประสบความสำเร็จในการรักษาพยาบาลได้นาน

ปัจจุบันมี 335 แห่งในตปท.ทั้งหมด

ปัญหาคือขาดอัตรากำลัง คิดทำอย่างไรให้องค์กรอยู่ได้นานที่สุด ประกอบด้วย 14 องค์ประกอบที่อยู่ในองค์กร มีการนำองค์กร โครงสร้างองค์กร การจัดการองค์กร

1. Quality of nursing leadership

2. Organization Structure

3. Management Style

4. Personal policies and program

5. Professional model of care ความเชี่ยวชาญชำนาญการ

6. Quality of care

7. Quality Improvement คุณภาพ ปรับปรุงต่อเนื่อง

8. Consutation and resources ที่ปรึกษา

9. Autonomy การทำงานเป็นทีม

10. Community Health Care Organization

11. Nurse and Teacher

12. Image of Nursing

13. Interdisciplinary Relationship

14. Professional Development

"""ดึงดูด และพัฒนาบุคลากร ในคณะแพทย์

ทำให้บุคลากรทำงานอย่างมีความสุข มีเกียรติ ศักดิ์ศรี ความภาคภูมิใจ และมีความผูกพันกับองค์กร ตามทฤษฎี ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

1.HRDS(H Happiness, R Respect , D Dignity,S Sustainability)

2.ทฤษฎี 3 วงกลม ได้แก่ บริบท (context), การพัฒนาสมรรถนะในด้านต่างๆ ของบุคลากร (competencies) และแรงจูงใจ (motivation)

วิธีการคือต้องการเป็นเป้าในการให้บุคลากรมีความสุข มีเกียรติ มีศักดิ์ศรีความภาคภูมิใจ จึงนำทฤษฎี HRDS และ 3 วงกลมมาใช้

วัตถุประสงค์

1. เพื่อทราบระดับ HRDS ของบุคลากร เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น

2. เพื่อคงบุคลากรที่มีความสามารถให้อยู่กับคณะแพทยศาสตร์

3. สามารถดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถจากองค์กรอื่นให้มาทำงานที่คณะแพทยศาสตร์

องค์กรคณะแพทย์จะเป็นอย่างนั้นได้อย่างไร

สร้างความสุขของคนในองค์กร มี Emo-meter มีการประเมินคนคณะแพทย์ฯปัญหาดังกล่าวที่ Emo meter พบคือ Relationship

ค่าตอบแทน และสวัสดิการยังอยู่ในระดับปานกลาง

ปัญหาในคณะแพทย์ยังไม่มีการดำเนินการต่อเนื่อง

การสร้างเครื่องมือวัดความสุข และความพึงพอใจในคณะแพทย์

การตอบข้อคำถามค่อนข้างมาก

การตอบแบบสอบถาม ไม่ได้เป็นตัวแทนจากคณะทั้งหมด เมื่อทราบปัญหาคณะแพทย์ดำเนินการต่อหรือไม่ เครื่องมืออาจมีการพัฒนา มีการจับเครื่องมือใหม่ที่ครอบคลุมทุกคำถามที่สามารถวัด HRDS ใช้ง่ายและไม่นานเกินไป ทำอย่างไรให้คนตอบแบบสอบถามทุกปี ทำอย่างไรให้อยู่ใน Intranet มี Diversity ในอนาคต

จะทำพร้อมการประเมินผลงานประจำปี มีการให้ทำแบบสอบถามประเมินตัวเอง ส่งรายงานประจำปีได้ จะต้องตอบตามความเป็นจริง และ IT ต้องมาประเมินเป็น Real Time ต้องมีการปรับและทำโครงการในขณะที่มีความสุข ต้องมีการดำเนินการต่อเนื่อง

HRDS จะนำทั้งสี่ด้าน มาดูว่าบุคคลากรในคณะแพทย์มีความสุขแค่ไหน งานที่จะอยู่ในคณะแพทย์มีมากน้อยแค่ไหน ต้องนำมาประยุกต์ให้เข้ากับบริบท และใส่ในเวป

Megnotometer มีทั้งหมด 46 ข้อ

ต้องมีการประเมินตามเวลาและทุกปี น้อยหรือมากอย่างไร การจัดหมวดหมู่ของคนในคณะแพทย์ มีการพัฒนางาน ความสุขจากการทำงานมากน้อยแค่ไหน

การประเมินความสุขจากการทำงาน

อาทิ บริบท ศักยภาพ แรงจูงใจ การให้ความเคารพในที่ทำงาน การแข่งขัน

นอกจากนี้มีคำถามปลายเปิดให้เสนอแนะมา

ถ้าคะแนนไหนน้อยต้องมีโครงการที่จะไปปรับให้ดีขึ้น

และคะแนนเพิ่มสูงได้เมื่อ มีการเปิดใจรับฟังคนอื่น ถ้ามีปัญหาด้านไหน ควรมีการปรับกิจรรม โดยให้หัวหน้าได้พบปะลูกน้องให้เปิดใจฟัง

ค่าตอบและสวัสดิการ น่าจะอิงตาม Competency ด้วย ได้ทั้งเงินได้ทั้งกล่อง

มีสวัสดิการจ่ายเฉพาะเป็นต้น

มีการประเมินอย่างต่อเนื่องเพื่อมุ่งเข้าไปสู่เลข 5

ลักษณะของแบบประเมิน

ทำแบบ online อยู่ในเวปคณะ คนที่จะเข้าไปทำไปทำเวปได้เลยตามช่วงเวลาที่ประเมินผลที่ได้ออกมาจะออกมาต่ำ สูงแตกต่างกัน

ผู้บริหารสามารถไปดูได้เพื่อที่จะได้ทันเวลา กับที่เราทำ สามารถดูได้ว่าเกิดปัญหาอะไร และจะได้จัดการได้เร็วขึ้น

ถ้าคนมีความสุข มี Facilityพร้อม การบริหารงานที่มีประสิทธิภาพจะเกิดอะไรกับเราได้บ้าง

เครื่องมือ

มี 3 เรื่องหลัก คือ

1.Create Form ได้เอง

2. เอา Form ที่จะถามไปใช้กับ เวปคณะ อีเมลคณะ ถามเฉพาะกลุ่ม

3. สร้างเครื่องมือนี้แล้ว ค่าเฉลี่ยคำถาม ค่าเฉลี่ยรวม รู้ได้จากใคร ให้คิดเปรียบเทียบสามารถใช้กับข้อมูลประกอบได้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ถ้าอาจารย์เห็นว่าลูกศิษย์เก่งถือว่าสำเร็จยินดีที่นำ HRDS และ 3 วงกลมไปขยายต่อ

Happinessis Intangible แต่สามารถวัดได้ เช่น Passion Meaning

อาจารย์จีระเข้าใจ HR เพื่อไปแสดงผลต่อเนื่อง

ความเป็นเลิศของ มอ.ต้องไปต่อสู้กับทุนนิยมสามานย์ ไปต่อสู้กับโรงพยาบาล เราต้องต่อสู้ด้วยแนวคิดความพอเพียง ถ้าเก็บข้อมูลโดย Age group จะทำให้เป๊ทางวัตถุนิยม และคนสำเร็จแล้วจะเป็น Intangible อย่าเอาเด็กไปเปรียบเทียบกับคนอายุมาก

สิ่งที่ ดร.จีระ ต้องการคือ Achievement

มีผลงานวิจัยว่า Money กับ Happiness ไม่ได้เปรียบเทียบได้หมดทุกคน

Passion หรือสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตไม่ได้เปรียบเทียบทุกคน ดังนั้น Individual online ควรทำ Intangible อยู่ที่ความพึงพอใจของพนักงาน ทุนนิยมไม่ได้ดีกับทุกคน คิดว่าเป็นประโยชน์มาก และขอขอบคุณที่เอาแนวคิดมาจาก Reality

รองคณบดี สงวนศิลปื

เราจะเชื่อมระหว่างMegnotometer กับ Happinometer อย่างไร Meaning คืออะไร เราอยากเห็นอะไร และได้ผลคืออะไร มาตรฐาน ความรู้ แนวคิด มีทฤษฎีรองรับ เราจะวิเคราะห์อีก Meter อย่างไร มีแผนพัฒนาอย่างไร

Megnotometer น่าจะได้องค์ความรู้ถ้าเทียบกับ Happinoometer

คณบดี รศ.นพ.สุธรรม ปิ่นเจริญ

ถ้าได้บุคลากรดีจะเกิดประโยชน์หลายฝ่ายที่เชิญดร.จีระ เพราะมองเรื่องทรัพยากรมนุษย์ ดังนั้น การพัฒนา ดูแล เป็นเรื่องที่คณะแพทยศาสตร์ต้องดูให้ดี ซึ่งเป็นผลในระยะยาว ฝากให้คิดเรื่องความสุขของมนุษย์ กับทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งยังไม่เท่ากันทีเดียวทำอย่างไรให้คนมีความสุข และถึงฝั่งได้ด้วย

สิ่งสำคัญไม่แพ้ความสุขของคนทำงานคือความทุ่มเทที่จะทำงาน บางคนบอกว่าเมื่อมีความสุขก่อนแล้วทำงานเอง แต่สิ่งนี้ไม่ใช่เสมอไป ดังนั้นหน้าที่องค์กรคือทำให้คนพายเรือมีความสุข ต้องการถ่ายเทคนในเรือ

การอ้างอิง magnet นั้นเฉพาะเจาะจงของพยาบาล แต่ไม่เฉพาะเจาะจงในอาชีพอื่น จึงต้องแปลดี ๆ

การแปลผลบางครั้งไม่ตรงไปตรงมา การวัด Level อย่างเดียวอาจแปลผิดได้

วิธีวัดเงินเดือนว่าพอหรือไม่ ให้เช็คที่ศิริราช ว่ามีคนไข้มากน้อยเพียงใด ให้ดู Trend และให้มีการเปรียบเทียบความแตกต่าง

อยากให้ทุกคนทำงานในคณะแพทย์อย่างมีความสุข สิ่งที่คนไม่อยากอยู่ต่ออยู่ที่หัวหน้างาน เพราะเป็นตัวแปลที่แรงเพราะใกล้ชิด จึงต้องช่วยกัน

ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

กลุ่ม 2 ที่พูดเรื่องการจัดตั้งศูนย์สุขภาพที่สามจังหวัดภาคใต้ มุสลิมไม่ใช่แค่ศาสนาแต่เป็นวิถีชีวิต

ศาสนาพุทธ สิ่งที่ทำคือเรื่องที่ท้าทายศาสนาคริสต์คือการยอมรับ

เราต้องเข้าใจในทุก ๆ ศาสนา

เรื่อง Magnet เราต้องคิดความพึงพอใจเป็นคุณภาพ ไม่ใช่ปริมาณ ถ้าทำแล้วจะเห็นตัวเลข แต่อาจไม่เห็นในปีแรก ถือได้ว่าเป็นตัว Start ที่ดี

คุณพิชญ์ภูรีจันทรกมล

เป็นการสร้าง Diversity ในกลุ่มที่มีคนหลาย ๆ แบบ หวังเห็นสถาบันอื่น สิ่งที่ดร.จีระ Comment ไปปรับ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ที่เขียน Happiness Capital หมายถึง Happiness atwork ซึ่งต่างกับ Happy workplace ตัวอย่าง Google มี Happiness Capitalทำงานเยอะ แต่ไม่เบื่อ เรียกว่ามี Passion

กลุ่มที่ 3 ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาความเป็นเลิศทางการแพทย์สงขลานครินทร์

หลักการและเหตุผล

ปี 2556 กระทรวงสาธารณสุข : ศูนย์กลางการแพทย์นานาชาติ

• อนุมัติให้ดำเนินการศูนย์ความเป็นเลิศจำนวน 13 สาขา

• ปี 2558 จัดระบบบริการตั้งแต่ระดับปฐมภูมิไปถึงบริการศูนย์ความเป็นเลิศที่มีคุณภาพให้ครอบคลุมและมีระบบการส่งต่อที่ไร้รอยต่อ

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

• เป็นศูนย์การแพทย์เฉพาะทางระดับภูมิภาค

• เป็นศูนย์การแพทย์ชั้นนำระดับนานาชาติในระบบบริการตติยภูมิ

• การพัฒนาระบบการบริการ

• การเป็นผู้นำทางวิชาการ

Med-PSU 6 ศูนย์ความเป็นเลิศ

1. ศูนย์โรคหัวใจ

2. ศูนย์ถันยเวชช์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี

3.ศูนย์องค์รวมเพื่อการศึกษาและบำบัดโรคมะเร็ง

4.ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์

5.ศูนย์บำบัดและทดแทนโรคไตเรื้อรัง

6.สถาบันโรคทางเดินอาหารและตับ นันทนา-เกรียงไกร โชติวัฒนพันธุ์

การศึกษาข้อมูลเบื้องต้น : ปัญหาและอุปสรรค

บางศูนย์ฯประสบปัญหาและอุปสรรคบางประการที่ไม่อาจสร้างงานที่เกิดคุณค่าและมูลค่าได้ดีดังเดิม

ผู้ป่วย (ลูกค้า) มีการเปรียบเทียบระหว่างรพ.ที่มีศูนย์ฯ การเป็นแม่แบบที่ดีในการตั้งศูนย์ความเป็นเลิศในสาขาต่าง ๆ

บางศูนย์ไม่สามารถสร้างงานที่มีคุณค่า ไม่สามารถรักษางานที่มีคุณค่าตรงนั้นได้ มีการสิ้นเปลืองทรัพยากร ทำให้ไม่เข้าแนวการบริหาร มีงบที่มากเกินไป ถึงเวลาที่ทางโรงพยาบาลต้องตามให้ทันกระทรวงสาธารณสุข และเป็นต้นแบบศูนย์การแพทย์จริง ๆ ให้มีวัตถุประสงค์ประสานงานเรื่องทางการแพทย์ เป็นตัวกลางดำเนินงานกิจกรรมต่าง ๆ เป็นแหล่งข้อมูลชี้วัดและประชาสัมพันธ์ความเป็นเลิศ

มีหลาย ๆ ศูนย์ที่ยังไม่ได้เป็น คาดหวังว่าคณะจะรวมดาวทุกดวง เป็นการสร้างให้เกิด Value Creation ทำให้เกิดความขับเคลื่อนและมูลค่าเพิ่มกับศูนย์ต่าง ๆ ทำให้เกิดการ Diversity ได้ มีการดำเนินการสู่ความเป็นเลิศ 19 สาขา มีการศึกษาจากโรงพยาบาลราชวิถีได้ข้อมูลมาว่า

"โรงพยาบาลราชวิถีเริ่มสักระยะแล้ว ได้มุ่งสู่ความเป็นเลิศ 4-5 สาขา" มีความมุ่งมั่นให้เรียนรู้เชิงลึก ได้มีโอกาสติดตามทีมบริหาร โรงพยาบาลจุฬาได้มาดูที่โรงพยาบาลสงขลาฯ แต่ตอนนี้ รพ.จุฬาฯ มีศูนย์ความเป็นเลิศ ในด้านการแพทย์ และงบการดำเนินการต่าง ๆ

การจัดตั้งของจุฬาฯ จัดตั้งในงบการบริหารสู่ความเป็นเลิศ

เป็นผู้ช่วยเลขาฯ และทีมบริหารทั้งหมด มีการกำหนด Criteria ว่าหน่วยที่จะจัดความเป็นเลิศเป็นอย่างไรบ้าง ต้องปรับและแก้ไขอย่างไรบ้าง

วัตถุประสงค์

1.ประสานงานเพื่อการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์สงขลานครินทร์ในด้านต่างๆ ทั้ง 6 ศูนย์ให้มีความก้าวหน้าสู่เป้าหมายที่วางไว้

2. สร้าง/ขยายศูนย์ความเป็นเลิศด้านอื่น ๆ เพิ่มขึ้น

3. เป็นตัวกลางในการดำเนินงานกิจกรรมของศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์สงขลานครินทร์

4. เป็นแหล่งรายงานข้อมูล ตัวชี้วัดกำหนดมาตรฐานศูนย์ความเป็นเลิศฯ

5. เป็นศูนย์ประชาสัมพันธ์ให้ศูนย์ความเป็นเลิศฯ

ตัวอย่างของ ระบบสารสนเทศของ ร.พ.สารภี เด่นเรื่อง IT มี IT Man และหน่วยเข้มแข็ง มี IT เป็นตัวชูโรง

พันธกิจ

1. พัฒนาระบบ IT เพื่อรวบรวมและพัฒนาองค์ความรู้ พัฒนาช่องทางเรียนรู้ ประสาน สนับสนุนการแพทย์ต่าง ๆ พัฒนาบุคลากร และระบบงานที่มีคุณภาพ เป็น Digital Economy

2. พัฒนาระบบบริการตติยภูมิและศูนย์การแพทย์เฉพาะทางให้มีมาตรฐานระดับภูมิภาคและพัฒนาสู่ระดับนานาชาติเพื่อยกระดับสู่นานาชาติ

3. เป็นศูนย์ประสานงาน (Backup Office)

4. เป็นตัวกลางในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์สงขลานครินทร์

5. ประสานทรัพยากรและศักยภาพของบุคลากร คณะแพทยศาสตร์ สงขลานครินทร์เพื่อให้ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ต่างๆ มีระบบการบริหารจัดการทุกด้านที่ดีพร้อมด้วยระบบ IT Backup

ยุทธศาสตร์

1. การกำหนดระยะเวลา และแนวทางการจัดตั้งศูนย์สนับสนุนและพัฒนาความเป็นเลิศทางการแพทย์สงขลานครินทร์

2. กำหนดแผนแม่บทของศูนย์

Road Map

ระยะที่ 1 วางระบบและโครงสร้างของศูนย์

ระยะที่ 2สร้างระบบและเครือข่าย

ระยะที่ 3ปฏิบัติตามพันธกิจของศูนย์

Master Plan

–พัฒนาบุคลากร

–พัฒนาระบบงาน

–ส่งเสริมพัฒนาด้านองค์ความรู้ วิทยาการ และเทคโนโลยี

–พัฒนาระบบสารสนเทศ

กลุ่มเป้าหมาย

ระยะที่ 1 สำหรับหน่วยงานที่เป็นศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ ที่มีอยู่แล้วประกอบด้วย

•ศูนย์ถันยเวชช์ฯ

•ศูนย์รักษาและทดแทนโรคไตเรื้อรัง

•ศูนย์โรคหัวใจนราธิวาสราชนครินทร์

•ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ภาคใต้

•สถาบันทางเดินอาหารและตับฯ

•ศูนย์องค์รวมเพื่อการศึกษาและบำบัดโรคมะเร็ง

ระยะที่ 2สำหรับศูนย์ที่ต้องการพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นเลิศ ยกตัวอย่าง เช่น

–ศูนย์การแพทย์ผสมผสาน (Thai Traditional Complementary Medicine)

–ศูนย์หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด (Robotic Surgical Center)

–ศูนย์เลสิก (LASIK Center)

–ศูนย์เลเซอร์ต้อกระจก (LASER Cataract Surgery)

วิธีการ/ขั้นตอนการดำเนินงาน

1.ศึกษารูปแบบของ Excellent Center ทั้งในและต่างประเทศ หาความร่วมมือและเครือข่าย

2.แต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร Excellent Center

- จัดทำแผนพัฒนาบุคลากร ทั้งระยะสั้นและระยะยาว (ทุนมนุษย์ 8K และ5K)

- จัดระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลที่มีประสิทธิภาพพัฒนาแรงจูงใจ

- การศึกษา ดูงานทั้งในและต่างประเทศ

3. พัฒนาระบบงาน

-ส่งเสริมการพัฒนาระบบตติยภูมิและศูนย์การแพทย์เฉพาะทางระดับภูมิภาค

-เร่งรัดการให้บริการด้านตติยภูมิและสูงกว่าโดยใช้วิทยาการและเทคโนโลยีชั้นสูง

-ส่งเสริมแนวทางการแก้ไขปัญหาสุขภาพที่สำคัญให้ครบถ้วนอย่างเป็นระบบ

4. ส่งเสริมพัฒนาด้านองค์ความรู้ วิทยาการ และเทคโนโลยี

-การบริหารจัดการความรู้

-ส่งเสริมพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทาง

-ส่งเสริมงานวิจัย พัฒนา ประเมิน เทคโนโลยีและจัดทำมาตรฐานบริการ

-ส่งเสริมการเป็นผู้นำทางการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี

5. พัฒนาระบบสารสนเทศ

-เพื่อการประสาน สนับสนุนและพัฒนาศูนย์สนับสนุนและพัฒนาความเป็นเลิศทางการแพทย์สงขลานครินทร์

-พัฒนาระบบงาน ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับโลกยุคดิจิตอล

ปัจจัยสู่ความสำเร็จ

- ผู้บริหาร ผู้นำ และบุคลากรทุกภาคส่วน

- ระบบและโครงสร้างขององค์กร

- งบประมาณ

- นโยบาย

ผลผลิต

  • -มีศูนย์สนับสนุนและพัฒนาความเป็นเลิศทางการแพทย์สงขลานครินทร์

-มีระบบบริการตติยภูมิและศูนย์การแพทย์เฉพาะทางระดับภูมิภาค

-มีระบบสารสนเทศ เพื่อรวบรวมและพัฒนาองค์ความรู้ รวมทั้งเป็น

-ช่องทางที่สำคัญที่สุด เพื่อการประสาน สนับสนุนและพัฒนาศูนย์ฯ

  • -อันเกิดจากการประสานทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพ
  • -(ทุนมนุษย์ 8K และ 5K) และสอดคล้องกับโลกยุคดิจิตอล

-บุคลากรทำงานอย่างมีความสุขและมีประสิทธิภาพ

ดร.จีระหงส์ลารมภ์

กลุ่มนี้ถึงมี Crisis แต่ก็มี Opportunities มีแนวที่ต้อง Co-ordinate กัน มีการ Share ข้อมูลกัน มี new project

การฝึกอบรมหรือการสร้างการเรียนรู้ข้ามศาสตร์คือ Diversity และต้องข้ามไปอาเซียนต้องเข้าใจเรื่อง Networking และ Sustainability ให้เห็นแรงบันดาลใจและแรงผลักดัน คนไทยถ้าตั้งวัตถุประสงค์และเอาชนะอุปสรรค มีความมุ่งมั่นและกัดไม่ปล่อย

อุปสรรคในโลกเยอะ และไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นจะ Realistic มาก

รองคณบดี นพ.สงวนศิลป์

การยกคณะแพทย์สู่ความเป็นเลิศจะมี Model อะไรที่ใช้ในการจัดการ

ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

ต้องให้ข่าวออกตลอดเพื่อให้เกิดความเป็นจริง

คุณพิชญ์ภูรี จันทรกมล

สิ่งที่ทำ ทำได้หรือไม่ จะสร้างความสนใจได้อย่างไรต้องหาข้อมูลเรื่อง IT และทรัพยากรเพิ่มเติมว่าอยู่ตรงไหน ถ้าจะไปดูแลถึงความเป็นเลิศ สิ่งนี้จะเป็นความเป็นเลิศที่ดีกว่า อาจนำร่องที่ถัลยเวช และผู้บริหาร บุคลากรต้องทำอะไรบ้าง

กลุ่มที่ 1 Self Financing Organization

ทำไมถึงเลือกหัวข้อนี้

- ศึกษาจากเหตุการณ์ช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ มีตัวอย่างเช่นKodak Motorola Nokia Sony

องค์ประกอบที่มีส่วนทำให้บริษัทล้มละลายคือ

โกดัก เรื่องการคาดการณ์ กล้องและฟิล์มผิดพลาด

Motorola และ Nokia ล้มละลายเรื่องขายสินค้า

จึงกลับมาคิดว่าที่ มอ. คน 4,000 คน ถ้ามีปัญหาเรื่องขาดทุนทำอย่างไรดี

ตัวอย่างเช่น โรงพยาบาลศิริราชสร้าง โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาการุณเพื่อเป็นการแก้ปัญหาถาวร แต่จะแก้ปัญหาได้จริงหรือไม่

มอ.ควรเป็นองค์กรที่เลี้ยงตัวเองได้ เพื่อปรับเป็น Self Financing Organization เพื่อความยั่งยืนขององค์กรในระยะยาว

การเปลี่ยนองค์กรต้องไม่ให้เกิดความเครียดและตกใจ คือ

1. สร้าง Self Financing unit มีจำนวนผู้ป่วยรับบริการ เช่น การส่งกล้องตรวจลำไส้ใหญ่

2. Budget Planning unit ใน 1 เดือนมีรายรับ

มีการประเมินรายจ่ายค่าพนักงาน บุคลากร ค่าอุปกรณ์ ค่าเช่าสถานที่

4. การปั้น Self Financing ใหม่ จ้างคนใหม่ทั้งหมด เมื่อ Unit ใหม่ได้คนครบคือ Coronoscope 15 คนต่อวัน แล้วมา Unit ที่ 2 ตั้ง Self Financing Units ทำให้ภาระค่าใช้จ่ายลดลง

มีเจ้าหน้าที่ประจำ Self Financing Organization องค์กรมีความยืดหยุ่นสูง สามารถรับมือได้ดีกว่าโครงสร้าง มอ.ปัจจุบัน ถ้ามีความต้องการตรวจมาก ผู้ป่วยต้องรอคิวนาน สามารถเพิ่มได้อย่างรวดเร็ว

ช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนมากได้มาก มีการปรับองค์กรให้มั่นคงระยะยาว มีการยืดหยุ่นที่ดี

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

1. เรารู้ได้อย่างไรว่าจำนวน Customer ที่ไม่มีความสามารถทางการเงินมีเงินแค่ 30 บาท ถ้ามี Self Financial unit จะเพียงพอต่อการขยาย

ตอบ ราคาต่ำกว่าที่กำหนด สามารถให้ชุมชนใช้บริการได้ การเบิกจ่ายปัจจุบันเอื้อต่อการเบิกเคลมของกรมบัญชีกลาง

2. ค่าใช้จ่ายที่ Predict ไว้ ไม่สูง ถ้าเกิดขาดทุนจะทำอย่างไร

ตอบ ได้พูดคุยกับบริษัทต่าง ๆ ปัจจุบันไม่ต้องจ่ายเงินก่อนเป็นการเช่าเครื่องมือทั้งหมด ไม่ต้องควักเงินสด

3. ค่าใช้จ่าย สวัสดิการ เงินเดือน

ตอบ Units ค่าอุปกรณ์จะขึ้นตามสำนักงาน มีส่วนที่ Top up ราคากลาง มีส่วนที่เป็นกำไร ในแต่ละเดือนสามารถให้กองทุนในรูปแบบเงินฝาก รายรับคนในองค์กรมา 2 ส่วนคือ จาก Jobs และ Bonus

4. Customer อาจมา 2 ทาง Trend ของ Health Care ในอนาคตมาเป็น Private issuranceอาจไม่ต้องใช้ตามบัญชีกลางด้วย สามารถดึงลูกค้ามาได้ Income ไม่จำเป็นต้อง Fix ก็ได้

ตอบ คนไข้หลักมาจากระบบกองทุน เป็นแนวคิดที่ต้องคิดในอนาคตถ้าเราทำจริง

ดร.จีระ ได้กล่าวว่าในอนาคตข้างหน้าเป็นไปได้ที่คนมี Issurance จากต่างประเทศมาใช้บริการที่นี่ก็ได้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์มาก

รองคณบดีสงวนศิลป์

ตรงกับแนวคิดที่จะเคยมีคนจะเสนอ เป็นเรื่องที่น่าสนใจ การจัดการจะปรับรูปแบบอย่างไร อาจมีการตั้งบริษัทและให้มาเช่า

สิ่งที่อยากสนับสนุนคือเรื่อง Marketingอาจไม่ใช่แค่การรักษา เท่านั้นอาจมีอย่างอื่นด้วย

ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

อาจมีการสร้างความร่วมมือร่วมกันในอาเซียน เช่นมาเลเซีย กับบรูไนโครงการนื้ถือว่าเป็น Total Revolution ยังไม่มีคนคิด

คุณพิชญ์ภูรี จันทรกมล

ถือว่าเป็นโครงการที่กล้าหาญมาก เพราะยากที่คณะแพทย์มอ.ยอมรับโดยเฉพาะปรัชญาการบริหารของ มอ.

ขอมูลสนับสนุนเบื้องต้นอาจยังไม่พอ

การแยกแต่ละ Units ยากที่ประชาชนจะรับได้ จึงควรมีส่วนกลางที่ทำเหมือนประชาชนผู้ยากไร้ ค่อย ๆ ปรับสู่การบริหารจัดการตนเอง ถึงค่อย ๆ เป็นความเป็นไปได้ unit ที่แยกไปเลยจะไม่ทำจนกว่าจะปีกกล้าขาแข็ง ไม่เช่นนั้นจะไม่มีการเชื่อมโยงบุคลากร

ความท้าทายมีมากๆ อยากให้ทำต่อ อยากให้คิดเรื่องการบริหารความเสี่ยงด้วย ถ้าขายไม่ได้โปรเจคที่ดีก็ยากที่จะเดินต่อไปได้ มีการ Training Service Researchสามารถดึงมาปรับใช้ได้

แต่เป็นเรื่องที่ท้าทาย

คุณวรวุฒิ โตมอญ

เรื่อง Financial เรื่องการมีอิสระทางการเงิน ทำให้การบำรุงรักษา พยาบาลดีขึ้น

ให้ดูว่างานอะไรที่มีอยู่ แบ่งให้คนอื่นทำ ตั้งเป็นบริษัท 1,2,3,4,.... ให้คนทำ

หน่วยงานใหม่ที่ตั้งขึ้นมา สร้างระบบที่เชื่อมโยงและเกี่ยวเนื่องกันจะเป็นแค่สร้างหรือ Cloaning กิจกรรมหรือ Unit ใหม่จะทำได้

นำข้อมูลมาสร้างเป็นแนวคิดที่จะสร้างหน่วยอิสระขึ้นมา และจะทำภารกิจหลัก ๆ อะไรบ้าง และสิ่งที่จะต้องคำนึงถึงอนาคต หน่วยอิสระที่ว่า PSU จะทำอะไร เช่นสังคมคนแก่ จะทำอะไร

แนะนำกลุ่มที่ 3 เรื่องศูนย์สนับสนุน เสมือนแย่งงานเขาทำหรือไม่ ศูนย์ที่มีอยู่แล้วทับซ้อนกับที่ตั้งใหม่หรือไม่มีการคิดและคุยกันหรือยัง

ถ้าเป็นภาคธุรกิจ เป็นบริษัทแม่ที่จะไปดูแลบริษัทลูกทั้งหลายทำเรื่องสนับสนุนทั้งหลายทั้งปวง

การแก้ปัญหาคอรัปชั่นในประเทศไทย หน่วยงานที่ทำเรื่อง คอรัปชั่น เป็นอย่างไร

แนะนำกลุ่มที่ 5 ได้นำเสนอเรื่องปัจจัยที่เป็นแม่เหล็กมีการทำแบบสอบถาม ทฤษฎีต่าง ๆ มากมาย คำถามคือ ทำอย่างเดียวเหมือนเล่นดนตรีชิ้นเดียว อีก 10 ชิ้นไม่เล่นจะเป็นเพลงได้อย่างไร และดนตรีที่เหลือจะเชื่อมอย่างไร คนที่ทำงานในองค์กรมีหลายระดับคำถามเดียวกัน แบบสอบถามเดียวกัน คนให้คะแนนต่างกัน

สิ่งที่ขาดคือ เมื่อได้ข้อมูลเสร็จแล้วจะไปทำอะไรต่อ น่าจะเป็น Output หลัก วิธีการพัฒนาแบบสอบถามนั้นคือเบื้องต้น แต่เมื่อได้ตัวเลขมาแล้ว ดีหรือไม่ เราขีดเส้นให้คนเดินตามที่คิดคำถาม เป็นไปได้หรือไม่ที่คำถามเป็นคำถามปลายเปิด จะทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริงจากทุกคน อาจสรุปง่ายกว่า ให้เอาคำถามมาวิเคราะห์ว่าจะได้อะไร

แนะนำกลุ่มที่ 2 ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพภาคใต้ เป็นกลุ่มที่จัดประเด็นที่เป็นปัญหา 2-3 ประเด็น เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลการวางแผน เมื่อวิเคราะห์ได้ข้อมูลเสร็จจะเป็นการทำกิจกรรม จะสามารถให้กิจกรรมพร้อม ๆ กันได้

เราสามารถ Redesign กิจกรรมเพื่อแปลข้อมูลที่มีอยู่แล้ว เพื่อตอบโจทย์เป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ มีการเข้าถึงข้อมูลทางโทรศัพท์ จะ Assess ข้อมูลข่าวสารได้อย่างไร กิจกรรมที่ทำจะผ่านเครื่องมืออย่างไร

การวางกลไกการใช้ศักยภาพในพื้นที่เป็นอย่างไร เป็นโครงข่ายที่ดีสามารถใช้สื่อได้อย่างดี กิจกรรมที่จะทำนั้น มีความชัดเจนหรือไม่

ภาคใต้ มีโครงการ Southern Thailand

คุณพิชญ์ภูรี จันทรกมล

การถ่ายโอนองค์ความรู้และประสบการณ์เอาเก่ากับใหม่รวมกันหรือไม่สิ่งที่กระทบมากคือผลกระทบทางจิตใจหรือไม่

สรุปการบรรยายโดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

ทฤษฎีกระเด้ง...จากห้องเรียนที่คณะแพทยศาสตร์ มอ. รุ่น และ รุ่น 2 สู่ก้าวอนาคตแบบ 3 V

โดย ผู้บริหารระดับสูงของคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ศ.ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

คุณประพันธ์ บุณยเกียรติ

ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

อาจารย์วรวุฒิ โตมอญ

วันที่ 26 ธันวาคม 2557

คุณพิชญ์ภูรี จันทรกมล

จะขอให้ ดร.จีระ กล่าวถึงมีวิธีการที่จะนำไปปรับใช้กับผู้ใต้บังคับบัญชาหรือลูกศิษย์ในอนาคตต่อไปได้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Session นี้เกิดจากการกระเด้งเพราะตอนแรกคุณหญิงทิพาวดีนึกว่าจะพูดให้ที่กรุงเทพฯ แต่มาไม่ได้ เช่นครั้งนี้ เมื่อมีวิกฤติ เราก็หาโอกาสใหม่ จึงเป็นหัวข้อในครั้งนี้ ก่อนอื่นขอพูดว่าเรื่องนี้ยังไม่เคยพูดที่ไหนแต่สิ่งที่จะพูดต่อไปนี้เป็นประสบการณ์หรือแนวคิดที่เรียกว่า Browsing

ประเด็นที่ 1 การเรียนรู้ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ต้องต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง การกระเด้งในหลักสูตรสั้น ๆเกิดจากการสะสม Experience + Conceptual

การกระเด้งในห้องนี้คือการมีโอกาสใหม่ ๆ เกิดขึ้น ต้องหาจังหวะและโอกาสที่เรียกว่า Rhythm Speech ต้องดู Moment ด้วย และจะมีความสุข หลังผ่าน Probationแล้ว

ให้ศึกษาแก่นที่เรามีอยู่นั้นให้เก็บไว้ให้ดี ความรู้ที่มีอยู่มาจากพื้นฐานที่เราสะสมตั้งแต่เด็ก ความเป็นตัวตนของเราคือส่วนหนึ่งของการกระเด้ง

คณะแพทยศาสตร์เจอเรื่องนี้เพราะว่าพื้นฐานดีมาก เป็น Science base

ข้อเสียของคนไทยคือ ความคิดคนไทยชุ่ย กระจัดกระจาย ไม่รู้รูปแบบอยู่ที่ไหน

สิ่งแรกคือ Conceptual คือ System Thinking ต้องมีก่อนถึงกระเด้งได้ อย่างคนที่เป็น Scientist ที่เก่งเพราะว่าระบบความคิดเขาดี

สิ่งแรกที่อยากฝากไว้คือหลักสูตรที่จัดที่ มอ. 2 ครั้ง ถ้าช่วงแรกผ่าน ช่วงที่เหลือคือกำไร ถ้าช่วงแรกไม่ผ่าน ไม่เป็นการยอมรับก็ไม่สามารถกระเด้งได้ ต้องมีการวางแผน

การกระเด้งเกิดขึ้นได้ เพราะว่าบรรยากาศการเรียนด้วย ไม่จำเป็นที่ต้องเกิดจากวิชาการเท่านั้น แต่เกิดจาก Feeling ที่มีต่อกัน บางครั้งการฟังจากลูกศิษย์อาจเกิดทฤษฎีกระเด้งก็ได้ ดังนั้นสิ่งแรกที่กระเด้งคือความสัมพันธ์ระหว่างรุ่น 1 และรุ่น 2 คือ ความรัก ความไว้วางใจกันหรือที่เรียกว่า Trust

ทำไมดร.จีระ ถึงกระเด้งทางความคิดหลังจากที่ฟังเสมอ

ตัวอย่างเช่น ข้อดี ของรุ่น 2 คือ ดร.จีระได้เลือกหนังสือที่ไม่เคยใช้ที่ไหนเลย แต่พบว่ารุ่น 2 วิจารณ์หนังสือที่ดีมาก

ขอขอบคุณความลึกซึ้งของคนในห้องนี้ ที่ทำให้ ดร.จีระลึกด้วยเช่นกัน

สรุป การกระเด้งเกิดจาก

1. Concept + Experience มี System Thinkingการกระเด้งเกิดจากระบบความคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ และถ้าไม่มีความคิดเป็นระบบ เราไม่สามารถโตในโลกนี้ได้

2. มีบรรยากาศที่ดี มีการปะทะกันทางปัญญา

ขอบคุณ Study Tour ทั้ง 2 ครั้งที่แสดงให้เห็นถึงการดูงานที่คุ้มค่ามาก คนเราต้องใช้เวลาร่วมกันอย่างคุ้มค่า มี Mutual Respect

การเรียนในครั้งนี้เป็นเสมือน Path Finder หรือ Path Citizen จะเดินได้ดีหรือไม่ มีความสามารถในการจัดการกับความล้มเหลวหรือไม่

การ Focus ใส่ใน Customerถ้า Focus ในสิ่งที่เป็นประโยชน์กับลูกค้า จะชนะ ถ้าเรา Please Customer ดีการกระเด้งจะเกิดได้ ระบบ Silo Base ยังมีอยู่ ต้องเก่ง คิดดี และแก้ปัญหาให้เป็นด้วย

คุณปรารถนา รุ่นที่ 1

คิดว่าถ้าทรัพยากรบุคคลไม่ดี จะดีตามมายากมากการเป็นผู้นำของประเทศ

ครั้งแรกที่การสะสมของพระบาทสมเด็จของพระเจ้าอยู่หัวคือเรื่องการพัฒนาทุนมนุษย์ก่อน ต้องมี Network มาเกี่ยวข้องมากผู้นำคณะแพทยศาสตร์มองว่าสิ่งที่ได้เรียนรู้จะเกิดประโยชน์การให้ข้อมูลที่เป็นจริงและตรงประเด็นมากที่สุด สามารถสร้างผลงานที่ดีได้

ควรมีทัศนคติที่ดีต่อองค์กรเพื่อให้เกิดความรัก และความทุ่มเท เน้นการทำงานเต็มที่ และเพื่อองค์กร ผลที่ตามมาคือ Success มีภารกิจหลักเพื่อคณะแพทยศาสตร์ การบริการ และการวิจัยเพื่อสู่ความเป็นเลิศ สิ่งสำคัญคือการพัฒนาบุคคล การให้ความรู้ ประสบการณ์ ทำให้สิ่งที่พัฒนาไปแล้วมีการส่งเสริมหรือไม่ ได้รับคำชื่นชมต่อการบริการหรือไม่

ความยั่งยืน การดูแลสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่เก่งแต่คณะแพทยศาสตร์ แต่รอบด้านต้องดีด้วย

จากการเรียนรู้คิดว่าหลักสูตรนี้มีความสอดคล้อง และเห็นด้วยว่าช่วยทำให้ประเทศชาติเจริญรุ่งเรื่องในอาเซียน

คุณหมอสุทธินันท์ รุ่นที่ 1

ขอแลกเปลี่ยนประสบการณ์ว่า ที่มาเรียนสิ่งที่ได้จะช่วยให้พวกเราค้นหาตัวเองมาก คณะแพทยศาสตร์ได้เปรียบที่อื่นเยอะมากไม่ว่าเป็นการคิดเป็นระบบและเป็นกลยุทธ์ (Strategic Thinking) ช่วยให้การใช้ชีวิตและการทำงานมีความสุขอย่างเช่น Passion เป็นเรื่องสำคัญ ทำอย่างไรให้เราและทีมงานหาเจอเพราะว่าถ้ามี Passion จะช่วยให้ทะลุไปทุกอย่าง KPI ไม่จำเป็นต้องวัดเลย เพราะเมื่อมี Passion จะได้หมด รวมไปถึง 3 V ด้วย

สุดท้ายที่จะอยากบอกคือ มีคนมาเรียนรวมกัน 100 คนทั้งรุ่น 1 และรุ่น 2 จึงอยากให้ไป Share ทำอย่างไรให้คนเต็มใจช่วย ทำอย่างไรให้ประชาชน ไม่เพียงแต่คนไข้ที่มาโรงพยาบาล ทำอย่างไรให้คณะแพทย์ไม่จบแค่รักษาพยาบาล แต่ชุมชนโดยรอบ มีสุขภาพดี ปัจจัยชี้วัดคือ ชุมชนสุขภาพดีสำเร็จ ไม่ใช่มาโรงพยาบาลเยอะแล้วสำเร็จ

ผศ.สุรพงษ์ ชาติพันธุ์ รุ่นที่ 2

ถ้ามองจากการที่ตัวเองได้มาในหลักสูตรนี้จำได้ว่า ดร.จีระ บอกว่า ถ้าไม่อยากเรียนอย่าเข้าไป แต่ปรากฏว่าไม่มีใครขาดเรียนเลย แม้เป็นการสอนที่รู้สึกดุดันรู้สึกว่าเป็นสิ่งหนึ่งที่รู้สึกตั้งแต่วันแรก และรายวิชาหลายตัว อย่างเรื่องทุนมนุษย์ การบริหารจัดการ มีการจัดเค้าโครงวิชาได้ดี คนที่มาเรียนมีความตั้งใจ แม้บางช่วงตกไปบ้างก็สามารถกลับเข้ามาได้

สรุปแล้วหลักสูตรดีงานหนักสมควร แต่ผลลัพธ์ที่ได้คุ้มค่า หลายคนได้ประโยชน์เยอะมากเพราะว่าเป็นสิ่งที่ไม่มีคนเรียนรู้ แต่นำมาปรับใช้ในระบบของคนได้ เป็นสิ่งที่แฝงในเนื้อหา

ชอบคำว่า Learn-Share-Care ที่ทำให้คนรู้สึกผูกพัน ด้าน CSR มีการแบ่งหน้าที่กัน แต่พอรวมกันทำให้เกิดงานที่ยิ่งใหญ่เกิดได้ สิ่งนี้จะถึงว่าเป็นสิ่งที่ดี และถ่ายทอดให้กับนักศึกษาได้ เน้นการกระตุ้นให้คิด ให้ทำ Workshop ที่เสมือนเป็นการบังคับให้แสดงออก

รุ่น 2 ดีใจที่ได้ทำกิจกรรมหลายอย่าง คิดว่าโครงการนี้น่าจะมีต่อไปเพื่อให้บุคคลากรคณะแพทย์พัฒนาศักยภาพขึ้นมา

น.พ.กิตติศักดิ์ ศรีวงษ์ (รุ่น 2)

ตอนแรกก่อนเริ่มเข้ามาเรียน รู้แต่เนื้อหาแต่ไม่รู้ในรายละเอียด และพอเข้ามาจะเจอแต่กระเด้ง กระเด้ง และกระเด้ง สิ่งที่พูดในห้องคือ การเรียนในห้องนี้ไม่มีคำว่าถูกผิด

กระเด้งในความคิดคือการไปสู่สิ่งใหม่

สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ 1. ใช้หลักการของเหตุผล การทำอะไรสำเร็จ เหตุต้องดีก่อน แล้วเราลงมือทำแล้วผลจะตามมากที่เราต้งการที่สุด เริ่มจากทุนทรัพยากรที่เรามี เช่น ทุนมนุษย์ ทุนความคิดสร้างสรรค์....

สิ่งที่เด่นคือ ความคิดสร้างสรรค์ อาจาย์ศรัณย์ สิ่งที่ได้คือ Passion และ mindset

ต้องมีสุขภาพกาย และสุขภาพใจที่ดีก่อน เช่นความงามสามารถให้เรามีความคิดสร้างสรรค์

การมีสุขภาพกายที่ดี มีมันสมองที่ดี ทำให้มีความคิดสร้างสรรค์ออกมาดี หา Room of Improvement มีการเรียนด้าน Marketing คิดรอบ ๆ คิดมองไปในภาพรวม

เรื่องวิสัยทัศน์ ให้มองภาพกว้างเป็น Global / Macro

การคิดเชิงกลยุทธ์

การเรียนเรื่องวิสัยทัศน์ ให้รู้ก่อนว่าปัจจุบันรู้ว่าเราอยู่จุดไหน และวิสัยทัศน์ให้มองในอนาคตได้ ถ้าต่อยอดได้จะช่วยให้คิดร่วมยอดให้ดีขึ้นเป็น Positive Sum

การหัดตั้งคำถาม เช่น คำถามที่มีอยู่เกิดขึ้นเพราะอะไร และจะแก้ไขได้อย่างไร Purpose คืออะไร มีความมุ่งมั่นอะไรบ้าง เราจะทำให้สำเร็จได้อย่างไร เช่น อยากมีสุขภาพดีต้องนอนเร็ว ออกกำลังกาย ตื่นเช้า มีอุปสรรคอะไรไม่ให้นอนเร็ว และจะแก้อุปสรรคนี้อย่างไร มีข้อบ่งชี้ในการทำอะไรสิ่งใด สิ่งหนึ่ง การทำสิ่งนั้นเหมาะสมหรือไม่

8K's5K's มาสู่ ความคิดสร้างสรรค์ วิสัยทัศน์ และตั้งคำถาม

การ Doing เป็นเรื่องของ Communication และ Networking เป็นเรื่อง Complete Concept Clear Conciseมีเรื่องการสื่อสารที่เป็น Crucial Conversation

การทำอะไรต้องอาศัย Networking เช่นการขอพบ ท่านว. วชิรเมธี ไปเองจะมีโอกาสเจอหรือไม่

ท้ายสุดคือ Sustainability ที่เน้น

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การ Empower คน ต้องฝึกให้เขาล้มเหลวด้วย ไม่ใช่สำเร็จอย่างเดียว ต้องกระตุ้นให้คนมีส่วนร่วม ให้มีฐานความคิดใหญ่ขึ้น และต้องรับให้ได้ในบางเรื่อง

ต้องให้โอกาสลูกน้องเขาคนที่เป็นหัวหน้างานต้องมีอารมณ์สุนทรีย์ โกรธง่าย และต้องให้อภัยเร็วไม่อย่างนั้นจะเครียดในองค์กร

คุณประพันธ์ บุณยเกียรติ

สิ่งที่พวกเราทั้งหลายทำงานเฉพาะทางเป็นสายงานที่มีความเฉพาะด้าน และถูกฝึกมาให้รับผิดชอบ แต่ในโลกความเป็นจริงเป็นสีเทา ทั้ง ๆ ที่ถูกสอนให้เป็นขาวกับดำ

สีเทา เป็นสิ่งที่พวกเราต้องบริหารจัดการองค์ความรู้ ต้องให้เป็นสีเทาที่มีคุณภาพ

สีขาว คือวิชาสีดำคืออวิชชา การทำงานพวกเราต้องการความสำเร็จ

หมอ พยาบาล คนไข้ เพิ่มขึ้นทุกปี ในอดีตเป็นความสำเร็จ แปลว่าได้งบประมาณเยอะตำแหน่งเยอะ เรียกว่าเป็นการมองที่ตัวเอง แต่ไม่ได้มองไปข้างนอก

วิธีการคือ

1. เราต้องมองว่าการประกอบอาชีพเป็นการรับผิดชอบต่อตนเอง และครอบครัว

2. มองไปที่สังคม และประเทศชาติ เราจะทำอย่างไรให้การบริการสาธารณสุขใช้งบประมาณน้อยลง หลักสำคัญคือการบริหารจัดการ ความรู้เป็นเสมือนเซลล์

ความรู้ที่พวกเรามีอยู่ในตัว ทุกคนรู้อยู่แล้วองค์ความรู้ที่มาบอกเรียกว่าการบริหารจัดการคือ ทำอย่างไรให้ท่านสามารถจัดระเบียบสิ่งที่มีอยู่แล้วให้เป็นระเบียบยิ่งขึ้น เมื่อจัดระเบียบให้ตัวเองเสร็จ ก็ไปจัดระเบียบให้กับหน่วยงาน

ให้คิดว่าความรู้เป็นเหมือนเซลล์ จากจุดเล็ก ๆ ต้องขยายผล

ตัวอย่างทหารสิ่งที่ห้ามทิ้งคือ อาวุธ มวลชน หนังสือ (ความรู้)มนุษย์ที่เราพัฒนามาได้จนทุกวันนี้เกิดจากความรู้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี

ต้องเรียนรู้ในการก้าวข้ามปัญหาอยากให้คิดโจทย์ในการตอบคำถาม

ความรู้เป็นตามทฤษฎี วิวัฒนาการองค์ความรู้ ต้องมีพัฒนาการ ต้องใช้ประโยชน์ ถ้าไม่ใช้ประโยชน์จะหายไป

เมืองไทยและญี่ปุ่น ปฏิรูปพร้อมกันในสมัยรัชกาลที่ 5 ปฏิรูปเสร็จ ก็ส่งคนไปเรียนวิชาต่าง ๆ มีการเรียนทหาร การแพทย์ วิศวกรรมต่าง

คนที่มีความสามารถ ถ้าขาดการบริหารจัดการ ความสามารถก็ไม่เต็มร้อย

คุณวรวุฒิ โตมอญ

สิ่งที่คุณวรวุฒิ เสนอมาคือ เสนอแนะให้คณะ

หน้าที่หลักคือ ผลิตบุคลากรทางการแพทย์เพื่อเสริมหรือให้บริการในกระทรวงสาธารณสุขต่อไป อีกส่วนหนึ่งคือกระบวนการวิจัยในการเรียน การสอน ที่เกี่ยวกับการรักษา การป้องกัน และการวิจัย

คนที่อยู่ในคณะแพทย์ มีการเข้าใจในบทบาทของเขา แต่ทั้งหมดเข้าใจในภาพใหญ่หรือไม่ อาจทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน

การกระเด้ง จะกระเด้งไปแค่ไหน และกี่ขั้นตอนกระบวนการกระเด้ง เป็นการเตรียมทีมที่จะกระเด้งด้วยให้เตรียมคนที่มีมาตรฐานในการบริหารจัดการ ให้มีการเตรียมทัศนคติ หรือ Attitude ที่แปลตัวเลขว่าอะไรที่มีคุณค่ามากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น Knowledge , Money ,Love เตรียมบุคลากรคณะให้ไปในทิศทางเดียวกัน ให้เตรียมนำความรู้ไปพัฒนาในทิศทางเดียวกัน

ระบบการขยายเครือข่าย เป็นไปได้หรือไม่ที่ใช้กระบวนการเสริมมี โค้ช Trainer และ ที่ปรึกษา ดูปัจจัยที่จะเตรียมกระเด้ง สู่การพัฒนาสู่เป้าหมาย มอ.

สิ่งที่จะเป็นเครื่องมือในอนาคตอันใกล้คือ ทำอย่างไรถึงจะสื่อคำพูด ภาษา ประโยค ให้ถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ต้องมีการลงทุนในเรื่องของ IT คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต้องมีข้อมูลข่าวสารก่อน

การพัฒนาระบบ IT เป็นตัวบังคับที่ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน

การกระเด้ง ภารกิจหลัก ภารกิจรอง น่าจะมีการเพิ่มศักยภาพและปรับสัดส่วน

ทฤษฎี 3 V ขอเสนอ Vที่ 4 คือ คุณธรรมจริยธรรมเพื่อเป็นตัวต่อในการพยุง 3 Vไปทิศทางเดียวกัน

ประเด็นสุดท้ายที่อยากฝากไว้คือ คนในห้องนี้ส่วนหนึ่งจะไม่อยู่ ความเป็นคุณูปการที่จะสนับสนุนให้เกิดการกระเด้งต้องถอดหมวกออกไปว่าทำไปแล้วไม่ใช่เกิดประโยชน์กับเรา พวกเราเปรียบเสมือนเป็นเสาเข็ม การทำภารกิจนี้ พวกเราเป็นเสมือนตอกเสาเข็มเพื่อให้เกิดการกระเด้งในอนาคต

ต้องมีทัศนคติที่เป็นมาตรฐานสู่การทำงานในอนาคต สัดส่วนเป็นอย่างไรต้องมีการพูดคุยต่อไป

ดร.จีระเดชดิสกะประกาย

ทุกคนที่จะทำสัมมาอาชีวะที่ถูกต้อง คือต้องมีแรงดลใจ ไม่รู้ว่า Passion จริง ๆ คืออะไร คือกระหาย กระโดด ก็ได้

ทฤษฎีกระเด้งคือ สิ่งที่เกิดจากมีอะไรบางอย่างไปกระทบกับอีกอย่างแล้วเกิดบางสิ่งบางอย่างขึ้นมา

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Session นี้ คือ Session กระเด้ง

กระเด้งอันแรกคือ คาดอย่างหนึ่งแล้วได้อีกอย่างหนึ่ง

การกระเด้งที่ค่อนข้าง Specific คือ การมีโปรเจคร่วมกัน แล้ว กระเด้ง into project

การ Turn idea into actionอย่างโปรเจค กสทช.ต้องปั้นด้วยกัน แต่ถ้า กสทช. ไม่เล่นเรื่อง Health อสม. 3 จังหวัดภาคใต้ ดังนั้นกระเด้งที่ต้องการคือการขาดแรงเหวี่ยงสูง

ทฤษฎี3 V อาจไม่ต้องให้อธิบาย ให้เขาสามารถทำได้ อยากให้บรรยากาศแลกเปลี่ยนเป็นกำลังยกกำลัง 5

การกระเด้งที่สำคัญคือการ Turn สู่ Success

Session นี้เป็น Session ที่ทำให้เรากระชับพื้นที่ จัดระบบให้เป็น System Thinking ก่อน พูดอย่าง คาดอย่าง แต่ได้อีกอย่าง

การกระเด้งต้องมาจากพื้นฐานการ Happy at learning ก่อน

การกระเด้งเป็นโอกาสที่สำคัญ

คุณพิชญ์ภูรี จันทรกมล

ทำไมทฤษฎีกระเด้งทำร่วมกัน เพราะ เรามีพื้นฐานไม่เท่ากัน

คณบดี รศ.นพ.สุธรรม ปิ่นเจริญ

สิ่งที่ได้ประโยชน์จากการจัดหลักสูตรนี้มีความน่าสนใจมากว่า เป็นอันที่มาเติมคณะแพทยศาสตร์ เติมให้คณะวิทยาศาสตร์

การกระเด้งบางครั้งเราคาดเดาได้และบางครั้งไม่สามารถคาดเดาได้

การกระเด้งจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งเป็นทฤษฎีใหม่ที่มาตอบสนองได้บางครั้งอาจกระเด้งแรงก็เป็นจุดเด่นทำให้เรามีโอกาสเกิดขึ้น ต้องคอยจับโอกาส อย่าให้ออกนอกทาง และใช้ให้เกิดประโยชน์กับพวกเรา

การกระเด้งนั้นสามารถกระเด้งได้หลายจังหวะ สามารถจับโอกาสให้ดี

ทุกท่านมีพลัง และคุณธรรมที่แฝงเร้นในตัวว่าเป็นลูกบอลที่ดี อยากให้รักษาความดีงาม ความรู้สึกดี ๆ จากการมีเพื่อน ทั้งภายในและภายนอก

กล่าวปิดโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สิ่งที่ได้เป็นการนำประสบการณ์ไปสู่มาตรฐานที่สูงขึ้น ไม่ให้สิ้นสุดในการเรียนรู้ สิ่งที่อยากจะฝากไว้คือ Social Mediaอยากถามว่าสิ่งที่จะได้รับมีอะไรบ้างที่ขับเคลื่อนตัวเองสู่ความเป็นเลิศในอนาคต

ดร.จีระ รู้สึกมีความภูมิใจและมีเกียรติ ถ้าโครงการได้ขับเคลื่อนไปในอนาคต วิธีการเรียนหนังสือแบบใหม่

กล่าวขอบคุณ โดย ดร.ทิพวรรณ

ประธานรุ่น 2 ดร.ทิพวรรณ กล่าวขอบคุณ ทุกคนมีความรู้สึกอย่างเดียวกันทุกคนมีจุดแข็ง และทำงานประสานกันได้เป็นอย่างดี มีการส่งเสริมกำลังใจและสร้างพลังภายในให้ดีขึ้น สร้างโอกาสให้เห็นการทำงานภายนอก ในอนาคตพวกเราสามารถขอความเห็น ความรู้ เพื่อนำไปสู่สิ่งที่ดีต่อคณะแพทยศาสตร์

รศ.นพ.สุธรรมปิ่นเจริญ

สิ่งที่เกิดขึ้นคือ คนของเราทำงานหนัก ทำงานเพื่อสังคม จึงควรถึงเวลาที่จะต้องรับเลื่อยให้คมด้วย อาจารย์กรรณิการ์ตั้งชื่อว่าเป็นการทำเพื่ออนาคตของคณะแพทยศาสตร์

การขับเคลื่อนมาตรฐานทางการแพทย์ ทางวิชา และการรับใช้สังคม ไม่ได้อยู่เฉพาะโครงการแพทย์ แต่อยู่เฉพาะสังคม

การทำหน้าที่นี้เป็นสิ่งที่ทางทีมงาน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ตั้งใจมาพูดให้เราฟัง มาสอน ในสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้ทำ เป็นการสร้างคนสร้างทัศนคติให้เห็นโลกกว้างขึ้น ให้เรียนรู้คุณค่าของสิ่งที่ทำ พัฒนาโครงการให้เหมาะสมกับชีวิตจริง เน้นการทำงานเป็นทีม ให้มีความสามารถที่มากขึ้น และนำไปสร้างประโยชน์ให้มากขึ้น ทุกท่านสามารถช่วยปลูกหรือพัฒนาศักยภาพของเรา

สรุปการบรรยายโดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการปรับใช้กับการทำงานของคณะแพทยศาสตร์ มอ.

โดยดร.สุเมธ ตันติเวชกุล

เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา

วันที่ 26 ธันวาคม 2557

ในปี 2512 มีการก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ประเทศรอบไทยเริ่มเป็นคอมมิวนิสต์หมด เหลือที่รอดเป็นคอมมิวนิสต์คือไทยที่ไม่ยอมตามใครทั้งสิ้นในตอนนั้นเป็นเลขาคณะกรรมการพัฒนาสภาความมั่นคงกองทัพภาค 1-4

จบการศึกษาคือไปเวียดนามและลาว

ตอนนั้นเป็นโรงเรียน High School ของฝรั่งเศส อยู่ท่ามกลางกองโจร ระหว่างเหนือกับใต้และกลับมาประเทศไทย ไปอยู่กองวางแผนสงคราม

กระสุนทุกนัดนำประเทศไปสู่ความพ่ายแพ้ อย่างสงคราม ลาว กัมพูชา จะทำอย่างไรถึงไม่ให้อยู่ภายใต้สงคราม

การต่อสู้อย่าดูระหว่างคนไม่มีกับมี

ระหว่างสงคราม โลกครั้งที่ 2 ใครอยู่ในพื้นที่ไหนก็เป็นคนพื้นที่นั้น แม้เป็นพี่น้องกัน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ เมื่อเสด็จลงมาทรงงาน

ประโยคที่สะท้อนให้เห็นปัญหาคือ ที่พระเจ้าอยู่หัวฯ ยังเหนื่อยเพราะคนไทยยังมีคนยากจนอยู่มากคนส่วนมากยังไม่มีเสถียรภาพ เมื่อไม่มีเสถียรภาพก็ไม่พอมีพอกิน แล้วจะมีประชาธิปไตยได้อย่างไร แล้ว พระองค์ท่านจะหยุดได้อย่างไร

พระองค์ท่านยังพูดอีกว่า ถ้าเขาเป็นคนยากจน เมื่อเขาไม่มี ใครมายื่นอะไรก็ต้องได้รับก่อน

หลักการทรงงานต้องสอดคล้องกับภูมิประเทศ เรียกว่าเป็นภูมิสังคมพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงบอกว่าถ้ารู้ซึ้งให้เอาทุกอย่างที่กินได้ปลูกในไร่ 10 ไร่ก่อน เพราะเมื่อเกิดวิกฤต จะได้มีกินมีใช้ตลอดทั้งปี เมื่อเหลือกินเหลือใช้จึงขาย

ให้ศึกษาเป้าหมายชีวิตคืออะไร

สิ่งที่ ดร.สุเมธได้รับคือ

ให้รู้จักธรรมชาติ ทำอย่างไรให้อยู่คู่กับธรรมชาติให้ได้

ตัวอย่าง หมู่บ้านที่มีป่าชายเลนอยู่ข้างหน้ารอดสึนามิ แต่ที่ป่าชายเลนโดนทำลายแล้วไม่รอดหมดเลย ให้รักสิ่งแวดล้อม

ปัญหาทุกอย่างคือหลักตรรกะ ไม่ต้องใช้วิชาในการบริหารแต่เป็นหลักเหตุผล

ดร.สุเมธ ถวายงานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มา 36 ปีเมื่อไปที่ไหนจะตั้งข้อสังเกตอยู่ประการหนึ่ง คือ ทุกคนชอบเห็นพระเจ้าอยู่หัว แต่ไม่ได้มองพระเจ้าอยู่หัวฯ ชอบได้ยินพระเจ้าอยู่หัวฯ แต่ไม่ฟังพระเจ้าอยู่หัวฯพระองค์ท่านมีอารมณ์ขัน แทรกในการสอนโดยไม่รู้ตัว

พระเจ้าอยู่หัวทรงเล่นเรือใบที่พระองค์ท่านทรงทำเอง เนื่องจากสมเด็จพระศรีนครินทรา ไม่เคยให้อะไร เมื่ออยากได้อะไรต้องทำเอง

ความดี ความเลวไม่มีติดตัวมาแต่ชาติกำเนิด แต่สามารถฝึกได้

ในแง่ Education คือ พระองค์ท่านจะทราบลักษณะของเรือ และเวลาเจอคลื่นจะเป็นอย่างไร

พระองค์ท่านชอบเรือใบเพราะอะไร

พระองค์ท่านสอนว่า เรือใบแล่นได้เพราะอะไร แล่นได้เพราะลม คือไม่เห็นแต่รู้สึก บางสิ่งบางอย่างไม่เห็นแต่สัมผัสได้ ดังนั้นนักแล่นเรือใบต้องสัมผัสได้

ลำแสงทะเลาะก้อนเมฆมา เกิดความร้อนแล้ววิ่งเข้าสู่เรือใบ การแล่นเรือใบจะทำให้ได้สัมผัสบรรยากาศการเล่นทะเล เล่นที่ไหน ฝั่งอันดามัน หรืออ่าวไทยพระองค์ท่านทรงเป็นผู้รู้รู้คลื่นเพราะทรงเรือใบ รู้ลักษณะคลื่น และ Design ท้องเรือตามลักษณะคลื่น

พระองค์ท่านอ่านธรรมะออก ธรรมะคือธรรมชาติ พระองค์ท่านทรงเน้นเรื่องธรรมะ ต้องบรรลุให้ได้

"...ขณะนี้ยังมีบุคคลอีกเป็นจำนวนมากที่มีความตั้งใจจริงมีศรัทธาขวนขวายหาความรู้เป็นวิชาชีพใส่ตน แต่ประสบปัญหาไม่มีความรู้พื้นฐาน และไม่มีทุนทรัพย์เพียงพอที่จะเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาวิชาชีพระดับต่างๆ ได้หากมีช่องทางช่วยเหลือบุคคลเหล่านี้ให้มีความรู้วิชาชีพที่เขาปรารถนาย่อมจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติได้..."

พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พระราชทานแก่ดาบสอาสารุ่นแรก พ.ศ. 2518

"...การใช้หลักวิชาและความริเริ่มสร้างงานที่อาจดูไม่ใหญ่โตนัก แต่มีประสิทธิภาพสูงและอำนวยประโยชน์โดยตรงได้มาก โดยนำเอาทรัพยากรธรรมชาติ ความรู้ ความสามารถ ตลอดจนแรงงานของคนส่วนใหญ่ให้ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย และให้เกิดการเสียหาย หรือความสูญเปล่าน้อยที่สุด การสร้างความเจริญในลักษณะนี้ จะช่วยสร้างเสริมความเจริญของกิจการส่วนรวมได้แน่นอน"

พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า

วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วันที่ 18 ตุลาคม 2520

"...ในเมืองไทยนี้ก็ได้สร้างหลายๆ อย่าง ตั้งแต่เครื่องจักรกลสำหรับการเกษตร และสิ่งอื่นๆ ในทางเทคโนโลยีขั้นสูงก็มากหลาย ฉะนั้นถ้าให้กำลังใจเขา เมืองไทยก็จะสามารถพัฒนาขึ้นมาโดยใช้กำลังการวิจัยของเราเอง และส่วนมากก็ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายอย่างมาก ต่อไปก็อาจเป็นชื่อเสียงและเป็นรายได้ของประเทศก็ได้..."

พระราชดำรัสในโอกาสคณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลผลงานคิดค้น หรือสิ่งประดิษฐ์ ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ

รางวัลที่ 1 (กังหันน้ำชัยพัฒนา) วันที่ 14 กันยายน 2536

พระองค์ท่านให้ความสำคัญกับการทำวิจัยเพื่อสร้างประโยชน์ มหาวิทยาลัยก็ต้องการคน ถ้าเป็นมหาวิทยาลัยต้องเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย เพราะที่ผ่านมา ข้าวมีปัญหา ยางก็มีปัญหา

ปัจจุบันถึงยุค Innovation ที่เราต้อง Innovate ทำอย่างไรถึงจะขายข้าวให้ได้ เมื่อคำนวณเสร็จแล้วเพิ่มมูลค่าข้าวถึง 1,000 เท่า

หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 20 ข้อ

ข้อที่ 1 ทำงานอย่างผู้รู้จริงอย่างเป็นระบบ

พระองค์ท่านทรงทำอย่างผู้รู้จริง อย่างเช่นรู้รักสามัคคี พระองค์ท่านต้องรู้หมดก่อน

ข้อที่ 2 อดทน มุ่งมั่น ยึดธรรมะ ความถูกต้อง

ธรรมะ แปลว่าอะไรคือความดี ความถูกต้องและความดีบางอย่างไม่ใช่ความถูกต้อง

ข้อที่ 3 อ่อนน้อม ถ่อมตน

พระองค์ท่านทรงเข้าถึงประชาชน พระองค์แสดงให้ดู ทรงโน้มพระวรกายไปหาประชาชน

ข้อที่ 4 ซื่อสัตย์ สุจริต กตัญญู

เมืองไทยกำลังเข้าไปสู่ยุคตัวกู ของกู คือไม่สนใจใคร ไม่สนใจคนอื่นไม่สนใจข้างนอก ชีวิตอยู่ในจอ สังคมเริ่มปิด สังคมอยากรวยลัด เริ่มมีศัพท์แปลก ๆ เช่นrichsufficiencyคือรวยด้วยพอเพียง ต้องสวยภายนอกต้องเอาตัวให้รอดก่อนคือ (Help yourself) ใครทำอะไรที่ไหน ถ่ายได้ทันที

สื่อแรงยิ่งกว่า Advertising สมัยก่อนเป็นการทำอะไรที่ไหนแล้วโลกต้องทำตาม สากลทำแบบไหนเราต้องทำตาม เช่นสังคมมีประชาธิปไตยแบบนี้เราทำแบบนี้อย่านึกว่าประชาธิปไตยของแต่ละประเทศจะต้องเหมือนกัน อย่างคาร์โบไฮเดรตยังไม่เหมือนกัน เช่นฝรั่งทานขนมปัง ไทยทานข้าว จีนทานก๋วยเตี๋ยวเป็นต้น

ข้อที่ 5 ตั้งใจจริงและขยันหมั่นเพียร

พระองค์ท่านทรงทำงานอย่างตั้งใจ ไม่เสร็จไม่เลิก

ข้อที่ 6 รับฟังความเห็นของผู้อื่น เคารพความคิดที่แตกต่าง

มาทำงานกับพระองค์ท่านไม่มีอะไรให้ นอกจากความสุขและประโยชน์ร่วมกันที่มีต่อผู้อื่น

ข้อที่ 7 มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่เป็นหลัก

ข้อที่ 8 เน้นความต้องการของประชาชน ระเบิดจากข้างใน

ข้อที่ 9 ช่วยตัวเอง

ข้อที่ 10 มีส่วนร่วมกับสังคม ประชาพิจารณ์

รัฐบาลยังทำไม่เป็น เพราะทำแบบไมโคร ต้องเริ่มที่ชุมชนไม่ใช่ในห้องประชุม

ข้อที่ 11 การทำตามลำดับขั้น แก้ปัญหาที่จุดเล็ก

ข้อที่ 12 บริการจุดเดียว

มาแล้วไม่ต้องไปที่ไหน

ข้อที่ 13 เน้นธรรมชาติและภูมิสังคม

ต้องบริหารให้พอเพียงและพอดี นั่นคือประเด็น

ข้อที่ 14 ยึดหลัก รู้ รัก สามัคคี

ต้องกระตุ้นทางที่จะแก้ เก่งคนเดียวไปไม่รอด ต้องรวมกันเป็นเครือข่าย พัฒนา

ข้อที่ 15 เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา

เราเข้าใจเราแล้ว แล้วเขาเข้าใจเราไหม ต้องสร้างให้ต่างฝ่ายต่างเข้าใจซึ่งกันและกัน

เข้าถึง เรามาเยี่ยมเขาดีแล้ว แต่เวลาเขามีปัญหาเขาเข้าถึงเราหรือไม่

เมื่อเข้าใจ และเข้าถึง การพัฒนาก็จะเกิด การพัฒนาจะยั่งยืนต้องเข้าใจ เข้าถึง

ข้อที่ 16 ไม่ติดตำรา ทำให้ง่าย Simplicity

ข้อที่ 17 ทำงานแบบองค์รวม

ข้อที่ 18 ขาดทุน คือกำไร

ข้อที่ 19 ประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด

ข้อที่ 20 เศรษฐกิจพอเพียง

สรุป วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นมา อาทิ วิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งปี 2540 เกิดภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่คือราคาสินทรัพย์สูงเกินราคาเป็นจริง อย่างให้สังเกตว่าในปี 2538 เศรษฐกิจโต 11 % มากจนผิดปกติ แล้วแตกในปี 2540 ซึ่งเสมือนเป็นการส่งสัญญาณที่ถูกต้องต้องใช้คนเป็นศูนย์กลางพัฒนา ดังนั้นการรวยต้องพอดี การรวยเกินไปก็ทุกข์

ความรวยถ้าบริหารไม่เป็นก็สร้างความทุกข์ให้กับคุณเช่นกัน อย่างเช่นเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง เงินล้นระบบแบงค์ พยายามยัดเยียดให้คนกู้ อย่างเช่น บ้านที่อเมริกา กู้บ้าน ใช้เงินเกินตัวเกิด (Subprime)

อย่างยุโรปก็มีกรณีใช้เงินเกินตัว ก็ล้มเช่นกัน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสอนทรงสอน เศรษฐกิจพอเพียง ให้เดินตามทางสายกลาง

1. Self Assessment ให้รู้จักขนาดของตนเอง รู้จักการประเมินตนเองก่อน

2. ใช้เหตุผลเป็นเครื่องนำทาง ไม่เช่นนั้น กิเลส ตัณหาจะนำทาง

3. สร้างภูมิคุ้มกันด้วย ให้มีการประกันด้วย เพราะเราไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้ เช่นซื้อประกัน ซื้อพันธบัตร อย่าประมาท ต้องทันเหตุการณ์ ไม่อยู่แต่ในถ้ำอย่างเรื่องขายข้าว อย่าขายแต่ข้าวเท่านั้นแต่ให้ดูตลาดด้วยว่าต้องการอะไร

ทศวรรษหน้าจะมีสงครามแย่งน้ำกัน คนทั่วโลกต้องการอาหาร

สรุป นอกจากมือที่ทำงาน ร่างกายที่ทำงานแล้ว ขอให้มีจิตติดอยู่กับงานด้วย งานไหนจะมีจิตใจ ความรู้สึก ให้จิตตามไปด้วย ซื่อสัตย์ ขยัน อดทน และรู้จักให้คนอื่นด้วย ให้มีการให้ โดยไม่สนใจผลตอบแทน

ให้ของเล็กเพื่อประโยชน์ที่ใหญ่กว่า ทำเพื่อชุมชน และประเทศชาติ ประโยชน์เล็ก ๆ เพื่อของที่ใหญ่และเพื่อส่วนรวม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท