ขับเคลื่อน PLC เทศบาลเมืองมหาสารคาม _๑๙ : ถอดบทเรียนตนเอง ครู BP จาก PLC มหาสารคาม (๓) "มองกระบวนการของตนเอง"


หลังจาก " มองตนเอง" "มองงาน" ขั้นต่อมาคือการ "มองกระบวนการของตนเอง" เป้าหมายคือ "ชง"ให้ครูสามารถบอกได้ว่า " How to " ของครูแต่ละท่านเป็นอย่างไร


....เช่นเดิมครับ จะทำอะไรก็ตาม ต้องมีกิจกรรม "เตรียมภาชนะ" หรือเตรียมตัว ด้วยเครื่องมือช่วยพิจารณา ที่เราเรียกว่า "ภูเขาน้ำแข็ง"



กิจกรรมนี้ มุ่งช่วยให้ครูได้คิดพิจารณาเกี่ยวกับ BP ของตนเอง (ซึ่งได้หัวเรื่องแล้วจากการ "มองงาน") ให้ละเอียดมากขึ้น และเป็นกุญแจเปิดใจให้เปิดเผยสิ่งที่อยู่ภายในให้คนอื่นรู้วิธีการของแต่ละคน ลงบนแต่ละพื้นที่

  • บริเวณยอดภูเขาน้ำแข็ง ให้เขียนถึงผลลัพธ์ที่ประจักษ์ต่อสายตาของผู้อื่น
  • ส่วนสิ่งที่คนอื่นไม่ค่อยรู้หลายสิ่งอย่าง ให้เขียนลงบริเวณด้านล่างที่จมอยู่ในน้ำ
  • คือนำเอา หัวเรื่อง BP มาขยายว่า ภูมิใจได้ประโยชน์ หรือ มีผลลัพธ์อย่างไรบ้าง ส่วนด้านล่างก็เอา ทุนหรือปัจจัยที่ทำให้สำเร็จ มาเขียนให้มีรายละเอียดมากขึ้น

ตัวอย่างผลการคิดอย่างไคร่ครวญ

อยากให้ท่านผู้อ่านที่จะนำกระบวนการนี้ไปใช้ ดูตัวอย่างของครูนิว (ครูสุภาพร เพ็งศรี) จากโรงเรียนเทศบาลศรีสวัสดิ์วิทยา




(ท่านเขียนชื่อตนเองไว้ข้างในนั้น เป็นความผิดของผมในฐานะกระบวนกรเองที่ไม่ได้บอกว่าห้ามเขียนชื่อตนเองตั้งแต่แรก ท่านเลยต้องระบายสีทึบดำเพื่อทดลองดูว่าใครจะจำท่านได้บ้าง)


ในภาพจากกิจกรรม "มองตนเอง" เราเห็นคำว่า "เก่งมากค่ะ" ตัวโน๊ตดนตรี และหัวใจสีฟ้า แสดงครูนิวน่าจะยึดความรัก ความใส่ใจ และความผ่อนคลายหรือความสุขเป็นสำคัญในการปฏิสัมพันธ์กับเด็กๆ หรือที่เราเรียกว่าจิตวิทยาเชิงบวก





เมื่อพิจารณาจาก "ภูเขาน้ำแข็ง" คำว่า " ครูนิวน่าจะ" ไม่จำเป็นแล้ว เพราะเรามั่นใจว่าสิ่งที่เราเข้าใจนั่นใช่แน่ สังเกตจาก

  • ผลลัพธ์คือ "เด็กมั่นใจ อยากเรียนกับเรา... เด็กอ่านได้" ... ผมตีความว่า ... ที่นักเรียนอ่านได้ เพราะเขามาเรียนอ่าน ฝึกอ่าน ที่มาเรียนเพราะเขาชอบเมื่อมาเรียนกับครูนิว เมื่อมาเรียนก็เขียนอ่านได้ เมื่อทำได้ จึงภูมิใจ เมื่อภูมิใจจึงมั่นใจในตนเอง
  • จิตวิทยาเชิงบวก ของครูนิว คือ ให้กำลังใจ ชมเชย เป็นกันเอง และให้รางวัล
  • เคล็ดลับคือ ทำบ่อยๆ ชมเชยทันทีโดยเฉพาะพฤติกรรมดีๆ เรียกมาฝึกอ่านช่วงว่าง ฝึกเพิ่มเมื่อเด็กพร้อม
  • หลักการของครูนิว คือ ใช้จิตวิทยาเชิงบวก วางตัวเป็นกลางกับเด็กทุกคน ฝึกฝนบ่อยซ้ำย้ำทวน

เพียงตัวอย่างของครูนิวคนเดียวนี้ ท่านที่จะนำกระบวนการนี้ไป "ถอดบทเรียน" คงจะเข้าใจครับ สำหรับเพื่อนครูใน PLC เทศบาลเมืองมหาสารคามที่มาอ่าน ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการดำเนินการ "เปลี่ยนจากภาพเป็นไฟล์" ซึ่งจะนำเสนอ BP ของครูทั้ง ๔๒ ท่านที่มาร่วมโครงการ (แต่ก็ขึ้นอยู่กับงานของแต่ละท่านที่ทำกันครับ) ต่อไปครับ

กิจกรรมการ "มองกระบวนการของตนเอง" ยังไม่จบครับ กิจกรรม "ภูเขาน้ำแข็ง" เป็นเพียงการเตรียมตนเอง หรือ "เตรียมภาชนะ" เท่านั้น กระถอดกระบวนการของตนเอง มาว่ากันบันทึกต่อไปครับ


หมายเลขบันทึก: 582871เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2014 08:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ธันวาคม 2014 20:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท