นุชรัตน์
ดร. นุชรัตน์ ประสิทธิศิลป์ชัย

PBL กับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1 : ครูน้ำมนต์


เป็นเรื่องยากที่เด็กๆ เขาจะ ทำได้โดยลำพัง ครูจึงเลือก ที่จะ ให้พี่ป. 6 เป็น พี่เลี้ยง โดย ขอความร่วมมือกับ ครู ป.6 ในการ เรียนรู้

วันนี้ ได้ไป นิเทศการสอน ครูน้ำมนต์ โรงเรียนด่านแต้ ภูมิหลังคุณครู จบทางด้านคอมพิวเตอร์ แต่ได้รับมอบหมายให้สอนประจำชั้น ป.1 สอนทุกวิชา และ ครูได้รับ โจทย์ ให้จัดกิจกรรมการสอนแบบ PBL ซึ่งครูก็ไม่เคยทำ ...

วันที่ไป ครูน้ำมนต์บอกเราว่า สอนไปแล้ว 4 ครั้ง โดยเล่าให้ฟังโดยละเอียดว่าทำอะไรบ้าง ครูบอกว่า การหาปัญหา ได้พยายามชวนเด็กคุยเกี่ยวกับเรื่องราวในชีวิตประจำวัน ในชั้นเรียน ในครอบครัว ในหลายๆ เรื่อง เช่น ขยะ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ แต่เด็กๆ ป.1 เขาไม่สนใจ แต่ เขาอยากปลูกผักเหมือนพี่ ป.6 อยากเป็นเจ้าของแปลง ครู จึงเริ่มต้นจากให้แบ่งกลุ่ม และ ช่วยกันคิด วางแผน ออกแบบ ว่าจะปลูกต้นอะไรบ้าง ได้ข้อสรุปว่า เด็กๆ จะปลูก ผักชี ผักกาด ต้นหอม และ ต้นแมงลัก และหลังจากนั้น เขาวางแผนเตรียมตัว ไปเตรียมเครื่องมือการเกษตร ด้วยตัวเอง ดูแลรักษาด้วยตัวเอง และสุดท้าย คือได้ผลผลิต แต่เป้าหมายสุดท้าย ที่ครูต้องการคือ เด็กเห็นคุณค่า และ นำไปปลูกที่บ้าน กับครอบครัว

จากการเล่าของครูน้ำมนต์ และการแก้ปัญหา ทำให้ทราบว่า ครูน้ำมนต์ เข้าใจ concept ของ PBL ซึ่งชั้น ป.1 เป็นเรื่องยากที่เด็กๆ เขาจะ ทำได้โดยลำพัง ครูจึงเลือก ที่จะ ให้พี่ป. 6 เป็น พี่เลี้ยง โดย ขอความร่วมมือกับ ครู ป.6 ในการ เรียนรู้ นักเรียนครูน้ำมนต์ ทำทุกอย่างด้วยตัวเอง ตั้งแต่ ยกแปลง หาเครื่องมือการเกษตร ดูแลรักษา โดยมีพี่ ป.6 ช่วย เหลือบ้าง ระยะนี้ เด็กๆ เขาจะไปดูแล พืชที่เขาปลูกด้วยตัวเอง

เราขอเข้าสังเกตชั้นเรียน โดยกิจกรรมในชั่วโมงนี้ คือ ครูจะให้เด็กเล่าสะท้อนในสิ่งที่ทำ .. หลังจากสังเกตชั้นเรียน พวกเรา ได้มาร่วมกันสะท้อนผลว่า "ในการจัดกิจกรรม ครุต้องถามนำตลอด เด็กถึงจะตอบคำถาม" แต่ นักเรียน ของครูน้ำมนต์ มีสมาธิดีมาก ไม่กวน และ พร้อมที่จะออกไป ตอบบหน้าชั้น พวกเรา เติมเต็มว่า การพูดได้ประโยคยาวๆ เชื่อมโยง ครูต้องฝึกบ่อยๆให้เด็กคุ้นเคย ซึ่งจะทำให้เขาเกิดพัฒนาการ ..และการที่ ครูน้ำมนต์เลือกที่จะช่วยเด็ก บันทึกผล ด้วยภาพถ่าย พวกเรา ก็เสนอแนะ ให้ครูได้ฝึก เด็กด้วยการจดบันทึกแบบง่ายๆ วาดภาพ หรือ มาเล่าให้ครู พี่ ป.6 ฟัง เพื่อช่วยในการบันทึกผล ร่วมด้วย

เรื่องราวสุดท้าย ที่ครูต้องการ คือ เด็กมีความภาคภูมิใจ เกิดการเรียนรู้กระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม ความรับผิดชอบ มีการ บันทึกผล สะท้อนผลการเรียน และยั่งยืน นำสู่การปลูกผัก ในครอบครัว เพื่อแก้ปัญหาการซื้อผักกิน ในชีวิตประจำวันได้ ..ซึ่งเราก็จะได้ติดตามต่อไป

หมายเลขบันทึก: 582795เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2014 07:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 ธันวาคม 2014 07:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดีมากๆครับ มีงานเขียนที่คล้ายๆกัน

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท