สภาพในปัจจุบันในเรื่องการสอนการฟังในโรงเรียนในประเทศไทย จากประสบการณ์ของผม ตอนที่ 4


4. ทักษะในการฟัง

ในส่วนนี้จะได้กล่าวถึงทักษะที่จำเป็นต่อการฟัง คำว่าทักษะ จะแปลว่า สมรรถนะ หรือความสามารถในการที่ผู้ฟังที่เป็นเจ้าของภาษาและผู้ฟังที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา จำเป็นต้องมี เพื่อที่จะสามารถฟังให้เกิดความเข้าใจได้ ครูผู้สอนจะต้องสอนให้ผู้เรียนเห็นว่าทักษะในการฟัง มีความจำเป็นพอๆกับทักษะในการพูด อ่าน และเขียน ข้างล่างคือข้อหรือทักษะที่ครูผู้สอนจะต้องรู้ และสอนให้นักเรียนเกิดทักษะเหล่านี้ให้ได้ (Richards, 1987)

1. ความสามารถในการรู้รูปแบบคำที่ถูกย่อลง (reduced forms of words)

2. ความสามารถในการแยกแยะขอบเขตของคำ (word boundaries)

3. ความสามารถในการสืบค้นคำที่เป็นคำหลัก (เช่น คำที่เป็นตัวบอกให้เห็นถึงหัวข้อ (topic) และ ปัญหา (proposition)

4. ความสามารถในการเดาคำศัพท์จากบริบท ที่คำนั้นปรากฏอยู่

5. ความสามารถในการรู้ประโยคเชื่อมต่อ (cohesive devices)ในวาทกรรมการพูด (spoken discourses)

6. ความสามารถในการแยกแยะองค์ประกอบหลักและองค์ประกอบรอง (major and minor constituents)

7. ความสามารถในการรู้หน้าที่เชิงการสื่อสารในประโยค ตามสถานการณ์, ผู้ร่วมสนทนา, และจุดประสงค์

8. ความสามารถในการอ้างอิง (infer) สถานการณ์, จุดประสงค์, ผู้ร่วมสนทนา, และกระบวนการ

9. ความสามารถในการใช้ความรู้ในโลกจริง และประสบการณ์ เพื่อที่จะก่อให้เกิดจุดประสงค์, จุดมุ่งหมาย, ฉาก, กระบวนการ

10. ความสามารถในการพยากรณ์ผลลัพธ์ (outcomes) จากเหตุการณ์ที่ฟังอยู่

11. ความสามารถในการอ้างอิง (infer) ตัวเชื่อมต่อ (links) ระหว่างเหตุการณ์ได้

12. ความสามารถในการแยกแยะระหว่างภาษาที่มีความหมายตรง (literal meaning )กับคำที่มีความหมายโดยนัยยะได้ (implied meaning)

13. ความสามารถในการรู้ตัวเชื่อม (marker of coherence) ในวาทกรรมแบบต่างๆ และสืบค้นความสัมพันธ์บางประการ เช่น ใจความสำคัญ (main idea), ใจความสนับสนุน (supporting idea), ข้อมูลที่มีอยู่ในประโยค, ข้อมูลใหม่ (new information), ความครอบคลุม (generalization), และหรือการยกตัวอย่าง (exemplification) เป็นต้น

14. ความสามารถในการติดตามลักษณะการพูด เช่น การหยุด, ความผิด, และความถูกต้อง

15. ความสามารถในการใช้ข้อมูลจากสีหน้า (facial), ภาษาที่สื่อออกมาจากความรู้สึกให้เห็นตัวตนที่แท้จริงของบุคคลนั้นๆ ทั้งที่เป็นภาษาพูด ภาษากาย และภาษาใจ ทั้งที่ตั้งใจแสดงออกและที่ไม่ตั้งใจ อาจดูได้จากการถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก ทัศนคติ เพศ อายุ หรืออาจเกิดจากการปรับเปลี่ยนความหมาย อาจเป็นโทนเสียงสูงต่ำ ลักษณะการเคลื่อนไหว สีหน้าที่แสดงออก อากัปกิริยา ท่าทาง ขึ้นอยู่กับความรู้ ประสบการณ์ หรือภาษาของสังคมนั้นๆ และสิ่งแวดล้อมนั้นด้วย (paralinguistic) และตัวแนะอื่นๆ (clues) เพื่อที่จะให้รู้ความหมาย

16. ความสามารถในการปรับเปลี่ยนยุทธวิธีการฟัง (listening strategies) เพื่อให้เข้ากับจุดประสงค์ และวิธีการของผู้ฟังที่มีความแตกต่างกัน

คำถามที่ต้องถามต่อไปก็คือ ทักษะที่ก่อให้เกิดความมีประสิทธิภาพในการฟังจะพัฒนาได้อย่างไร ผมขอสนับสนุนวิธีการของ Rost ที่กล่าวว่า วิธีการที่จะเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น ต้องฝึกกันเป็นกลุ่มที่มีขนาดใหญ่พอสมควร (clusters) ไม่ใช้เป็นกลุ่มๆ (minimal units) ต่อไปผมจะได้นำเสนอวิธีในการสอนทักษะที่เหมาะสมต่อไป

หนังสืออ้างอิง

Koichi Nihei. (2002). how to teach listening.

หมายเลขบันทึก: 582000เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2014 18:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ธันวาคม 2014 18:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท