โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 2 (ช่วงที 6 : วันที่ 9 -12 ธันวาคม 2557)


สวัสดีครับลูกศิษย์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ ชาว Blog

โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 2 ได้เข้ามาสู่ช่วงที 6 แล้ว ระหว่างวันที่9 -12 ธันวาคม 2557 ซึ่งคณะเดินทางเพื่อศึกษาดูงานด้ายการบริหารจัดการองค์การสมัยใหม่ ณ จังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่

ผมขอเปิด Blog นี้ เพื่อเป็นคลังความรู้ของพวกเรา และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนมุมมองของลูกศิษย์ของผมและท่านที่สนใจหวังเป็นอย่างยิ่งว่า Blog นี้จะเป็นประโยชน์สำหรับทุกคนครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

หมายเลขบันทึก: 581996เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2014 15:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 ธันวาคม 2014 15:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่ออ่านข่าวโครงการ

http://www.naewna.com/politic/columnist/15907

ที่มา: คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระ. แนวหน้า. วันเสาร์ที่ 13 ธันวาคม 2557 หน้า 5

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อฟังข่าวโครงการ

http://mcot-web.mcot.net/fm965/site/streaming/id/5...

ที่มา: รายการ Human Talk ออกอากาศทางสถานีวิทยุ FM 96.5 MHz. วันอาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม 2557 เวลา 6.00-7.00 น.

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่ออ่านข่าวโครงการ

http://www.gotoknow.org/posts/582747

ที่มา: FIHRD-Chira Academy Newsletter รายปักษ์ ประจำวันที่ 16-31 ธันวาคม 2557

สรุปการบรรยายโดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

การศึกษาดูงาน ณ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย จังหวัดเชียงใหม่

วันที่ 10 ธันวาคม 2557

บรรยายสรุปโดย คุณบุญเท่ง โกสินทร์

งานการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพหลักของศูนย์ให้ความสำคัญกับสิ่แวดล้อม ป่าไม้ และน้ำ และรณรงค์ไม่ให้ไฟป่าเข้ามาในหมู่บ้าน

ทุกพื้นที่ของโครงการหลวง ราชการสนับสนุนไฟฟ้า ถนน การศึกษา ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี สนับสนุนการศึกษา เป็นจิตอาสารายแรก

ในส่วนงานการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพมีงานวิจัยเพื่อนำองค์ความรู้ไปให้ชาวบ้าน

มีการชิมรสชาติผลผลิตทางการเกษตรในแปลงปลูกก่อนจะส่งออกไปขาย

มีเจ้าหน้าที่ทำงานเหมือนเกษตรตำบล ดูแลประชาชนในพื้นที่

ประชากรในพื้นที่เป็นชาวเขาเผ่าม้ง 4 หมู่บ้าน อยู่ห่างจากงานการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพออกไปอีก 20 กิโลเมตร

เวลาจะทำงานกับกลุ่มชาวบ้านต้องนัดประชุมกันเป็นกลุ่มเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน

งานการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเป็นงานวิจัยทดลองพืชใหม่ๆ

ในกลางเดือนมกราคม 2558 จะมีงานสาธิตพืชผักโครงการหลวง

ในวันที่ 24 ธันวาคม 2557 จะมีงานปีใหม่ม้ง ชาวเขาเผ่าม้งทั้งในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียงจะมาชุมนุมกันที่โครงการหลวงหนองหอยเพื่อสืบสานประเพณีวัฒนธรรมม้ง

ประชากรในเขตพื้นที่มีรายได้ 7 หลักต่อปี เพราะมีการผลิตพริกหวาน พืชผักที่พื้นที่ราบปลูกไม่ได้ ก็จะปลูกที่นี่แล้วส่งไปขายในตัวเมืองเชียงใหม่ ห้างและ Sizzler

ประชาชนในเขตพื้นที่มีทางเลือกคือ

1.ปลูกเอง ขายเอง

2.สมัครเป็นสมาชิกโครงการหลวงปลูกให้กับโครงการหลวง

3.รวมกลุ่มกันขายให้กับโรงงาน

ในส่วนโครงการหลวงมีข้อดีคือประกันราคาขั้นต่ำไว้ ถ้าราคาตลาดขึ้น ก็ขึ้นตามราคาตลาด ถ้าราคาตลาดตกต่ำ ก็จะใช้ราคาที่ประกันไว้กับชาวบ้านแทน ดังนั้นความเสี่ยงจะน้อยลง และไม่มีการปิดถนนประท้วงเมื่อพืชผักราคาตก เกษตรกรพึงพอใจที่จะปลูกพืชผักให้โครงการหลวง

ทางโครงการหลวงมีโควตาปลูกทั้งปี ในเฉพาะที่โรงงานโครงการหลวงมีศักยภาพ 1,000 ตัน มีเกษตรกร 100 กว่าครอบครัวเป็นสมาชิก

รายได้โอนเข้าบัญชีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)ที่สมาชิกแต่ละรายไปเปิดไว้ ก็จะทราบรายได้ และสามารถไปรับรายได้ 6-7 หลักต่อปี ได้กำไรสูงสุด 20,000 บาท พ่อหลวงมีรายได้ประมาณ 3 ล้านบาทจากโครงการนี้

องุ่นราคาขายกิโลกรัมละ 300 กว่าบาท

สตรอเบอรี่ราคาขายกิโลกรัมละ 400 บาท

พริกหวานราคาขายกิโลกรัมละ 70, 90 หรือ 150 บาท

ผักกาดหอมห่อราคาขายกิโลกรัมละ 35 บาทบนดอย

กะหล่ำปลีราคาขายกิโลกรัมละ 18 บาทบนดอย

ผักกาดขาวปลีราคาขายกิโลกรัมละ 22 บาทบนดอย

โควต้าการผลิตแบ่งเป็นรายปี รายเดือนและรายวัน ในการที่จะได้รับโควตา เกษตรกรต้องสมัครสมาชิกและจะได้รับบาร์โค้ดของตนเอง

ผลผลิตทุกอย่างต้องผ่านการตรวจสอบและได้รับการรับรองว่าปลอดภัยจึงมีการซื้อขายได้

ถ้าเกษตรกรรายได้ทำผิดกฎ จะถูกตัดโควตาในปีถัดไป

จะมีคัดแยกผลผลิตบางส่วนออกเพื่อส่งเข้าหลวง เกษตรกรจึงต้องผลิตให้มีคุณภาพ

มีการประกันคุณภาพโดยก่อนการเก็บเกี่ยว 3 วัน มีเจ้าหน้าที่ไปตรวจคุณภาพที่แปลง ก่อนการซื้อขายบรรทุกจากแปลงมายังโรงงาน จะต้องมีการตรวจวิเคราะห์สารอีกครั้งถ้าตรวจสอบแล้วไม่ผ่าน จะไม่มีการซื้อขาย

ทุกแปลงมี GPS ระบุแหล่งผลิต

ทุกอย่างผ่านการวิเคราะห์ มีดร.นุชนาถ ตั้งจิตสมคิด ผู้เชี่ยวชาญจุลชีววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพกำกับและออกใบรับรอง ทำงานแบบอาสาสมัคร

เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ต้องประจำการ

ถ้ามาตรฐานคือ +5 แต่ของโครงการอาจจะ+1 หรือ +2 จึงจะปลอดภัย

ช่วงถาม-ตอบ

1.ทำงานที่นี่มานานเท่าไรแล้ว

ตอบ ทำงานที่นี่เกือบ 30 ปีแล้ว ตั้งแต่ปี 2528 จนถึงปัจจุบันนี้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผมประทับใจงานโครงการหลวงมานานแล้ว ในหลวงท่านปิดทองหลังพระ

เบื้องหลังความสำเร็จก็มีบางประเด็น จะขอให้สรุป 3 เรื่องเกี่ยวกับการบริหารจัดการจากฟาร์มไปสู่ตลาด บางอย่างก็อาจไปสู่มาตรฐานโลก นอกจากคุณธรรม จริยธรรมแล้ว ทำอย่างไรจึงประสบความสำเร็จและยั่งยืน

บทเรียนที่ได้รับจะนำไปพัฒนาคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้อย่างไร

ตอบ เริ่มแรกที่มาทำงานโครงการหลวง จะเป็นเรื่องขาย "ขาดทุนคือกำไร" คือเอาใจทุกคนเพื่อจะให้เขารู้ เพราะอาจจะได้เงินบ้างและไม่ได้เงินบ้าง แต่ชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ก็ต้องทำใจ อันที่สองคือ ช่วยชาวเขา ชาวเราและชาวโลก เป็นประเด็นใหญ่ ผมมาทำงานตั้งแต่ปี 2528 ในพื้นที่นี้มีพืชเสพติด เมื่อพืชเสพติด เจ้าหน้าที่ปลอดภัย ถือเป็นแนวคิดที่ดีมาก ถ้าไปต่อสู้ ก็ตาย อีกอันคือเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา มีการประชุมกับชาวบ้าน และไปหาชาวบ้านถึงที่ แนวคิดนี้ เรานำมาปรับใช้จากเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย ภาคเหนือดีเพราะได้รับนักวิทยาศาสตร์ 1 คนและควาย 1 ตัวจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ทุ่มเทเต็มที่ รายได้ไม่มากนัก ประมาณเดือนละ 20,000-30,000 บาท ในวันหยุดยาว ก็ต้องอาสาอยู่ในพื้นที่เพื่อรองรับแขกที่มาเที่ยวและมาหาองค์ความรู้ เวลาจัดการศึกษาดูงาน บางครั้งก็ต้องคิดถึงเกษตรกรและแขกควบคู่กันไปทั้งสองด้าน

สำหรับการจัดการเข้าสู่โรงงาน เกษตรกรจะต้องส่งผลผลิตเข้าไปที่โรงงานก่อนเที่ยง หลังจากเที่ยง จะมีการคัดเกรดผลผลิตแล้วนำไปส่งที่ตัวเมืองเชียงใหม่ แล้วส่งเข้ากรุงเทพช่วงเย็น ดังนั้นมาตรฐาน 38 ดอยต้องมีเกรดเหมือนกันหมด เกรด 1 ที่หนองหอย บังคับใช้กับที่อื่นด้วย เกษตรกรต้องยอมรับและเจ้าหน้าที่ต้องเข้าใจเหมือนกัน ทุกคนต้องรับผิดชอบคุณภาพผลผลิตรวมกัน หลังจากเกษตรกรส่งผลผลิตคัดเกรคแล้ว ก็จะต้องส่งไปไว้ที่ห้องเย็น ส่งไปตัวเมืองเชียงใหม่โดยรถห้องเย็น ผลผลิตของโครงการ ได้มาตรฐานโรงงาน สามารถส่งออกได้ทันที ถ้าผลผลิตมาก อาจจะส่งไปที่พืชสวนโลกที่เชียงใหม่

ในช่วงหลัง การซื้อขายของโครงการหลวงเป็นการทำสัญญากับผู้ขายหรือตัวแทนจำหน่าย ต้องส่งของในปริมาณที่ใกล้เคียง

ความสำเร็จของโครงการหลวง

1.มีงานวิจัยที่ไปล่วงหน้า

2.เจ้าหน้าที่ส่งเสริมมุ่งมั่นทุ่มเท ติดตามงานอย่างใกล้ชิดและเต็มที่

3.ระบบห้องเย็น มีทั้งโรงงานที่เป็นห้องเย็น และรถห้องเย็น

4.การทำงานแบบบูรณาการ จิตอาสา ทุกคนที่มีองค์ความรู้ เป็นตัวแทนจองแต่ละหน่วยงานเข้ามาทำงานในโครงการหลวง

5.ระบบตลาด มีการตั้งเป้าหมาย และเสนอให้ชาวบ้านทราบความต้องการของตลาด

สภาพปัญหาที่ได้รับการแก้ไขแล้ว

สภาพพื้นที่ ชาวบ้านทำเป็นแบบขั้นบันไดแล้วนำหญ้าแฝกไปกั้นดินเพื่อไม่ให้ไหลลงไปสู่พื้นที่ที่เป็นแหล่งน้ำ ทำให้น้ำอยู่บนดอย ทำให้ได้ผลผลิตเต็มที่

ที่โครงการหลวงหนองหอย จะมีการปลูกผักตั้งแต่เดือนเมษายน-ธันวาคม สำหรับพื้นที่ที่ไม่ค่อยมีน้ำ ที่เหลือก็จะเป็นห้วย และเน้นการให้บริการ

ชาวบ้านทำโฮมสเตย์เอง โดยไม่มีกลุ่มนายทุนมาเกี่ยวข้องเลย มีการไปศึกษาดูงานโฮมสเตย์ จากโฮมสเตย์ก็รวมกลุ่มกันในหมู่เครือญาติทำเป็นสวนพักรีสอร์ท แบ่งกันบริหารตามความถนัดของแต่ละคน

ทุ่งทานตะวันเป็นของพ่อหลวงและเครือญาติ 6 ครอบครัว

ตอนนี้ ก็จะมีสวนดูงาน มีการลงทุนกันจัดการกันแบบครอบครัว

ในพื้นที่นี้ไม่มีคนนอกเข้ามาวุ่นวาย

ชาวบ้านรวมกลุ่มกันเป็นวิสาหกิจชุมชนบริการด้านท่องเที่ยว

ผู้สูงอายุขายของที่ระลึก วัยรุ่นก็ขับมอเตอร์ไซค์รับจ้างขึ้นเขา วัยกลางคนดูแลผลผลิต

ตอนนี้มีปัญหาเรื่องแหล่งน้ำเพราะที่นี่ไม่มีห้วยแบบอินทนนท์ ทุกวันนี้ใช้น้ำจากบ่อบาดาลที่เจาะไว้จากระดับผิวดินลงไป 98 เมตรต้องใช้ซับเมิร์จลงไป ต้องใช้เวลาเกือบ 2 สัปดาห์เพื่อแก้ปัญหานี้

สิ่งที่คาดหวังคือ ป่าจะต้องกลับมา ชาวบ้านเป็นคณะกรรมการดูแลป่า โดยทางโครงการเป็นที่ปรึกษา

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ความสำเร็จกระเด้งไปยังโครงการภาคเกษตรอื่นๆนอกโครงการหลวงหรือไม่

ตอบ ตอนนี้มีการนำรูปแบบโครงการไปขยายผลกระจายไปในหลายจังหวัด ที่บึงกาฬและกำแพงเพชร โดยมีสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) เป็นผู้ดูแล แต่รูปแบบยังไม่เหมือนโครงการหลวงเพราะยังไม่มีสถานที่ที่แน่นอน ห้องเย็นยังไม่ได้สร้าง พอเกษตรกรจะขายพันธุ์พืช ก็ย้ายโครงการไปแล้ว แต่โครงการหลวงนี่ปักหลัก 38 ดอย มีสถานที่ชัดเจน อยู่ในสารบบทุกอย่าง นี่เป็นโครงการในหลวง ซึ่งพระองค์ทรงทำเอง เริ่มแรก 2 แสน เพื่อแก้ปัญหายาเสพติด โดยนำพืชเศรษฐกิจเข้ามาปลูกในพื้นที่สูง มี ม.จ.ภีศเดช รัชนีดูแลโครงการ

2. กรณีรับซื้อผลผลิตที่โครงการหลวงรับซื้อผลผลิตในราคาที่สูงกว่าท้องตลาด มีการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างไรไม่ให้เกิดความเสียหาย

ตอบ ตอนนี้โครงการหลวงทำสัญญากับบริษัทที่ทราบราคา แล้วนำราคาที่ได้จากบริษัทมาหารือกับชาวบ้าน เราไม่อยากให้ผลผลิตถูกกดราคา มันขายได้อยู่แล้ว เพียงแต่ว่าบางคนอยากจะได้กำไรมาก

3. โครงการนำแรงงานมาจากที่ไหน

ตอบ ส่วนมากเป็นแรงงานในพื้นที่ ถ้าเป็นโรงคัดจะเป็นคนงานในหมู่บ้าน เช้ามาทำงาน ตอนเย็นก็กลับไปนอนที่บ้าน คนที่ทำงานในแปลงเป็นคนไทยใหญ่และคนพม่าที่เข้าเมืองถูกต้องตามกฎหมายมีใบอนุญาต ต้องไปรายงานตัวต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

4. ในด้านการตลาด ผลผลิตประกันราคาตามตลาดล่วงหน้าใช่ไหม

ตอบ ตอนนี้โครงการหลวงมีตลาดล่วงหน้าที่ประมาณการว่า อีก 6 เดือนข้างหน้าจะมีผลผลิตชนิดไหนออกมา และราคาในอนาคต เป็นการกำหนดราคาว่า ผลผลิตชนิดนี้เดิมราคาตกต่ำลงถึง 8 บาท แต่ทางโครงการหลวงไปทำสัญญาล่วงหน้าเพื่อประกันว่ามีผลผลิตแน่นอน แต่ราคาอาจจะขึ้นไปถึง 12 บาท แต่ถ้าผลผลิตขาดแคลน ราคาอาจจะขึ้นไปถึง 20 บาท ทำให้ทราบว่า จะราคาจะแข่งกันที่ 20 บาท ฝ่ายตลาดมูลนิธิโครงการหลวงเป็นผู้ดูแลกำหนดราคา คุณภาพและปริมาณการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด

5. มีการส่งออกผลผลิตไปต่างประเทศหรือไม่

ตอบ ตอนนี้ส่งออกกะหล่ำปลีไปที่ประเทศสิงคโปร์ สลัดแก้วที่เราเคยนำเข้ากิโลกรัมละ 70-80 บาท ตอนนี้ก็มาปลูกที่ประเทศไทย ไม่ต้องนำเข้าแล้ว ราคาประมาณกิโลกรัมละ 30-40 บาท

6. ทั้ง 38 ดอยจะทำงานร่วมกันอย่างไร

ตอบ สิ้นเดือนก็ต้องประชุมร่วมกันที่เชียงใหม่ซึ่งเป็นศูนย์กลาง ในส่วนของหัวหน้าศูนย์ก็จะมาวางแผนด้านการบริหารจัดการ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะมารับองค์ความรู้และชี้แจงกติกาที่เกี่ยวข้องต่างๆ ในแต่ละแหล่งอาจจะมีองค์ความรู้ใหม่ๆ อาจจะนำเจ้าหน้าที่หรือหัวหน้าศูนย์เข้าไปดู ตอนนี้มีสถานีวิจัย 4 แห่ง ก็จะเป็นพืชใหม่ๆที่งานส่งเสริมไม่มี ก็จะให้ไปดูงาน ตอนนี้ งานส่งเสริมก็เป็นงานวิจัย มีนักวิจัยจากทั้งบริษัท มูลนิธิลงพื้นที่มาทำงานอย่างจริงจัง และก็จะได้เห็นพืชใหม่ๆ ในกรณีที่มีตลาด งานวิจัยก็ต้องให้งานส่งเสริมต่อไป

7. งานส่งเสริมฯหมายความว่าต้องมีเงินสนับสนุนใช่หรือไม่

ตอบ งานตลาดก็จะวางแผนตลาด ให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมฯ ไปวางแผนให้เกษตรกรผลิต การส่งเสริมการขายก็จะเป็นเรื่องของการตลาด งานส่งเสริมฯ ส่งเสริมเรื่องการผลิต เน้นคุณภาพของผลผลิตเข้าสู่ตลาด งานส่งเสริมฯรับราคาประกันจากฝ่ายตลาดเพื่อไปแจ้งแก่เกษตรกรและสำรวจความพึงพอใจของเกษตรกรที่มีต่อราคาประกัน ถ้าเกษตรกรพอใจราคาประกัน ก็ทำสัญญาได้ และก็ดูในสภาพพื้นที่ที่เหมาะสมด้วย

8. เมื่อไรจะสิ้นสุดการส่งเสริม

ตอบ การส่งเสริมไม่มีที่สิ้นสุด สิ่งไหนที่มีตลาดรองรับ ก็ส่งเสริมต่อไปได้

9. เกษตรกรที่มีส่วนร่วมกับโครงการมีจำนวนเท่าไร

ตอบ ในส่วนพืชผัก มีประมาณ 120 ราย บนดอยที่มาดูงานนี้ และก็มีในส่วนไม้ผล เป็นครอบครัวใหญ่บนดอยที่มาดูงานนี้ ในพื้นที่โครงการหลวงมีประชากรทั้งหมด 3 แสนกว่าคน

10. รายหมายถึงอะไร

ตอบ เป็นรายคนที่สามารถไปเปิดบัญชีและเป็นเจ้าของเงิน

11. การทำงานเป็นกลุ่มมีแบบไหนบ้าง

ตอบ เวลาคนจะปลูกกะหล่ำปลี ก็จะเป็นกลุ่มกะหล่ำปลี เมื่อก่อนนี้อาจจะมีกะหล่ำสีม่วง มีกะหล่ำรูปหัวใจซึ่งในที่สุดก็ติดตลาด กลุ่มผักกาดหอมห่อก็จะเน้นเรื่องผักกาดหอมห่อ แต่ละกลุ่มก็มีประธานกลุ่มดูแลสมาชิกในกลุ่ม

12. มีการแบ่งพื้นที่การผลิตหรือไม่ว่า แต่ละชนิดมีจำนวนกี่ต้นต่อแต่ละพื้นที่

ตอบ ตอนนี้เป็นเรื่องของการผลิตต้นกล้าที่มีคุณภาพ เมื่อก่อนนี้เกษตรกรรับเมล็ดไปแล้วไปปลูกพร้อมกัน แล้วผลผลิตออกมาพร้อมกัน ซึ่งโควตาที่ทางศูนย์มีไม่มาก แต่มีตลอดทั้งปี ต้องมารับโควต้าที่ศูนย์ เป็นการจำกัดต้นกล้าเท่ากับวางแผนล่วงหน้า

13. ในเรื่องของกลุ่ม มีการย้ายกลุ่มหรือไม่

ตอบ มี อาจจะปลูกทั้งกะหล่ำปลี ผักกาดหอมห่อรวมถึงอย่างอื่นที่เกี่ยวข้องในรอบปี

14. แผนที่จะวางไว้เพื่อการปลูกพืชแต่ละชนิดมาจากที่ไหน

ตอบ มาจากฝ่ายตลาด ฝ่ายตลาดก็จะสำรวจตลาดแล้วมาวางแผน บางครั้งก็มีของล้นตลาดบ้าง

15. มีการจำกัดหรือไม่ว่าเกษตรกรแต่ละรายปลูกพืชได้กี่ชนิด

ตอบ จำกัดในช่วงหนึ่ง เช่นถ้าเรามีแผน 10,000 กิโลกรัม จะปลูกได้กี่ราย สัปดาห์หนึ่งจะส่งกี่ราย ใครจะปลูกก็ส่งตัวแทนมา เกษตรกรก็จะมีพื้นที่เหมาะสมในการปลูกในฤดูฝน ในฤดูแล้ง อาจจะไปที่ลำห้วยหรือติดต่อประปาก็ได้ ต้องมีแผนการผลิต ถ้ารับ ต้องมีของและมีคุณภาพ เพราะเกี่ยวข้องกับปีถัดไป เพราะถ้ารับแผนปีนี้ รับมา 10,000 กิโลกรัม แต่ได้จริงแค่ 3,000 กิโลกรัม ปีหน้า จะไม่มีการรับแผนเลย ระบบตลาดพัง

16. มีการให้ความรู้แก่เกษตรกรบ้างหรือไม่

ตอบ มีการให้การฝึกอบรม มีการนำไปศึกษาดูงานระหว่างดอยในเผ่าเดียวกัน เช่น ม้งไปดูงานม้ง จะได้สื่อสารกันง่าย ตอนนี้ที่ดอยมีผลผลิต 10 กว่าชนิด

17. แปลงผัก เราไปเด็ดกินได้เลยใช่ไหม

ตอบ ถ้ากลุ่มที่ดูแลจากเรา ขั้นตอนการผลิตขั้นแรกจนถึงขั้นสุดท้ายไม่มีปัญหา ก็ชิมได้เลย

18. เจ้าหน้าที่ที่ดูแลมีการหมุนเวียนหรือไม่

ตอบ มีการหมุนเวียน แต่ถ้าผู้บริหารก็มีวาระ 4 ปี อาจจะอยู่ได้ถึง 2 วาระคือ 8 ปี ในส่วนเจ้าที่ส่งเสริม ถ้าไม่รบกวนชาวบ้าน หรือชาวบ้านไม่ไล่ ก็อยู่ได้ยาว บางคนอยู่ 10-20 ปีในพื้นที่

19. มีการนำเทคโนโลยีอะไรมาใช้บ้าง

ตอบ เทคโนโลยีก็จะเป็นเรื่องอาจารย์อาสาสมัครที่ทำงานถวายโครงการหลวงก็จะสรุปข้อมูลแล้วนำเจ้าหน้าที่ศูนย์ไปอบรม ไปศึกษาดูงานและวางแผน

20. มีเทคโนโลยีจากต่างประเทศบ้างไหม

ตอบ มีระบบห้องเย็น นำองค์ความรู้จากต่างประเทศมาไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานการส่งออกทุกอย่างจะต้องมีการมาประเมินกัน นำเอกชนมาประเมิน โรงงานจะต้องผ่าน ดูแลเรื่องความสะอาดตั้งแต่เล็บ ผม ฯลฯ

21. ระบบห้องเย็นมีทุกดอยหรือไม่

ตอบ ไม่มีทุกดอย มีเฉพาะดอยใหญ่

22. มีเครือข่ายที่ไหนบ้าง

ตอบ ตอนนี้โครงการหลวงหนองหอยก็มีเครือข่ายคือ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สาใหม่ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปางดะศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่หลอด

23. จะมีการประกันคุณภาพผลผลิตจาก 38 ดอยอย่างไรว่าได้มาตรฐานเดียวกัน

ตอบ มีระบบตรวจสอบ สุ่มตรวจก่อนเก็บ 1 ครั้ง ก่อนซื้อขายที่โรงงานของโครงการหลวง 1 ครั้ง และที่ตัวเมืองเชียงใหม่จะต้องมีการสุ่มตรวจอีกครั้ง ถ้าไปพบที่ตัวเมืองเชียงใหม่ ผลผลิตจะไม่มีการซื้อขาย ต้องทำลายเท่านั้น

24. จะทราบได้อย่างไรว่าผลผลิตที่ไม่ได้มาตรฐานมาจากดอยใด

ตอบ มีบาร์โค้ดระบุแหล่งผลิต วันที่ผลิต วันที่เก็บเกี่ยว

25. ชาวบ้านอยู่ในกลุ่มใดมากที่สุด

ตอบ กลุ่มโครงการหลวงมีจำนวนมากที่สุด ถ้าปลูกกันทั้งหมดก็รับไม่ไหวเพราะศักยภาพเรื่องตลาดยังมีจำกัด ในส่วนที่ทำผลผลิตให้สดสะอาดและไวที่สุดค่อนข้างจะลำบาก

26. ข้อดีของโครงการหลวงนี้มีอะไรบ้าง

ตอบ อากาศ ความบริสุทธิ์ ข้อเสียคือบรรยากาศดี นั่งกินกันนาน มีความเสี่ยงโรคปอด กินเหล้าเต็มที่ก็เป็นโรคตับ เมาแล้วขับก็ประสบอุบัติเหตุ อย่างอื่นชาวบ้านสบายแล้ว บ้านตอนนี้เป็นบ้านชนเผ่า บ้านชาวเขาจริงๆไปซื้อบ้านจัดสรร ส่งลูกหลานไปเรียนในตัวเมืองเชียงใหม่จบปริญญาโทหลายคน เป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลหลายคน เอกวิศวกรรมไฟฟ้า

27. เนื่องจากมีหลายกลุ่ม มีแนวคิดหรือปรัชญาอะไรที่ทำให้อยู่ร่วมกันได้

ตอบ ชาวเขาก็จะรวมกันเป็นกลุ่มชนเผ่า ที่นี่ก็จะเป็นเผ่าม้ง ถ้ามีการแก่งแย่งหลายชนเผ่าก็จะมีการบุกยึดพื้นที่ โครงการหลวงวัดจันทร์ก็มีเผ่ากะเหรี่ยงอยู่ ก็จะดูในกลุ่มกะเหรี่ยง พวกที่หนีตายจากชายแดนมาได้แก่พวกปะหล่องที่บ้านนอแล นอกจากนี้ก็มีมูเซอ ต้องคุยกันหลายครั้ง จีนฮ่อเข้ามาอันดับที่ 1 ม้งเข้ามาอันดับที่ 2 ทั้งม้งขาวและม้งลาย ม้งลายฉลาด คุยไม่กี่ครั้งก็จำได้ ส่วนม้งขาวต้องใช้เวลาคุยนานหน่อย พวกะเหรี่ยงต้องใช้เวลาคุยหลายครั้งเพราะเป็นคนขี้อาย

28. ทางโครงการหลวงนำปรัชญาของพ่อหลวงมาใช้กับชาวเขาหรือไม่

ตอบ ไม่มีอะไรมาก ต้องปรับตัวหาเขา คุยกันให้รู้เรื่อง อย่าเอาเรื่องยากๆไปให้เขาปวดหัว ต้องอธิบายเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายแล้วติดตามอย่างใกล้ชิดให้เป็นพวกเดียวกันให้ได้

29. คนที่ไปคุยกับชนเผ่าเป็นใคร

ตอบ เจ้าหน้าที่โครงการหลวงก็พูดกับชาวเขาเป็นภาษาพื้นเมือง ม้งพูดได้หลายภาษา บาทหลวงมาสอนศาสนาก็จะสอนภาษาอังกฤษด้วย ตอนนี้ม้งก็พูดภาษาไทยกลางได้ด้วยเพราะมีการค้าขายกับชาวพื้นราบ เจ้าหน้าที่ไปรับวิชาการจากนักวิชาการระดับปริญญาเอกซึ่งเป็นภาษาอังกฤษก็ต้องนำมาปรับใช้ให้ง่ายที่สุด

30. นอกจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้แล้ว มีมหาวิทยาลัยอื่นมาให้ความช่วยเหลือไหม

ตอบ ช่วงหลังๆ ถ้าเป็นนักวิจัย ก็จะมาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บางเขน เพราะสำหรับงานวิจัยเพราะจะอยู่กับข้อมูล ถ้าเข้าไปหาชาวบ้าน ก็คออ่อน คุยเริ่มแรกดูดี แต่กินเหล้าแล้วคอหัก สัญญาอะไรกับชาวเขา เขาจำได้แม่น เวลาตอบสนองไม่ได้ เขาก็จะไม่ค่อยเชื่อ ม้งถือว่าการกินเหล้าทำให้เป็นพวกเดียวกันแต่ก็ต้องประคองตัวได้ ม้งต้มเหล้าเอง น้ำหนึ่งก็ใช้เป็นแอลกอฮอล์เช็ดแผลได้

31. ถ้าชาวบ้านเจ็บป่วย ใช้สิทธิ์การรักษาแบบใด

ตอบ สิทธิ์ 30 บาทรักษาทุกโรค

32. ชาวบ้านไปใช้บริการที่โรงพยาบาลใดบ้าง

ตอบ โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ ถ้าอาการหนัก ก็ต้องเข้าไปรับการรักษาที่กรุงเทพ

ถ้าผ่านโรงพยาบาลมหาราช ก็พอแล้ว

33. ระบบสาธารณสุขชาวดอย มีการดูแลสุขภาพกันอย่างไร

ตอบ ชาวเขาออกกำลังกายทุกวันจึงไม่ค่อยเจ็บป่วย แต่เรื่องวัยเจริญพันธุ์ที่น่าเป็นห่วง แต่งงานตั้งแต่อายุ 14-15 ปี มีลูกเร็ว ทำให้โทรมเร็ว ในเรื่องการใช้บริการ ก็ไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาลชุมชนใกล้พื้นที่ ที่โป่งแยงและที่แม่แรม ถ้าคลอดแล้วตายสัก 1 คน โรงพยาบาลก็เดือดร้อน ถ้าเป็นโรคระบาด ก็จะมีการรณรงค์มาจากพื้นราบ มีอสม.เช่นเดียวกับพื้นราบมาช่วยดูแลสุขภาพ อสม.ก็เป็นชาวเขา ก็จะคุยกัน นำองค์ความรู้มาจากพื้นราบ เช่น สาธารณสุขอำเภอ ไม่ค่อยมีการคลอดแบบโบราณเพราะกลัวตาย แต่ก่อนต้องห้ามมีลูกมาก ตอนนี้ แม้ท้าให้มีลูกมาก ก็ไม่ยอมมี เพราะการเรียนหนังสือตั้งแต่อนุบาลก็หมดเงินไปมากแล้ว

34. ตอนนี้ ชาวเขามีลูกเฉลี่ยกี่คนต่อครอบครัว

ตอบ 2-3 คนต่อครอบครัว เมื่อก่อนนี้มีหลายแม่ แม่ 1 คนมีลูก 2-3 คน ตอนนี้ ตอนนี้มีแม่ทั้งหมด 5 คนในครอบครัว

35. โครงการหลวงมีพื้นที่ทั้งหมดเท่าไร

ตอบ 3,000 ไร่ ดูเหมือนกว้าง แต่สูญเสียไปกับขั้นบันไดเป็นส่วนใหญ่

36. มีคนงานกี่คน

ตอบ คนงาน 30-40 คนต่อแต่ละฤดูกาลผลิต อาจจะมีการเข้าออกบ้าง แต่ในส่วนโรงงานมี 70 คน

คนมีความสามารถและมีวุฒิการศึกษาก็บรรจุเป็นเจ้าหน้าที่ แต่ต้องเป็นคนไทยแล้วไปสอบที่สำนักงานใหญ่ มีบ้านราชการ ยศตำแหน่งให้ ชาวบ้านอยู่ที่นี่มา 14 ปี

37. มีระบบอะไรบ้าง

ตอบ มีไฮโดรโปนิกส์ ฝั่งนี้ก็จะเป็นเรื่องอุทยาน มีป่าสงวนเล็กๆ ส่วนพื้นที่ที่เคยปลูกฝิ่นก็กลายเป็นพื้นที่ปลูกผักขั้นบันได ตอนนี้ 1 ครอบครัวมีพื้นที่ 1-2 ไร่แล้วบริหารจัดการกันเอง

38.ชาวบ้านมีโฉนดไหม

ตอบ ไม่มีโฉนด แต่ที่มีโฉนดคือที่ของพ่อหลวงที่ม่อนใกล้โรงงาน 2 งาน มูลค่า 14 ล้านบาท

สรุปการบรรยายโดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

ทัศนศึกษา ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงนิคมสหกรณ์แม่แตง

วันที่ 10 ธันวาคม 2557

บรรยายโดย

คุณนิคม ทับเลื่อม

ผู้อำนวยการศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงนิคมสหกรณ์แม่แตง

ลักษณะทั่วไปของศูนย์การเรียนรู้ฯ

นิคมสหกรณ์แม่แตงประกอบด้วย 49 นิคม มีพื้นที่ประมาณ 40 ไร่ ตั้งอยู่บนพื้นที่ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่โดยรอบเป็นลักษณะป่าเช่าที่เจ้าของจะสามารถเช่า และสืบทอดไปยังทายาทได้

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของนิคมสหกรณ์แม่แตง ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างปัจจัยพื้นฐานต่าง ๆ ตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2551 และได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2551 สิ่งก่อสร้างปัจจัยพื้นฐานต่าง ๆ ประกอบด้วย การปรับปรุงพื้นที่ การขุดลอกแหล่งน้ำ อาคารฝึกอบรมกลาง โรงเรือนสำหรับเลี้ยงสัตว์ โรงเพาะเห็ด ป้ายโครงการ รั้วลวดหนาม บ่อแก๊สชีวภาพ และงานติดตั้งระบบไฟฟ้า-น้ำประปา

กิจกรรมที่ดำเนินการในศูนย์เรียนรู้ฯ ประกอบด้วย

1. กิจกรรมที่ให้ผลตอบแทนระยะสั้น (ไม่เกิน 1 ปี) ได้แก่

- กิจกรรมการเลี้ยงสุกร

- กิจกรรมการเลี้ยงกบ

- กิจกรรมการเลี้ยงปลาในกระชัง

- กิจกรรมการเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก

- กิจกรรมการเพาะเห็ด

- กิจกรรมการปลูกผักปลอดสารพิษ

2. กิจกรรมที่ให้ผลตอบแทนระยะยาว (เกินกว่า 1 ปี) ได้แก่

- กิจกรรมการปลูกเสาวรส

- กิจกรรมการเลี้ยงโคเนื้อ

- กิจกรรมการเลี้ยงแพะ

3. กิจกรรมที่ไม่หวังผลตอบแทน เพื่อสร้างความต่อเนื่องและเป็นทางเลือกใหม่ ได้แก่

- กิจกรรมการปลูกพืชสมุนไพร

- กิจกรรมการผลิตน้ำส้มควันไม้

- กิจกรรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์/ปุ๋ยชีวภาพ

- กิจกรรมการผลิตแก๊สชีวภาพ

กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่ตามโครงการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551

1.กิจกรรมการเลี้ยงสุกร

2.กิจกรรมการเลี้ยงปลาในกระชัง

3.กิจกรรมการเลี้ยงวัว

4.กิจกรรมการเพาะเห็ด (ขี้เลื่อย,ถุงพลาสติก)

การบริหารจัดการศูนย์ฯ ดำเนินการในลักษณะการบูรณาการระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ในรูปคณะกรรมการโดยผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ได้แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการศูนย์เรียนรู้ ประกอบด้วยสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานกรรมการ นายอำเภอแม่แตง เป็นรองประธานกรรมการ หัวหน้าส่วนราชการในอำเภอแม่แตง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมเป็นคณะกรรมการ และหัวหน้านิคมสหกรณ์แม่แตง เป็นกรรมการและเลขานุการ เพื่อทำหน้าที่อำนวยการ กำหนดแนวทางในการทำงาน กำหนดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ การช่วยเหลือทางวิชาการ และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

นอกจากนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่ ได้คัดเลือกศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของนิคมสหกรณ์แม่แตงเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน ประจำอำเภอแม่แตงของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยมีหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกันถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสมและสอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น

สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ออมทรัพย์ และสหกรณ์ร้านค้าของแต่ละจังหวัดจะมีการควบคุมกำกับดูแล มีกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ดูแล มีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์เป็นพี่เลี้ยงตรวจสอบบัญชี มีการเลือกตั้งคณะกรรมการจากผู้แทนสมาชิกเป็นคณะกรรมการบริหารสหกรณ์ มีผู้จัดการการเงิน เจ้าหน้าที่บัญชี สินเชื่อ ขึ้นอยู่กับธุรกิจนั้น ๆ และมีข้าราชการที่เป็นตัวแทนสมาชิก

สิ่งที่มีอยู่ในปัจจุบันคือนิคมสหกรณ์แม่แตงจำกัด จัดตั้งโดยราษฎรเพื่อให้มีที่ดินทำกินจากภาครัฐ มีสมาชิกตั้ง 5 คน ราษฎรที่ได้จัดสรรให้มีที่ดินทำกินจากรัฐจะต้องรวมกันจัดตั้งเป็นสหกรณ์ ภายใต้กำกับดูแลนิคมสหกรณ์ แต่ละสหกรณ์มีการผลิตบัญชีไม่ตรงกัน มีคณะกรรมการบริหาร 9 ท่าน มีทุนดำเนินงาน 49 ล้านบาท มีการจัดสินค้ามาจำหน่ายให้กับสมาชิก มีสินทรัพย์รวม 16 ล้านกว่าบาท มีการผลิตเงินกู้ยืมให้กับ ธกส. มีกรมส่งเสริมสหกรณ์ มีเงินกองทุนส่งเสริมสหกรณ์อยู่โดยมีวงเงินกู้ยืม 60 ล้านบาท

การทำงานปีที่ผ่านมามีการรับฝากเงินจากสมาชิกจำนวน 13 ล้านบาท ซึ่งถ้าเงินล้น ก็สามารถย้ายเงินในการบริหารและจำหน่ายสู่ตลาดได้

มีการผลิตน้ำนมถั่วเหลืองเพื่อครัวเรือน มีการเซ็น MOU กับบริษัทกรีนสปอต พบว่าน้ำนมถั่วเหลืองมีการนำเข้าจากต่างประเทศ 80% อย่างประเทศจากแคนาดา อเมริกา ให้น้ำนมถั่วเหลืองที่ดี

สิ่งที่รัฐสนับสนุนจากสหกรณ์คือมีลานตาก มีผลิตผลทางการเกษตร มีเครื่องอบความชื้นไม่เกิน 14 % มีความจุ 30 ตันต่อวันอบข้าวและอบถั่วเหลืองได้

การซื้อถั่วเหลืองมาจากเกษตรกร ก็จะมาบริหาร ทำความสะอาด แยกสิ่งเจือปนอยู่ มีการคัดเกรดอาหาร สามารถทำเป็นน้ำนมถั่วเหลืองได้ มีการปลูกตามสภาพ มีองค์ความรู้ในการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ มีการคิดโครงการร่วมกับเกษตรกรในเรื่องอาหาร

ถ้าเกษตรกรไม่มีรถขนส่งจะใช้ระบบสหกรณ์ขนส่งดูแล ในเรื่องเทคโนโลยีการผลิตมีการจัดทำแปลงต้นแบบปลูกถั่วเหลือง ซื้อเมล็ดพันธ์ และถ่ายทอดความรู้ให้ มีการช่วยเหลือด้านการรวบรวมปัจจัยการผลิต มีการต่อเติมยุ้งฉาง รัฐจะเข้ามาช่วยเหลือเพื่อเติมเต็ม

ดินที่เหมาะสมในการปลูกถั่วเหลืองเป็นดินอย่างไร สหกรณ์จะมีการออกใบรับรองให้ว่าดินเป็นอย่างไร อาหารดินเป็นอย่างไร มีการใส่ให้ตามสูตร ส่งเสริมให้ใช้ปุ๋ยชีวภาพ ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อใช้ให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม มีการตั้งกลุ่มอาชีพ

สิ่งที่เกษตรกรต้องการพัฒนาคือลดต้นทุน และต้องการเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสม

ในปี พ.ศ. 2009 อาศัยพระราชกฤษฎีกา ได้มีการจัดสรรให้พื้นที่โครงการมีหนึ่งหมื่นสามพันกว่าไร่เพื่อจัดให้ราษฎรมีที่ดินทำกิน มีการออกหนังสืออนุญาต มีการออกหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ มีการออกเอกสารสิทธิ น.ส.3 มีการช่วยก่อสร้างปัจจัยพื้นฐาน สร้างถนนหนทางก่อสร้างแหล่งน้ำ มีกรมปศุสัตว์ ประมง โค กระบือ หมู ไก่ มีการแปรรูป และการทำอาหารสัตว์

โครงการส่งเสริมให้ทำร่วมกับองค์กรในท้องถิ่น มีการให้ความรู้กับเกษตรกรว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร มีการพาไปศึกษาดูงานที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ การศึกษาที่ค่ายทหาร ไปดูแล้วให้คิดโครงการเพื่อทำอะไรให้เหมาะสมกับพื้นที่ของเขา เช่นอยากเลี้ยงกบในท่อสหกรณ์ก็จะซื้อท่อกบให้ ซื้อกบให้ ถ้าเลี้ยงหมูสหกรณ์ก็ซื้อหมูให้ ให้อาหารหมู พันธ์หมูเบื้องต้น มีการให้พันธุ์ปลา เป็นต้น และมีเจ้าหน้าที่คอยติดตามโครงการและเก็บข้อมูลตลอด ให้เจ้าหน้าที่ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อขายได้ให้ทำบัญชี แสดงให้เกษตรกรเล็งเห็นถึงความสำคัญ และการขยายผล

มีการให้ตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง มีการเรียกประชุมใหญ่สหกรณ์

มีการอนุรักษ์พันธุ์พืช มีการปลูกแปลงสาธิตเล็ก ๆ เพื่อขยายผลไปสู่ท้องถิ่น เป็นป่าที่สมบูรณ์ มอบป่าให้ชุมชนดูแล รักษา มีมูลนิธิช่วยให้ความรู้ ความเป็นมาเป็นไป และรูปแบบโครงการ มีแผนแม่บท โดยมีแม่แตงเป็นนิคมนำร่องใน 10 นิคมแรก

ในระดับจังหวัดมีผู้ว่าฯ นั่งหัวโต๊ะเป็นประธาน แก้ไขปัญหาให้กับชุมชนท้องถิ่น มีการปรับโครงสร้างดิน ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ มีกรมชลประทานดูเรื่องแหล่งน้ำ พัฒนาพื้นที่ มีการเชื่อมโยงภาคเอกชนด้านการตลาด มีการส่งสินค้าตัวอย่างให้ทางกรีนสปอตตรวจว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ คุณภาพของเมล็ดพันธ์เป็นอย่างไร ผ่านมาตรฐาน GMO หรือไม่ การซื้อขายจะซื้อขายในราคาประกัน แต่ถ้าราคาประกันต่ำกว่าก็จะซื้อในราคาตลาด

ปัญหาที่พบคือ

1. เมล็ดพันธุ์หายาก ต้องกระตุ้นให้เกษตรกรเราผลิตด้วยตนเอง ให้เกษตรกรปลูกให้กับสมาชิกว่าเมล็ดพันธ์จะใช้อย่างไร และเมื่องอกออกมาแล้วจะใช้อย่างไร ดูแลอย่างไร สีเพี้ยนจากเดิมก็ทำให้บริสุทธิ์ มีการขายออกสู่เกษตรกรของเรา

2. มีการขายให้ในราคาต่ำกว่าราคาทั่วไป ดังนั้นจึงต้องมีการ Support เพื่อป้องกันสหกรณ์ไม่ให้เสียหาย มีเงินชดเชยในปี 57 ปี 58 ปี 59 มีผลิตผลเพิ่มขึ้น ล้มการปลูกไร่อ้อย และให้เอาถั่วเหลืองไปเปิดเพื่อลดการใช้การทำลายดิน

มีกรมนิคมสหกรณ์จัดทำแปลงเรียนรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตให้ศูนย์ปฏิบัติจริง มีการสนับสนุนด้านงบประมาณ ให้เอาคนมาดูงาน ราคาขายเป็นอย่างไร ให้เรียนรู้ด้วยตัวเอง ให้ต่างคนต่างอยู่ ส่วนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ จะมีการคืนกำไรและให้เงินปันผลต่อหุ้น

การอนุรักษ์ดินและน้ำ มีการขุดสระน้ำให้เขาเลี้ยงปลา ให้วัวให้ควายกิน มีการปลูกสระ มีการเพิ่มเมล็ดพันธ์ ทำแปลงเปรียบเทียบเมล็ดพันธ์ โดยจะมีงบแต่ละส่วนลงมาว่าใครทำตรงไหน มีการประชุมติดตามโครงการฯในแต่ละพื้นที่บริหารจัดการกันเอง มีการทำโมเดลด้านการผลิตให้ มีเรื่องแหล่งน้ำ มีการทำบัญชีครัวเรือน เนื้อและสัตว์ปีก กรมประมงมาดูเรื่องการพัฒนาพื้นที่

เทคโนโลยีการผลิตทำตามความรู้สึกของตัวเอง ใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับการปลูกพืชตามช่วงเวลา

มีสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรมาช่วยดูแลการผลิต รูปแบบของการบูรณาการโครงการฯ เกษตรกรจะทำอย่างไร การจัดการทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรดิน การสร้างจิตสำนึก สร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดกระบวนการยอมรับ สืบค้นให้เขาทำอาชีพอย่างนี้ เอกชนอย่างกรีนสปอต เอาถั่วเหลืองไปผสมในอุตสาหกรรมโคนม ให้สินเชื่อ และหาเครื่องจักรกลให้เกษตรกร สร้างองค์ความรู้ให้เกษตรกร โดยกระบวนการบริหารจะเอาตลาดนำ

โครงการส่วนใหญ่จะมีการประชุมชี้แจงให้ยอมรับให้ได้ก่อนทุกครั้ง มีการเก็บข้อมูล ให้มีการประชุมวางแผน วางรูปแบบโครงการ ทำวิจัยแก้ไขปัญหา ทำศูนย์วิจัยแก้ไขปัญหาในโครงการ มีรูปแบบในการบริหารจัดการร่วมกัน มีการตรวจเยี่ยมแปลงตลาด มีการให้ความรู้สหกรณ์ มี Fairtrade ทำหน้าที่เอาสินค้าเกษตรไปแปรรูป

โครงการนิคมสหกรณ์พืชทดแทน ต้องมองพื้นที่และความเหมาะสมของพืชแต่ละชนิด เช่น มันสำปะหลัง อ้อย ปาล์ม

อาชีพหลักของคนทางเหนือ เป็นวัฒนธรรมและประเพณี ต้องมาศึกษาว่าปัญหาคืออะไร

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ถาม การปลูกถั่วเหลืองเลือกจากอะไร การเลือกนิคมเป็นพื้นที่ของหลวงแล้วมาจัดสรร อยากทราบว่าแต่ก่อนทำอะไร

ตอบ การเลือกถั่วเหลืองต้องมองจากพื้นที่ก่อน ปลูกถั่วเหลืองเป็นอาชีพเสริม ต้องดูว่าแต่ก่อนทำอะไรอยู่ และมีปัญหาอะไร แล้วไปเสริมตรงนั้น บางส่วนมีการทำนาอยู่แล้ว บางส่วนมีการบุกรุกป่า มีปัญหาเรื่องกฎหมาย เรื่องเอกสารสิทธิ์ การจัดที่ดินในรูปสหกรณ์ไม่หนีแนวคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือทำอย่างไรให้เขาพึ่งพาตนเองได้ ถั่วเหลืองปัจจุบันนำเข้าจากต่างประเทศ 80% แต่ไม่สามารถเอาในประเทศเพราะสายพันธ์ในพื้นที่ไม่ตรงกัน

เน้นการผลิตตามความต้องการ การทำงานส่งเสริมต้องหาว่ากลุ่มไหนทำอะไรได้ ที่ไหนทำอะไรได้ก็ไปปลูกในสายพันธ์ให้เหมาะสมกับพื้นที่

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้เสริมว่า

สิ่งที่ได้เรียนรู้คือความหลากหลายของการพื้นที่ในภาคเหนือ และที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน

งานวิจัยของโครงการหลวงเน้นการวิจัยมาก อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีกรมส่งเสริมสหกรณ์ และกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ดูแลอยู่ แต่ข้อเสียคือการโดนปกครองโดยนักการเมืองมากเกินไป

ด้านการ Transfer Technology แบบเก่าสู่แบบใหม่ เป็นสิ่งที่ใคร ๆ ก็อยากได้ แต่ที่ทราบมาคือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไม่เคยพูดถึงเกษตรกรโดยตรงเท่าที่ควร ส่วนใหญ่จะพูดถึงปุ๋ย ยาฆ่าแมลง เนื่องจากเป็นเป้าหมายของนักการเมือง จึงอยากให้ที่นี่เอาเกษตรกรเป็นที่ตั้ง

ถาม วิธีการเรียนรู้ที่นี่เป็นอย่างไร

ตอบ สอนเขา และให้เขามีส่วนร่วมด้วย ร่วมคิด ร่วมทำและแก้ไขปัญหา ส่วนใหญ่ประชุมจะให้เขาถ่ายทอดปัญหาออกมา และจะมาจัดกลุ่มปัญหาว่าเป็นปัญหาของใคร เช่นเกษตรกรจะต้องแก้ไขอย่างไร การตลาดจะเชื่อมโยงอย่างไร เป็นต้น

ดร.จีระ ได้เสริมว่าควรเน้นว่าการทำงานต้องต่อเนื่อง หลักสูตรสอนระยะเวลาประมาณเท่าไหร่ และมีการเอา กศน. มาร่วมด้วยหรือไม่

ตอบ หลักสูตรจะสอน 3-4 วัน โดยจะลงไปปฏิบัติในพื้นที่ มีการทำแปลงเรียนรู้ ร่วมเรียนร่วมทำ เริ่มตั้งแต่เตรียมดิน มีการเอา กศน. มาร่วมด้วย

ถาม การทำงานที่นี่ต้องประสานหน่วยงานอื่น และต้องมีการใช้อำนาจ สงสัยว่าทำไมข้าวกับถั่วเหลืองไม่บูรณาการ และมีการดูแลสุขภาพของคนในนิคมเกี่ยวกับอาชีพที่เขาทำหรือไม่

ตอบ ที่นี่ทำจะเน้นนมถั่วเหลือง ที่เราทำโครงการต้องขยาย Function มีการให้ใช้ธรรมชาติแทนเคมี มีการแก้ปัญหาที่ต้นน้ำ การประสานงานดูจากองค์กรสหกรณ์ขายสินค้าแต่ละปี ในเรื่องการขายยาฆ่าหญ้าและยาฆ่าแมลงนั้นจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามชีวภาพ บางปีเจอโรคระบาดหนักบางครั้งไม่สามารถใช้การรักษาทางชีวภาพ อาจจำเป็นต้องใช้เคมีบำบัดเป็นต้น สิ่งสำคัญคือต้องแสดงให้เขาเห็นถึงประโยชน์ของการใช้ชีวภาพ

พื้นที่การทำนาไม่เยอะ ส่วนใหญ่เกษตรกรเก็บไว้กินเอง แต่ถั่วเหลืองสามารถจัดจำหน่ายได้ ที่ผ่านมามีการประกันราคาข้าวทำให้มีการลดปริมาณผลิตถั่วเหลืองลง แต่ต่อมาเมื่อผ่านเหตุการณ์นั้นจึงมีการเพิ่มการผลิตถั่วเหลืองมากขึ้น

การส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกรปลูกพืชโครงการหลวงนั้นเป็นแนวร่วมกับโครงการหลวงแต่ยังไม่เข้มแข็ง อยู่ที่การจัดจ้างเจ้าหน้าที่ สนับสนุนเงินกู้ สหกรณ์ที่นี่มีเงินไม่เพียงพอ ก็สนับสนุนให้กู้เพื่อมีปัจจัยการผลิต

มีการซื้อมา ขายไป สนับสนุนเรื่องโรงเรือนพลาสติก อาคารเอนกประสงค์ การผลิตต่าง ๆ เจ้าหน้าที่ลงไปจัดเวทีเสวนาการมีส่วนร่วม ปัญหาของเขาคืออะไร แล้วหาสิ่งต่าง ๆ ไปสนับสนุนเขา ตั้งสหกรณ์เป็นแกนกลางให้กับชุมชน สร้างระบบคูคลอง ส่งน้ำ ส่งเสริมคน พัฒนาอาชีพให้เขาใช้ประโยชน์เต็มพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเช็ครายได้ที่เขาได้รับในเขตนิคมกับนอกนิคมไม่แตกต่างกัน ถ้าด้อยกว่าเราจะพัฒนาต่อ แต่ถ้าดีจะมอบพื้นที่ให้กับชุมชนและเราจะไปจัดที่อื่นต่อ ซึ่งการทำงานทั้งหมดจะมี Road Map อยู่แล้ว

นิคมสร้างตัวเองเป็นของกระทรวงมหาดไทย เกิดพร้อมกัน แต่แยกตามกฎหมายเช่น นิคมสร้างตนเอง และนิคมสหกรณ์ ใช้ระบบสหกรณ์ตามแนวคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

นิคมสร้างตนเองต้องเป็นด้านการเกษตรเท่านั้นตามมาตรา 9 ถ้าทำอย่างอื่นต้องขออนุญาตตามกฎหมาย

นิคมสหกรณ์ เป็นของรัฐ

สหกรณ์นิคม เป็นนิติบุคคล มีการเลือกสมาชิกเป็นคณะกรรมการบริหารองค์กร ตัวอย่างเช่น มีสหกรณ์นิคมสันทรายจำกัด ที่แม่โจ้ แต่เลิกไปแล้ว

ถาม เทคโนโลยีทางการเกษตรมีอะไรบ้าง

ตอบ การกำจัดศัตรูพืช ต้องดูภูมิประเทศ โครงสร้างดิน ปริมาณน้ำการเลือกพันธุ์ที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ สภาพดินมีความต้องการไม่เหมือนกัน ถ้าจับตัวไหนมาเล่น ต้องรู้ว่าต้องเล่นกับเกษตรกรอย่างไร มีการร่วมกันกับเกษตรกร ปรับปรุงแก้ไขโครงสร้างดิน การทำการตลาด การดูเรื่องแมลง และโรคระบาด เช่นถั่วเหลืองเมื่อมีน้ำไม่เพียงพอจะทำอย่างไร มีการตั้งเครื่องสูบน้ำ มีการเติบน้ำมันให้ฟรี จะทำให้เห็นภาพชัดเจนและเกษตรกรได้ประโยชน์

โรคบางชนิดไม่สามารถใช้ชีวภาพได้ทั้งหมด ต้องใช้เคมีบ้าง เช่นถั่วเหลืองบางครั้งเพลี้ยมา เกษตรกรต้องใช้เคมีในการควบคุมแปลง

เทคโนโลยีการผลิตทำอย่างไรให้ยีนส์ต่อไร่สูง ทำอย่างไรไม่ให้สารเคมีตกค้างและเกิดปัญหา

ถาม อยากทราบถึงเรื่องการบริหารจัดการว่ามีอิสระในการดำเนินการมาน้อยเพียงใด และบุคลากรมีการทำงานร่วมกับชุมชนอย่างไร

ตอบ มีอิสระส่วนหนึ่ง เนื่องจากเป็นนโยบายของรัฐ ที่ต้องทำทุกอย่างให้งานสำเร็จ ต้องส่งข้อมูลให้สำนักงานสถิติเกษตรทุกเดือน แต่ต่อมาส่ง 3 เดือนครั้ง

เรื่องงบประมาณจะระบุชัดเจนว่าสามารถนำเงินมาใช้ได้หรือไม่ โดยมีการเขียน action plan ประมวล และเรียกประชุมผู้จัดการโครงการอย่างสม่ำเสมอ

ถาม คนที่เข้ามาต้องมีคุณสมบัติอย่างไร

ตอบ เป็นราษฎรไม่มีที่ดินทำกิน หรือมีที่ดินทำกินน้อยไม่เพียงพอแต่การทำอาชีพ

ถาม มีการรับประกันการขายสินค้าของเกษตรกรหรือไม่

ตอบ มีการประกันราคาขั้นต่ำ มีการทำ MOU กับกรีนสปอตไว้เช่นถ้าราคาต่ำกว่า 15 บาทกรีนสปอตต้องซื้อที่ 15 บาท จุดแข็งคือกรีนสปอตเป็นตัวคาน แต่คนที่มาที่หลังจะพยายาม Up ราคามากกว่ากรีนสปอต สิ่งนี้คือปัญหาของ MOU ถ้าเกษตรกรไม่นิ่งก็จะออกนอก MOU ตัวที่อันตรายที่สุดคือ Demand เทียม คือสร้าง Demand มาหลอก ดังนั้นจึงเอากฎระเบียบมาใส่มากไม่ได้จะเดินหนี ต้องเดินตามรอยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ถาม การสร้างภูมิคุ้มกัน ให้เป็นที่เศรษฐกิจพอเพียงให้เขามีเศรษฐกิจดีขึ้นให้เขามีเศรษฐกิจอย่างนี้ตลอดไปหรือไม่ หลังจากที่ออกจากสหกรณ์แล้ว

ตอบ มี ยังมีอยู่ ต้องชี้ให้เห็นว่าการเอาเงินมาฝากสหกรณ์ เงินที่อยู่ในสหกรณ์ในระเบียบ ห้ามถือเงินเกิน 50,000 บาทต่อวัน ต้องผ่านมติที่ประชุมก่อน ถ้าเกินเพราะเหตุผลอะไร

ถาม ทำอย่างไรให้ชาวบ้านมีรายได้ใกล้เคียงกับปลูกข้าว

ตอบ ต้องคุมโซน เช่นปลูกข้าวผลผลิตมีไม่ถึง 400กิโลต่อไร ก็ต้องเอาอาชีพเสริมไปให้เช่น ถั่วเหลือง เลี้ยงสัตว์ วัว ในแง่กฎหมายไม่คิดว่าต้องแก้ไขอะไร เนื่องจากล้อมาจาก พ.ร.บ. 2542

ถาม เทคโนโลยี สหกรณ์อาจให้ยืมเครื่องจักร และอื่น ๆ มาได้หรือไม่ และมีการควบคุมอย่างไร

ตอบ รู้ว่ากรีนสปอตซื้อจากเรา มีการแยกโควตาเข้ามา มีถั่วเหลืองเยอะจะแบ่งว่าให้ตรงส่วนนี้เท่าไหร่ ตรงส่วนนี้เท่าไหร่ ด้านการตลาดมีการเอาดารา และสื่อมวลชนมาช่วยงานประชาสัมพันธ์

ถั่วเหลืองคนที่ซื้อมากมาจากกรีนสปอต แต่มีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ 80% เพราะว่าถั่วจากนอกราคาถูกกว่า เกี่ยวอะไรกับตัวปริมาณที่น้อย จะอ้างตรงส่วนที่เสียเปรียบถั่วนอกถูกกว่า รู้ว่าขั้นต่ำ 15 บาท ขอเป็น 20 บาทได้หรือไม่ ถ้ากำหนดราคาที่ 13 ก็ไปซื้อที่ 15 คุยกับเกษตรกรจะรู้ราคาอยู่แล้ว สหกรณ์รู้ราคาตรงนี้อยู่แล้ว มีเงินค่าพรีเมียมกลับมาที่กลุ่ม ช่วยให้เข้มแข็งขึ้น ถ้ามีการประกันราคาสมาชิก เกษตรกรจะไม่ขาดทุนเนื่องจาก สหกรณ์รู้ราคาต้นทุน

การจะทำอย่างไรนั้นคือ ต้องหาวิธีการเพิ่มผลผลิต

ในส่วนสหกรณ์คือนิติบุคคลที่ดูแลตนเอง หน่วยงานของรัฐช่วยทางการตลาดอยู่ เงินเดือนราชการทุกอย่าง 100 % สหกรณ์มีส่วนอยู่

โปรดคลิกเพื่อดูข่าวโครงการ


ที่มา: รายการ คิดเป็น…ก้าวเป็น กับ "ดร.จีระ"
ตอน : กรณีศึกษา CSR คณะแพทยศาสตร์ มอ. ที่บ้านชะแล้
ออกอากาศวันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม 2557

สรุปการบรรยายโดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

การศึกษาดูงาน ณ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบเชียงใหม่ Thailand Creative & Design Center (TCDC Chiang Mai)

วันที่ 10 ธันวาคม 2557

เชียงใหม่เป็นบ้านหลังที่สอง ด้วยคนเชียงใหม่มีศักยภาพมาก เชียงใหม่มีมรดกทางภูมิปัญญาทางภาษา อาหารการกิน เครื่องแต่งกาย มีช่างอิสระ วัสดุท้องถิ่น ทุกสิ่งอย่างทั้งหมดถือเป็นศักยภาพ มีความมุ่งมั่นตั้งใจพัฒนาการนำเอาความคิดสร้างสรรค์มาใชในเชิงธุรกิจเพื่อเสริมสร้างมูลค่าเพิ่มต่างๆที่นักออกแบบต้องการผลิตขึ้นมา

กลุ่มเป้าหมาย

1. เจ้าของธุรกิจทุกๆแผนกที่สนใจพัฒนาการต่อยอดผลิตภัณฑ์ทั้งหลายให้ขายได้

2. นักออกแบบ

3. นักศึกษา

ที่นี่แตกต่างจากที่กรุงเทพ ความเหมือนกันคือเป็นศูนย์ความรู้ทางด้านการออกแบบซึ่งมีวัตถุดิบโดยหลักเป็นหนังสือภาพออกแบบมากกว่า 90% เป็นภาษาอังกฤษ

ส่วนที่ 2 เป็นห้องนิทรรศการที่หมุนเวียนมาจากกรุงเทพทุก 3-4 เดือน ค่อนข้างใหญ่

ส่วนที่ 3 Workshop สัมมนาเชิงปฏิบัติการทุก 2 ครั้งต่อเดือน

เมืองสร้างสรรค์เช่น ปารีส อังกฤษก็มีบรรยากาศความเป็นศิลปิน เชียงใหม่ก็เป็นเช่นเดียวกัน มีบรรยากาศหล่อหลอมความคิดสร้างสรรค์หรือการทำงานเชิง Creative

มีต่างชาติมาทำงานที่นี่ มีแรงงานฝีมือ

ฟรองซัวส์ รุสโซ ชาวฝรั่งเศส ทำกระเป๋ายี่ห้อเมซง ทาคุยะ เขาได้ทำงานเครื่องหนังชั้นสูงกับหลุยวิตตอง ปราด้า และชาแนลมาก่อน เขาสังเกตว่า ทางยุโรปมีฝีมือช่างเย็บเครื่องหนังชั้นสูงถดถอยลง เขาก็เดินทางไปทั่วโลก และมาค้นพบว่า คนที่ตั้งใจทำงานอย่างจริงจังคือคนที่เชียงใหม่ จึงย้ายฐานการผลิตทั้งหมดมาตั้งที่อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ กระเป๋าที่เขาผลิต ก็ไปจ้างช่างที่ฝรั่งเศส อิตาลี เพื่อสอนการตัดเย็บชั้นสูง กระเป๋าราคาขายได้เป็นหมื่นแสน เทียบเท่าปราด้า แอร์เมส น่าภูมิใจที่เชียงใหม่ไม่ธรรมดา เขาเลือกคนในท้องถิ่นเรา

เชียงใหม่มีภูมิปัญญาพื้นบ้าน เรื่องเครื่องเงิน เครื่องไม้ กระดาษ เชียงใหม่มีทรัพยากรทั้งหลาย Chiang Mai Design Week ต้องเกิด เวลาจัด ทุกบ้านตกแต่งสวยงาม มีความเป็นความคิดสร้างสรรค์ ที่อังกฤษ เขาทำให้เป็นงานหนึ่งที่เป็นสะพานเชื่อมโยงเรื่องวัฒนธรรม คนสามารถเรียนรู้แนวโน้ม วัฒนธรรมอังกฤษได้จากงานนี้ ต้องเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจ ทางการท่องเที่ยว ทำให้เม็ดเงินหมุนเวียนมามากขึ้น

London Design Week สำคัญมาก ผู้ทำงานออกแบบหรือผู้สนใจงานออกแบบจะมองว่าเป็นอีก 1 จุดหมายปลายทาง (Destination) ที่ต้องไป

เชียงใหม่เป็นเมืองเล็ก แต่ก็จัด Chiang Mai Design Week เพราะเห็นศักยภาพที่ยิ่งใหญ่มาก และควรจะยิ่งใหญ่แบบ London Design Week อยากให้เชียงใหม่เป็นเมืองหัตถกรรมของโลก เพราะมีช่างฝีมือเป็นจำนวนมากและมีวัตถุดิบ ปีนี้เป็นปีแรกที่เกิดงานนี้ในประเทศไทย แต่ไม่สามารถจัดในกรุงเทพได้เพราะพื้นที่ควบคุมยาก การคมนาคมควบคุมยาก วิธีการรวมตัวของนักออกแบบค่อนข้างยาก

TCDC เชียงใหม่เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับการดูงาน

Chiang Mai Design Week มีการเชิญผู้ประกอบการที่มีศักยภาพอาทิผู้ประกอบการรายใหญ่ที่ส่งออกทั่วโลกรวมถึงผู้ประกอบการรายใหม่และรายย่อยที่มีความก้าวหน้าและผลงานและต้องการให้เขาได้ไปต่อได้ มี Exhibitors 51 รายที่มาออกงานโดยใช้บรรยากาศ วัตถุดิบและช่างของTCDC เชียงใหม่ Chiang Mai Design Week แบ่งเป็น 5 กิจกรรมหลัก

1.Design Showcase เป็นงานโชว์นิทรรศการ เน้นเป็นปีแรกโดยคัดกลุ่มผู้ประกอบการที่เคยทำงานร่วมกับ TCDC เชียงใหม่มาก่อน

2.Creative Space Workshop มี 26 Workshop เปิดสตูดิโอของนักออกแบบทั้งหลายเพื่อเชิญให้นักศึกษาและผู้สนใจเข้าไปร่วมทำ Workshop ลงมือปฏิบัติจริง เป็นโอกาสที่นักเรียนและผู้สนใจหางานทำต่อไปหรือสนใจทำเป็นอาชีพที่สอง

3.City Installation & Tour เป็นประติมากรรมที่ขาดไม่ได้ เหมือนเป็นกิมมิก ที่อังกฤษจะมีคล้ายบันไดทำจากไม้ ก็ออกแบบสวย ประดิษฐกรรมนี้เรียกคนมาได้ 350,000 คน ตอนหลังมีการแชะแอนด์แชร์ผ่านเฟซบุ๊ค Instagram และแฮ็ชแท็ชเกือบ 2 ล้านคน มี Event ที่สนุกเกดขึ้นมา เช่น Bike Tour ขี่จักรยานทั่วเมืองชม Case

4.Business Program มี Buyer Meeting และ Exhibitor Meeting ที่เป็น Network เพื่อให้ผู้ซื้อต่างชาติสนใจมาร่วมงาน นักออกแบบ ผู้ประกอบการถือเป็นผู้ขาย จัดให้พวกเขาพบกันทุกวัน โดยทุกคนที่เข้าร่วมกิจกรรมจะต้องได้รับเชิญเท่านั้น

5.Creative Dialogue มีการเชิญนักพูดจากทั่วโลก มีข้อมูลที่น่าสนใจมาก เป็นเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การใช้ผลิตภัณฑ์อย่างสร้างสรรค์ในงานธุรกิจ มีชาวต่างชาติและชาวไทยมาร่วมงาน

ในวันที่ 12 ธันวาคม 2557 มีกิจกรรมที่น่าสนใจมากคือ มีคุณโจน จันได ซึ่งเป็นผู้สนใจปรัชญาชีวิตอยู่อย่างพอเพียงเป็นวิทยากร

นอกจากนี้ก็มีวิทยากรท่านอื่นๆได้แก่

อาจารย์จุลพร นันทพานิช เป็นท่านหนึ่งที่สนใจมากในเรื่องสถาปัตยกรรมและการใช้ชีวิตของคน มีวิถีชีวิตเรียบง่าย

ที่สำคัญที่สุด งานนี้มี Nathan Williams ผู้เป็นบรรณาธิการก่อตั้งนิตยสาร Kinfolk และเป็นผู้ริเริ่มกระแสการถ่ายรูปก่อนรับประทานอาหารเพื่อ Share บนเฟซบุ๊ค เขาให้ความสำคัญมากกับเรื่องการกิน เพราะมีปฏิสัมพันธ์หลายอย่างที่เกิดขึ้นจากการกินอาหาร เช่น การเจรจาสัมพันธไมตรีต่างๆ เป็นพิธีกรรมที่ขาดไม่ได้ เขาทำให้นิตยสารที่ออก 3 เดือนครั้งขายดี

ช่วงถาม-ตอบ

1.การออกแบบนำไปใช้กับการแพทย์ได้อย่างไร

ตอบ การออกแบบคือการแก้ปัญหา เช่น เวลาซื้อกางเกงมาแล้วขายาวเกินไป ก็ตัดออก ก็เป็นการแก้ปัญหา การบริการทางการแพทย์ก็ถือเป็นการออกแบบด้วย

2.การบริการทางการแพทย์อะไรที่ต้องปรับปรุง

ตอบ ระบบคิว

3.ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ต้องปรับปรุงอย่างไร

ตอบ ควรสำรวจความต้องการให้ตรงจุด ในพื้นที่ทุรกันดารประเทศที่ห่างไกลที่สุด เช่นประเทศในทวีปแอฟริกา ยาไปไม่ถึงแต่โค้กไปถึง ต้องศึกษาวีทางธุรกิจแล้วนำมาปรับใช้ ควรหา Package ให้เหมาะสมในการส่งยา

4.Social Media ที่จะใช้กับการแพทย์ควรเป็นอย่างไร

ตอบ ต้องมีความเร็ว มีความถูกต้องแม่นยำ และสามารถเข้าถึงได้ง่าย

5.Value Creation ควรจะเป็นอย่างไร

ตอบ ต้องเป็นการเพิ่มมูลค่า และเพิ่มราคาในจิตใจลูกค้า

6.ในงาน Chiang Mai Design Week มีการออกแบบทางการแพทย์บ้างหรือไม่

ตอบ ยังไม่มี

7.นิทรรศการเคยมีการออกแบบทางการแพทย์บ้างหรือไม่

ตอบ เคยมีการทำ Hello World เกี่ยวกับการส่งยาให้คนในถิ่นทุรกันดาร โดยแทรกยาลงไปในลังโค้ก นอกจากนี้ก็มีการตรวจโครโมโซมเองได้ที่บ้าน

8.การออกแบบวิถีชีวิตเพื่อให้คนมีสุขภาพดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ผู้สูงอายุ การทำอะไรต่างๆเพื่อให้ผู้สูงอายุมีอายุยืนยาวขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส้วม ทางเดิน อาคาร เสื้อผ้า การติดกระดุมซึ่งยากมากสำหรับผู้สูงอายุ อาจจะต้องใช้บริการการออกแบบ

ตอบ อันที่จริงแล้วมีโครงการที่กำลังจะทำ อยู่ในช่วงเก็บข้อมูล บางกลุ่มก็ได้ทำเรื่องนี้มามากแล้วเหมือนกัน

9. ที่นี่มีหน้าที่หลักคือจุดประกายให้คนทำ มีการส่งเสริมหรือสนัยสนุนหรือไม่ การจุดประกายคือการมาดูนิทรรศการแล้วได้ความคิดว่าคนอื่นทำสิ่งนี้ได้ เราก็น่าจะทำได้ จึงเกิดความต้องการที่จะทำ ประเด็นคือ เวลาที่คิดจะทำ มักจะพบปัญหา ทาง TCDC เชียงใหม่มีระบบสนับสนุนจนกระทั่งความคิดออกมาเป็นตัวผลิตภัณฑ์หรือไม่

ตอบ TCDC เชียงใหม่เป็นหน่วยงานที่เป็นตัวกลางประสานกับหน่วยงานอื่นให้มาช่วยเหลือ

ข้อเสนอแนะจากคณะผู้เข้าร่วมโครงการ

นวัตกรรมทางการแพทย์มีต่างๆกันไป มันทำให้เหมือนกับมีเวลาในการรวมศูนย์ ต้องมีกระบวนการคิดในการที่จะทำให้เกิดขึ้นจริงจังและเป็นวงกว้าง ของทางการแพทย์ที่ทำอยู่ในปัจจุบันก็มีแต่อยู่เฉพาะวงจำกัด TCDC เชียงใหม่ทำแล้วเกิดออกมาเป็นสิ่งที่นำไปใช้ได้จริง เหมือนกระเป๋าก็นำไปขายได้จริง หรือยาก็นำไปส่งได้จริง TCDC เชียงใหม่ควรจะคิดออกแบบทางด้านสุขภาพเพราะถือเป็นพื้นฐานสำคัญของประเทศ เมื่อพูดถึงความห่างไกลจากการแพทย์ ในประเทศไทยเองก็มีความเหลื่อมล้ำของการเข้าถึงการบริการทางการแพทย์ ควรจะจุดประกายให้คนมองเรื่องนี้เพื่อแก้ปัญหา ขณะนี้คนไม่รู้จะทำอย่างไร ที่นี่จุดประกายว่า การออกแบบคือการแก้ปัญหา ถ้านำเรื่องการออกแบบมาทำ จะทำให้เกิดการตื่นตัวครั้งใหญ่ของนวัตกรรมทางการแพทย์ในประเทศไทย

10. ในพื้นที่ภาคใต้ การที่ประชาชนจะออกมารับริการทางการแพทย์หรือแพทย์เข้าไปรักษาประชาชนเป็นเรื่องยุ่งยาก มีความเสี่ยงสูง ควรออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ส่งบริการทางการแพทย์ถึง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถือเป็นเรื่องที่ดีมาก ควรจะร่วมมือกัน เราก็จะเริ่มมองเห็นความเป็นไปได้ พออกจากโรงพยาบาล ก็จะเห็นอะไรที่มุมกว้างขึ้น

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่ออ่านข่าวโครงการ

http://m.naewna.com/view/columntoday/16024

ที่มา: คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระ. แนวหน้า. วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม 2557 หน้า 5

สรุปการบรรยายโดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

การศึกษาดูงาน ณ ไร่บุญรอด (สิงห์ปาร์ค) จังหวัดเชียงราย

วันที่ 12 ธันวาคม 2557

ช่วงบรรยายนำชมพื้นที่

ไร่บุญรอดหรือสิงห์ปาร์คเชียงรายเดิมมีชื่อว่า ไร่บุญรอดแม่กรณ์ ตั้งอยู่ริมถนนสายเด่นห้า-ดงมะดะ อำเภอเมือง ห่างจากเขตชุมชนเมืองเชียงราย ประมาณ 9 กิโลเมตร สิงห์ปาร์คเชียงรายมีพื้นที่มากกว่า 8,000 ไร่ ครอบคลุม 4 ตำบล ได้แก่ ทิศเหนือติดกับตำบลดอยฮางทิศตะวันออกติดกับตำบลรอบเวียงและตำบลป่าอ้อดอนชัย ทิศใต้และทิศตะวันตกติดกับตำบลแม่กรณ์ พื้นที่ดังกล่าวตั้งอยู่ที่ละติจูด 19 องศา 50 ลิปดาเหนือ และเส้นลองติจูด 99 องศา 44 ลิปดาตะวันออก ความสูงของพื้นที่เฉลี่ย 450 เมตร เหนือจากระดับน้ำทะเล สภาพอากาศในฤดูหนาว อากาศค่อนข้างเย็นสบาย อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 19.1 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูร้อนจะมีอากาศร้อนแห้ง อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 30.9 องศาเซลเซียส ฤดูฝน ปกติจะมีฝนตกในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย 1,556 มิลลิเมตรต่อปี ความชื้นสัมพัทธ์สูงสุดเฉลี่ย 95% ต่ำสุดเฉลี่ย 52% สภาพของพื้นที่โดยทั่ว ๆ ไปของสิงห์ปาร์คเชียงรายเป็นพื้นที่ลาด-เนินเขา สลับด้วยภูเขาเล็ก ๆ พื้นที่มีความลาดเทปานกลาง

กิจการต่างๆในสิงห์ปาร์คเชียงรายเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2526 โดยการริเริ่มของคุณปิยะ ภิรมย์ภักดี ซึ่งปัจจุบันได้ใช้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมเพาะปลูกพืชหลากหลายชนิด เช่น ชาอู่หลงสายพันธุ์จินซวน (Jin Xuan) หรือที่คนไทยรู้จักในชื่อ ชาอู่หลงเบอร์ 12 เป็นชาสายพันธุ์ไต้หวัน ปลูกบนพื้นที่กว่า 600 ไร่ จำนวนกว่า 761,000 ต้น แบ่งเป็น 3 โครงการ โครงการละ 200 ไร่เริ่มปลูกตั้งแต่ปีพ.ศ. 2548-2550 ปลูกเป็นขั้นบันไดสลับขึ้นไป มีทุ่งดอกคอสมอสหรือดอกดาวกระจายสีชมพูมาจากญี่ปุ่น มาพร้อมกับรถม้าจังหวัดลำปางบรรทุกฟักทองยักษ์มาเต็มคัน

มีพื้นที่ปลูกยางพารากว่า 2,700 ไร่ พุทราพันธุ์ซื่อหมี่ กว่า 90 ไร่ แบ่งเป็น 2 โครงการ โครงการแรก 50 ไร่ โครงการที่สอง 40 ไร่ พุทราพันธุ์ซื่อหมี่ตอนนี้เจริญเติบโตและออกผลผลิต ลูกโตที่สุดมีขนาดเท่าลูกเทนนิส 4-5 ลูกสามารถชั่งได้ 1 กิโลกรัม มีจัดจำหน่ายที่ร้านค้าด้านหน้าเริ่มต้นกิโลกรัมละ 40 บาท พุทราพันธุ์ซื่อหมี่มีจุดเด่นคือรสชาติหวานกลมกล่อม อร่อย มีกลิ่นหอม

มะเฟืองยักษ์หวาน มัลเบอร์รี่ สตรอเบอร์รี่ และผักสดนานาชนิด ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่เหล่านี้ประกอบด้วยแหล่งน้ำธรรมชาติจำนวนกว่า 50 แห่ง ขนาดแหล่งน้ำที่ใหญ่ที่สุด 150 ไร่ สามารถใช้ในกิจกรรมการเกษตรได้ตลอดทั้งปี

สิงห์ปาร์คเชียงรายมีการทำการเกษตรแบบผสมผสานอินทรีย์และเคมี โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์บำรุงดินและใช้น้ำส้มควันไม้ซึ่งเป็นสารสกัดจากการเผาถ่านผสมน้ำส้มเพื่อป้องกันศัตรูพืช หากมีความจำเป็นที่ต้องใช้สารเคมีบางครั้งที่มีศัตรูพืชเข้าทำลายต้นพืช เช่น เพลี้ยไฟ ไรแดง เพลี้ยอ่อน จะเลือกใช้สารเคมีที่มีฤทธิ์ตกค้างไม่เกิน 3 วัน มีการเก็บสุ่มตัวอย่างก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตตรวจสอบสารเคมีตกค้างในห้องแล็บจนกว่าจะมั่นใจได้ว่า ไม่มีสารเคมีใดๆตกค้างหลงเหลืออยู่

สิงห์ปาร์คเชียงรายมีพื้นที่ทางการเกษตรได้แก่สวนพุทรา สตรอเบอร์รี่ สวนยางพารา ตลอดจนชื่นชมทัศนียภาพของไร่ชาบนเนินเขาอันสวยงามกับแปลงไม้ดอกสวยงามนานาพันธุ์ เช่น ทุ่งดอกทานตะวันชื่อสายพันธุ์โอลิซัน ก้านเล็กดอกใหญ่ บานสะพรั่งเหลืออร่ามเต็มพื้นที่ มีข้าวมอลต์ กำลังหว่านมเล็ดและเจริญเติบโตขึ้นมาประมาณ 2-3 เดือน

บรรยายสรุปโดยผู้ดูแลไร่ชาอู่หลง

สิงห์ปาร์คเชียงรายเลือกปลูกชาอู่หลงเบอร์ 12 เพราะเหมาะสมสำหรับพื้นที่สูง 450 เมตรจากระดับน้ำทะเล ถ้าเป็นชาอู่หลงเบอร์ 17 ก็ต้องไปปลูกบนดอยอ่างขาง ในสิงห์ปาร์คเชียงราย ชาอู่หลงเบอร์ 12 จำนวน 1 ไร่มี 1,000 กว่าต้น ใช้แรงงานคนเก็บใบชา ตอนนี้ใช้เครื่องจักรตัดเพื่อนำไปทำชาเส้น ต้องรอให้ต้นชามีอายุ 9 ปีก่อน จึงจะตัดได้ ฤดูหนาวใบชาจะมีรสชาติอร่อย ชาถือเป็นไม้ยืนต้นตัดและเก็บใบชาไปเรื่อยๆอยู่ได้พันปี ตัดใบชาแล้วก็นำไปส่งโรงงานของสิงห์ บางทีก็ส่งให้อิชิตันด้วย ถ้าทำเป็นชาเม็ดต้องใช้คนเก็บ ต้องผ่านกรรมวิธีคั่ว อบ ทำเม็ด ถ้าใช้เครื่องตัด จะเป็นชาเส้นที่ราคาถูกกว่า เวลาที่เหมาะสมในการเก็บชาคือ 10.00 น. เพื่อให้ชาคายน้ำก่อน ไร่ชาโครงการ 3 เป็นไร่ชาอินทรีย์ ราคาสูงกว่าและรสชาติดีกว่า ในการชงชา ต้องใช้น้ำร้อน 200 องศาเซลเซียสชงชา จะทำให้เซลล์แตกตัวเร็ว ถ้าใช้น้ำร้อน 100 องศาเซลเซียส ต้องรอนานขึ้น ถ้าแช่ชาไว้นาน จะทำให้ท้องผูก ควรจะชงไว้ 3-4 นาทีแล้วนำชาขึ้นมา ชาเม็ดชงได้ 3-4 น้ำ ชาถุงชงได้ 2 น้ำ พนักงานเป็นคนในพื้นที่ คนเก็บชาเป็นชาวเขา เช่น อาข่า มีชาวพม่าด้วย

ช่วงบรรยายนำชมพื้นที่ (ต่อ)

ด้านบน ถัดจากไร่ชาอู่หลงเป็นร้านอาหารภูภิรมย์ตั้งอยู่ใจกลางไร่เป็นจุดชมวิว ในสิงห์ปาร์คมีสวนสตรอเบอร์รี่สายพันธุ์พระราชทาน 80 อีกหนึ่งโครงการชื่ออะกิเมะจากญี่ปุ่น ปีนี้อากาศทางภาคเหนือหนาวช้า จึงเจริญเติบโตช้า

ถัดมาด้านขวาเป็นสวนยางพารามีเนื้อที่มากที่สุดในจังหวัดเชียงราย 2 สายพันธุ์ที่นำเข้ามาคือสายพันธุ์ภาคใต้และมาเลเซียซึ่งมีความทนทานต่อโรคสูงเหมาะสมกับสภาพทางภูมิอากาศทางภาคเหนือ ยางพาราจะสามารถกรีดได้ถ้ามีอายุครบ 7-8 ปีบริบูรณ์ สวนยางพาราก็ทำการเปิดหน้ายางไปบ้างแล้ว

ต่อไปเป็นจุดชมชีวิตสัตว์ป่าประกอบด้วยยีราฟ ม้าลาย และวัววาตูซี่ มียีราฟทั้งหมด 9 ตัว ม้าลายทั้งหมด 11 ตัว และวัววาตูซี่ 12 ตัว สัตว์ป่าที่มาจากแอฟริกาส่วนหนึ่งก็มาจากซาฟารีเวิลด์ สัตว์ป่าทั้งหมดมีอายุ 3-4 ปี มีกิจกรรมการให้อาหารสัตว์คือกล้วยและแครอท เวลาให้อาหารม้าลายต้องระมัดระวังเพราะม้าลายมีสายตาฝ้าฟาง และมีฟันที่แหลมคม อาจกัดมือผู้ให้อาหารได้ ส่วนยีราฟเป็นสัตว์ที่เชื่อง ไม่ดุร้าย สามารถยื่นอาหารให้เลย

วัววาตูซี่เป็นสายพันธุ์แอฟริกา ชาวแอฟริกันแย่งชิงเขาวัววาตูซี่ ถ้าใครได้เขาวัววาตูซี่ที่ใหญ่ที่สุด ก็จะเป็นหัวหน้าเผ่า ชาวแอฟริกันนิยมเลี้ยงวัววาตูซี่ไว้บริโภคเนื้อและนม แต่ที่นี่เลี้ยงไว้เพื่อความสวยงาม วัววาตูซี่มีเขาที่สวยงามและมีรูปร่างที่ใหญ่โต เขาข้างหนึ่งถ้าใหญ่โตเต็มที่ก็จะชั่งได้ข้างละประมาณ 45 กิโลกรัม และมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 92 กิโลเมตร เนื่องจากเขาที่ใหญ่โตทำให้ระบบขับถ่ายในร่างกายไม่ค่อยสมบูรณ์ ผิดรูป แต่เป็นธรรมชาติของวัววาตูซี่ วัววาตูซี่มีอายุยืนยาวมานานหลายหมื่นปีโดยมีหลักฐานตามรูปที่มนุษย์โบราณวาดติดตามผนังถ้ำ

ยีราฟเป็นสัตว์บกที่สูงที่สุดในโลกและมีหัวใจใหญ่โตด้วย ซึ่งใหญ่กว่าหัวใจมนุษย์ 10 เท่า เวลาโตเต็มที่หัวใจนำไปชั่งได้ประมาณ 10 กิโลกรัม ลิ้นยีราฟยาวมาก ยาวประมาณ 1 ศอกของเด็กอายุ 15 ปีหรือประมาณ 42 เซนติเมตร ยีราฟใช้ลิ้นตวัดอาหารเข้าปากไปเคี้ยวด้านในฟันกรามเพราะกัดฟันด้านหน้าไม่เป็น เวลาต่อสู้กันก็จะใช้เขากระแทกด้านข้างกัน

ถัดไปจะเป็นไร่ชาอู่หลงโครงการที่ 3 ซึ่งมีแหล่งน้ำใหญ่ที่สุดขนาด 150 ไร่ มีทิวเขาทอดด้านหลังคือ ดอยช้างอำเภอแม่สรวย ดอยวาวี แหล่งปลูกกาแฟชั้นนำจังหวัดเชียงราย

ถัดไปเป็นจุดจัด Farm Festival ซึ่งจัดปีละครั้ง ปีนี้จัดแล้วในวันที่ 26-30 พฤศจิกายน นอกจากนี้ยังมีศูนย์จัดจักรยานให้เช่าเพียงวันละ 100 บาท มีเส้นทางจักรยานให้ใช้ฟรี ความยาว 5 กิโลเมตร ซึ่งได้รับเลือกเป็นสถานที่แข่งขันสิงห์เมาเท่นไบค์ไทยแลนด์โอเพ่น 2013 ได้รับมาตรฐานสากลเป็นเส้นทางจักรยานที่สวยที่สุดในประเทศไทย

นอกจากนี้ยังมีซิปลายน์ คือการโหนเชือกสลิงผ่านไร่ชา เป็นระยะทาง 1 กิโลเมตร 300 เมตร มีทั้งหมด 4 สถานี

ส่วนร้านอาหารภูภิรมย์จะจัดอาหารบุฟเฟ่ต์กลางวันทุกวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ อาหารจานเด่นได้แก่ ยำยอดชา ยอดชาทอดกรอบ ไก่ย่างภูภิรมย์ ขาหมูเยอรมัน

สิงห์ปาร์คเชียงรายเปิดให้บริการตลอดทั้งปี

ต่อไปเป็นการไปเยี่ยมชมโรงงานชามารุเซ็น

ช่วงนำชมโรงงานชามารุเซ็น

บรรยายสรุปโดย รศ.ดร.พงศ์พันธุ์ เธียรหิรัญ สาขาวิชาการเกษตรและสหกรณ์

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

รายได้หลักๆของโรงงานมาจากการเกษตร และการแปรรูป เพราะของสดมีไม่มากนัก มีชา น้ำผลไม้ ไอศกรีม ร้านอาหารบริการนักท่องเที่ยว แต่ยังไม่มีการเก็บค่าผ่านประตู

ในด้านสวัสดิการบุคลากรในโรงงาน เงินเดือนเริ่มต้นตามกฎหมาย ปริญญาตรี 15,000 บาท มีประกันสังคม

ในเรื่องเทคโนโลยี ก็ต้องดูความเหมาะสมกับการใช้งาน มีแทร็คเตอร์ ระบบให้น้ำ ในเรื่องการเกษตรยังไม่ไปถึงเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากนัก ส่วนมากเป็นการผสมผสาน ต้องดูเรื่องค่าใช้จ่ายและนโยบายสีเขียวสร้างความสุขให้ชุมชน พยายามใช้สารเคมีให้น้อยที่สุด

ในฤดูหนาว มีคนมาเที่ยวมากที่สุด แต่คนก็มาเที่ยวตลอดทั้งปี มีหน่วยราชการและหลายองค์กรมีจดหมายมาขอเยี่ยมชม

ปัญหาในการทำงาน ก็เหมือนกับที่อื่น แต่ทุกคนรู้นโยบายจึงไม่ค่อยมีปัญหา

ตอนนี้ กำลังทำเรื่องการพัฒนาบุคลากร เน้นเรื่องวิสัยทัศน์ให้ทุกคนมีเป้าหมายร่วมกัน การบริหารการพัฒนาบุคลากรคนทำงาน มีการพัฒนาอยู่ในระดับที่ดีแต่ยังไม่ดีที่สุดเพราะเพิ่งเปิดบริการด้านการท่องเที่ยวมา 4 ปีเท่านั้น

มีพนักงานหลายร้อยคน พวกแรงงานมาจากพม่าเป็นส่วนใหญ่ มีชาวเขาบ้าง

ในด้านความปลอดภัยในการทำงาน โดยระบบมีมาตรฐานโรงงาน ISO

จุดเด่นของที่นี่คือสภาพภูมิประเทศ ทำเลที่ตั้ง สภาพแวดล้อมเชิงกระบวนการ

วิธีการบริหารจัดการ ใช้คำว่า โครงการเป็นหลัก มีไร่ชา 1, 2, 3 มีผู้ช่วยอย่างละ 1 คน มีพนักงานทั้งในส่วนแปลงและโรงงาน

การผลิตก็เริ่มเข้าระบบเกษตรอินทรีย์ ได้ JB ใช้สารเคมีได้อยู่ระยะที่ปลอดภัย แต่มีค่าใช้จ่ายในการลงทุน

ตอนนี้ยังไม่ได้กำไร แค่พอให้เลี้ยงตัวเองได้บ้าง ตอนนี้มีบริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ซึ่งเป็นบรัทแม่และบุญรอดฟาร์มเป็นบริษัทลูกซึ่งได้เครือข่ายมาจากบริษัทแม่

ในเรื่องความยั่งยืน ทางบริษัทไม่ต้องการทำอะไรที่ซ้ำกับคนทั่วไป

จุดด้อยที่ต้องการพัฒนา คือ กำลังเริ่มทำโครงการ แต่มีอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเอแบคมาช่วย

บริษัทบุญรอดวิจัยมาจากวิจัยคนไทย มีงานวิจัยของตนเอง ที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงมีสถาบันวิจัยชา

ต้องมีนโยบายแนวโน้มการวิจัย ทางบริษัททำวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัย ที่เด่นชัดคือเรื่องชาและการแปรรูปสินค้าเกษตร

มีความเสี่ยงจากเครื่องจักรมากกว่าสิ่งแวดล้อม

ช่วงบรรยายสรุปในห้องประชุม โดย รศ.ดร.พงศ์พันธุ์ เธียรหิรัญ สาขาวิชาการเกษตรและสหกรณ์

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และที่ปรึกษาทางด้านพืช บุญรอดฟาร์ม

ได้ทำงานมาที่นี่ 2 ปีครึ่ง เมื่อปีพ.ศ.2524-2526 เรียนปริญญาโทอยู่และได้ทำการศึกษาโรคข้าวบาร์เลย์ที่อำเภอแม่สรวย เมื่อเรียนจบแล้ว ปีพ.ศ.2526 ได้มาเปิดไร่ที่นี่ เป็นรุ่น 1 ที่ถูกส่งมาที่นี่ ทำงานที่นี่ได้ไม่นานนักก็ไปเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

สิงห์ปาร์คเชียงรายได้เปิดให้บริการด้านการท่องเที่ยวเมื่อปีพ.ศ.2554 ในระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมาทำงานด้านการเกษตรล้วน แล้วพัฒนามาหลายเรื่อง ในที่สุดผู้บริหารระดับสูงตัดสินใจพัฒนาไร่นี้อย่างจริงจัง

โครงการชา บริษัทได้มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงซึ่งมีสถาบันวิจัยชา และมีสายพันธุ์ชาจากทั่วโลกนำมาวิจัย

ชาอู่หลวงต้องตัด 3 ใบต่อ 1 ยอด ขั้นตอนถัดไปคือเข้าไปบ่มภายใต้อุณหมิและระยะเวลาที่กำหนดเป็นชั้นๆ ประมาณ 20 ชั้น แล้วไปสู่ขั้นตอนการคั่ว และนำไปใส่ถุงในกรณีที่ทำชาเม็ด ต้องใช้แรงงานคนเพื่อคัดคุณภาพชา

ในส่วนไร่ยางพาราแบ่งเป็นโครงการยาง 1 โครงการยาง 2 โครงการยาง 3 ซึ่งปลูกมากจึงแยกเป็น โครงการยาง 3.1 โครงการยาง 3.2 และโครงการยาง 3.3 แบ่งเป็นโครงการละ 500 ไร่

ตอนที่เริ่มปลูกยางพารา ราคายางแพง ทางบริษัทเริ่มปลูกยางได้ไม่กี่ปี

ที่ไร่นี้ปลูกพุทราพันธุ์ซื่อหมี่ ปีนี้พุทราออกผลิตช้าคือปลายเดือนพฤศจิกายน ตามปกติจะออกปลายเดือนตุลาคม และสามารถเก็บลูกกินได้ถึง 2 เดือน พอเก็บเกี่ยวแล้วเข้าเดือนเมษายนก่อนถึงเดือนพฤษภาคม ก่อนฝนมา ก็ตัดต้นพุทราเหลือแต่ตอแล้วก็เลี้ยงกิ่งพุทราขึ้นมาใหม่

ที่ไร่นี้มีหม่อน (มัลเบอร์รี่) แต่ไม่มาก ใช้สำหรับทำแยมและน้ำมัลเบอร์รี่ ประมาณปีเศษ มีการปลูกหม่อนบุรีรัมย์ 60 สำหรับทำชาหม่อนประมาณเกือบ 100 ไร่

มีการปลูกเมล่อนในโรงเรือนควบคุม มีโรงเรือนควบคุม 3 โรง แม้จะมีเมล่อนไม่มากแต่คุณภาพดี

ทางบริษัทได้วิจัยข้าวบาร์เลย์ไม่ต่ำกว่า 10 ปีมาแล้ว และได้ส่งสายพันธุ์ไปทดสอบ Malting Quality ที่เยอรมนี สายพันธุ์ที่ปลูกที่นี่ก็ไม่น้อยหน้าที่อื่น เป็นแรงผลักดันให้พัฒนาที่นี่ ตอนแรกจะเน้นข้าวบาร์เลย์

ข้าวบาร์เลย์มี 6 แถวกับ 2 แถว ถ้าไปดูที่ฉลากเบียร์จะเป็นประเภท 2 แถว ข้าวบาร์เลย์เป็น 3 ดอกซ้ายขวาประกบกัน ถ้าเป็น 2 แถว แสดงว่า ดอกข้างซ้ายและขวาฝ่อ ก็จะเหลือเฉพาะเม็ดกลาง เหลือ 2 ด้านเป็น 2 แถว

ทางไรเพิ่งพัฒนาและปรับปรุงเห็ด เห็ดหอมมีคุณภาพดี เมื่อ 20 ปีก่อน ได้ผู้เชี่ยวชาญเห็ดแห่งประเทศไทยมาเป็นที่ปรึกษา นอกจากนี้ก็มีเห็ดหลินจือแต่ไม่มาก ในอนาคตคาดว่า เห็ดจะเป็นจุดขายทางการท่องเที่ยวอีกอย่างหนึ่ง

ช่วงถาม-ตอบ

1.มีการบำรุงรักษาเครื่องจักรในโรงงานอย่างไร

ตอบ จากการที่ได้ฟังบรรยายมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงที่ทำงานด้านชาโดยเฉพาะ ชาเป็นเครื่องดื่มที่มีคุณค่าในระดับโลก มีเทคนิคหลายเรื่องเกี่ยวกับชา ในส่วนโรงงานชามารุเซ็นด้านบน มีโปรแกรมทำความสะอาด มีทั้ง QC และ QA คอยตรวจสอบตลอด ก่อนผลิต ระหว่างผลิตและหลังผลิตทุกวัน

2. มีการทำเกษตรอินทรีย์ด้วยหรือไม่

ตอบ ตอนนี้นโยบายทิศทางไปด้านเกษตรอินทรีย์ ได้มีการทำเกษตรอินทรีย์แล้วเช่นชา ในไร่ชา 2 ชาใบหม่อน มี 2 ระบบ บางอย่างสามารถเป็นเกษตรอินทรีย์ได้ แต่พืชบางชนิดยังต้องใช้เคมี เช่น พุทรา ในกรณีที่ให้ผลผลิตมาก ถ้าเป็นเกษตรอินทรีย์ก็ไม่สามารถให้ผลผลิตมากได้ ในการใช้เคมี สามารถใช้ปุ๋ยเคมีได้แต่ต้องระวังเรื่องยาฆ่าแมลง

3. เรื่องความปลอดภัยในการทำงานเป็นอย่างไรบ้าง

ตอบ ในส่วนโรงงานด้านบน มีผู้เชี่ยวชาญมาจากญี่ปุ่นมาประจำอยู่ด้านบน 1 ท่านมาบริหารการทำงานของเครื่องจักร ถือเป็น Know How ของญี่ปุ่น เรียนรู้จากญี่ปุ่นมาส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งคือ สิ่งที่สามารถทำได้เองตอนนี้คือเรื่อง QC และ QA ต่างๆ เรามีโรงงานด้านล่าง 1 โรง ใช้บุคลากรร่วมกัน พนักงานประจำโรงงานด้านบนมีอยู่ 5 คน โรงงานข้างบนก็มีพนักงานที่เป็นคนในพื้นที่ มีประกันสังคม ค่าอาหารกลางวัน โบนัสให้ ค่าจ้างวันละ 300 บาท เลี้ยงอาหารกลางวัน 1 มื้อ ถ้าเป็นคนงานชาวเขาหรือพม่า ก็จะมีที่พักให้ ค่าน้ำ ค่าไฟฟรี เจ็บป่วยก็ดูแลรักษาให้

อาจารย์ทำนอง ดาศรี

ส่วนการวิจัยและพัฒนาของไร่บุญรอดอยู่ที่ไหน

ตอบ วิจัยและพัฒนาของไร่บุญรอดยังไม่โดดเด่นนัก ถ้ามีปัญหาอะไร ก็พยายามแก้ไขปัญหาด้วยวิธีของแต่ละโครงการ อีกส่วนหนึ่งคือมีงานวิจัยระหว่างหน่วยงานที่ทางไร่มีความร่วมมือกันอยู่ ที่เด่นชัดคือเรื่องชากับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มีบางสถาบันที่เข้ามาติดต่อหลังจากทำวิจัยเรื่องชา ตอนนี้ยังอยู่ในกระบวนการอยู่

4. คนญี่ปุ่นมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้คนไทยบ้างหรือไม่

ตอบ มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เต็ม 100% เพราะเหมือนกับบริษัทในเครือ ถ้าเราขายไม่ได้ เขาก็ขายไม่ได้

คุณพิชญ์ภูรี จันทรกมล

ในชากุหลาบ มีการควบคุมกลีบกุหลาบไม่ให้มีสารเคมีได้อย่างไร โดยเฉพาะจาก Supplier

ตอบ ในชาแปรรูปตัวนี้ ทางบริษัทจะมี Supplier ของตัวเอง ในส่วนดอกกุหลาบ ก็ต้องขอใบรับรองคุณภาพ (Certificate) จาก Supplier นอกจากนี้ต้องส่งทดสอบของทางบริษัทเองก่อนและส่งไปตรวจสอบที่หน่วยงานภายนอก

5. คนงานเป็นคนในพื้นที่หรือไม่

ตอบ แรงงานเกือบทั้งหมดเป็นคนในพื้นที่ อาจจะมีมาจากจังหวัดใกล้เคียงในโซนภาคเหนือด้วย การแปรรูปเป็นจุดเด่น ไอศกรีมมีการทดลองมาพอสมควร นอกจากนี้ยังมีแรงงานพม่าซึ่งได้รับการดูแลอย่างดีเท่าเทียมกับคนงานไทย ได้มีการส่งแรงงานไปคลอดลูก 8 คน ส่วนค่าแรงก็ให้สูงกว่าที่อื่นในระดับพอสมควร

6. ทางบริษัทมีการเกษตรที่เหมือนหรือแตกต่างจากโครงการหลวงอย่างไร การท่องเที่ยวที่นี่แตกต่างจากที่อื่นอย่างไร

ตอบ ไร่บุญรอดกำเนิดมาจากข้าวบาร์เลย์ มีปัญหาต้นทุนเมื่อเทียบกับการนำเข้า เพราะข้าวบาร์เลย์ไม่ได้ปลูกในประเทศไทย เมื่อปลูกแล้ว ก็มีปัญหาปริมาณผลผลิต มีศัตรูพอสมควร ตัวนี้ก็ถือเป็นเอกลักษณ์ ต่อมาคิดว่าไม่ใช่แล้ว ตอนที่มาทำครั้งแรกสุด มีความเชื่อมั่นในข้าวบาร์เลย์สูงมาก เพราะที่สารภีตั้งโรงงานมอลต์ มีการส่งเสริมให้ปลูกมาก พอข้าวบาร์เลย์เข้าโรงงานมอลต์ ก็เข้าสู่อุตสาหกรรมเบียร์ หลังจากนั้นก็ไปดูอย่างอื่น สมัยแรกๆ คุณปิยะ ภิรมย์ภักดีคิดสารพัดเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นฟาร์มโคนม สารพัดสัตว์เศรษฐกิจและพืช แต่มีปัญหาการแข่งขันด้านราคา ต่อมาจึงให้ความสนใจด้านการท่องเที่ยว ซึ่งพยายามคิดเองค่อนข้างมาก และไปดูที่ต่างๆ ฝ่ายบริหารตัดสินใจว่า อะไรสามารถตอบสนองนักท่องเที่ยวได้ จึงสร้างนโยบายตอบสนอง อีกเรื่องคือการมีรายได้ที่พอจ่าย ในอนาคต ค่าใช้จ่ายไม่มาก สุดท้ายก็คือ ประทับใจของนักท่องเที่ยว สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดเชียงราย ประเทศและอาเซียน จากการดูแล Farm Festival มา 3 ปี มาเดือนละ 2 ครั้ง พบว่า เปลี่ยนแปลงเร็วมาก ตอนนี้ โครงสร้างหลักพัฒนาไปในระดับหนึ่งไปสู่รูปแบบของกิจกรรมต่างๆ ในด้านพืช มีส่วนที่เป็นเชิงวิจัยเบื้องต้น ยังไม่ออกมาชัดเจน จึงพยายามหาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ

7. มีเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาบ้างไหม

ตอบ ถ้าเป็นตัวที่เกี่ยวกับกระบวนการผลิต ไม่มีอะไรใหม่ แต่สิ่งที่ใหม่จริงๆคือ การหาพันธุ์พืชใหม่ๆ เข้ามา ตอนนี้มีการทดลองราสเบอร์รี่

8. ไร่บุญรอดมีการบริหารและพัฒนาทุนมนุษย์อย่างไร

ตอบ ที่นี่ใช้คำว่า โครงการ มีกิจกรรมต่างๆ แต่ละโครงการมีหัวหน้า มีผู้ช่วย และสุดท้ายต้องดูว่าแต่ละกิจกรรมใช้คนจำนวนเท่าไร แต่ละโครงการก็ต้องรับผิดชอบต้นทุนที่ตนเองใช้ ทุกปีต้องทำแผนงบประมาณค่าใช้จ่าย ค่าตอบแทน ผลตอบแทนไม่ได้มองว่าถ้าขาดทุนแล้วอยู่ไม่ได้ ดูความสำเร็จว่าสนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างไร ในเรื่องทุนมนุษย์ ทางฝ่ายบริหารให้ความสำคัญมากขึ้น ได้ทำให้ทุกโครงการเข้ามาพัฒนาในเรื่องการทำงานร่วมกัน ได้เคยจัดสัมมนาเรื่องการทำงานอย่างมีส่วนร่วม แผนปีหน้าก็จะพยายามพัฒนาในส่วนนี้ รวมถึงวิชาการทางด้านการเกษตร ได้มีการหารือว่าต้องการได้รับความรู้ด้านใดเพิ่มเติม พนักงานทุกโครงการจะเริ่มรู้จักคิดแล้วว่า มีวิสัยทัศน์ของไร่อย่างไรที่เป็นนโยบายมา แต่ละโครงการต้องไปดูว่าตนมีหน้าที่และพันธกิจอย่างไร ปีแรกก็ได้ทดลองทำแล้วคือให้คิดว่า สิ่งที่ได้ทำมีการเปลี่ยนแปลงอะไรที่ดีขึ้นบ้าง มีการส่งเสริมให้ไปศึกษาดูงานบ้าง

9.พันธกิจและวิสัยทัศน์ที่นี่คืออะไร

ตอบ วิสัยทัศน์คือเป็นแหล่งท่องเที่ยว ความสุขของนักท่องเที่ยว วิสัยทัศน์นี้ยังอยู่ในกระบวนการการหารือ พันธกิจจะมีการขยายความ ครอบคลุมด้านนักท่องเที่ยวและบุคลากร

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วันนี้เป็นวันที่มาเรียนนอกสถานที่ทั้งที่จังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย อยากให้ทุกท่านได้มีประสบการณ์นอกห้องเรียน ช่วงแรกเป็นการชมสวนดอกไม้ แล้วมาฟังบรรยายในห้องนี้ มันจะประยุกต์ใช้ไปกระทบตัวเรา และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์อย่างไร ตอนที่พวกเรามาที่นี่ครั้งแรก ก็ได้นำทฤษฎี 3V's มาใช้ ช่วงแรก บริษัทประสบภาวะวิกฤติเพราะเป็นบริษัทเบียร์จึงตั้งใจปลูกวัตถุดิบ เมื่อไม่ประสบความสำเร้จ ก็ได้ใช้วิกฤติเป็นโอกาส V ตัวที่ 1 คือเพิ่มมูลค่าทางการเกษตร ไม่พึ่งข้าวบาร์เลย์แล้ว แต่ขยายวงออกไปยังชาและอีกหลายอย่าง ที่น่าสนใจก็คือมูลค่าแบบ Value Creation กระเด้งไปทางการท่องเที่ยว ถ้ามองไปยังคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก็มีการกระเด้งไปสู่ส่วนอื่นๆด้วย Value Diversity คือเรามีชุมชน นักวิชาการ ใช้เป็นแปลงทดลอง ในอนาคตอาจจะเชื่อมโยงกับโครงการหลวง คือความหลากหลายของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน Value Diversity อีกอย่างหนึ่งคือมีนักท่องเที่ยวมาจากต่างประเทศ ที่นี่ใกล้เมืองเชียงรายมาก โอกาสที่จะประชาสัมพันธ์ภาคของการท่องเที่ยวหรือการท่องเที่ยวเชิงเกษตร อาหารการกิน Value Diversity อาจจะกระเด้งไปมหาศาลคือมีเรื่องอาเซียนเข้ามาเกี่ยวข้อง ควรมีการวางแผนระยะยาว ในอนาคตจะมี Value Diversity เรื่องอื่นกระเด้งเข้ามา เช่นเรื่องสัมมนาก็ทำได้ แต่ต้องวางแผนให้ดี เช่นสถาปัตยกรรม การจัดสถานที่ ทุกวันนี้มันขึ้นอยู่กับ Learning Environment บรรยากาศการเรียนรู้สำคัญ ควรออกแบบตั้งแต่จุดเริ่มต้น แล้วต้องไปหาคนที่ให้ความสำคัญด้านการเรียนรู้ ควรมีการจัดค่ายเยาวชน ปลูกฝังตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษา แล้ววันหนึ่งเขาจะเป็นลูกค้าที่ยิ่งใหญ่ อาจจะมี Diversity อีกแนวหนึ่งคือนำคนหลายๆกลุ่มมาหาความรู้ร่วมกัน 3V's เกิดได้จากวิกฤติและโอกาส คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มี 3V's ได้โดยกระเด้งมาจากบางวิกฤติด้วย

รศ.นพ.สุธรรม ปิ่นเจริญ คณบดี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

สิงห์เป็นแบรนด์เข้มแข็งประจำชาติ มีชื่อเสียงไปทั่วโลก การรักษาแบรนด์มีกิจกรรมที่หลากหลาย สิงห์ได้พิสูจน์วิสัยทัศน์ผู้นำ การทำงานพื่อคนอื่นและการบริหารจัดการที่ดี ขอให้สิงห์อยู่คู่ประเทศไทยไปอีกนานๆและเป็นต้นแบบให้องค์กรต่างๆในประเทศต่อไปด้วย

สรุปการบรรยายโดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

การศึกษาดูงาน ณ ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน จังหวัดเชียงราย

วันที่ 12 ธันวาคม 2557

ช่วงที่ 1 กล่าวแนะนำศูนย์ โดย พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ท่านว.วชิรเมธี)

ที่นี่คือศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวันหรือเรียกสั้นๆว่า ไร่เชิญตะวัน ที่นี่ทำ 3 เรื่อง

1.การศึกษา

2.เศรษฐกิจ

3.จิตวิญญาณ

ในด้านการศึกษา ศูนย์วิปัสสนาแห่งนี้มีเป้าหมายเพื่อให้การศึกษาแก่คนทั้งโลก เวลาที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมนั้น พระองค์ไม่ได้แสดงธรรมสำหรับชาวพุทธ แต่พวกเราชาวไทยเข้าใจผิดว่าพระพุทธเจ้าเป็นของพวกเรา พุทธศาสนาเป็นของคนไทย พระพุทธเจ้าเป็นคนอินเดีย แต่เวลาท่านเป็นพระพุทธเจ้า ท่านเป็นคนของชาวโลก เพราะฉะนั้น สัจธรรมจึงเป็นสัจธรรมของคนทั้งโลก ถ้าความรู้เป็นสิ่งสากล เกิดกับคนทั้งโลก ทางดับทุกข์ก็ต้องสากลด้วย คือใช้ได้กับคนทั้งโลก ดังนั้นที่นี่จึงมุ่งนำธรรมะเข้าสู่ประชาคมโลก ไม่ใช่แค่อาเซียน ธรรมะมีประโยชน์มาก ไม่ใช่แค่เฉพาะกับคนไทยแต่กับคนทั้งโลก เจตนารมณ์ของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธีคือทำให้ที่นี่เป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประชาคมโลก รูปแบบที่เลือกใช้คือทำที่นี่เป็นอุทยานทางปัญญา เวลามาที่นี่จึงมีแหล่งเรียนรู้มากมาย

ในวันที่ 12 ธันวาคม 2557 มีพิธีเปิดหอศิลป์ ว.วชิรเมธี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานสร้างคน กลางสนามใกล้บริเวณที่บรรยายอยู่นี้เป็นโซนการศึกษา เป็นปริศนาธรรม และกับดักทางปัญญาทำให้ฉลาด ตรงกลางสนามมีเณรน้อย 4 องค์ แต่ละองค์ปิดตา ปิดหู ปิดปาก เปิดหัวใจสีชมพู ล่าสุด ที่นี่มีรูปลินคอล์นขี่ม้าอ่านหนังสือธรรมะติดปีก นี่คือประธานาธิบดีที่สร้างตัวจากการอ่าน เขาเรียนหนังสือ 11 เดือน แต่รักการอ่านหนังสือ หนังสือเล่มโปรดเล่มเดียวที่พบในบ้านเขาคือประวัติจอร์จ วอชิงตัน เขาอ่านประวัติจอร์จ วอชิงตัน แม้ฝนตกมารดหนังสือก็ยังอ่าน นำไปคืนเจ้าของ เขาไม่รับ จึงถามว่าจะชดใช้อย่างไร เขาจึงไปรับใช้จอร์จ วอชิงตัน และหนังสือเล่มนั้นจึงเป็นที่มาของแรงบันดาลใจให้เขาเป็นประธานาธิบดี ต่อมาเขาก็เป็นแรงบันดาลใจให้โอบามาเป็นประธานาธิบดี เจริญรอยตามทุกอย่าง จะเห็นได้ว่า แรงบันดาลใจสำคัญกว่าคำสอน

ถ้าคนไทยรักการอ่าน ประเทศไทยก็ยังมีความหวัง แต่ผู้นำไทยที่รักการอ่านหายาก

หอศิลป์ ว.วชิรเมธี คือมิตินามธรรมให้ใฝ่เรียน ใฝ่รู้ที่เป็น Art Gallery กลางแจ้งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

โซน 1 การศึกษา หลักการคือ เมื่อมาไร่เชิญตะวันแล้ว ต้องไม่โง่เท่าเดิม มีปริศนาธรรมให้เรียนรู้มาก

โซน 2 เศรษฐกิจ ที่นี่มีมหาวิชชาลัยพุทธเศรษฐศาสตร์เป็นสถาบันการศึกษาทางเลือก

มหาวิชชาลัยพุทธเศรษฐศาสตร์แบ่งเป็น 3 โรงเรียนเล็กๆคือ

1.ชีวกานุสรณ์ เรียนเกี่ยวกับสมุนไพร โยคะ นวดแผนไทย

2.ชาวนาพุทธเศรษฐศาสตร์ ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์วิถีพุทธทุกรูปแบบ ปีนี้ เชียงรายจะประกาศตัวเป็นจังหวัดอินทรีย์แห่งแรกของประเทศไทย มหาวิทยาลัยแม่โจ้มาช่วยงานที่นี่ เป็นมหาวิทยาลัยอินทรีย์แห่งแรกของไทย ชาวนาเรียนพุทธเศรษฐศาสตร์ มีนักข่าวมาสัมภาษณ์และให้ฉายาพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธีเป็น Organic Monk ธรรมะไม่มีอิทธิปาฏิหาริย์ ไม่เน้นเครื่องรางของขลังใดๆทั้งสิ้น เป็นสิ่งที่คนทั้งโลกใช้ปัญญาพิจารณาได้ว่าอะไรดี

3.ล่าสุดเพิ่งเปิดโรงคัดแยกขยะ สอนเรื่องการจัดการขยะ เรียกว่า พุทธนิเวศ นำแนวคิดทางพุทธมาแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ได้แก่ พุทธเศรษฐศาสตร์ พุทธเกษตร

หลักการทำงาน

1. ไม่โง่

2. ไม่โง่

3. ถ้ารู้สึกว่าโง่ กลับไปดูข้อ 1 และ 2

ต้องดีที่สุดแล้วจึงทำ เรามีเวลาจำกัด ไม่ควรย้ำคิด ย้ำทำ เสียเวลาไปกับสิ่งที่ไร้สาระ

ในด้านจิตวิญญาณ มีการจัดคอร์สภาวนาเดือนละ 2 ครั้งสำหรับชาวไทยและชาวต่างชาติ

หลักสูตรมีให้เลือกตั้งแต่

1.หลักสูตรครึ่งวัน สำหรับ Super CEO

2.หลักสูตร 1 วัน 1 คืน สำหรับ CEO ระดับกลาง เช่น วปอ.

3.หลักสูตร 3 วัน ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์

4.หลักสูตร 4 วัน สำหรับประชาชนทั่วไป

5.หลักสูตร 7 วัน สำหรับชาวต่างชาติ

6.หลักสูตร 9 วัน สำหรับนักบวช

ตอนหลัง ก็มีชาวต่างชาติมาภาวนาที่นี่เพิ่มขึ้น

ในปี 2559 จะมีหลักสูตรภาวนาพิเศษสำหรับดารา มีแบรดพิตและโอปราห์ วินฟรีย์มาร่วมด้วย

ทั้งหมดนี้คืองาน 3 ส่วนของไร่เชิญตะวัน

1.การศึกษา เผยแผ่พระพุทธศาสนาสายตรง ห้ามทรงเจ้าเข้าผี ไม่โง่เท่าเดิม

2.เศรษฐกิจ ส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามปรัชญาพุทธเศรษฐศาสตร์

3.จิตใจคือ ส่งเสริมให้คนฝึกสมาธิภาวนา เพราะเชื่อมั่นว่า สันติส่วนบุคคลคือรากฐานสันติภาพสากลของคนทั้งโลก หนึ่งคนที่มีสติก็ทำให้สังคมมีสันติได้ สันติจึงมาจากสติ

ช่วงที่ 2 ร่วมชมการบันทึกเทปสัมภาษณ์ท่าน ว.วชิรเมธี ในรายการมองโลกอย่างวิกรม ตอน มองธรรม

คุณวิกรม กรมดิษฐ์

วันนี้เป็นการสนทนาเกี่ยวกับหนังสือเรื่อง คาถาชีวิต ซึ่งเกิดมาจากตัวตนของผมซึ่งชีวิตแต่ละวันในอดีต ปละปัจจุบันประสบกับอะไร ตกผลึก เกาะกันเป็นก้อน ออกมาเป็นประโยชน์ เล่มแรกได้เขียนหนังสือเรื่อง ผมจะเป็นคนดี

ผมจบป.4 กราบพ่อเพื่อขอเรียนจนถึงป.7 สะท้อนความพยายามอยากเรียน พ่อบอกให้เรียนพาณิชย์ที่ไต้หวัน แต่ผมไปเรียนด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่หาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน เป็นการเรียนก่อนรู้ และรู้ก่อนทำ สะท้อนสิ่งที่เคยเห็นและปฏิบัติ จดประโยคที่เป็นประโยชน์มาทำเป็นคาถาชีวิต

ท่าน ว.วชิรเมธี พูดเกี่ยวกับปรัชญาที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ จึงนิมนต์ท่านมาร่วมทำหนังสือ มี 60 คาถา เน้นเก่งแต่ไม่โกง สำหรับหนังสือเรื่อง คาถาชีวิต 2 มีที่มาคือ เหตุการณ์เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ท่าน ว.วชิรเมธีตอบรับนิมนต์ทำหนังสือร่วมกัน หนังสือเรื่อง คาถาชีวิต 2 ขายทะลุล้านเล่มภายในระยะเวลา 4 สัปดาห์

ท่าน ว.วชิรเมธี

หนังสือขายดีเพราะราคาถูก ทำไมจึงทำหนังสือขายในราคาถูกมากๆ

คุณวิกรม กรมดิษฐ์

เมื่อ 4 ปีที่แล้วไปราชประสงค์ ขอทานสวัสดีผม ผมก็สวัสดีแล้วก็เดินผ่านไป เขาตะโกนใส่ผม บอกว่า ซื้อหนังสือผม เคยเห็นในทีวีจึงซื้อ เขาไม่รู้สึกโชคร้ายเพราะติดหนังสือเล่มนั้นไปทุกแห่ง เขาอ่านแล้วไม่เป็นทุกข์ เขามอง่าเขาโชคดีที่ไม่ถูกพ่อกดดันแบบผม ผมจึงรู้สึกอยากแบ่งปัน เคยบริจาคเงินให้วัดแต่ไม่ทราบว่า เขานำเงินไปทำอะไร

ท่าน ว.วชิรเมธี

เป็นเพราะไปผิดวัด

คุณวิกรม กรมดิษฐ์

ผมจึงทำหนังสือขายเล่มละ 20 บาท คนยากจนก็แบ่งปันความรู้ให้ผมได้ จึงทำหนังสือแบ่งปันความคิดและประสบการณ์

ท่าน ว.วชิรเมธี

เคยมีโยมบ่นว่าหนังสือของพระอาจารย์แพง จึงได้ชี้แจงว่า อยากให้ธรรมะเข้าถึงทุกคน เราไม่มีวัตถุดิบเพราะทุกอย่างมีต้นทุน ถ้าทำให้ถูกลงได้ จนใครๆก็เข้าถึงได้ ก็ร่วมมือกับคนนนั้น เกิดเป็นหนังสือเล่มละ 20 บาท

คุณวิกรม กรมดิษฐ์

อ่อนน้อม แต่ไม่อ่อนแอ คนไทยอ่อนน้อม แต่คนทั้งโลกไม่รังแกคนไทย คนไทยยิ้ม ให้ผลไม้ มีน้ำใจต่อฝรั่ง นี่คือเอกลักษณ์ไทย เป็นสิ่งที่คนไทยควรรู้จักตนและรักษาไว้ ประเทศไทยที่ยิ่งใหญ่มาก มีดินแดนมาจากครึ่งหนึ่งของมาเลเซียและลาว 1 ใน 3 ของพม่า และครึ่งหนึ่งของกัมพูชาก็เป็นของไทย ประเทศไทยตอนนี้ลดลงเหลือ 40% เวียดนามจะแซงหน้า

ท่าน ว.วชิรเมธี

ประเทศไทยติดอันดับคอรัปชั่นในอันดับต้นๆ การบริโภคสุราก็อยู่ในอันดับต้นๆ การศึกษาก็อยู่อันดับหนึ่งนับจากท้าย ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น

คุณวิกรม กรมดิษฐ์

1.การศึกษาไทยไม่ทำให้คนไทยเข้าใจอะไร คนไทยคิดว่า ประเทศไทยคือทั้งโลก ถ้าคนไทยรู้จักประเทศอื่นอีกและรางวัลโนเบล ก็จะดี แต่ประเทศอื่นไม่รู้จักประเทศไทย คิดว่าเป็นไต้หวัน

ท่าน ว.วชิรเมธี

เป็นไทเป เพราะทำธุรกิจต่างๆต้องจ่ายเงินเพื่ออำนวยความสะดวก

คุณวิกรม กรมดิษฐ์

คนไทยยังไม่มีความเข้าใจโลก

2.คนไทยไม่เข้าใจว่าตนเกิดมาเพื่ออะไร เราได้เท่ากับที่หนึ่ง แต่สิ่งแวดล้อมต้องได้ คนทำงานและคนที่อยู่รอบๆเราต้องไม่เสียหาย

จากการทำงานที่อมตะ 25 ปี ใช้พื้นที่ 100 กว่าตารางกิโลเมตร พัฒนาเวียดนามคิดเป็น 40% ของ GDP เวียดนาม ไม่ใช่เรารวยคนเดียว อาจไปตั้งวัดใหม่ให้เขาได้ด้วย

ท่าน ว.วชิรเมธี

คิดวัดใหม่ได้ แต่เงินไม่มี

คุณวิกรม กรมดิษฐ์

การทำอะไร ทุกคนต้องได้ประโยชน์ แต่คนไทยเห็นแก่ตัว

3.วิสัยทัศน์ คนไทยชอบทำงานวันต่อวัน ไม่มีการวางแผนรายปี วุ่นตลอด ทำให้ต้นทุนเราสูง ไม่สามารถเป็นมหาอำนาจได้แบบบรรพบุรุษ ต่างจากประเทศที่เจริญแล้วจะวางแผนเป็นปี

ประเทศไทยเก่ง ผลิตสินค้าได้มูลค่ามาก

ในอมตะ สะอาด เป็นระเบียบ ที่คือเป็นคนไทยเท่านั้น ผมต้องเจียมตัว ถัดแต่บริหารพื้นที่ระหว่าง 100-1,000 ตารางกิโลเมตร กำลังสร้างเมืองของผม มีวัดด้วย จะทำพื้นที่สีเขียวให้ ผมมีจิตวิญญาณแห่งการทำดี ก็ดีไป อมตะจะโต 1,000 ตารางกิโลเมตร ตอนนี้เขียนหนังสือปีละ 2 เล่ม

ผมประทับใจท่าน ว.วชิรเมธี ตอนมา พื้นที่เล็ก ตอนนี้ เป็นนิคมเล็กๆ มีถนน การทำผังเมืองต้องทำเป็น Loop เวลาเกิดวิกฤติ จะได้หนีได้ ประทับใจการปลูกต้นไม้และการรักษาสิ่งแวดล้อม

ผมเป็นคนห่างวัด ผมเคยเรียนที่วัดท่าเรือ นอนในวัด วัดที่นี่เรียบง่าย ธรรมดาคือธรรมชาติ โดยเฉพาะเจ้าอาวาสไม่มีสัก ประคำ ไม่มีเครื่องรางของขลัง การปฏิบัติธรรมของเจ้าอาวาส ทำให้ผมกลับมาอีก เข้าใจว่า ท่าน ว.วชิรเมธี ต้องการถ่ายทอดพระธรรมอย่างแท้จริง ผมเคยคุยกับหลวงพ่อปัญญานันทภิกขูแล้วเห็นว่าดี ผมอ่านคำคมท่านพุทธทาส แล้วก็มาหาท่าน ว.วชิรเมธี ผมไม่เคยไปพูดที่วัดใด แต่มาที่นี่ ทุกท่านมาถูกวัด ที่นี่คือความยั่งยืน ทำให้คนเคารพเลื่อมใสพระพุทธศาสนา ท่าน ว.วชิรเมธีกำลังจะขยายความคิดพระพุทธเจ้าไป 26 แห่ง

ท่าน ว.วชิรเมธี

ตอนนี้มีศูนย์เผยแผ่ธรรมะไปให้คนต่างชาติ พอเรียนรู้ธรรมะ วันสุดท้ายเรียนรู้จิตวิญญาณการเป็นพระโพธิสัตว์ ก็คือ ความรับผิดชอบต่อสังคม ในด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ถ้าปลูกข้าวแล้วใส่สารเคมี ส่งไปขายต่างประเทศ เป็นการทำลายชื่อเสียงข้าว ถ้าทำเป็นข้าวอินทรีย์ แล้วส่งไปขายทั่วโลก ก็รักษาชื่อเสียงประเทศได้แล้ว ความรับผิดชอบต่อสังคมสามารถทำได้ง่ายๆ เช่นเริ่มต้นด้วยการล้างจานให้สะอาด เพราะถ้าล้างไม่สะอาด ต่อไปมันจะวนกลับมาเป็นของคุณ พอเน้นเรียนรู้จิตวิญญาณการเป็นพระโพธิสัตว์อย่างนี้ หลายคนที่มาเรียนรู้ธรรมะที่นี่ในระยะเวล่า 5 ปีที่ผ่านมา กลับไปก็เป็นอาสาสมัคร วันนี้พระอาจารย์มีอาสาสมัครอยู่ใน 26 ประเทศ จึงได้ทำนิตยสาร We are one โลกทั้งผองคือพี่น้องกันขึ้นมาเชื่อมโยงเครือข่าย มีชาวต่างชาติมาเรียนธรรมะ ขอแปลธรรมะเป็นภาษาอังกฤษเพราะเห็นคุณค่าธรรมะ ผู้กำกับชาวฝรั่งเศสมาเข้าคอร์สภาวนานำแนวคิดทางธรรมมาทำหนัง ผู้กำกับหนังที่ทำงานกับซุปเปอร์สตาร์จีนอย่างเจ็ทลี เฉินหลง ฟั่นปิงปิง มาเข้าคอร์สภาวนากลับไปพร้อมแรงบันดาลใจว่า จะทำอย่างไรให้คนรุ่นให่ของจีนสนใจ เพราะธรรมะไม่ใช่เรื่องของชาวพุทธแต่เป็นศิลปะของการดำรงชีวิต ปีนี้ เจ้าหน้าที่องค์การสหประชาชาติ สำนักข่าวรอยเตอร์มาที่นี่ Google นัดหยุดงาน 1 วันเพื่อฝึกเจริญสติ ทุกวันศุกร์ เขาจะเชิญคนไปพูด พระอาจารย์ได้ไปดูงานที่ Apple, Microsoft, Boeing, บ้าน Starbucks ไปดูว่าทำไมเขาคิด iPhone แล้วขายได้ดี

คุณวิกรม กรมดิษฐ์

มีพระกี่รูปที่ทำให้ชาวต่างชาติเข้าใจวัฒนธรรมความคิดที่ดีงามอย่างพระพุทธศาสนา

ท่าน ว.วชิรเมธี

ประเทศไทยต้องให้คนอื่นมาตื่นคนของตนเอง จึงสนใจสิ่งที่ดีที่ตนมี เราหลงตัวเองว่าดีที่สุด เป็นคนมีบุญมากที่สุด แต่ทำไมยุ่งที่สุด น่าสนใจว่าทำไมนวัตกรรมที่ดีที่สุดเริ่มจากอเมริกา ทำไมคนไทยไม่สามารถสร้างนวัตกรรมชั้นดีให้กับโลกและไปไม่ถึงรางวัลโนเบล สิ่งที่ไทยสร้างและคิดว่าเป็นนวัตกรรมคือความขัดแย้งตลอดมา

คุณวิกรม กรมดิษฐ์

เรามี AMATA Writer Award ด้วย

ท่าน ว.วชิรเมธี

ถ้าการศึกษาไม่เข้มแข็ง ก็ยากที่คนไทยจะรู้เท่าทันโลก ปัญหาการศึกษาไทยเป็นฐานสำคัญที่สุด ทำให้คนไทยไม่โดเด่นนอกประเทศ คนไทยเรียนหนังสือมุ่งเน้นแต่ปริญญา (ปริญญานิยม) ต้องยุบมหาวิทยาลัย เพราะครูเป็นครูที่ไม่เคยฝึกสอนถูกต้อง ระบบภูมิปัญยาประเทศไม่เข้มแข็ง ปีพ.ศ. 2554 มีน้ำท่วมใหญ่ ปีพ.ศ. 2555 มีข่าวลือว่าเขื่อนภูมิพลแตก ทุกอย่างพัง นักวิชาการชลประทาน วิศวกรพูดว่า เขื่อนไม่พัง คนไม่เชื่อ พ่อเด็กปลาบู่พูดว่า เขื่อนพัง คนเชื่อ คนไทยชอบฟังข่าวลือมากกว่านักวิชาการ ปัญหาของประเทศไม่เคยได้รับการอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ คิดเชิงวิเคราะห์ เคราะห์จะหาย ควรสะเดาความโง่ออกจากใจ ถ้าการศึกษาแกร่ง ประเทศรุ่ง ตอนที่เกิดสุริยุปราคา เด็กในต่างประเทศ มาชมนิทรรศการสุริยุปราคาว่าเกิดจากอะไร แต่คนไทยเน้นบูชาของดำ การศึกษาไม่ดีพอ ก็สะท้อนออกมาในคุณภาพคน คนไทยจ่ายเงินติดสินบนจนกลายเป็นวัฒนธรรมไทย

2. คนไทยทำอะไรไม่ค่อยทำจริง ทำแค่พอผ่าน

3. ทะเลาะกันเอง คนดีเด่นถูกดึง แต่ในต่างประเทศ เขาสนับสนุนคนดีเด่น คนไทยมีคำสอนว่า ทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย

คุณวิกรม กรมดิษฐ์

ผมถูกกล่าวหาว่า ทำดีเพราะมีเป้าหมายจะไปสู่การเมือง ดร.จิรายุถามผมเกี่ยวกับหนังสือ ผมจะเป็นคนดี ท่านถามว่า จริงหรือ ท่านบอกว่า ผมเป็นคนพอเพียงโดยธรรมชาติ และขอหนังสทอผมมาทำเป็นละคร ผมเกือบจะได้เป็นประธานการนิคมแห่งประเทศไทยแล้ว ทำดีต้องไม่มีเงื่อนไขผลประโยชน์ แต่ต้องมีความสุข

ท่าน ว.วชิรเมธี

อะไรที่ทำให้คนไทยมองคนทำดีเป็นเชิงลบ

คุณวิกรม กรมดิษฐ์

การศึกษาแบ่งเป็น

1.การศึกษาที่ครอบครัว 25%

2.การศึกษาที่โรงเรียน ครูและเพื่อน 25%

3.สื่อในสังคมที่เหลือ สื่อขายดีเมื่อมีข่าวด้านลบไม่สร้างสรรค์ สื่ที่พูดสิ่งสร้างสรรค์มีน้อย ต้องควบคุมสื่อ ต้องให้สื่อพัฒนาสิ่งที่มีสาระ

ท่าน ว.วชิรเมธี

เราจะออกจากการทะเลาะดันต้องแก้ที่สิ่งเหล่านี้

1.คุณภาพการศึกษา เป็นต้นน้ำ ก็ยากที่จะแก้เร่องอื่น ต่างประเทศกำหนดว่าต้องมีใบอนุญาตจึงจะล่าสัตว์ได้ ประเทศอื่นมีจิตสำนึกเคารพกฎหมาย

2.ประชาธิปไตยไม่ถึงเนื้อหา

3.ช่องว่างรายได้

4.ความยากจน ขาดทักษะการทำมาหากิน เน้นเรียนสายสามัญ ไม่ส่งเสริมการเรียนอาชีวศึกษา

5.ค่านิยมสังคมอุปถัมภ์ กฎหมายไม่ศักดิ์สิทธิ์

6.เน้นความเชื่อมากกว่าความรู้ จึงถูกยุยงได้ง่าย

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อดูข่าวโครงการ


ที่มา: รายการ สู่..ประชาคมอาเซียน. ตอน : ส่งท้ายปีเก่า : อีกก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน

ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ NBT เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2557

สรุปการบรรยายโดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

การศึกษาดูงาน ณ โรงพยาบาลสารภี จังหวัดเชียงใหม่

วันที่ 11 ธันวาคม 2557

การนำเสนอ โดย รศ.วิลาวัลย์ เสนารักษ์

เมื่อก่อนทำงานเป็นคณบดี คณะพยาบาลศาสตร์อยู่ 8 ปี แล้วเกษียณออกมาชวนคุณหมอจรัสมาช่วยกันทำงาน

เรามีเป้าหมายอยู่ว่า เมื่อก่อนนี้ เราอยากจะทำงาน เราก็ทำอยู่ในโรงพยาบาล ไม่รู้ปัญหาข้างนอก ไม่รู้ชุมชน อันที่จริงแล้ว ชุมชนไม่ได้มีแค่ปัญหาแต่ก็มีศักยภาพด้วย ซึ่งเราไม่เคยรู้ เราเคยไปประเมินปัญหาชุมชนตอนพานักศึกษาลงพื้นที่ แต่ไม่เคยบอกให้นักศึกษาไปดูศักยภาพที่ดีๆของชุมชน จึงคิดที่จะทำงานให้ชุมชน ตอนนั้นบริการปฐมภูมิเป็นบริการที่สนใจ PCU เกิดขึ้น นักศึกษาก็ยังไม่มีสถานที่ฝึกงานที่เป็นต้นแบบที่ดี ปัญหาคือประชาชนเจ็บป่วยต้องมาที่โรงพยาบาลซึ่งมีคิวแน่นตลอด คนไข้ติดบ้าน ติดเตียงก็สูงขึ้น มีปัญหาสังคม สิ่งแวดล้อม ยาเสพติด อาชญากรรม อุบัติเหตุและปัญหาหลายๆอย่าง สุดท้าย เราต้องทำงานหนักขึ้น เหมือนกับไม่ได้แก้ปัญหาที่ต้นตอของปัญหา จึงคิดที่จะพัฒนารูปแบบเป็น Community Practice ให้เป็นที่เรียนรู้ของทุกคน ไม่ใช่แค่นักศึกษา แต่รวมถึงประชาชนในพื้นที่ด้วย จึงต้องการพัฒนาระบบปฐมภูมิ และระบบสุขภาพชุมชนที่เป็นแพทย์แผนไทย แพทย์ทางเลือก ที่ยังไม่ได้บูรณาการกับระบบ แพทย์แผนปัจจุบันเองก็ไม่ค่อยยอมรับระบบสุขภาพชุมชนเพราะขาดวิทยาศาสตร์รับรอง ขาดหลักฐานที่อธิบายได้ ไม่ได้มาตรฐาน ทั้งๆที่ประชาชนใช้กันมาตลอดชีวิต จึงคิดบูรณาการสองระบบนี้เข้าด้วยกัน และพัฒนาคนเพื่อรองรับระบบ เมื่อคนได้รับการพัฒนาตั้งแต่ระดับพื้นที่จนถึงบุคลากรแล้ว ถ้าเขาสร้างนวัตกรรม เราจะนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้แล้วก็ขยายผล จึงได้ทำโครงการนี้เสนอไปที่สสส.เมื่อปีพ.ศ. 2555 ได้เริ่มทำงานเดือนกันยายน พ.ศ. 2555 ทำไปเป็นปีที่สอง เมื่อทำไปได้หนึ่งปี ยังไม่ถึงหนึ่งปีดี สสส.เสนอให้เราขยายไปอีก 50 อำเภอทั่วประเทศ ยังไม่ทันตั้งตัวเพราะคิดจะทำในพื้นที่เล็กๆ เพื่อคนส่วนใหญ่ นี่คือแนวคิดที่เราจะทำงานคือเริ่มด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม นำชุมชนมาเป็นตัวตั้ง แล้วใช้ KM เป็นตัวเคลื่อน เราคัดเลือกทีมงาน คัดเลือกพื้นที่ จัดระบบการทำงาน

ในการคัดเลือกพื้นที่ ก็มีการประชุมพื้นที่ก่อน อำเภอสารภีมี 12 ตำบล 106 หมู่บ้าน เราก็เล่าให้ทางพื้นที่ฟังว่า กำลังจะทำอะไร เราต้องการพื้นที่เข้ามาร่วมกับเราด้วยความสมัครใจ เมื่อประชุม 12 ตำบล ก็คาดว่า 6-8 ตำบลก็ถือว่าเป็นที่พอใจแล้ว พอเราขายฝัน พื้นที่สมัครใจคือทั้ง 12 ตำบล ช่วยให้เขาเกิดกำลังใจ

เวลาเข้าถึงคนในพื้นที่ต้องมีวิธีที่เหมาะสมคือ เราอยากจะเข้ามาร่วมกันทำงาน เรียนรู้ เป็นเจ้าของร่วมกัน มีการประชุมครั้งที่ 1 แล้วประชุมครั้งที่ 2 เกี่ยวกับเรื่องการเก็บข้อมูล ซึ่งแตกต่างไปจากเดิม ไม่ใช้กระดาษ แต่จะใช้ Application เนื่องจากอาจารย์วราภรณ์ทำเว็บเพจกลุ่ม 100 หลังคาเรือน เมื่อเสนอเสร็จ ก็ต้องพัฒนาเป็น Application ของไอแพด ไอดฟน และสมาร์ทโฟน ทั้งไอโอเอสและแอนดรอยด์ แล้วนำมาแสดงให้ชาวบ้านดูว่าสนใจหรือไม่ ถ้าสนใจต้องให้ความร่วมมือในการเก็บข้อมูล คนที่จะใช้ข้อมูลคือพื้นที่ ชาวบ้านสนใจ หลังจากนั้นจึงไปทำความเข้าใจกับทีมงานทุกตำบล มีการรับสมัครอาจารย์และนักวิจัยมาจากภาควิชาการพยาบาลชุมชนของคณะพยาบาลศาสตร์มีทั้งหมด 19 ท่าน ได้ทำความเข้าใจกับตำบลต่างๆว่ามีคณะทำงานแบ่งเป็น 3 ระดับคือกรรมการอำนวยการ กรรมการบริหารและคณะทำงานกลางและคณะทำงานตำบล ด้านสื่อมีคณะทำงาน 12 คณะประกอบด้วยอาจารย์ซึ่งเป็นผู้สนับสนุน อำนวยความสะดวก มีท้องถิ่น รพสต. เข้ามาช่วยทำงาน มีบุคลากรสาธารณสุขด้วย มีการพัฒนาเครื่องมือการเก็บข้อมูลเป็น Health Determinant แล้วพัฒนาต่อเป็น Application ซึ่งประกอบด้วยสิ่งหลักๆคือ ข้อมูลครอบครัว ข้อมูลบุคคล พิกัดที่ตั้งบ้านเชื่อมโยงกับ Google Street View และ Google Map มีการรายงานผล เวลาเก็บข้อมูล สสส.ไม่ได้ให้งบมา จึงไปขอความร่วมมือจากทรู ทรูก็สนับสนุน Signet Air time และ Google มาลาก Street View ให้ อำเภอสารภีเป็นอำเภอที่มี Street View ที่สมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย เราก็มีการไปเปิดตัวให้สสส.ที่กรุงเทพ แล้วหาคนเก็บข้อมูลซึ่งเป็นเยาวชน อสม. บุคลากร ผู้นำท้องถิ่นทั้งหมด 153 คนมาฝึกอบรม 1 วัน แล้วไปเก็บข้อมูล เมื่อเก็บข้อมูลเสร็จแล้ว ก็ต้องมีการคืนข้อมูล นายอำเภอสิทธิชัย สวัสดิแสนสนับสนุนดีมาก ท่านเป็นที่ปรึกษาของโครงการ ท่านสนใจโครงการเรามาก เรายังไปที่อำเภอแกลงด้วย ไปแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และท่านนำคนอำเภอแกลงมาดูงานที่อำเภอสารภีด้วย

เราคืนข้อมูลพื้นที่ให้กับทั้งหมด 400 กว่าคนที่มาร่วมประชุม พอเก็บข้อมูลเสร็จแล้ว เราก็คืนข้อมูลให้เขาว่า พื้นที่เขาเป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง มีปราชญ์เกษตร แพทย์แผนไทย หมอเมือง หมอเป่า เหมือนกับรู้ตนเอง รู้สถานะ รู้ต้นทุนในกระเป๋า แล้วก็กำหนดภาพอนาคตของเขาเองว่า เขาอยากไปที่ไหน อยากเห็นอะไรเกิดขึ้นกับอำเภอสารภีหรือกับตำบลของเขา หลังจากคืนข้อมูลระดับตำบลแล้ว ก็ไปคืนข้อมูลระดับพื้นที่ด้วย ในการคืนข้อมูลระดับตำบล ก็กำหนดภาพฝันของตำบล แล้ววางแผนปฏิบัติการ เมื่อมีการประชุมคืนข้อมูลระดับตำบล เกิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิด (ข่วงกำกึ๊ด) ต้องมีคนมาชวนคิดชวนคุยในข่วงกำกึ๊ด นำไปสู่การสร้างวิทยากรกระบวนการหรือกระบวนกร เป็น Facilitator ซึ่งพัฒนาตำบลละ 5 คน หลักสูตร 2 วัน ลงไปชวนคิดชวนคุยทำแผนสู่ภาพฝันทุกตำบล ภาพฝันแต่ละตำบลไม่เหมือนกัน แต่จะมีเหมือนกันอยู่ 2-3 ประเด็นเช่น ผู้สูงอายุ เกษตร ยาเสพติด ไข้เลือดออก ผู้ที่จะเป็นพี่เลี้ยงให้กระบวนกรก็ต้องได้รับการพัฒนาผ่านหลักสูตร Coaching แล้วก็มีการพัฒนานักวิจัยชุมชน ทำ People Research and Development แก้ปัญหาในท้องถิ่น ได้พัฒนาทักษะการสื่อสารสาธารณะให้ด้วย พัฒนาเครือข่ายผู้พิการ เกษตรอินทรีย์ ผู้สูงอายุ เยาวชน หมอเมือง เกิดเครือข่ายขึ้นมากมาย มีจักรยานวันอาทิตย์ งานศพปลอดเหล้า มีการพัฒนาศักยภาพ

อสม. ในการเยี่ยมบ้าน ดูแลผู้สูงอายุ มีเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ ซึ่งประกาศว่าขายผักปลอดสารพิษที่ใดวันไดบ้าง

ข้อดีในสารภีมี 3-4 อย่าง

1.มีระบบข้อมูลที่ดีคือ Application

2.มีกระบวนการมีส่วนร่วม ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น ชุมชนร่วมทำ ร่วมใช้ประโยชน์ ร่วมเป็นเจ้าของ

3.Homecare Application ซึ่งอาจารย์เอกณัฐกำลังทำ

4.Digital Disease Detection กำลังจะทำ เฝ้าระวังโรค ใช้อาการเป็นตัวตั้ง อาจจะให้คนรายงานเข้ามาว่ามีอาการที่ใดบ้าง เพื่อจะได้ทราบและหาทางป้องกันและควบคุมโรคได้ทันการ

นี่คือสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น เราได้พัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้อีกมาก ตำบลท่ากว้างตำบลเดียวมีถึง 12 ฐานเรียนรู้ เป้าหมายของโครงการคือ เมื่อจบโครงการ จะต้องมี 5 ฐาน แต่ตอนนี้ตำบลเดียวเกิดมี 12 ฐาน

สิ่งที่จะทำต่อไป จะเน้นสารภีแอพ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญ นอกจากนี้ต้องอาศัยกระบวนการเข้าถึงชุมชนให้ชุมชนมาเป็นเจ้าของเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญ ถ้าได้ข้อมูลแล้ว ก็ต้องนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ตอนนี้เกิดข่วงอำเภอเชื่อมเครือข่ายตำบลเพื่อทำประเด็นร่วมของอำเภอ มีการสัญจรข่วงอำเภอไปตามตำบลทุกภาค แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตำบลใดมีอะไรดีก็นำมาเรียนรู้ร่วมกัน มีเป้าหมายคือขยายไปถึง 51 อำเภอทั่วประเทศ ตอนนี้ทำไปได้ 48 อำเภอแล้วในปีที่ผ่านมา จังหวัดที่ทำแล้วได้แก่ สกลนคร จังหวัดภาคกลาง ภาคเหนือตอนล่างคือมหาวิทยาลัยนเรศวร มีภาคเหนือตอนล่าง 4 จังหวัด สปสช.เขต 4 จังหวัดระยอง มูลนิธิสุขภาพภาคใต้อีก 6 อำเภอ เชียงใหม่จะขยายไปครบทุกอำเภอเป็นเชียงใหม่โมเดล เป็นจังหวัดเดียวที่จะครบทุกอำเภอ

ในด้านความยั่งยืน ก็จะใช้องค์กรและสิ่งที่มีอยู่ เช่น สภาองค์กรชุมชน กองทุนวันละบาทเพื่อทำงานต่อจากนี้ไป สปสช.ก็จะสนับสนุนให้ใช้งบดำเนินการต่อ ส่วนพื้นที่ก็มีกองทุนเกษตรอินทรีย์ระดมทุนของเขาเอง โรงพยาบาลสารภีลงนาม MOU กับมหาวิทยาลัยนเรศวร จะไปที่สมุยด้วย มีหลายอำเภอไม่อยู่ในโครงการแต่สนใจจะมาร่วม เราก็จะไปด้วย อำเภอหาดใหญ่ยังไม่อยู่ในโครงการ คณะของอ่าวลึก 35 คนเพิ่งมาที่โรงพยาบาลสารภี ถ้าหากเรามีโอกาสไปช่วย เรายินดี

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

กลุ่มนี้เป็นผู้บริหารระดับกลางของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เราทำหลักสูตร 4 เดือน ผู้บริหารในห้องนี้ได้รับการปลูกฝัง Learning how to learn ผมได้พาพวกเขาไปทำ CSR ร่วมกัน รุ่น 1 ได้เคยไปศึกษาดูงานที่กสทช.และเคยคิดที่จะนำ Application ของไอทีทั้งหมดมาฝึกอสม.ภาคใต้ ขณะนี้กำลังหารือกัน เห็นด้วยกับท่านอาจารย์ว่า ในอนาคตข้างหน้า ถ้าเราไม่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Telemedicine ก็ไม่มีทางสำเร็จ ผู้บริหารในห้องนี้ก็พบปัญหาของผู้เข้ามารับบริการที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์มากมาย เรามีปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย และปัญหาอื่นๆอีกมาก โชคดีที่ทุกท่านเห็นคุณค่าของการเรียนรู้ ในอนาคตอยากให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และโรงพยาบาลสารภีได้ทำงานร่วมกัน โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ก็ต้อง Networking รู้จักอบจ. เหมือนที่โรงพยาบาลสารภีรู้จักคุณสิทธิชัย สวัสดิ์แสน นายอำเภอแกลง

ช่วงถาม-ตอบ

ถาม ขอให้เล่าประสบการณ์ตอนไปติดต่อ Google ว่าทำอย่างไรให้บริษัทระดับโลกหันมาสนใจอำเภอสารภี

ตอบ โรงพยาบาลสารภีประสานทรูซึ่งทำงานกับ Google เขาแนะนำ Google เราก็ไปติดต่อหารือกับเขา Google โทรมาหาเรา เราจึงอธิบายการทำงานของสารภี เขามาช่วยเราลาก Street View แล้ว ยังให้ทุนอาจารย์เอกรัฐไปนำเสนองานที่ฟลอริดา โดย Google ให้การสนับสนุน อาจารย์วิลาวัลย์ก็ไปซานฟรานซิสโกกับอาจารย์เอกรัฐ Google เป็นบริษัทใหญ่ที่เข้าถึงชุมชนและสังคม สงสัยอะไร ควรถามและก็จะได้ข้อมูล ตอนนี้ชื่ออำเภอทั้งหลายที่เราไปขยายผล เราส่งชื่อทั้งหมด 24 อำเภอในเชียงใหม่ให้เขาไปลากให้ครบ แต่เป็นไปไม่ได้ทุกที่มี 3G 4G ก็ต้องสำรองระบบ Offline ไว้บ้าง

ความร่วมมือกับ Google เป็นระบบ win-win ความร่วมมือกับทรูก็เป็นระบบ win-win เพราะทรูอยากรู้ศักยภาพเครือข่ายของเขา เราจะได้ใช้คำพูดว่า 3G 4G ทั่วไทยได้เต็มปากหรือไม่ เขาให้ซิมเรา เราก็เหมือนเป็น presenter ให้เขา ถ้าความร่วมมือได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ก็ยั่งยืน

การนำเสนอโดย ผศ.ดร. วราภรณ์ บุญเชียง

สารภีเฮลท์แอพ เป็นรูปต้นยาง 3 ต้นสัญลักษณ์อำเภอสารภี สารภีเฮลท์แอพทำร่วมกันโดยสสส. คณะพยาบาลศาสตร์และโรงพยาบาลสารภี โครงการของอาจารย์วิลาวัลย์เป็นโครงการใหญ่ แต่ส่วนสารภีเฮลท์แอพเป็นส่วนเล็กๆ ใน Phase 1 ของอาจารย์วิลาวัลย์ คือเป็นส่วนของ Situation Analysis ของวิจัยครั้งนี้

เวลาลงพื้นที่ชุมชน จะนำนักศึกษาไปด้วย มีการอิงทฤษฎีต่างๆโดยเฉพาะทฤษฎีทางการพยาบาล ในการลงพื้นที่แต่ละครั้ง นักศึกษาใช้แบบสอบถามไปรอบหนึ่งร่วมกับใช้ข้อมูลทุติยภูมิ จึงคิดว่า ถ้าใช้แบบสอบถามเหมือนเดิม และได้คำนวณแล้วว่า ทั่วอำเภอสารภีคิดเป็น 100% จะค่ากระดาษไปหลายแสนบาท ค่าพิมพ์ ค่าถ่ายเอกสาร ด้วย ยังไม่รวมถึงค่าคีย์ข้อมูล มีอยู่ 12 ตำบล ต้องทำงานอย่างหนัก แล้วต้องนำไปเข้า SPSS ซึ่งเสียเวลานาน ภาพสถานการณ์ต้องใช้เวลาหลายเดือนในการวิเคราะห์ คนในอำเภอสารภีมีประมาณ 40,000-50,000 คน จึงมาคิดรูปแบบใหม่ ชุมชนเป็นฐานทั้งหมดในการประเมินปัญหา รวมทุกอย่างเข้าไปด้วย สะท้อนออกมาในเรื่องเศรษฐกิจ จิตใจ ครอบครัว ชุมชน สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ แล้วใช้ทฤษฎี Nursing Process เข้ามาในการลงพื้นที่ชุมชน วงจร Nursing Process เริ่มจาก Community Assessment เป็นส่วนสำคัญมากที่จะทำให้ได้ข้อมูลมา จึงออกแบบ Assessment เป็น Community Analysis สรุปเป็นปัญหาของชุมชนเพื่อนำมาวางแผน ดำเนินงาน ประเมินผลต่อไป ในส่วนการวางแผน Implement ขณะนี้ ทำในระดับตำบลแล้วในหลายตำบล ทยอยประเมินผลไป มีการทำงานต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ใน Community Assessment มีการเก็บรวบรวมข้อมูล จากการทำ Pilot Project กับ 1 หมู่บ้านในตำบลสารภี เคยเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแล้วลงพิกัด ต้องจ้างนักศึกษาสาขาภูมิศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ไล่จุด GPS ตามบ้าน แล้วลงตารางจุดพิกัด ถ่ายภาพบ้าน แล้วใส่เข้าไป ตอนนั้น ก็พบปัญหา คือ การแจกแจงความถี่ และการใส่ข้อมูลในตาราง จึงนำประสบการณ์ครั้งนั้นมาใช้ออกแบบ การออกแบบที่เป็นแอพพลิเคชั่น ครั้งแรก Pilot Project ทำด้วย Web-based ระบบมือถือก็ยังไม่มา หลังจากนั้นอีก 2 ปี Smartphone ก็เริ่มเข้ามา ช่วงแรก 3G ยังไม่เข้ามา การเก็บข้อมูลตอนนั้น จึงไม่ใช่ 3G ต่อมาใช้ Smartphone เก็บข้อมูล เป็นการลัดขั้นตอนการจัดระบบข้อมูล วิเคราะห์ เมื่อเก็บข้อมูล ณ เวลาปัจจุบัน ก็จะวิเคราะห์ได้ทันที แก้ไขข้อมูลวันที่เข้าเยี่ยมได้ คำนวณออกมาเป็นตาราง ออกมาเป็นแผนภูมิชนิดต่างๆ

โปรแกรมเมอร์ได้ประยุกต์ข้อมูลนี้ให้สามารถลงดูได้ทุกตำบลและรายหมู่บ้าน ทั้งหมดเป็นข้อมูลทางสุขภาพที่ไม่ลึกมาก ใครก็ได้ที่เข้ามารับการอบรมและทำงานร่วมกับโรงพยาบาลสารภีสามารถเก็บได้ อาจจะเป็นอสม. ที่สารภีมีหลายรูปแบบ เก็บโดยเยาวชน แกนนำ หรือแกนนำร่วมกับเยาวชน บางตำบลเก็บโดยพื้นที่และเจ้าหน้าที่ล้วน

ข้อมูลพยายามให้ครอบคลุมระบบทางสังคม ประชากร ทำเลที่ตั้งในข้อคำถามทั้งหมด มี 2 ชุด คือ

ข้อมูลครอบครัว ผู้แทนครอบครัวตอบได้ และข้อมูลชุดบุคคล ก็ลงลึกแต่ละคน ในด้านทำเลที่ตั้ง ได้บทเรียนจาก Pilot Study มีลง GPS และมี Map Point ตั้งแต่ Pilot Study แสดงภาพให้เห็นถึงลักษณะการกระจายของโรค ทุกคำถามของแบบสอบถามสามารถดึงออกมาเป็น Map Point ได้ สามารถดึงข้อมูลออกมาดูในส่วนที่เป็นประโยชน์ด้านอื่นๆได้ด้วย สารภีเฮลท์แอพไม่ใช่แค่ให้ข้อมูลเรื่องสุขภาพ แต่ยังขยายไปถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะสามารถใช้ข้อมูลนี้ได้ ประเด็นเหล่านี้จะเกี่ยวกับสวัสดิภาพของประชาชนในพื้นที่ได้

สารภีเฮลท์แอพ มีการคำนวณ ที่ตั้ง โปรแกรมเมอร์ลิ้งค์เส้นทางคมนาคมสะดวกในการเยี่ยมบ้าน หรือสำหรับเวลาที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสำรวจผู้พิการ นำถุงยังชีพไปแจกตอนที่น้ำท่วม นอกจากนี้ยังทำให้เห็นสภาพภูมิประเทศเชื่อมกับ Google 360

ใช้เวลาเก็บข้อมูลแต่ละบ้าน 8-10 นาที ถ้าสมาชิกในบ้านมีจำนวนมาก ก็จะใช้เวลามากเพราะข้อมูลรายบุคคลก็จะมากขึ้นตามไปด้วย

การรายงานผลของสารภีเฮลท์แอพ มีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโรค ข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพ เพราะแบบสอบถามออนไลน์ก็จะมีข้อมูลทางด้านสิ่งแวดล้อม การมารับบริการสุขภาพ การรายงานผลข้อมูลในส่วนประชากร แสดงออกเป็น Histogram แบบ real time ข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพ สามารถดาวน์โหลดออกมาได้เป็น PNG และ PDF รูปแบบได้รับการออกแบบให้เหมาะสมกับการใช้งาน ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษา การรับสวัสดิการต่างๆ มีการประมวลออกมา ในด้านความเชี่ยวชาญ อาจารย์จรัสได้หาความเชี่ยวชาญทางเกษตรกรรม และได้รวบรวมปราชญ์ทางด้านเกษตร ดำเนินการเกษตรอินทรีย์ ทำให้ทราบภาพรวมทั้งอำเภอ รวบรวมได้ถึงหลักพัน

การเก็บข้อมูลครั้งแรกเริ่มต้นเก็บเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ตอนนั้น ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 60% หลังจากนั้นมีการคืนข้อมูล แล้วมีการตามเก็บข้อมูลเรื่อยๆ ตามแต่ละบุคคลและหมู่บ้าน อำเภอสารภีได้รับการสนับสนุนจากทรู ทางพื้นที่ก็ตกลงที่จะแก้ไขข้อมูล ข้อมูลสามารถแก้ไขได้ทุกวัน ทุกเวลา

การประมวลข้อมูลจะเน้นความเกี่ยวข้องกับสุขภาพด้านต่างๆ อาจจะแสดงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องหรือภาวะสุขภาพของคนในพื้นที่ ในเรื่องพฤติกรรมสุขภาพ จะมีข้อมูลเรื่องยาเสพติด การบริโภคอาหาร การล้างมือ การใช้ยา การออกกำลังกาย ในเรื่องสิ่งแวดล้อม จะมีข้อมูลการจัดการขยะ พาหะนำโรค สุขา ความปลอดภัย การใช้ความรุนแรงในครัวเรือน น้ำดื่ม น้ำใช้ สิ่งรำคาญในบ้าน ในส่วนการบริการทางสุขภาพ จะมีข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจ ความต้องการที่จะให้พัฒนา ทั้งหมดนี้สะท้อนว่าอะไรมีผลต่อสุขภาพบ้าง

คนมาเก็บข้อมูลเป็นเยาวชนในหมู่บ้านเป็นส่วนใหญ่ซึ่งคนในพื้นที่เสนอมา และมาจากโรงเรียน

ทรูปลูกปัญญา เรามีการฝึกอบรมการเก็บข้อมูล มีคู่มือให้ มีอสม.มาร่วมเก็บด้วย

ช่วงถาม-ตอบ

ถาม มีวิธีการขอความร่วมมือจากชุมชนอย่างไร

ตอบ ก็ถามวา ชุมชนอยากได้ข้อมูลนี้ไหม ถ้าอยากได้ ก็ต้องช่วยกันทำ

ถาม Safety ข้อมูล อาจมีบริษัทยาจะเจาะเข้ามาหาข้อมูลเพราะทำให้เขาเห็นแนวโน้มของโลก มีการจัดการด้านความปลอดภัยอย่างไร

ตอบ ระดับการเข้าถึงข้อมูลต่างกันตามบทบาทที่มีในระบบ ทุกคนมีสิทธิที่จะ Update ข้อมูลสุขภาพของตน

ถาม มีการเก็บข้อมูลมีการ audit อย่างไร

ตอบ คนเก็บข้อมูล จะมีเยาวชนคัดเลือกเข้ามาโดยชุมชน ซึ่งเป็นเด็กที่ทำงานในสภาเด็ก มีการฝึกอบรม

อสม.เป็นคนถาม ควบคู่กับการเก็บข้อมูลของเด็ก เราพยายามไม่ให้แบบสอบถามยากมาก เราเป็นคำถามนำ สามารถเก็บข้อมูลไปทำข้อมูลอื่นได้ เช่น สารภีโฮมแคร์ เรามี Security เป็นชั้นๆอยู่แล้ว แต่ละคนดูได้เฉพาะของตนเอง คนที่จะดูได้ทั้งหมดคือ Admin กับผอ.รพชต

ถาม เก็บข้อมูลนานเท่าไร

ตอบ เก็บข้อมูลได้ 68% เท่ากับ 5 หมื่นคนจาก 7 หมื่นคน แล้วเราคืนข้อมูลให้กับระดับพื้นที่ตำบลและอำเภอกำหนดภาพอนาคต ทำแผนสู่อนาคต เกิดโครงการมากมาย

การนำเสนอโดย รศ.ดร. เอกรัฐ บุญเชียง

สารภีเฮลท์เป็นเว็บไซต์ทั่วไปมีข้อมูลว่าได้ทำอะไรที่ผ่านมา จุดสำคัญคือมีพิกัดบ้าน

มีล็อกอิน ไม่ใช่ใครก็เข้ามาดูข้อมูลได้ เมื่อล็อกอินเข้าไปแล้วก็จะมีรายงานที่เป็น Real time รายงานมีอยู่หลายลักษณะ เช่น เป็นตาราง แผนภูมิออกแบบมาจากโรงพยาบาลชุมชน เนื่องจากงานนี้ เริ่มาจากงานวิจัย ลักษณะข้อคำถามจึงอิงกับเชิงวิจัย แต่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับชุมชนได้ มีข้อมูลประชากรและครัวเรือน ข้อมูลแสดงออกมาในระดับอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ข้อมูลที่เก็บนี้ไม่เหมือนของกระทรวงมหาดไทยเพราะมีบ้านที่ไม่มีเลขที่ ชุมชนสารภีอยู่ใกล้ชายแดนจึงมีไทยใหญ่และพม่ามาอยู่ ตารางข้อมูลประชากรอำเภอสารภี ได้เก็บข้อมูลไปมากกว่า 70% ข้อมูลจะแสดงออกมาในระดับอำเภอ สามารถที่จะเจาะลึกไปได้ในแต่ละตำบล และหมู่บ้าน ข้อมูลสามารถส่งไปทำรายงานได้

ในส่วนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ข้อมูลที่โรงพยาบาลเป็นแค่ 10 -20% ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเลือกใช้บริการสุขภาพ ไม่ได้มาที่โรงพยาบาลสารภีแห่งเดียว มีมาใช้บริการโรงพยาบาลชุมชนแค่ 4,000 กว่าคน 10,000 คนไปใช้รพ.สต. นอกจากนั้นไปใช้โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลประจำจังหวัด โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย คลินิกเอกชน โรงพยาบาลเอกชน รวมแล้วหลายเปอร์เซ็นต์ ข้อมูลที่ส่งเข้ามาในสารภีเฮลท์ไม่ใช่แต่ข้อมูลของโรงพยาบาลสารภี ยังมีแพทย์ทางเลือกอื่นๆที่คนไปใช้บริการ

จุดดีระบบสารภีเฮลท์ คือสามารถปรับเปลี่ยนไปตามบริบทของพื้นที่ แบบสอบถาม dynamic เช่น จากการไปสพสช.เขต 4 เขาขอเพิ่มภาพถ่ายการรับวัคซีนของเด็ก ภาพถ่ายการตรวจครรภ์ในระบบด้วย

กว่าที่จะออกมาเป็นระบบ พยาบาลชุมชนก็เข้าไปจุดประกายในพื้นที่ เมื่อออกแบบร่วมกันแล้วก็อยากจะให้เกิดประโยชน์กับทุกส่วน ไม่ใช่แค่องค์การด้านสุขภาพเท่านั้น แต่ร่วมถึงองค์การบริหารส่วนจังหวัด ตำบล พัฒนาชุมชน มาทำร่วมกัน ลงพื้นที่ที่เดียวกัน สามารถนำข้อมูลนี้ไปใช้ประโยชน์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับตนเองได้ ซึ่งก็จะสัญจรไปภาคใต้ สมุย กาญจนดิษฐ์ ที่เซ็นสัญญาแล้วมีอำเภอกะพ้อ นาทวี ตากใบ ไม้แจ่ม ละมูล จะมีการไป Finalize แบบสอบถามว่าต้องการข้อมูลอะไรเพิ่ม พิษณุโลก กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ขอเก็บข้อมูลสุรา ยาเสพติดเพิ่ม

ในด้านภาวะสุขภาพประชากรในสารภี คนเป็นโรคความดันมากที่สุด รองลงมาเป็นเบาหวาน เราเน้นข้อมูล Community-based เป็นข้อมูลการรับรู้จากชาวบ้าน ไม่มีผลแล็บ ถ้ามีข้อมูล Community-based ก็สามารถทำวิจัยต่อ นำการรับรู้ของชาวบ้านมาเปรียบเทียบ Service-based มันจะปรับตัวมันเอง แล้วจะเกิดงานวิจัยได้อีกมากมาย เรา Map Geo-location ทุกคำถาม ทำให้สามารถทำรายงานได้ เช่นบ้านที่สำรวจพบลูกน้ำยุงลาย กับบ้านที่รายงานว่ามีผู้ป่วยไข้เลือดออก เราใช้สีฟ้าแทนบ้านที่อสม.และเยาวชนจิตอาสาไปพบลูกน้ำยุงลาย สีแดงคือพื้นที่ที่พบผู้ป่วยไข้เลือดออก แต่บางทีที่บ้านผู้ป่วยไข้เลือดออกไม่มีลูกน้ำยุงลาย ส่วนบ้านที่มีลูกน้ำยุงลายก็ไม่ใช่ว่าจะมีผู้ป่วยไข้เลือดออก พบว่า คนได้รับเชื้อจากนอกบ้าน เช่น ที่ทำงาน วัด

ทำให้เกิดงานวิจัย ทีมพัฒนาชุมชนก็อาจนำข้อมูลนี้ไปให้นักศึกษาเรียนรู้ต่อยอดได้ สารภีเฮลท์เป็น Dynamic ลักษณะการดึงข้อมูลออกมาจะเป็น Dynamic ด้วย ทีม PCU ของโรงพยาบาลสารภีจะไปเยี่ยมบ้านบุคคลที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ ผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้อยู่แถวไหน เราทำ Query ขึ้นมา ข้อมูลก็จะถูกดึงจากคอมพิวเตอร์ จะมีการทำรายชื่อบุคคลที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ ยังไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้อยู่บ้านหลังใดบ้าง อยู่มานานเท่าไร แพทย์สามารถจะเข้ามาดูข้อมูลได้ วิธีการขอข้อมูล มี Application อยู่ใน App Store เลือก Play Store เครื่องมือที่ใช้ Facebook กับ Line ได้ ก็สามารถใช้ สารภีเฮลท์ได้ ให้เข้า App Store เข้าที่รูปต้นยาง 3 ต้นระบบสารภีแอพ Admin แจก username ให้เข้าข้อมูล ผู้เก็บข้อมูลมีสิทธิ์ดูข้อมูลที่ตนเก็บ ทุกคนมีสิทธิ์ดูข้อมูลตนเอง และแก้ไขข้อมูลตนเองได้ตลอด ประโยชน์จากการเก็บข้อมูลสารภีเฮลท์คือ มี Geo-location และกล้องถ่ายรูป ใช้ในการกำหนดพิกัดละติจูด มีการถ่ายภาพบ้านอัพโหลดเข้าระบบ ต้องสำรวจที่นั่นจริง จึงจะได้ข้อมูล ผู้เก็บข้อมูลคืออสม.และเยาวชนจากสภาเด็กของชุมชน มีการใช้ Google Street View ทำให้มองเห็นถนน และสถานที่เก็บข้อมูล

ช่วงถาม-ตอบ

ถาม จะมีการตรวจสอบข้อมูลไหม

ตอบ เรามีเวทีคืนข้อมูล เรานำเสนอข้อมูลที่เก็บแล้วให้ประชาชนตรวจสอบ เพราะชาวบ้านจะทราบ

ปีนี้จะมีการเก็บแหล่งทุนทางสังคม เช่น ทต. รัฐบาล อปท. สถานที่ทางศาสนา นำมาหาความสัมพันธ์ เช่น บ้านหลังใดมีผู้ไม่ออกกำลังกายบ้าง และมีการค้นหาว่าบ้านนั้นอยู่ใกล้สวนสาธารณะ สนามเด็กเล่นและสถานที่ออกกำลังกายหรือไม่ แล้วจะเห็นความสัมพันธ์ว่าทำไมเขาจึงไม่ออกกำลังกาย อาจจะอยู่ห่างจากสถานที่ออกกำลังกาย ถ้าอยู่ใกล้แต่ไม่ออกกำลังกาย ก็ต้องมีการส่งเสริมให้ออกกำลังกาย นำแหล่งทุนทางสังคมเข้ามาเสริมด้วย สิ่งที่จะทำต่อไปในปีนี้คือ โฮมแคร์ (Saraphi Homecare Application) ซึ่งเกิดมาจากผู้ป่วยติดเตียงและเราต้องการที่จะหยุดผู้ป่วยติดเตียงได้

ผศ.ดร. วราภรณ์ บุญเชียง

ส่วนโฮมแคร์ (Saraphi Homecare Application) เรามองว่า การดูแลสุขภาพที่บ้านเป็นสิ่งสำคัญ นโยบายของเชียงใหม่มีการเน้นการดูแลสุขภาพที่บ้าน (Homecare Manager) อำเภอสารภีเป็นส่วนฐานข้อมูลกลาง ซึ่งจะมีคำถามที่นำมา มีผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงนำมา เราเก็บข้อมูลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงมาศึกษาต่อได้ ความสามารถดูแลผู้ป่วยของญาติ มีข้อมูลทั่วไปที่แสดงให้เห็นว่า คนนี้มีสภาพอย่างไร ใครก็กรอกได้ถ้ามี User Name และ Password มีการเก็บข้อมูลการใช้ไม้เท้าเดิน โดยญาติผู้ดูแลผู้ป่วยจะทราบข้อมูล เมื่อบันทึกข้อมูลแล้วจะส่งให้กับ Homecare Manager ที่ดูแลต่อผู้ป่วยคนนี้ต้องการให้มีเยี่ยมต่อหรือไม่ หรือเยี่ยมโดยใคร เช่น เจ้าหน้าที่ อสม. มีข้อมูลการประเมินผล กำลังจะเก็บข้อมูลแรงงานต่างด้าว เราเก็บทั้งคนมีบ้านเลขที่และไม่มี คนอยู่คอนโดมิเนียมและหอพักด้วย ยังไม่ได้แยกประเภทคนพิการขึ้นทะเบียน ไม่ขึ้นทะเบียน มีการสร้าง Application สำหรับคนต่างด้าวให้ข้อมูล คำถามยังไม่ลงลึกมาก การรายงานผลมีตาราง แผนภูมิ นอกจากนี้ยังมีคำถามที่เจาะลึกลงไปในแต่ละกลุ่มโรค มีกลุ่มคนแล้วไปเยี่ยม ลงข้อมูลต่อ ถ้าที่ใดยังไม่มีฐานสารภี ก็นำแอพนี้ไปเก็บข้อมูลได้ แอพสารภีเฮลท์เป็นตัวรองรับข้อมูลที่จะมาเชื่อม และสามารถเชื่อมโยงกับ HOSxP ของโรงพยาบาลได้ถ้าโรงพยาบาลอนุญาต และเป็นฐานข้อมูลที่จะให้คนอื่นๆที่มีความสำคัญที่ต้องการความละเอียดของข้อมูลมากรอก เช่น ที่โรงพยาบาลท่าข้ามพิษณุโลก จะมีการนำส่วนของจิตเวชมากรอกด้วย มีการลงรายละเอียดลึกเกี่ยวกับยาเสพติด เป็นกลุ่มหนึ่งที่เข้ามาและต้องได้รับการฝึกอบรม

รศ.ดร. เอกรัฐ บุญเชียง

ตัวอย่างของ Map Layer สามารถแบ่งได้หลายระดับ ภาพที่เก็บก็มีทั้งภาพหน้าบ้าน ในบ้าน ภาพผู้ป่วยติดเตียงมีผู้ดูแลหรือไม่ สามารถเข้าไปดูสมาชิกภายในบ้านได้ แล้วรายงานให้เห็นในบ้านมีใครบ้าง ทำให้เจาะข้อมูลรายบุคคลได้

ถาม ข้อมูลนี้มีการเชื่อมโยงไหมหลังจากที่เสียชีวิต และหลังจากที่แพทย์ออกไปแล้ว มีการยอมให้นำข้อมูลออกมาหรือไม่

ตอบ ยังไม่ได้ทำ แต่ถ้าสนใจทำเกี่ยวกับผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง เราก็ทำเป็นแอพหนึ่งเข้ามากรอกแล้วเก็บเป็นฐานข้อมูลได้

รศ.ดร. เอกรัฐ บุญเชียง

จะมีการ Finalize ข้อมูล ทางทีมก็จะมีการปรับสารภีเฮลท์ให้เข้ากับอำเภอ แล้วไปค้นหา โดยลงพื้นที่ แล้วก็จะให้คำปรึกษา มีการปรับข้อมูลตลอด และให้ทุกส่วนได้ใช้ข้อมูลร่วมกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท