สภาพในปัจจุบันในเรื่องการสอนการฟังในโรงเรียนในประเทศไทย จากประสบการณ์ของผม ตอนที่ 2


2. กระบวนการฟังเพื่อความเข้าใจ และลักษณะพิเศษของภาษาอังกฤษเพื่อการพูด

จุดประสงค์ในส่วนนี้ก็คือ อภิปรายทั้งในเรื่องกระบวนการฟังเพื่อความเข้าใจ และ ลักษณะภาษาอังกฤษเพื่อการพูด ความตั้งใจในส่วนนี้ก็คือ 1. ต้องการให้ผู้เรียนเข้าใจเข้าใจความหมายของสาร 2. เรียนรู้ลักษณะภาษาอังกฤษเพื่อการพูด ซึ่งนักเรียนจะมีปัญหาในการทำความเข้าใจสาร 3. สามารถใช้ทักษะต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาการฟัง 4. เรียนรู้วิธีการที่จะใช้บริบท ที่จำเป็นต่อการการฟังอย่างมีประสิทธิภาพได้

ในการทำสิ่งดังกล่าว จะแบ่งส่วนนี้ออกเป็น 3 ส่วน นั่นคือ 1. จะกล่าวถึงทักษะการฟังในเชิงทฤษฎี 2. จะอภิปรายถึงลักษณะพิเศษของภาษาอังกฤษเพื่อการพูด และ 3. จะนำเสนอทักษะที่จำเป็นต่อการฟัง

2.1 กระบวนการฟัง

ตามที่ Rubin (1991) ได้กล่าวไว้ว่า สำหรับผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 2 หรือภาษาต่างประเทศ ทักษะการพูดเป็นทักษะที่ยากที่สุด เพราะผู้เรียนต้องเก็บข้อมูลในความจำระดับสั้น (หมายถึง ความทรงจำระยะสั้นเป็นระบบที่เราใช้ในชีวิตประจำวันมากที่สุด ในห้วงเวลาหนึ่งๆ คนเราจะใช้ข้อมูลหรือดึงข้อมูลจากความทรงจำได้จำกัด เกิดขึ้นทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ) ในเวลาเดียวกันพวกเขาจะต้องเข้าใจข้อมูลด้วย ยิ่งไปกว่านั้น สำหรับการอ่าน ผู้เรียนสามารถหยุด แล้วไปทำอย่างอื่นได้ แต่การฟังจะต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่อง O'Malley, Chamot, และ Kupper (1989) กล่าวว่า การฟังเพื่อความเข้าใจ มีลักษณะแบบกระตือรือร้น (active) และเป็นกระบวนการที่มีสติสัมปชัญญะ (conscious process) ซึ่งผู้ฟังจะต้องสร้างความหมาย โดยการใช้ตัวแนะ (cues) จาก ข้อมูลที่เป็นบริบท และจากความรู้ที่มีก่อนหน้า เป็นที่แน่นอนว่าเราไม่สามารถจะเห็น และสังเกตกระบวนการทางสมองของการฟังได้ อย่างไรก็ตาม ความเข้าใจกระบวนการการฟัง สามารถที่จะช่วยพวกเราในทบทวนเรื่องวิธีการสอนฟัง ในจุดประสงค์นี้ เรามีวิธีการสองอย่างในการช่วยให้เราเข้าใจกระบวนการฟัง วิธีแรกก็คือแบบก้นไปสู่ยอด (bottom-up) และจากยอดไปสู่ก้น (top-dowm) และแบบที่ 2 ก็คือ การใช้ทฤษฎีภาพร่าง (schema theory)

1. จากก้นสู่ยอด (bottom-up) และ จากยอดสู่ก้น (top-down)

การฟังคือกระบวนการที่กระตือรือร้น ในการสร้างความหมาย ที่ประกอบไปด้วยวิธีการสองอย่าง ก็คือ จากก้นสู่ยอดและจากยอดสู่ก้น ซึ่งทั้งสองวิธีนี้สามารถที่จะเกิดได้พร้อมกัน Richards (1990) ได้อธิบายทั้งสองวิธี ดังนี้

จากก้นสู่ยอด (bottom-up processing)

กระบวนการจากก้นสู่ยอด หมายถึง การใช้ข้อมูลที่เข้าในทันที ในฐานะที่เป็นแหล่งข้อมูล ซึ่งเกี่ยวกับความหมายของสาร ฟังอย่างนี้ดูยาก และอาจไม่เข้าใจเลย ลองมาฟังคำอธิบายของเขาดูหน่อยว่าเป็นคืออะไร กระบวนการจากก้นสู่ยอด ก็คือ การจะทำความเข้าใจ จะต้องเริ่มจากสารที่เข้ามา และต้องวิเคราะห์องค์ประกอบของสารที่เข้ามาด้วย ตั้งแต่ เสียง, คำ, อนุประโยค, และประโยค จนกระทั่งถึงความหมายของมัน ในแง่นี้ความเข้าใจก็คือกระบวนการถอดรหัส (decode)

จากยอดสู่ก้น (top-down processing)

กระบวนการจากยอดสู่ต้น หมายถึง การใช้ความรู้ในเรื่องปูมหลัง (background knowledge) เพื่อช่วยในการเข้าใจความหมายของสารต่างๆ ความรู้ปูมหลังมีหลายรูปแบบ บางทีอาจเป็นหัวข้อ, เหตุการณ์, บริบท, หรืออาจเป็นความรู้ที่ถูกเก็บไว้ในความจำระยะยาว (ซึ่งหมายถึง ความจำที่ติดอยู่ในสมองมานานกว่าความจำระยะสั้น) ซึ่งอาจอยู่ในแบบภาพร่าง (schemata) หรือตัวบท (script) (คำว่าภาพร่าง หรือตัวบท หมายถึง แผนการที่เกี่ยวกับโครงสร้างที่ว่าด้วยเรื่องเหตุการณ์ต่างๆ และความสัมพันธ์โดยรวม)

Peterson (2001) นิยามว่า กระบวนจากยอดสู่บน เป็นกระบวนการขั้นสูง ที่ใช้ความคาดหวัง และความเข้าใจของผู้ฟังในเรื่องบริบท, หัวข้อ, ธรรมชาติของตัวบท, และธรรมชาติของโลก ในทางตรงกันข้าม เขายังได้นิยามกระบวนการจากก้นสู่ยอดไว้ว่าเป็นกระบวนการในระดับต่ำ โดยการเข้าใจเสียง, คำ, และวลีแบบต่างๆ ซึ่งผู้ฟังได้ยิน เมื่อเขาพยายามที่จะถอดรหัส และให้ความหมาย

ในการฟังเพื่อความเข้าใจ กระบวนการจากยอดสู่บน และจากก้นสู่ยอด มีสหสัมพันธ์กันในความสัมพันธ์ที่สลับซับซ้อน และทั้งคู่สามารถที่จะสร้างความหมายได้ ในการสร้างความหมาย ผู้ฟังไม่ใช่ฟังอย่างเฉื่อยชา แต่เป็นการสร้างความหมายที่คาดไว้จากผู้พูดซ้ำแล้วซ้ำอีก และเข้าใจข้อมูลที่มีความหมาย โดยถอดรหัสจากเสียง, คำ, และวลี Buck (1994) อธิบายว่า การที่จะเข้าใจความหมายของสารนั้น ผู้ฟังจะต้องเข้าใจตัวใส่ทางเสียง (phonetic input), คำศัพท์แบบต่างๆ, และประโยค (นั่นคือจากก้นสู่ยอด) และในเวลาเดียวกัน การใช้บริบทในตัวสถานการณ์, ความรู้ทั่วไป, และประสบการณ์ที่เป็นอดีต (นั่นคือ จากยอดสู่ก้น) ตามที่ O'Malley และคณะ (1989) กล่าวว่า โดยทั่วไปแล้ว ผู้ฟังที่มีประสิทธิภาพจะใช้ทักษะแบบก้นสู่ล่าง และจากล่างสู่ยอด ในขณะที่ผู้ฟังที่ไม่มีประสิทธิภาพค่อนข้างมีแนวโน้มที่จะฟังคำแต่ละคำมากกว่า

สมมติว่า คนไทยไปเที่ยวที่ซูเปอร์มาร์เก็ตในเมืองวอชิงตัน ดีซี หลังจากไปซื้อของ จึงมาคิดเงินที่พนักงานคิดค่าของ (cashier) พนังงานคิดค่าของก็ถามว่า กระดาษ หรือ พลาสติกคะ (paper or plastic?) เราจำเป็นต้องใช้ความรู้อะไร จึงจะเข้าใจความหมายประโยคนี้ได้ เพราะว่านักท่องเที่ยวคนไทยรู้ศัพท์คำนี้ตลอด (ใช้กระบวนจากก้นไปสู่ยอด) อันที่จริงแล้ว การใช้วิธีการจากก้นสู่ยอดนี่น่าจะไม่พอในการเข้าใจความหมาย ในสถานการณ์เช่นนี้ หากนักท่องเที่ยวคนไทยไม่มีความรู้เรื่องบริบทเบื้องหลังสถานการณ์ (เป็นกระบวนการจากบนสู่ล่าง) ซึ่งก็คือ วัฒนธรรมของอเมริกาที่อยู่ในร้านขายของ คนซื้อเมื่อถูกถามว่าต้องการกระดาษหรือพลาสติก ก็คือการถามความชอบใจจะใช้กระดาษหรือพลาสติกในการหิ้วของ เมื่อรู้บริบทเช่นนี้แล้ว จึงเข้าใจความหมายของพนักงานคิดค่าของได้ หากผู้ฟังไม่ใช้กระบวนการจากบนสู่ล่างที่มีประสิทธิภาพ ก็จะไม่เข้าใจความหมายของสิ่งที่พูดเลย ในทางตรงกันข้าม หากผู้ฟังไม่สามารถใช้กระบวนการจากล่างขึ้นบน ก็จะไม่สามารถใช้กระบวนการจากบนลงล่างได้ โดยสรุปก็คือ การฟังที่มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องใช้ทั้งสองวิธีประกอบกัน

หนังสืออ้างอิง

Koichi Nihei. (2002). how to teach listening.

หมายเลขบันทึก: 581906เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2014 21:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 ธันวาคม 2014 21:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท