ดอกโทะ (ก้นถ้วยใหญ่(โทะ))


ชื่อท้องถิ่น โท๊ะ หรือ ทุ (ภาคใต้) Kuuam (มาเลเซีย)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Rhodomyrtus tomentosa Wight
ชื่อวงศ์ Myrtaceae
ชื่ออื่น ง้าย ชวด พรวด พรวดใหญ่ พรวดผี พรวดกินลูก กาทุุ

ดอกโ่ทะ เป็นไม้ท้องถิ่นที่มีมากในภาคใต้นะคะ และที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียนะคะ มีเยอะมากนะคะตาเคยเห็นนะคะเวลานั่งรถไป KL นะคะระหว่างเส้นทางสตูลผผ่านด่านวังประจัน - วังเกรียน นะคะ ดอก สีของดอกโท๊ะเป็นสีชมพูกุหลาบ กลีบดอกชั้นเดียว มีสีชมพูอ่อนถึงแก่ในช่อเดียวกัน ขนาดดอกกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 - 3 เซนติเมตร ผลอ่อน มีสีเขียวแล้วจะค่อย ๆ สุกกลายเป็นสีแดง จนสุกจัด กลายเป็นสีม่วงอมดำ มีขนาดกว้างประมาณ 1 - 2 เซนติเมตร ลักษณะคล้ายผลบลูเบอรี่ แต่จะค่อนข้างยาวกว่า การปลูก ขณะนี้ยังไม่มีการปลูกโท๊ะเพื่อประโยชน์ทางการค้า มีเพียงการปลูกโท๊ะไว้เพื่อเป็นการเก็บรวบรวมพันธุ์และตกแต่งสถานที่ ในมลรัฐฮาวายและฟลอริดาของประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศมาเลเซียนั้น โท๊ะถือว่าเป็นวัชพืชหลัก หรือร้ายแรง (principal or noxious weed)

ลูกโท๊ะ นอกเหนือจากการทำเป็นไวน์ผลไม้แล้ว ยังจะสามารถแปรรูปเป็นแยมลูกโท๊ะ หรือผลไม้กวนลูกโท๊ะไม้ โท๊ะนั้นมีการใช้ประโยชน์เป็นไม้ฟืน ไม้โท๊ะค่อนข้างแข็ง ชาวบ้านแถบนี้ใช้เป็นไม้ขัดแตะ เป็นคอกสัตว์เล็ก และในบางพื้นที่มีการปลูกโท๊ะเพื่อเป็นไม้ประดับในสวน ส่วนในฮาวาย มีการทำมาลัย (lei) โดยใช้ดอกโท๊ะมาประกอบ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่มหรือไม้ต้น สูง 1-4 เมตร ทรงพุ่มกลม เปลือกลอกเป็นแผ่นบางๆ กิ่งอ่อนยอดอ่อน แผ่นใบด้านล่าง ก้านใบ ช่อดอก ก้านดอก กลีบเลี้ยง กลีบดอกด้านนอก และผล มีขนสั้นหนานุ่มสีเทา ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปรีถึงรูปขอบขนาน กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 5-10 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนเกลี้ยง ผิวใบด้านล่างมีขนสีขาวเป็นปุย ปลายใบทู่ โคนใบสอบ ขอบเรียบม้วนลงเล็กน้อย มีเส้นใบสามเส้นจากโคนจรดปลายใบ ก้านใบยาว 5 มิลลิเมตร แผ่นใบค่อนข้างหนา เส้นแขนงใบข้างละ 1 เส้น ออกจากโคน เรียงโค้งจรดกันเป็นเส้นขอบใบ ดอกออกเดี่ยว หรือช่อกระจุกซ้อน ออกที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง ก้านช่อยาวประมาณ 1-2 ซม. ก้านดอกยาวประมาณ 1.5 ซม. กลีบดอก มี 5 กลีบ สีม่วงแกมชมพู ดอกแก่สีขาว กลีบรูปไข่กลับเกือบกลม ยาว 1.5-2 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางดอก 3-4 เซนติเมตร ฐานรองดอกรูปถ้วย รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก ก้านชูอับเรณูสีแดง ยาว 0.7-1 ซม. อับเรณูปลายมีต่อมขนาดเล็ก ก้านเกสรเพศเมียยาว 1-1.5 ซม. โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ยาวประมาณ 1 ซม. ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบยาวประมาณ 6 มม. สองกลีบในยาวกว่ากลีบนอกเล็กน้อย ปลายกลีบมน ติดทนผลสด สีเขียวด้านๆ เมื่อแก่สีม่วงคล้ำถึงดำ รูปกลมแกมรี หรือเกือบกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.5 เซนติเมตร มีขนสั้นๆ หนานุ่มสีเทาปกคลุม กลีบเลี้ยงติดทน เนื้อผลสุกสีม่วง นุ่ม หวาน มีเมล็ดมาก เมล็ดสีน้ำตาล รูปไต กว้าง 2 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร มีปุ่มกระจาย พบตามบริเวณดินทราย และบริเวณป่าพรุ ตั้งแต่ระดับต่ำจนถึงระดับความสูงประมาณ 1,300 เมตร ออกดอกราวเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคมและติดผลราวเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม
สรรพคุณทางสมุนไพร
ราก ต้มกินเป็นยารักษาอาการปวดหลัง ปวดข้อ ปวดเอว รักษาการติดเชื้อที่ผิวหนัง หรือผิวหนังพุพอง ใบ ใช้ตำแปะฝี ยาต้มจากใบ ใช้ทำความสะอาดแผล เพื่อฆ่าเชื้อโรค

โดย มณีเทวา

หมายเลขบันทึก: 581899เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2014 19:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 ธันวาคม 2014 19:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท