ผู้ตรวจประเมินภายใน 5


เกณฑ์หมวดที่ 7 (TQA Criteria 2014 -2015 Category 7)

ผู้ตรวจประเมินภายใน 5

PMK Internal Assessor 5

พันเอก มารวย ส่งทานินทร์

[email protected]

19 พฤศจิกายน 2557

บทความนี้ นำมาจากเอกสาร ตอนที่ 5 ของทั้งหมด 9 ตอน ของการประชุมเชิงปฏิบัติการ โครงการผู้ตรวจประเมินภายใน ตามแนวทางรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award: TQA) ปี 2557-2558 เอกสารนี้ไม่ใช่ตัวเกณฑ์ เป็นเพียงใช้ประกอบการอบรม

เกณฑ์รางวัลฉบับที่เป็นทางการ สามารถ Download ได้ที่ website คือ www.tqa.or.th

ผู้ที่สนใจเอกสารแบบ PowerPoint (PDF file) สามารถศึกษาและ Download ได้ที่ http://www.slideshare.net/maruay/pmk-internal-assessor-5

ตอนที่ 5 เกณฑ์หมวดที่ 7 (TQA Criteria 2014 -2015 Category 7)

แนวทางการตอบเกณฑ์ ในการตอบหัวข้อในหมวด 7 มีข้อกำหนดที่สำคัญ 4 ประการ ของแนวทางการให้คะแนน

  • ระดับผลการดำเนินการ (Level) ควรรายงานในมาตราวัดที่สื่อความหมายได้ชัดเจน
  • แนวโน้ม (Trend) เพื่อแสดงทิศทางของผลลัพธ์ อัตราการเปลี่ยนแปลง และขอบเขตของการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ
  • การเปรียบเทียบ (Comparison) เพื่อแสดงผลลัพธ์เมื่อเปรียบเทียบกับองค์กรอื่นที่เลือกมาอย่างเหมาะสม
  • การบูรณาการ (Integration) เพื่อแสดงว่ามีการรายงานผลลัพธ์ที่สำคัญทั้งหมด และจำแนกตามกลุ่มที่จัดไว้ (เช่น ตามกลุ่มลูกค้า บุคลากร กระบวนการ และกลุ่มสายผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ)

ระดับ (Level-Le) หมายถึง ผลการดำเนินการในปัจจุบัน

แนวโน้ม (Trend-T) หมายถึง

  • อัตราของการปรับปรุงผลการดำเนินการ หรือการรักษาไว้ของผลการดำเนินการที่ดี (ความลาดชันของแนวโน้มของข้อมูล)
  • ความครอบคลุมของผลการดำเนินการขององค์กรในเรื่องต่างๆ (ความครอบคลุมและทั่วถึงของการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ) ของผลลัพธ์

การเปรียบเทียบ (Comparison-C) หมายถึง

  • ผลการดำเนินการขององค์กรเปรียบเทียบกับสารสนเทศขององค์กรอื่นอย่างเหมาะสม เช่นคู่แข่ง หรือองค์กรที่คล้ายคลึงกัน
  • ผลการดำเนินการขององค์กรเทียบเคียงกับระดับเทียบเคียง หรือองค์กรที่เป็นผู้นำในธุรกิจหรือวงการเดียวกัน

การบูรณาการ (Integration-I) หมายถึง

  • ความครอบคลุมและทั่วถึงของ
    • ตัววัดผลต่างๆ (มักมีการจำแนกประเภท) ที่ระบุผลการดำเนินการด้านลูกค้ารายสำคัญผลิตภัณฑ์ ตลาด กระบวนการ และแผนปฏิบัติการที่ระบุผลการดำเนินการที่ต้องการ ตามที่ปรากฏอยู่ในโครงร่างองค์กร และหัวข้อที่อยู่ในหมวด 1-6
    • ผลลัพธ์มีการสอดประสานอย่างกลมกลืนในทุกกระบวนการและหน่วยงานเพื่อสนับสนุนแผนปฏิบัติการองค์กร
    • ผลลัพธ์ รวมถึงตัวชี้วัดที่เชื่อถือได้สำหรับผลการดำเนินการในอนาคต

การให้คะแนนผลลัพธ์

  • การประเมินระดับความสำเร็จขององค์กร เป็นการประเมินภาพรวมของปัจจัยทั้ง 4
  • โดยไม่เป็นการแจงนับหรือการเฉลี่ยผลของการตรวจประเมินทีละปัจจัย
  • เมื่อกำหนดช่วงคะแนนแล้ว การตัดสินใจว่าจะให้คะแนนจริงเท่าไร ต้องประเมินว่าคำตอบในหัวข้อนั้นๆใกล้เคียงกับเนื้อหาที่อธิบายในช่วงคะแนนที่สูงขึ้นไปหรือต่ำลงมาเพียงใด

หมวด 7 ผลลัพธ์ ในหมวดผลลัพธ์ เป็นการตรวจประเมินผลการดำเนินการและการปรับปรุงในด้านที่สำคัญทุกด้านขององค์กร ได้แก่ ผลลัพธ์ด้านผลิตภัณฑ์และกระบวนการ ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นลูกค้า ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร ผลลัพธ์ด้านการนำองค์กรและการกำกับดูแลองค์กร และผลลัพธ์ด้านการเงินและตลาด นอกจากนี้ ยังตรวจประเมินระดับผลการดำเนินการขององค์กรเปรียบเทียบกับคู่แข่งและองค์กรอื่นที่เสนอผลิตภัณฑ์ที่คล้ายคลึง

7.1 ด้านผลิตภัณฑ์และกระบวนการ : (120 คะแนน)

. ผลลัพธ์ด้านผลิตภัณฑ์และกระบวนการที่มุ่งเน้นลูกค้า ผลการดำเนินการด้านผลิตภัณฑ์และกระบวนการที่มีความสำคัญและตอบสนองโดยตรงต่อลูกค้า

. ผลลัพธ์ด้านประสิทธิผลของกระบวนการปฏิบัติการ

(1) ประสิทธิผลของการปฏิบัติการ ของกระบวนการทำงานที่สำคัญและกระบวนการสนับสนุน รวมทั้งผลิตภาพ รอบเวลา และตัววัดอื่นๆ

(2) การเตรียมพร้อมต่อภาวะฉุกเฉิน

. ผลลัพธ์ด้านห่วงโซ่อุปทาน ผลลัพธ์ของตัววัดหรือตัวชี้วัดที่สำคัญของห่วงโซ่อุปทาน

7.1 ผลลัพธ์ด้านผลิตภัณฑ์และกระบวนการ

  • เจตจำนง หัวข้อนี้ตรวจประเมินผลลัพธ์การดำเนินการของผลิตภัณฑ์และการปฏิบัติการที่สำคัญ เพื่อแสดงให้เห็นถึงผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพและมีคุณค่า ซึ่งจะทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจและความผูกพัน
  • ข้อสังเกต
    • ตัววัดผลการดำเนินการด้านผลิตภัณฑ์
    • ตัววัดด้านผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม
    • ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างผลการดำเนินการด้านผลิตภัณฑ์กับตัวชี้วัดด้านลูกค้า
    • ตัววัดและตัวชี้วัดประสิทธิผลและประสิทธิภาพกระบวนการ
    • ตัววัดผลการดำเนินการขององค์กรและการปฏิบัติการ
  • ผลลัพธ์ที่รายงานในหัวข้อ 7.1 ควรแสดงสารสนเทศที่สำคัญเพื่อใช้สำหรับการวิเคราะห์และทบทวนผลการดำเนินการขององค์กร (หัวข้อ 4.1) แสดงถึงการนำความรู้ขององค์กรมาใช้ (หัวข้อ 4.2)
  • ผลลัพธ์ที่รายงานในหัวข้อ 7.1ก ควรแสดงสารสนเทศความต้องการหรือความคาดหวังของลูกค้าตามที่ระบุไว้ในโครงร่างองค์กร [1.ข.(2)] โดยอ้างอิงตามสารสนเทศที่รวบรวมไว้ในหัวข้อ 3.1 และ 3.2
  • ผลลัพธ์ที่รายงานในหัวข้อ 7.1ข. ควรตอบสนองข้อกำหนดที่สำคัญในการปฏิบัติการตามที่ระบุไว้ในโครงร่างองค์กร และหัวข้อ 6.1 และ 6.2
  • ตัววัดด้านผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมจะนำมาใช้ ได้แก่ 1.การวัดคุณภาพภายใน 2.ผลการใช้งานจริงของผลิตภัณฑ์ 3.ระดับของเสีย 4.ความผิดพลาดของการให้บริการ 5.เวลาในการตอบสนอง 6.ข้อมูลเกี่ยวกับความง่ายในการใช้งานหรือคุณลักษณะอื่นของผลิตภัณฑ์ที่รวบรวมจากลูกค้าขององค์กรโดยหน่วยงานอื่น 7.ผลสำรวจลูกค้าในการใช้ผลิตภัณฑ์และบริการ
  • ตัววัดด้านประสิทธิผลและประสิทธิภาพกระบวนการ 1.การลดต้นทุนได้มากขึ้นหรือมีผลิตภาพสูงขึ้น โดยการใช้ทรัพยากรทั้งจากภายในและ/หรือภายนอก 2.การลดระดับการปล่อยมลพิษหรือการใช้พลังงาน 3.การลดปริมาณการปล่อยของเสีย 4.การใช้ประโยชน์จากผลผลิตพลอยได้ 5.การนำของเสียกลับมาใช้ใหม่6.ผลลัพธ์การตรวจประเมินจากหน่วยงานภายนอกเช่น การตรวจประเมินตามระบบมาตรฐานคุณภาพ ISO 9001
  • ตัววัดด้านการตอบสนองภายในองค์กร ได้แก่ 1.รอบเวลา 2.ความยืดหยุ่นของการผลิต 3.เวลาทั้งหมดที่ใช้ในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้แก่ลูกค้า 4.เวลาที่ใช้ในการตั้งเครื่องจักร 5.เวลาในการออกผลิตภัณฑ์ใหม่สู่ตลาด 6.ผลการดำเนินการที่ดีขึ้นในด้านการบริหารสำนักงานและด้านอื่นๆ7.อัตรานวัตกรรมและการเพิ่มการใช้ผลผลิตของผลิตภัณฑ์และกระบวนการ 8.ผลลัพธ์จากการนำ Six Sigma ไปปฏิบัติ 9.การยอมรับสมรรถนะของผลิตภัณฑ์ ณ เวลาที่ส่งมอบ
  • ตัววัดห่วงโซ่อุปทาน ได้แก่ 1.การลดจำนวนสินค้าคงคลังและการตรวจรับวัตถุดิบ 2.การยกระดับคุณภาพและผลิตภาพ 3.การปรับปรุงการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ 4.การลดต้นทุนในการจัดการห่วงโซ่อุปทาน

7.2 ด้านการมุ่งเน้นลูกค้า : (75 คะแนน)

. ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นลูกค้า

(1) ความพึงพอใจของลูกค้า ความพึงพอใจและไม่พึงพอใจของลูกค้า

(2) ความผูกพันของลูกค้า การสร้างความผูกพันและความสัมพันธ์กับลูกค้า เปรียบเทียบกับวงจรชีวิตของการเป็นลูกค้า

7.2 ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นลูกค้า

  • เจตจำนง หัวข้อนี้ตรวจประเมินผลลัพธ์ของผลการดำเนินการด้านการมุ่งเน้นลูกค้า เพื่อแสดงให้เห็นว่า องค์กรดำเนินการได้ดีเพียงใดในการสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า และสร้างความผูกพันในระยะยาว
  • ข้อสังเกต
    • ผลการดำเนินการขององค์กรในมุมมองของลูกค้า
    • ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นลูกค้า ซึ่งมากกว่าการวัดความพึงพอใจของลูกค้า
  • ผลลัพธ์ด้าน ความพึงพอใจ ความไม่พึงพอใจ ความผูกพันของลูกค้า และการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ควรเชื่อมโยงกับกลุ่มลูกค้าและส่วนตลาดที่ระบุไว้ในโครงร่างองค์กร [1.ข.(2)] และหมวด 3 รวมทั้งวิธีการและข้อมูลการรับฟังและประเมินตามที่ระบุไว้ในหัวข้อ 3.1
  • ตัวอย่างของตัววัดหัวข้อ 7.2 1.ความพึงพอใจและไม่พึงพอใจของลูกค้า 2.การรักษาลูกค้าไว้ 3.การได้ลูกค้าและการเสียลูกค้า 4.ลูกค้าที่ทำธุรกิจกับองค์กรเป็นประจำ 5.ข้อร้องเรียนจากลูกค้า 6.การแก้ปัญหาข้อร้องเรียนอย่างมีประสิทธิผล 7.การเรียกร้องค่าประกันผลิตภัณฑ์8.คุณค่าผลิตภัณฑ์จากมุมมองของลูกค้าโดยพิจารณาถึงคุณภาพและราคา 9.การตรวจประเมินโดยลูกค้าในเรื่องความสะดวกในการติดต่อองค์กรและความง่ายในการใช้ผลิตภัณฑ์ (ครอบคลุมถึงมารยาทในการให้บริการ) 10.การสนับสนุนอย่างเต็มที่ของลูกค้าต่อยี่ห้อและผลิตภัณฑ์ขององค์กร 11.การให้รางวัล การจัดอันดับ และการได้รับการยกย่องชมเชยจากลูกค้าและองค์กรอิสระอื่นๆ

7.3 ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร : (75 คะแนน)

. ผลลัพธ์ด้านบุคลากร

(1) ขีดความสามารถและอัตรากำลังบุคลากร รวมถึงจำนวนของบุคลากร และทักษะที่เหมาะสมของบุคลากร

(2) บรรยากาศการทำงาน รวมถึงสุขภาพ ความปลอดภัย สวัสดิภาพ การบริการและสิทธิประโยชน์สำหรับบุคลากร

(3) การทำให้บุคลากรมีความผูกพัน ความผูกพันกับองค์กรและความพึงพอใจของบุคลากร

(4) การพัฒนาบุคลากร ของบุคลากรและผู้นำองค์กร

7.3 ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร

  • เจตจำนง หัวข้อนี้ตรวจประเมินผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร เพื่อแสดงให้เห็นว่าองค์กรสามารถสร้างและรักษาสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เพิ่มผลิตภาพ มีความเอื้ออาทร ความผูกพัน และการเรียนรู้ให้แก่บุคลากรทั้งหมดได้ดีเพียงใด
  • ข้อสังเกต
    • ปัจจัยทั่วไปหรือปัจจัยเฉพาะขององค์กรด้านบุคลากร
    • ตัวชี้วัดด้านขีดความสามารถและอัตรากำลังของบุคลากร
    • ตัวชี้วัดความผูกพัน
  • ผลลัพธ์ควรสัมพันธ์กับกระบวนการที่อธิบายไว้ในหมวด 5 รวมทั้งตอบสนองต่อกระบวนการที่สำคัญที่อธิบายไว้ในหมวด 6 และต่อแผนปฏิบัติการขององค์กรและแผนทรัพยากรบุคคลหรือบุคลากรตามที่อธิบายไว้ในหัวข้อ 2.2
  • การตอบหัวข้อ 7.3ก.(3) ควรรวมถึงตัววัดและตัวชี้วัดตามที่ตอบไว้ในหัวข้อ 5.2ข.(1)
  • ผลลัพธ์ปัจจัยทั่วไปหรือปัจจัยเฉพาะขององค์กร เช่น
    • ความปลอดภัย การขาดงาน การลาออก ความพึงพอใจ และข้อร้องเรียน (ข้อร้องทุกข์)ของพนักงาน
    • ขอบเขตของการฝึกอบรม การฝึกอบรมซ้ำ หรือการฝึกอบรมข้ามสายงาน เพื่อให้บรรลุความต้องการด้านขีดความสามารถและอัตรากำลังบุคลากร
    • ขอบเขตและความสำเร็จของการกำหนดทิศทางการทำงานด้วยตนเอง
    • ความร่วมมือระหว่างสหภาพและฝ่ายจัดการ
    • อาสาสมัครที่เข้าร่วมกิจกรรมของกระบวนการและแผนงาน
  • ผลลัพธ์ของตัวชี้วัดด้านขีดความสามารถและอัตรากำลังของบุคลากร 1.จำนวนบุคลากรในทุกหน่วยงาน 2.การมีใบรับรองวิทยฐานะสำหรับทักษะที่ต้องการ 3.การปรับโครงสร้างขององค์กร 4.การหมุนเวียนงานซึ่งออกแบบเพื่อตอบสนองต่อทิศทางในระดับกลยุทธ์หรือข้อกำหนดของลูกค้า
  • ตัววัดผลลัพธ์ความผูกพันและความพึงพอใจของบุคลากร เช่น 1.การปรับปรุงเกี่ยวกับการตัดสินใจในระดับหน้างาน 2.วัฒนธรรมองค์กร 3.การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากร 4.จำนวนรางวัลที่เป็นเงิน5.บุคลากรอยู่กับองค์กรนานขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากการริเริ่มโครงการยกย่องชมเชยเพื่อนร่วมงาน 6.การเพิ่มขึ้นของจำนวนบุคลากรที่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งซึ่งเป็นผลมาจากโปรแกรมการพัฒนาผู้นำขององค์กร

7.4 การนำองค์กรและการกำกับดูแลองค์กร : (65 คะแนน)

.ผลลัพธ์ด้านการนำองค์กรการกำกับดูแลองค์กรและความรับผิดชอบต่อสังคมในวงกว้าง

(1) การนำองค์กร การสื่อสารและการสร้างความผูกพันกับบุคลากรของผู้นำระดับสูงเพื่อถ่ายทอดวิสัยทัศน์และค่านิยมสู่การปฏิบัติการกระตุ้นให้เกิดการสื่อสารในลักษณะสองทิศทาง และการทำให้เกิดการปฏิบัติการอย่างจริงจัง

(2) การกำกับดูแลองค์กร การกำกับดูแลองค์กร และความรับผิดชอบด้านการเงินภายในและภายนอก

(3) กฎหมายและกฎระเบียบข้อบังคับ การปฏิบัติตามหรือปฏิบัติได้เหนือกว่าข้อกำหนดด้านกฎระเบียบข้อบังคับและกฎหมาย

(4) จริยธรรม การประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรมและความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อผู้นำระดับสูงและการกำกับดูแลองค์กร พฤติกรรมที่ละเมิดการประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม

(5) สังคม ความรับผิดชอบต่อสังคมในวงกว้างและการสนับสนุนชุมชนที่สำคัญ

. ผลลัพธ์ด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ การบรรลุกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการขององค์กร รวมถึงความเสี่ยงอย่างชาญฉลาด และการสร้างและเพิ่มความเข้มแข็งของสมรรถนะหลักขององค์กร

7.4 ผลลัพธ์ด้านการนำองค์กรและการกำกับดูแลองค์กร

  • เจตจำนง หัวข้อนี้พิจารณาผลลัพธ์ที่สำคัญขององค์กรในเรื่องการนำองค์กรโดยผู้นำระดับสูงและการกำกับดูแลองค์กร เพื่อแสดงให้เห็นถึงสถานภาพทางการเงินที่ดี การเป็นองค์กรที่มีจริยธรรม ซึ่งทำให้บรรลุผลด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในวงกว้าง
  • ข้อสังเกต
    • การประพฤติปฏิบัติโดยรวมมีมาตรฐานสูง
    • การปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม กฎหมาย และกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ
    • เคยถูกต่อต้านหรือลงโทษภายใต้กฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับ หรือสัญญา
    • ผลลัพธ์ด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ (เดิมเป็น 7.1ค)
  • การรายงานในหัวข้อ 7.4ก.(1) ควรสัมพันธ์กับกระบวนการสื่อสารที่ระบุไว้ในหัวข้อ 1.1
  • ตัววัดหรือตัวชี้วัดการบรรลุแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ 7.4ข ควรเจาะจงที่วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์และเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้ใน 2.1ข.(1) และตัววัดผลการดำเนินการและผลที่คาดการณ์ไว้ของแผนปฏิบัติการที่ระบุไว้ใน 2.2ก.(6) และ 2.2ข.
  • การตอบคำถามในหัวข้อ 7.4ก.(2) อาจรวมถึงประเด็นที่เกี่ยวกับรายงานทางการเงินและความเสี่ยง คำแนะนำที่สำคัญๆ ของผู้ตรวจสอบภายในและภายนอก และการตอบสนองของผู้บริหารในเรื่องดังกล่าว
  • ผลลัพธ์ในหัวข้อ 7.4ก.(5) ควรครอบคลุมถึงความรับผิดชอบต่อสังคมในวงกว้าง ตามที่ระบุไว้ใน 1.2ข.(1) และ 1.2ค.(1) รวมถึงการสนับสนุนชุมชนที่สำคัญขององค์กร ตามที่ระบุไว้ใน 1.2ค.(2)
  • ผลลัพธ์ในหัวข้อ 7.4ก.(5) ตัววัดการสนับสนุนให้เกิดความผาสุกของสังคมในวงกว้าง เช่น 1.การลดการใช้พลังงาน 2.การใช้พลังงานหมุนเวียน 3.การหมุนเวียนน้ำกลับมาใช้ใหม่ 4.ทางเลือกอื่นสำหรับการอนุรักษ์ทรัพยากร (เช่น เพิ่มการประชุมทางไกลแบบภาพและเสียง) 5.การปฏิบัติต่อผู้ใช้แรงงานที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

7.5 ด้านการเงินและตลาด : (65 คะแนน)

. ผลลัพธ์ด้านการเงินและตลาด

(1) ผลการดำเนินการด้านการเงิน การดำเนินการด้านการเงิน รวมถึงตัววัดโดยรวมด้านผลตอบแทนทางการเงิน ความมั่นคงทางการเงิน หรือผลการดำเนินการด้านงบประมาณ

(2) ผลการดำเนินการด้านตลาด การดำเนินการด้านตลาด รวมถึงส่วนแบ่งตลาดหรือตำแหน่งในตลาดการเติบโตทางตลาดและส่วนแบ่งตลาด และการเจาะตลาดใหม่

7.5 ผลลัพธ์ด้านการเงินและตลาด

  • เจตจำนง หัวข้อนี้ตรวจประเมินผลลัพธ์ด้านการเงินและตลาดที่สำคัญ เพื่อให้เข้าใจถึงความมั่นคงทางการเงิน รวมทั้งความท้าทายและความสำเร็จด้านตลาดขององค์กร
  • ข้อสังเกต
    • บทบาทของผู้นำระดับสูง (ตัววัดที่รายงานในหัวข้อนี้เป็นตัววัดที่ผู้นำระดับสูงใช้ในการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอเพื่อตรวจประเมินผลการดำเนินการและความมั่นคงทางการเงินขององค์กร)
    • ตัววัดและตัวชี้วัดที่เหมาะสม (อาจรวมถึงรายได้ งบประมาณ กำไรหรือขาดทุน ฐานะด้านเงินสด (Cash Position) มูลค่าสินทรัพย์สุทธิ (Net Assets) อัตราส่วนหนี้สิน (Debt Leverage) วงจรเงินสด กำไรสุทธิต่อหุ้น ประสิทธิภาพของการดำเนินการด้านการเงิน [การเก็บเงิน (Collections) การเรียกเก็บเงิน (Billing) การบริหารลูกหนี้ (Receivables)] และผลตอบแทนทางการเงิน ตัววัดผลการดำเนินการด้านตลาด อาจรวมถึงตัววัดการเติบโตทางธุรกิจ/กิจการ ผลิตภัณฑ์ใหม่และการเข้าสู่ตลาดใหม่ หรือสัดส่วนรายได้ของผลิตภัณฑ์ใหม่
  • หัวข้อ 7.5ก.(1) ควรสัมพันธ์กับตัววัดด้านการเงินตามที่รายงานไว้ในหัวข้อ 4.1ก.(1) และแนวทางการจัดการด้านการเงิน ตามที่อธิบายไว้ในหัวข้อ 2.2 เช่น 1.ผลตอบแทนทางการลงทุน (ROI) 2.ส่วนกำไรจากการดำเนินงาน (Operating Margin) 3.ความสามารถในการทำกำไร4.สภาพคล่อง (Liquidity) 5.อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt to Equity Ratio) 6.เงินสดย่อยรายวัน (Days Cash on Hand) 7.ประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ 8.กระแสเงินสด
  • ตัววัดและตัวชี้วัดด้านการเงินที่เหมาะสม อาจรวมถึง 1.รายได้ 2.งบประมาณ 3.กำไรหรือขาดทุน 4.ฐานะด้านเงินสด (Cash Position) 5.มูลค่าสินทรัพย์สุทธิ (Net Assets) 6.หนี้สิน (Debt Leverage) 7.วงจรเงินสด8.กำไรสุทธิต่อหุ้น
  • ประสิทธิภาพของการดำเนินการด้านการเงิน ได้แก่ 1.การเก็บเงิน (Collections) 2.การเรียกเก็บเงิน (Billing) 3.การบริหารลูกหนี้ (Receivables)4.ผลตอบแทนทางการเงิน
  • ตัววัดผลการดำเนินการด้านตลาด ได้แก่ 1.การเติบโตทางธุรกิจ/กิจการ 2.ผลิตภัณฑ์ใหม่และการเข้าสู่ตลาดใหม่ 3.สัดส่วนรายได้ของผลิตภัณฑ์ใหม่

สรุปตอนที่ 5-แนวทางการตอบเกณฑ์ ในการตอบหัวข้อในหมวด 7 มีข้อกำหนดที่สำคัญ 4 ประการ คือ

  • ระดับผลการดำเนินการ (Level) ควรรายงานในมาตราวัดที่สื่อความหมายได้ชัดเจน
  • แนวโน้ม (Trend) เพื่อแสดงทิศทางของผลลัพธ์ อัตราการเปลี่ยนแปลง และขอบเขตของการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ
  • การเปรียบเทียบ (Comparison) เพื่อแสดงผลลัพธ์เมื่อเปรียบเทียบกับองค์กรอื่นที่เลือกมาอย่างเหมาะสม
  • การบูรณาการ (Integration) เพื่อแสดงว่ามีการรายงานผลลัพธ์ที่สำคัญทั้งหมด และจำแนกตามกลุ่มที่จัดไว้ (เช่น ตามกลุ่มลูกค้า บุคลากร กระบวนการ และกลุ่มสายผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ)

***********************************************

จบตอนที่ 5/9

หมายเลขบันทึก: 580789เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2014 22:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 ธันวาคม 2014 19:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท