รายงานโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับผู้เรียนโรงเรียนบ้านหนองแปก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5


บทความรายงานโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับผู้เรียนโรงเรียนบ้านหนองแปก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5

นางสาวทัศนีย์ แก้วงาม
Tasnee Keawngam1


บทคัดย่อ
รายงานโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับผู้เรียนโรงเรียนบ้านหนองแปก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) รายงาน การสร้างโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับผู้เรียนโรงเรียนบ้านหนองแปก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 และ (2) รายงานผลการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับผู้เรียนโรงเรียนบ้านหนองแปก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 โดยผู้รายงานแบ่งการรายงานออกเป็น 2 ระยะ คือ
1. ระยะที่ 1 สร้างโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับผู้เรียนโรงเรียนบ้านหนองแปก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5
2. ระยะที่ 2 ประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับผู้เรียนโรงเรียนบ้านหนองแปก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5

ผลการรายงานสรุปได้ ดังนี้

1. ได้โครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับผู้เรียนโรงเรียนบ้านหนองแปก สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 ที่สามารถนำลงสู่การปฏิบัติได้จริง ซึ่งประกอบ ไปด้วยกิจกรรมเพื่อให้สามารถบูรณาการโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับผู้เรียนไปใช้ให้ได้กับ ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ทั้งนี้ ให้ผู้เรียนมีนิสัยรักการอ่าน และสามารถนำความรู้จากการอ่านไปพัฒนาตนเอง ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา คือ กิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านที่เน้นทักษะการอ่าน กิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านที่เน้นการเผยแพร่ข่าวสาร กิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านที่เน้นการแก้ไขและพัฒนา กิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านที่เน้นการพัฒนาทักษะอันต่อเนื่อง
2. การดำเนินการโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับผู้เรียนโรงเรียนบ้านหนองแปก
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 ในภาพรวม ประสบความสำเร็จ อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีระดับความสำเร็จอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านการเรียนรู้และพัฒนาเป็นอันดับที่หนึ่ง รองลงมาด้านผู้เรียน ด้านกระบวนการภายใน และ ด้านการเงิน ตามลำดับ
3. ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองแปก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 มีคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ในปีการศึกษา 2556 ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2555 โดยสามารถเรียงลำดับรายวิชาที่มีคะแนนเพิ่มขึ้นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ วิชาวิทยาศาสตร์ (เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 18.10 คะแนน) วิชาคณิตศาสตร์ (เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 13.29 คะแนน) วิชาภาษาไทย (เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 7.26 คะแนน) วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี (เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 6.50 คะแนน) วิชาศิลปะ (เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 4.76 คะแนน) และวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา (เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 4.12 คะแนน) ส่วนวิชาที่มีคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ในปีการศึกษา 2556 ลดลงจากปีการศึกษา 2555 ได้แก่ วิชาภาษาอังกฤษ (ลดลงเฉลี่ย 6.70 คะแนน) วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (ลดลงเฉลี่ย 2.17 คะแนน)

บทนำ
ในการบริหารจัดการสถานศึกษา ซึ่งเป็นองค์กรทางสังคมที่ต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย รวมทั้งกฎระเบียบของการปฏิรูปการศึกษา ดังนั้น ในการบริหารจัดการสมัยใหม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนสถานศึกษาให้เป็นองค์กรที่มีความคล่องตัว ปรับตัวได้ดี มีความพร้อมที่จะเรียนรู้ และเต็มไปด้วยการสร้างสรรค์ เพื่อสามารถตอบสนองทางเลือกของผู้รับบริการทางการศึกษาที่มีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น ซึ่งสถานศึกษาในรูปองค์กรแบบใหม่ภายใต้การบริหารการเปลี่ยนแปลง ควรมีบุคลากรที่มีความเป็นครูมืออาชีพ สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลฐานความรู้ผ่านการดำเนินการตามโครงการ และกิจกรรมต่างๆ เพื่อช่วยในการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดภายใต้การใช้การเรียนรู้เป็นฐาน โดยเฉพาะในเรื่องการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้กับเด็กตั้งแต่อายุยังน้อย ซึ่งเด็กที่มีนิสัยรักการอ่านจะเป็นเด็กที่ฉลาด รอบรู้ มีความสามารถในการเรียนวิชาต่างๆ และที่สำคัญ ยังมีภูมิคุ้มกันชีวิตที่ดี เพราะองค์ความรู้ที่ผู้เรียนได้จากการอ่าน ยังสามารถนำไปพัฒนาตนเองได้อย่างรอบด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา (กระทรวงศึกษาธิการ. 2548 : 97-98)
สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ที่กล่าวถึงการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไว้ในหมวดที่ 4 แนวการจัดการศึกษา มาตรา 22 ระบุว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถมีพัฒนาการตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ประยุกต์ความรู้มาใช้ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่าน และเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง จัดการเรียนรู้ โดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรมค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนรู้ และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ ทั้งนี้ครูและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนรู้และแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ และจัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดา มารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่ายเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 2548 : 1)
นอกจากนั้น ในปัจจุบันหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้ระบุถึงความสำคัญของการอ่านไว้ว่า เป็นกระบวนการทางสติปัญญาที่ผู้อ่านรับรู้ตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ ตลอดจนค้นหาความหมาย ความเข้าใจ แล้วแปลความหมายเป็นความคิด ซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์เดิมและจินตนาการของผู้อ่านเองมาช่วยพิจารณาความหมายของสิ่งที่อ่านนั้น จนเกิดเป็นความเข้าใจในที่สุด การอ่านเป็นการสื่อความหมายระหว่างผู้เขียนและผู้อ่าน โดยมีข้อเขียนเป็นสื่อกลาง หน้าที่ของผู้อ่านคือ การค้นคว้าหาความหมายจากข้อเขียนนั้นๆ ซึ่งในปัจจุบันสถานศึกษาทุกแห่งในประเทศไทยได้มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียน โดยใช้โครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนรักการอ่าน และเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง (วิจิตร ศรีสอ้าน. 2551 : 10-13) มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถ มีความรู้ความเข้าใจสารสนเทศต่างๆได้เป็นอย่างดี อันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศในที่สุด (กระทรวงศึกษาธิการ. 2551 : 32)
อย่างไรก็ตามแม้ว่าหลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จะพยายามมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร คิดแก้ปัญหา ใช้เทคโนโลยี และมีทักษะชีวิตปลูกจิตสำนึกให้ผู้เรียนมีนิสัยรักการอ่าน แต่ในความเป็นจริงจากผลการสำรวจพฤติกรรมการอ่านหนังสือของเยาวชนไทยในเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม 2554 (มหาวิทยาลัยอัสสัมชัน. 2554 : 18) พบว่า สาเหตุที่เด็กไทยไม่อ่านหนังสือ คือ ไม่มีเวลาว่าง (ร้อยละ 44.1) มีกิจกรรมอื่นที่น่าสนใจกว่า (ร้อยละ 29) หนังสือมีราคาแพง (ร้อยละ 25.2) ไม่รักการอ่าน (ร้อยละ 24.1) ไม่มีหนังสือที่สนใจ (ร้อยละ 22.9) หาซื้อหรือหายืมอ่านได้ยาก (ร้อยละ 16.4) หนังสือไม่ดึงดูดใจ (ร้อยละ 15.8) โดยกิจกรรมที่เยาวชนไทยชื่นชอบมากที่สุด คือ การคุยโทรศัพท์ การเล่นอินเตอร์เน็ต และการอ่านหนังสือ ตามลำดับ และเยาวชนไทยที่เป็นกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 65.5 ระบุว่า ดูโทรทัศน์ ดีวีดี มากกว่าอ่านหนังสือ เยาวชนไทยที่เป็นกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 20.4 ระบุว่าส่วนใหญ่จะฟังวิทยุมากกว่าอ่านหนังสือ ประกอบกับในชีวิตจริงของเยาวชนไทยจะใช้เวลาส่วนหนึ่งศึกษาที่สถานศึกษา และใช้เวลาที่เหลืออยู่กับบ้านและชุมชน ซึ่งสิ่งแวดล้อมในชุมชนมิได้ช่วยกระตุ้นให้เยาวชนเกิดนิสัยรักการอ่านเหมือนอยู่ที่สถานศึกษา ดังจะเห็นได้ว่าในชุมชนส่วนใหญ่จะมีร้านเกมและร้านอาหารมากกว่าร้านหนังสือ และบางชุมชนไม่มีห้องสมุด จึงอาจกล่าวได้ว่าบทบาทของชุมชนมีส่วนสำคัญมากที่จะส่งเสริมและต่อยอดให้เยาวชนไทยรักการอ่านจนเป็นนิสัย ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการมีนิสัยรักการอ่าน และพัฒนาการของเยาวชนไทยทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ตามมา (แผนงานสร้างสุขภาวะเยาวชน. ม.ป.ป. : 8)
ดังนั้นสถานศึกษาจึงมีบทบาทที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งในการปลูกจิตสำนึกให้เยาวชนมีนิสัยรัก การอ่านทุกประเภท ไม่จำเป็นต้องเฉพาะกับในเนื้อหาทางวิชาการเท่านั้น โดยทางสถานศึกษาต้องจัดโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ เห็นความสำคัญของการอ่าน กระตุ้นให้ผู้เรียนอยากอ่านด้วยวิธีการอ่านที่ถูกต้อง ซึ่งโรงเรียนบ้านหนองแปก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 ได้ดำเนินการโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในสถานศึกษา โดยให้ความสำคัญกับวิธีการสร้างโครงการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับผู้เรียนโรงเรียน บ้านหนองแปก ที่มุ่งเน้นให้เกิดการบูรณาการกับการจัดการเรียนรู้ ใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนอ่านเป็น กล่าวคือ ให้ผู้เรียนสามารถใช้ประสบการณ์เดิมและสิ่งที่ผู้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องหรือหัวข้อที่จะอ่าน ให้ผู้เรียนสามารถกำหนดสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้จากเรื่องที่อ่าน และฝึกให้ผู้เรียนสามารถสรุปเรื่องที่อ่านออกมาเป็นแผนผังความคิด (Carr and Ogle. 1987 : 195) ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยพัฒนาความสามารถในการอ่านให้ผู้เรียนรู้สึกสนุกไปกับการอ่าน และเปลี่ยนทัศนคติที่ไม่ดีต่อการอ่าน ให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนและเพื่อนใน ชั้นเรียน มีความร่วมมือกันระหว่างผู้เรียน ผู้เรียนจะได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านต่างๆ อันจะนําไปสู่การสร้างองค์ความรู้จากสิ่งที่ปฏิบัติในระหว่างการจัดกิจกรรมการอ่าน โดยการพูด การฟัง การเขียน การอ่าน และ การสะท้อนความคิด เพื่อให้มั่นใจว่าผู้เรียนมีการเรียนรู้จริง ใน 4 กระบวนการ คือ (1) กระบวนการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ (2) กระบวนการสร้างองค์ความรู้ร่วมกัน (3) กระบวนการนําเสนอความรู้ และ (4) กระบวนการประยุกต์ใช้ แต่การที่โรงเรียนบ้านหนองแปก จะพัฒนาผู้เรียนให้มีนิสัยรักการอ่านเพื่อนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ได้นั้น ทางโรงเรียนบ้านหนองแปก ต้องสร้างให้เกิดการดำเนินการโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน และให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ ซึ่งผู้รายงานในฐานะผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองแปก ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการอ่าน ซึ่งจะเชื่อมโยงกับการพัฒนาผู้เรียนทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญามาโดยตลอด จึงทำการสร้างโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับผู้เรียนโรงเรียนบ้านหนองแปก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 แต่เพื่อให้การดำเนินการโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสามารถเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิผลต่อเนื่อง ผู้รายงานยังออกแบบวิธีการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านให้มีความครอบคลุมใน 4 ด้าน คือ ด้านผู้เรียน ด้านกระบวนการภายใน ด้านการเรียนรู้และพัฒนา และด้านการเงิน (Kaplan and Norton. 2004 : 3) เพื่อให้ครอบคลุมประเด็นสำคัญของการให้ผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) เข้ามามีส่วนร่วม (Participation) (บุปผา ศิริรัศมี. 2550 : 8-9) ในการกำหนดทิศทางของการพัฒนาผู้เรียน เนื่องจากผู้รายงานเห็นว่า ทั้งผู้บริหาร ครู พ่อแม่ ผู้ปกครอง ตลอดจนชุมชน ต่างก็มุ่งพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนบ้านหนองแปก ให้มีความโดดเด่น ต้องการเห็นผู้เรียนที่จบการศึกษาจากโรงเรียนบ้านหนองแปก ออกไปอย่างมีคุณภาพ ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา สามารถเรียนต่อได้มากขึ้น มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักปรัชญาการจัดการศึกษาของรัฐบาล คือ เป็นคนดี มีความเก่ง สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข เพื่อเป็นตัวอย่างสำหรับสถานศึกษาอื่นๆ ในการใช้โครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านเพื่อพัฒนาผู้เรียน อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนทั้งหมด ได้ตามมา

วัตถุประสงค์
1. เพื่อรายงานการสร้างโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับผู้เรียนโรงเรียนบ้าน หนองแปก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5
2. เพื่อรายงานผลการประเมินโครงการ
ส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับผู้เรียนโรงเรียน บ้านหนองแปก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5
วิธีดำเนินการวิจัย
กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน ผู้ปกครอง กำหนดกลุ่มเป้าหมายโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)

ขั้นตอนการดำเนินการ การวิจัยครั้งนี้มีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ระยะที่ 1 สร้างโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับผู้เรียนโรงเรียนบ้านหนองแปก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 มีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้ 1.1 ศึกษาความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โดยใช้แบบสอบถาม 1.2 สังเคราะห์เอกสารกระบวนการสร้างความรู้จากการอ่าน 1.3 สรุปประเด็นสำคัญเพื่อนำไปสู่การจัดทำโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับผู้เรียนโรงเรียนบ้านหนองแปก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 1.4 จัดทำโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับผู้เรียนโรงเรียนบ้านหนองแปก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 โดยการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group Discussion) กับคณะครู และผู้ปกครองของผู้เรียนโรงเรียนบ้านหนองแปก

2. ระยะที่ 2 ประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับผู้เรียนโรงเรียนบ้านหนองแปก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 มีขั้นตอนการดำเนินการ โดยประเมินผลโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับผู้เรียนโรงเรียนบ้านหนองแปก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 หลังจากการนำโครงการไปปฏิบัติเป็นระยะเวลา 1 ปีการศึกษา

สรุปผลการวิจัย
1. ได้โครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับผู้เรียนโรงเรียนบ้านหนองแปก สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 ที่สามารถนำลงสู่การปฏิบัติได้จริง ซึ่งประกอบไปด้วยกิจกรรมเพื่อให้สามารถบูรณาการโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับผู้เรียนไปใช้ให้ได้กับทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ทั้งนี้ ให้ผู้เรียนมีนิสัยรักการอ่าน และสามารถนำความรู้จากการอ่านไปพัฒนาตนเอง ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา คือ กิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านที่เน้นทักษะการอ่าน กิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านที่เน้นการเผยแพร่ข่าวสาร กิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านที่เน้นการแก้ไขและพัฒนา กิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านที่เน้นการพัฒนาทักษะอันต่อเนื่อง
2. การดำเนินการโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับผู้เรียนโรงเรียนบ้านหนองแปก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 ในภาพรวม ประสบความสำเร็จอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีระดับความสำเร็จอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านการเรียนรู้และพัฒนาเป็นอันดับที่หนึ่ง รองลงมาด้านผู้เรียน ด้านกระบวนการภายใน และด้านการเงิน ตามลำดับ

อภิปรายผลการวิจัย
รายงานโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับผู้เรียนโรงเรียนบ้านหนองแปก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 มีผลการรายงานที่น่าหยิบยกมาอภิปราย ดังนี้ การสร้างโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับผู้เรียนโรงเรียนบ้านหนองแปก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 ครั้งนี้ ต้องผ่านขั้นตอนที่สำคัญ 4 ขั้นตอน คือ (1) ศึกษาความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (2) สังเคราะห์เอกสารกระบวนการสร้างความรู้จากการอ่าน (3) สรุปประเด็นสำคัญเพื่อนำไปสู่การจัดทำโครงการ (4) จัดทำโครงการส่งเสริมนิสัยรัก การอ่านสำหรับผู้เรียนโรงเรียนบ้านหนองแปก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 โดยการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group Discussion) กับคณะครู และผู้ปกครองของผู้เรียนโรงเรียนบ้านหนองแปก ซึ่งแต่ละขั้นตอนล้วนมีความสำคัญในการนำไปสู่การได้มาของโครงการซึ่งประกอบไปด้วยกิจกรรมเพื่อให้สามารถบูรณาการโครงการไปใช้ให้ได้กับทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และเป็นการให้ความสำคัญกับผู้เรียน ผู้สอน และผู้ปกครอง ซึ่งถือเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่สำคัญอย่างแท้จริง โดยมีผลการศึกษาความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ คือ ต้องการให้จัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านด้านการประยุกต์ใช้อยู่ในระดับมากเป็นอันดับที่หนึ่ง รองลงมาด้านการสร้างองค์ความรู้ร่วมกัน ด้านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และด้านการนำเสนอความรู้ ตามลำดับ ถือเป็นการแสดงให้เห็นว่า ในประเด็นของการอ่านนั้น ส่วนหนึ่งอาจเกิดมาจากการเลือกที่จะอ่านในเรื่องที่ตนเองสนใจ และสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการอ่านมาประยุกต์ใช้ได้ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวของผู้รายงาน เป็นกระบวนการของการค้นพบและเข้าใจความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ เชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ เข้าด้วยกัน และนำข้อมูลนั้นมาแก้ปัญหาหรือใช้ในการกระทำต่างๆ เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน เป็นการสร้างแรงจูงใจที่เกิดจากภายในตัวผู้เรียน ซึ่งมีผลที่จะกระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมตามความต้องการ เช่น ความอยากรู้อยากเห็น เป็นแรงจูงใจภายในจะมีศักยภาพในการกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนในระยะยาวและมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นอย่างมาก
นอกจากนั้น ยังมีประเด็นที่น่าสนใจ คือ โครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับผู้เรียนโรงเรียนบ้านหนองแปก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 สามารถนำลงสู่การปฏิบัติได้จริง ซึ่งประกอบไปด้วยกิจกรรมเพื่อให้สามารถบูรณาการโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านไปใช้ให้ได้กับทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ทั้งนี้ ให้ผู้เรียนมีนิสัยรักการอ่าน และสามารถนำความรู้จากการอ่านไปพัฒนาตนเองทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา คือ กิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านที่เน้นทักษะการอ่าน กิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านที่เน้นการเผยแพร่ข่าวสาร กิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านที่เน้นการแก้ไขและพัฒนา กิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านที่เน้นการพัฒนาทักษะอันต่อเนื่อง ซึ่งมีขั้นตอนสำคัญ 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นนำ ขั้นปฏิบัติการ ขั้นสรุป และขั้นการประยุกต์ใช้ (1) ขั้นนําเป็นขั้นที่นําผู้เรียนเข้าสู่กิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านด้วยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ซึ่งจัดเป็นรูปแบบการปฏิสัมพันธ์ (Social System) ที่เป็นการอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียน และความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนว่าเป็นกระบวนการของการค้นพบและเข้าใจความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ เชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ เข้าด้วยกัน (2) ขั้นปฏิบัติการ เป็นขั้นที่ให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ร่วมกัน ซึ่งจัดเป็นรูปแบบการปฏิสัมพันธ์ (Social System) ที่เป็นการอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียน และความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน ว่าเป็นกระบวนการของการสร้างแรงจูงใจจากภายในตัวผู้เรียน ซึ่งมีผลที่จะกระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมตามความต้องการ (3) ขั้นสรุป เป็นขั้นที่ให้ผู้เรียนนำเสนอความรู้ ซึ่งการนำเสนอความรู้ จัดเป็นผลสรุปของการใช้รูปแบบการปฏิสัมพันธ์ (Social System) ที่เป็นการอธิบายถึงบทบาทของครู และบทบาทของผู้เรียน ที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียน และความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน โดยผู้เรียนแต่ละคนสรุปแนวคิด หลักการ และมโนทัศน์ของเนื้อหาจากเรื่องที่อ่านจากกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านเพื่อผู้เรียนจะได้นํามโนทัศน์และหลักการดังกล่าวไปใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ ต่อไป และ (4) ขั้นการประยุกต์ใช้ จัดเป็นการพัฒนาผู้เรียนรายบุคคล การพัฒนาทัศนคติ และค่านิยมที่ดีงาม เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในตนเอง และสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตนเองดีขึ้น มีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองและสังคม มีความสามารถสร้างสรรค์ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้สูงขึ้น ทําให้ผู้เรียนได้นําความคิดรวบยอด หรือข้อสรุป หรือองค์ความรู้ใหม่ ที่เกิดขึ้นไปประยุกต์ หรือทดลองใช้ ซึ่งทั้ง 4 ขั้น ดังกล่าว ถือเป็นการกำหนดให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อสร้างองค์ความรู้ร่วมกัน การเก็บความรู้และนำความรู้ไปใช้ เป็นกิจกรรมที่ต้องดำเนินการต่อจากการแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อสร้างองค์ความรู้ร่วมกัน อย่างเป็นระบบในรูปของห่วงโซ่ (Chain) ที่มุ่งสู่การพัฒนาผู้เรียนให้ได้รับประโยชน์สูงสุดในการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านตามโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับผู้เรียนโรงเรียน บ้านหนองแปก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 กล่าวคือ เป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน และปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียน ด้วยกัน ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อสร้างองค์ความรู้ร่วมกันให้บรรลุผลสําเร็จทางด้านวิชาการ (บุหงา วัฒนะ. 2546 : 33) แต่เพื่อมิให้องค์ความรู้ที่ได้สูญหายไป จำเป็นต้องมีการเก็บความรู้และนำความรู้ไปใช้ในโอกาสต่อไป หรือสามารถเรียกใช้ความรู้ที่เก็บไว้เพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ สอดคล้องกับขั้นตอนการจัดประสบการณ์แบบปฏิบัติจริงของ สุชาดา นทีตานนท์ (2550 : 5) ที่ว่า
ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมพร้อมเข้าสู่บทเรียน เป็นขั้นสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ ทบทวน ความรู้เดิม แนะนําหัวข้อที่จะเรียน แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้ผู้เรียนทราบ นําเสนอสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ต้องใช้ ยกตัวอย่างสถานการณ์ให้ผู้เรียนเห็นตัวอย่าง และตั้งกติการ่วมกัน เพื่อให้ผู้เรียนมีความพร้อมและเกิดความสนใจ
ขั้นที่ 2 ขั้นนําเสนอสถานการณ์เป็นขั้นที่ ผู้สอนนําสถานการณ์ปัญหามาเร้าความสนใจ เพื่อให้ผู้เรียนได้ร่วมกันวางแผนการแก้ปัญหา และร่วมกันคิดวิเคราะห์ปัญหา และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถามในสิ่งที่สงสัย
ขั้นที่ 3 ขั้นลงมือปฏิบัติ เป็นขั้นที่ผู้เรียนได้ลงมือแก้ปัญหาตามที่ได้วางแผนไว้ มีการแลกเปลี่ยนความคิดกันภายในกลุ่ม และทุกคนในกลุ่มต้องมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา โดยผู้สอนเป็นผู้คอยแนะนํา
ขั้นที่ 4 ขั้นอภิปรายเป็นขั้นที่ผู้เรียนออกมานําเสนอแนวคิดหน้าชั้นเรียน โดยทุกกลุ่มมีหน้าที่ตรวจสอบและมีสิทธิ์ที่จะถามผู้เรียนที่ออกไปนําเสนอแนวคิด
ขั้นที่ 5 ขั้นสรุป เป็นขั้นที่ผู้เรียนร่วมกันสรุปความรู้ หรือแนวคิดที่ได้ เพื่อสะท้อน ความคิดที่ได้จากการลงมือปฏิบัติ และเพื่อให้ มั่นใจว่าผู้เรียนมีการเรียนรู้จริง
ประเด็นสำคัญต่อมา คือ ผลการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับผู้เรียนโรงเรียนบ้านหนองแปก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 พบว่า ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีระดับความสำเร็จอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านการเรียนรู้และพัฒนาเป็นอันดับที่หนึ่ง รองลงมาด้านผู้เรียน ด้านกระบวนการภายใน และด้านการเงิน แสดงให้เห็นว่าการนำโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับผู้เรียนโรงเรียนบ้านหนองแปก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 มาใช้ น่าจะสามารถขยายผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้นได้อย่างยั่งยืนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพราะในทางปฏิบัติจริงมีการวางแผนร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียน และมีการทำความเข้าใจกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องถึงความจำเป็นที่ต้องทำโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า ผู้รายงานและคณะครูโรงเรียนบ้านหนองแปก มีความต้องการให้ผู้เรียนสามารถจับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านและนำความรู้ ความคิด จากเรื่องที่อ่านไปตัดสินใจแก้ปัญหา ในการดำเนินชีวิตได้ มีมารยาทและมีนิสัยรักการอ่าน และเห็นคุณค่าสิ่งที่อ่าน โดยจากการสังเกตของผู้รายงานพบว่า ผู้เรียนมีความสุขกับการอ่าน และครูผู้สอนทำการจัดการเรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระได้ง่ายขึ้น และจากการพูดคุยกับผู้เรียนอย่างไม่เป็นทางการของผู้รายงาน พบว่า ผู้เรียนส่วนใหญ่บอกว่าพวกเขาสามารถอ่านหนังสือต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือเรียน หนังสือพิมพ์ หรือนิตยสารต่างๆ ได้รู้เรื่อง และจับใจความสำคัญได้มากขึ้น พอสอบถามต่อว่า รู้หรือไม่ว่าจะนำความรู้ ที่ได้จากการอ่านไปใช้อย่างไร ผู้เรียนเกือบทั้งหมดที่ผู้รายงานทำการพูดคุยเพื่อซักถามต่างคนต่างยกตัวอย่างการนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ และยังบอกต่ออีกว่า ครูผู้สอนให้เขียนแผนผังความคิดของการนำความรู้ที่ได้จากการอ่านและการเรียนเรื่องต่างๆ ไปประยุกต์ใช้อยู่เป็นประจำซึ่งสอดคล้องกับกระทรวงศึกษาธิการ (2551 : 32) ที่ว่า การอ่านเป็นกระบวนการทางสติปัญญาที่ผู้อ่านรับรู้ตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ตลอดจนค้นหาความหมาย ความเข้าใจแล้วแปลความหมายในสิ่งที่ผู้รับรู้มานั้นเป็นความคิดซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์เดิมและจินตนาการของผู้อ่านเอง มาช่วยพิจารณาความหมายของสิ่งที่อ่านนั้น จนเกิดเป็นความเข้าใจในที่สุด การอ่านเป็นการสื่อความหมายระหว่างผู้เขียนและผู้อ่านโดยมีข้อเขียนเป็นสื่อกลาง หน้าที่ของผู้อ่านคือ การค้นคว้าหาความหมายจากข้อเขียนนั้นๆ เพื่อให้ผู้เรียนรักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถทางภาษาในระดับที่สามารถใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสารกันได้ โดยสามารถรับสารและส่งสาร มีความรู้ความเข้าใจสารสนเทศต่างๆ ได้เป็นอย่างดี อันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศในที่สุด
สำหรับกระบวนการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับผู้เรียนโรงเรียน บ้านหนองแปก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 มีการแบ่งหน้าที่ ในการทำงานของฝ่ายบริหารโรงเรียนเพื่อทำโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านอย่างชัดเจน มีการกำหนดเป้าหมายและมาตรฐานโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านที่ชัดเจนจากฝ่ายบริหาร การเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้เรียนหรือไม่ ทั้งนี้ให้เป็นไปเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนา คือ มีการปรับปรุงโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านอยู่ตลอดเวลา เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้เรียน มีช่องทางในการดำเนินการโครงการ ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีการระดมความคิดเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุงการทำงานในโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนและเพื่อนในชั้นเรียนมีความร่วมมือกันระหว่างผู้เรียน ผู้เรียนจะได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ อันจะนําไปสู่การสร้างองค์ความรู้จากสิ่งที่ปฏิบัติในระหว่างการจัดกิจกรรมในโครงการ โดยการพูดและการฟัง การเขียน การอ่าน และการสะท้อน ความคิด เพื่อให้มั่นใจว่าผู้เรียนมีการเรียนรู้จริง สอดคล้องกับผลการศึกษาวิจัยของ ดวงเดือน สิงหราช (2546 : บทคัดย่อ) ที่พบว่า ผู้เรียนให้ความสนใจในการเข้าใช้บริการห้องสมุดและสนใจในการอ่านหนังสือเพิ่มขึ้น ผลของคะแนนรวมจากอ่านที่ใช้การเขียนเป็นสื่อกระตุ้นนั้น มีส่วนส่งเสริมให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อการอ่าน และยังสอดคล้องกับผลการศึกษาวิจัยของ โสภิดา ยีดิง (2549 : บทคัดย่อ) ที่พบว่า การใช้กิจกรรมก่อนการอ่านในการจัดการเรียนรู้ ทำให้นักศึกษากลุ่มตัวอย่างมีระดับของแรงจูงใจในการอ่านภาษาอังกฤษในระดับ มาก และหลังการทดลองนักศึกษามีความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

นอกจากนั้น ผลจากการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับผู้เรียนโรงเรียนบ้านหนองแปก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 ยังสามารถสะท้อนให้เห็นว่า ในการดำเนินการโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านส่งผลให้การจัดการเรียนรู้เป็นไปได้อย่างสนุกสนาน และไม่ น่าเบื่อ ซึ่งจุดเน้นของกระบวนการจัดกิจกรรมประกอบโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ควรอยู่ที่กลวิธีการจัดกิจกรรมเพื่อการประยุกต์ใช้มากกว่าการมุ่งเน้นที่การทำเพื่อให้ได้ชื่อว่าทางสถานศึกษาจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านให้ผู้เรียนไปอ่านหนังสือในห้องสมุดเท่านั้น และมิใช่มุ่งเน้นแต่เพียงใจความที่ผู้เรียนต้องได้รับ เช่น ใคร ทำอะไร อย่างไร ที่ไหน เป็นต้น ซึ่งถือเป็นการอ่านจับใจความที่มุ่งเน้นไปที่การท่องจำ และการชี้ถูก ชี้ผิดมากเกินไป ก่อให้เกิดบรรยากาศ ที่ตึงเครียดในการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน และผู้เรียนอาจมีเจตคติที่ไม่ดีในการอ่านได้ต่อไป เหมือนที่เกิดกับเด็กไทยส่วนใหญ่ที่ปัจจุบันถอยหนีจากการอ่านที่น่าเบื่อและเครียด ไปเป็นการเปิดรับสื่อการดูและการฟังแทน เช่น เฟสบุ๊ก (Facebook) ไลน์ (Line) ยูทู้ป (Utube) เป็นต้น ทำให้ขาดกระบวนการในการคิดวิเคราะห์ และ ไม่สามารถคิดประยุกต์ใช้องค์ความรู้ที่ได้อย่างสร้างสรรค์ จึงอาจกล่าวได้ว่า การจะพัฒนานิสัยรักการอ่านของผู้เรียนนั้น ต้องคำนึงถึงการอ่านให้ได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการร่วมด้วย และไม่ควรมุ่งเน้นแต่กระบวนการในการอ่านเท่านั้น ซึ่งยังมีกระบวนการอื่นๆ ที่สามารถนำมาใช้ร่วมกันได้ เช่น กระบวนการในเชิงปฏิสัมพันธ์ กระบวนการในเชิงจิตวิทยา และกระบวนการ ในการจัดเก็บข้อมูลที่ได้จากการอ่านในรูปของแฟ้มสะสมผลงาน การอ่านที่สามารถเรียกใช้ได้อย่างเป็นปัจจุบัน ส่งผลให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีชีวิตชีวาในแต่ละกิจกรรม และสามารถอ่านจับใจความได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการไปพร้อมๆ กัน เป็นแนวทางที่สามารถสร้าง ให้ผู้เรียนรักการอ่าน และสามารถอ่านจับใจความได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการที่ผู้เรียน มีส่วนร่วมในการดําเนินกิจกรรมต่างๆ จนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ซึ่งเป็นวิธีการเรียนรู้ในระดับลึก ผู้เรียนจะสร้างความเข้าใจและค้นหาความหมายของเนื้อหาสาระ โดยเชื่อมกับประสบการณ์เดิมที่มี แยกแยะความรู้ใหม่ที่ได้รับกับความรู้เก่าที่มี สามารถประเมินต่อเติม และสร้างแนวคิดของตนเองซึ่งเรียกว่ามีการเรียนรู้เกิดขึ้น ซึ่งแตกต่างจากวิธีการเรียนรู้ในระดับผิวเผินซึ่ง เน้นการรับข้อมูล และจดจําข้อมูลเท่านั้นผู้เรียนลักษณะนี้ จะเป็นผู้เรียนที่เรียนรู้วิธีการเรียน (Learning how to learn) เป็นผู้เรียนที่กระตือรือร้น และมีทักษะที่สามารถเลือกรับข้อมูล วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมีระบบ (ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ. 2551 : 1) สอดคล้องกับลักษณะสําคัญของการเรียนรู้แบบ ใฝ่รู้ของบัญญัติ ชํานาญกิจ (2549 : 3-4) ที่ว่า การแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อสร้างองค์ความรู้ร่วมกันและการเก็บความรู้และนำความรู้ไปใช้ ส่งผลให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกัน ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนรู้หน้าที่ วิธีการศึกษาและการทํางานในวิชาที่เรียนให้สําเร็จผู้เรียนต้องอ่าน พูด ฟัง คิด และเขียน อย่าง กระตือรือร้น ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการคิดชั้นสูง คือ วิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่าผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้กระตือรือร้น ในการเข้าร่วมกิจกรรม ผู้เรียนมีโอกาสประยุกต์ ข้อมูลสารสนเทศ มโนทัศน์ หรือทักษะใหม่ๆ ในการเรียนรู้ ความรู้เกิดจากประสบการณ์ และการสร้างความรู้โดยผู้เรียน ซึ่งผู้สอนเป็นเพียง ผู้อํานวยความสะดวกให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้

ข้อเสนอแนะ

1. สามารถบรรจุเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการขัดเกลาผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความซาบซึ้ง และสร้างสรรค์องค์ความรู้เรื่องนั้นๆ ได้เอง ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดความศรัทธา และมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ได้ตามมา โดยครูผู้สอน มิต้องคอยบอกหรือคอยเตือน

2. ควรมีการนำโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับผู้เรียนโรงเรียนบ้านหนองแปกสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 สู่การปฏิบัติจริงในสถานศึกษาต่างๆ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านระดับเขตพื้นที่การศ

3. ควรมีการนำโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับผู้เรียนโรงเรียนบ้านหนองแปก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 สู่การปฏิบัติจริงในระดับชุมชนเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนในชุมชนมีนิสัยรักการอ่าน และสามารถอ่านได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

4. โรงเรียนบ้านหนองแปก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 ควรจัดทำตัวชี้วัดด้านการอ่านของผู้เรียน ซึ่งแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของผู้เรียน เพื่อส่งเป็นข้อมูลที่มีความเป็นรูปธรรมแก่ผู้ปกครอง และผู้ให้การสนับสนุนสถานศึกษาต่อไปในการรายงานครั้งต่อไป ควรทำการศึกษาลงลึกในประเด็นปัญหาของโครงการส่งเสริมนิสัย รักการอ่านในโรงเรียนอื่นๆ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 และแนวทางในการแก้ไข ร่วมด้วย ซึ่งทำให้สามารถบรรลุตามเป้าประสงค์ของการจัดการศึกษาในภาพรวมและสามารถแก้ปัญหาการอ่านในระดับเขตพื้นที่การศึกษาได้อย่างยั่งยืนต่อไป

Reference

บัญญัติ ชํานาญกิจ. (2549). "ทําไมจึงจําเป็นต้องจัดการเรียนรู้แบบใฝ่รู้ในระดับอุดมศึกษา". วารสารการจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. 1(1). หน้า 1-7.

บุหงา วัฒนะ. (2546). "Active Learning". วารสารวิชาการ. 6(9) : 30-34.

บุปผา ศิริรัศมี. (2550). การวิจัยเชิงคุณภาพ : เอกสารประกอบคำบรรยายรายวิชาการวิจัยเชิงคุณภาพ หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ. (2551). การเรียนเชิงรุก (Active Learning). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

แผนงานสร้างสุขภาวะเยาวชน. (ม.ป.ป). มหัศจรรย์การอ่าน. กรุงเทพฯ: เอกสารแผ่นพับ.

มหาวิทยาลัยอัสสัมชัน. (2554).ผลการสำรวจพฤติกรรมการอ่านหนังสือของเยาวชนไทยในเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม 2554. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยอัสสัมชัน.

เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน. (2548). มาตรฐานการศึกษาของชาติ. กรุงเทพฯ : สหายบล็อกและการพิมพ์.

วิจิตร ศรีสอ้าน. "(2551). ขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษาให้ไปสู่เป้าหมายไม่ยาก," วารสารการศึกษาไทย. 3: 8–13.

ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2548). "จะปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้กับนักเรียนได้อย่างไร." วารสารวงการครู. 2(19), กรกฎาคม.

--------------. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : http://academic. obec.go.th/ curriculum44.

สุชาดา นทีตานนท์. (2550). ผลการจัดประสบการณ์แบบปฏิบัติจริงที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การศึกษาปฐมวัย). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

โสภิดา ยีดิง. (2549). การใช้กิจกรรมก่อนการอ่านในการจัดการเรียนรู้ เพื่อสร้างแรงจูงใจ ในการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ป.วช.) ชั้นปีที่ 2 สาขาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ภาควิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคโนโลยี

อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. กรุงเทพฯ : สารนิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ). มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.

Carr, E. and Ogle, D. K-W-L Plus: (1987). A strategy for comprehension and summarization. Journal of Reading. 30: 626-631.

Kaplan, R. S. and Norton, D.P. (2004). EXTENDING THE BALANCED SCORECARD TO MEET THE NEW STRATEGY ANIGNMENT CHALLENGES. กรุงเทพฯ: โรงแรมพลาซ่าแอทธีนี.

หมายเลขบันทึก: 580784เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2014 21:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2014 21:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท