ผู้ตรวจประเมินภายใน 2


โครงร่างองค์กร (Organizational Profile)

ผู้ตรวจประเมินภายใน 2

PMK Internal Assessor 2

พันเอก มารวย ส่งทานินทร์

[email protected]

19 พฤศจิกายน 2557

บทความนี้ นำมาจากเอกสาร ตอนที่ 2 ของทั้งหมด 9 ตอน ของการประชุมเชิงปฏิบัติการ โครงการผู้ตรวจประเมินภายใน ตามแนวทางรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award: TQA) ปี 2557-2558 เอกสารนี้ไม่ใช่ตัวเกณฑ์ เป็นเพียงใช้ประกอบการอบรม

เกณฑ์รางวัลฉบับที่เป็นทางการ สามารถ Download ได้ที่ website คือ www.tqa.or.th

ผู้ที่สนใจเอกสารแบบ PowerPoint (PDF file) สามารถศึกษาและ Download ได้ที่ http://www.slideshare.net/maruay/pmk-internal-assessor-2

ตอนที่ 2 โครงร่างองค์กร (Organizational Profile)

  • เป็นการมองภาพรวมขององค์กรอย่างรวดเร็ว
  • บ่งถึงปัจจัยที่มีผลกระทบในการดำเนินการ และความท้าทายที่สำคัญขององค์กร
  • เป็นจุดเริ่มในการประเมินตนเอง
  • ผู้ประเมินใช้ระบุปัจจัยสำคัญเพื่อใช้ในการประเมินองค์กร และใช้ในการให้คะแนน

ครงร่างองค์กร ประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ ลักษณะองค์กร และสภาวการณ์ขององค์กร

  1. ลักษณะองค์กร

ก,สภาพแวดล้อมขององค์กร

  • ผลิตภัณฑ์/บริการหลัก ความสำคัญแต่ละผลิตภัณฑ์ และกลไกการส่งมอบ ผลิตภัณฑ์และบริการสู่ลูกค้า
  • วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัฒนธรรม สมรรถนะหลัก และค่านิยม
  • ลักษณะโดยรวมบุคลากรกลุ่มบุคลากร องค์ประกอบความผูกพัน ความหลากหลาย ความต้องการของระดับการศึกษา สวัสดิการที่สำคัญ ข้อกำหนดด้านสุขภาพความปลอดภัย
  • สินทรัพย์ เทคโนโลยี อุปกรณ์ และอาคารสถานที่
  • กฎหมาย และระเบียบ ข้อบังคับ

ข.ความสัมพันธ์ ระดับองค์กร

  • โครงสร้างองค์กร ระบบ ธรรมาภิบาล
  • กลุ่มลูกค้า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ความต้องการและความคาดหวังของแต่ละกลุ่ม
  • ผู้ส่งมอบ พันธมิตร คู่ความร่วมมือที่สำคัญ บทบาทใน การผลิตและการส่งมอบ การสื่อสาร บทบาทในการสร้างนวัตกรรม ข้อกำหนดสำคัญของห่วงโซ่อุปทาน

2. สภาวการณ์ขององค์กร

ก. สภาพแวดล้อมด้านการแข่งขัน

  • ลำดับการแข่งขัน ขนาดและการเติบโต เทียบกับธุรกิจเดียวกัน จำนวนและประเภท คู่แข่ง
  • การเปลี่ยนแปลงความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งโอกาสด้านนวัตกรรม และ ความร่วมมือ
  • แหล่งข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ/แข่งขันทั้งภายในและภายนอกอุตสาหกรรม

. บริบทเชิงกลยุทธ์

  • ความท้าทายเชิงกลยุทธ์และความได้เปรียบที่สำคัญ ด้านธุรกิจ ด้านปฏิบัติการ ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในวงกว้าง และด้านทรัพยากรบุคคล

ค. ระบบการปรับปรุงผลการดำเนินการ

  • การปรับปรุงผล การดำเนินการ
  • กระบวนการประเมินและปรับปรุงโครงการและกระบวนการที่สำคัญ

หลุมพรางการเขียนโครงร่างองค์กร

  • เยิ่นเย้อเกินไป (ยาวเกินจำเป็น)
  • ตอบไม่ตรงคำถาม (ตีความผิด)
  • โฆษณาแฝง (เขียนเกินจริง)
  • ตอบไม่ครบ (ตอบไม่ได้)
  • สั้นไป (จนไม่รู้เรื่อง)
  • นำกระบวนการหรือผลลัพธ์มาตอบ
  • ไม่มีความคงเส้นคงวา (ใช้เฉพาะสิ่งสำคัญพอ)
  • เขียนไม่รู้เรื่อง (ไม่ได้ทำเอง ขัดแย้งกันเอง)
  • เขียนไม่ชัดเจน (เมาหมัด อะไรที่แก้ไขได้ดีแล้ว ให้เขียนในกระบวนการ)
  • ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากตารางหรือรูปภาพ

ปัจจัยสำคัญ (Key Factor Worksheet)

  • Key Factors (KF) เป็นการรวบรวมปัจจัยสำคัญขององค์กร จากโครงร่างองค์กร
  • ความยาวทั้งหมดประมาณ2–3 หน้า
  • แต่ละหัวข้อประกอบด้วยข้อความสั้น ๆ ที่ได้ใจความ ไม่ใช่ประโยคที่สมบูรณ์
  • ปัจจัยสำคัญที่องค์กรใช้ในการปฏิบัติงาน
  • สิ่งสำคัญที่ใช้ในการประเมินผู้สมัคร
  • ตัวอย่าง – พันธกิจ วิสัยทัศน์ ค่านิยมหลัก ลักษณะแรงงาน ตำแหน่งการแข่งขัน ฯลฯ
  • สิ่งที่ไม่ใช่ – ขั้นตอนการบริหารจัดการข้อร้องเรียน แนวทางการวางแผนยุทธศาสตร์ ฯลฯ

ความสัมพันธ์ของปัจจัยสำคัญ (KF)

  • เป็นสิ่งสำคัญเพียงพอในการนำมาใช้ปรับปรุงคุณภาพและปรับปรุงการดำเนินการ
  • มีความสำคัญที่องค์กรนำมาใช้ในการวัดผล เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทขององค์กร
  • ผู้ประเมินใช้ในการให้ความเห็นที่เป็น ++ หรือ --

สรุปตอนที่ 2 โครงร่างองค์กรคือ ภาพของลักษณะองค์กร สิ่งสำคัญที่มีผลต่อการดำเนินงาน และความท้าทายสำคัญที่องค์กรเผชิญอยู่

***********************************************

จบตอนที่ 2/9

หมายเลขบันทึก: 580785เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2014 21:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 ธันวาคม 2014 19:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท