ผู้ตรวจประเมินภายใน 3


เกณฑ์หมวดที่ 1,2,4 (TQA Criteria 2014 -2015 Category 1,2,4)

ผู้ตรวจประเมินภายใน 3

PMK Internal Assessor 3

พันเอก มารวย ส่งทานินทร์

[email protected]

19 พฤศจิกายน 2557

บทความนี้ นำมาจากเอกสาร ตอนที่ 3 ของทั้งหมด 9 ตอน ของการประชุมเชิงปฏิบัติการ โครงการผู้ตรวจประเมินภายใน ตามแนวทางรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award: TQA) ปี 2557-2558 เอกสารนี้ไม่ใช่ตัวเกณฑ์ เป็นเพียงใช้ประกอบการอบรม

เกณฑ์รางวัลฉบับที่เป็นทางการ สามารถ Download ได้ที่ website คือ www.tqa.or.th

ผู้ที่สนใจเอกสารแบบ PowerPoint (PDF file) สามารถศึกษาและ Download ได้ที่ http://www.slideshare.net/maruay/pmk-internal-assessor-3

ตอนที่ 3 เกณฑ์หมวดที่ 1,2,4 (TQA Criteria 2014 -2015 Category 1,2,4)

แนวทางการตอบเกณฑ์ ในการตอบหัวข้อในหมวด 1-6 ที่มีคำถาม "อย่างไร" (How) องค์กรควรตอบคำถามดังกล่าวด้วยการนำเสนอสารสนเทศของกระบวนการที่สำคัญที่แสดงถึง

  • แนวทาง (Approach)
  • การถ่ายทอดสู่การปฏิบัติการ (Deployment)
  • เรียนรู้ (Learning)
  • การบูรณาการ (Integration)

แนวทาง (Approach–A)

  • วิธีการที่ใช้เพื่อให้บรรลุผลตามกระบวนการ
  • ความเหมาะสมของวิธีการที่ใช้ตอบข้อกำหนดของหัวข้อต่างๆ ของเกณฑ์ และสภาพแวดล้อมการดำเนินงานขององค์กร
  • ความมีประสิทธิผลของการใช้วิธีการต่างๆ ขององค์กร
  • ระดับของการที่แนวทางนั้นนำไปใช้ซ้ำได้ และอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลและสารสนเทศที่เชื่อถือได้ (ซึ่งหมายถึง การดำเนินการอย่างเป็นระบบ)

การถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ (Deployment–D)

  • ความครอบคลุมและทั่วถึงของ
    • การใช้แนวทางเพื่อตอบสนองข้อกำหนดของหัวข้อที่มีความเกี่ยวข้องและสำคัญต่อองค์กร
    • การใช้แนวทางอย่างคงเส้นคงวา
    • การนำแนวทางไปใช้ (สู่การปฏิบัติ) ในทุกหน่วยงานที่เหมาะสม

การเรียนรู้ (Learning-L)

  • การปรับปรุงแนวทางให้ดีขึ้น โดยใช้วงจรการประเมินและการปรับปรุง
  • การกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดของแนวทาง ผ่านการสร้างนวัตกรรม
  • การแบ่งปันความรู้ที่ได้จากการปรับปรุงและการสร้างนวัตกรรมกับหน่วยงานและกระบวนการอื่นที่เกี่ยวข้องภายในองค์กร

การบูรณาการ (Integration-I)

  • หมายถึง ความครอบคลุมและทั่วถึง ของ
    • แนวทางที่ใช้สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันกับความต้องการขององค์กรตามที่ระบุไว้ในโครงร่างองค์กร และข้อกำหนดของหัวข้อต่างๆ ในเกณฑ์ (หมวด 1 ถึง หมวด 6)
    • การใช้ตัววัด สารสนเทศ และระบบการปรับปรุง ที่ช่วยเสริมซึ่งกันและกัน ทั้งระหว่างกระบวนการและระหว่างหน่วยงานทั่วทั้งองค์กร
    • แผนงาน กระบวนการ ผลลัพธ์ การวิเคราะห์ การเรียนรู้ และการปฏิบัติการ มีความสอดคล้องกลมกลืนกันในทุกกระบวนการและหน่วยงาน เพื่อสนับสนุนเป้าประสงค์ระดับองค์กร

คำถาม "อะไร" (what) มีอยู่ 2 แบบ

1. เป็นการถามถึงสารสนเทศพื้นฐานเกี่ยวกับกระบวนการที่สำคัญและขั้นตอนการดำเนินการ การตอบแต่เพียงว่า "ใคร" เป็นผู้รับผิดชอบอาจมีประโยชน์บ้าง แต่ไม่เพียงพอสำหรับการวินิจฉัยหรือให้ข้อมูลป้อนกลับได้

2. เป็นการถามถึงสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับ ผล แผน วัตถุประสงค์ เป้าประสงค์ หรือตัววัดที่สำคัญขององค์กร ว่าคือ "อะไร"

ผู้ประเมินมองหาอะไร ?


  1. Systematic Approach
    • Repeatable
    • Reliable data and information
    • Appropriate
    • Embedded ใน Organizational Profile
  2. 2. Deployment

      • All appropriate work units
      • Different parts of the organization
      • Compactly by using table

    3. Evaluation and improvement & organizational learning and sharing

      • Fact-based management
      • Revision of plan or process (innovation)
      • Current with business needs and directions
      • Lead to doing the right thing"

    4. Alignment and integration

      • Related org. profile (alignment)
      • Criteria items, areas to address, and sub areas (integration)
      • support key organization - wide goals.
      • Fully interconnected units

    5. Respond fully to item requirements

      • Missing information = GAP
      • Degree of responsiveness : none, basic, overall, multiple, and full

    หัวข้อของเกณฑ์

    หมวด 1 การนำองค์กร ในหมวดการนำองค์กรนี้ เป็นการตรวจประเมินว่าการกระทำของผู้นำระดับสูงขององค์กรได้ชี้นำและทำให้องค์กรมีความยั่งยืนอย่างไร รวมทั้งตรวจประเมินระบบการกำกับดูแลองค์กร และวิธีการที่องค์กรใช้เพื่อบรรลุผลด้านกฎหมาย จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคมในวงกว้างรวมทั้งการสนับสนุนชุมชนที่สำคัญ

    1. 1 การนำองค์กรโดยผู้นำระดับสูง: (60 คะแนน)

    ก. วิสัยทัศน์ ค่านิยม และพันธกิจ

    (1) วิสัยทัศน์และค่านิยม การกำหนดและถ่ายทอดวิสัยทัศน์และค่านิยม

    (2) การส่งเสริมการประพฤติปฏิบัติตามกฎหมายและมีจริยธรรม ความมุ่งมั่นและบรรยากาศต่อการประพฤติปฏิบัติตามกฎหมายและมีจริยธรรม

    (3) การสร้างองค์กรที่ยั่งยืน การทำให้องค์กรมีความยั่งยืน

    ข. การสื่อสารและผลการดำเนินการขององค์กร

    (1) การสื่อสาร การสื่อสารสองทิศทาง และการสร้างความผูกพันกับบุคลากรและลูกค้าที่สำคัญ

    (2) การทำให้เกิดการปฏิบัติการอย่างจริงจัง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ปรับปรุงผลการดำเนินการ บรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กร สร้างนวัตกรรม และกล้าเสี่ยงอย่างชาญฉลาด

    1.2 การกำกับดูแลองค์กรและความรับผิดชอบต่อสังคมในวงกว้าง: (50 คะแนน)

    ก. การกำกับดูแลองค์กร

    (1) ระบบการกำกับดูแลองค์กร การทบทวนและทำให้องค์กรประสบความสำเร็จในเรื่องต่างๆ ที่สำคัญในระบบการกำกับดูแลองค์กร

    (2) การประเมินผลการดำเนินการ การประเมินผลการดำเนินการของผู้นำระดับสูง ซึ่งรวมถึงผู้นำสูงสุดด้วย

    ข. การประพฤติปฏิบัติตามกฎหมายและมีจริยธรรม

    (1) การประพฤติปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบ ในกรณีที่ผลิตภัณฑ์และการปฏิบัติการมีผลกระทบในเชิงลบต่อสังคม

    (2) การประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม การส่งเสริมและสร้างความมั่นใจว่าปฏิสัมพันธ์ทุกด้านขององค์กรมีการประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม

    ค. ความรับผิดชอบต่อสังคมในวงกว้างและการสนับสนุนชุมชนที่สำคัญ

    (1) ความผาสุกของสังคมในวงกว้าง เป็นส่วนหนึ่งในกลยุทธ์และการปฏิบัติการประจำวัน

    (2) การสนับสนุนชุมชน การสนับสนุนและสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนที่สำคัญอย่างจริงจัง

    หมวด 2 การวางแผนเชิงกลยุทธ์ ในหมวดการวางแผนเชิงกลยุทธ์ เป็นการตรวจประเมินว่าองค์กรจัดทำวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการขององค์กรอย่างไร รวมทั้งตรวจประเมินการนำวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการที่เลือกไว้ไปปฏิบัติ การปรับเปลี่ยนเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป ตลอดจนวิธีการวัดผลความก้าวหน้า

    2.1การจัดทำกลยุทธ์ : (45 คะแนน)

    ก. การจัดทำกลยุทธ์

    (1) กระบวนการวางแผนกลยุทธ์ วิธีการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ขั้นตอนที่สำคัญของกระบวนการจัดทำกลยุทธ์

    (2) การสร้างนวัตกรรม การสร้างสิ่งแวดล้อมที่ช่วยเหลือการสร้างนวัตกรรม

    (3) การวิเคราะห์และกำหนดกลยุทธ์ ได้นำองค์ประกอบที่สำคัญ การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องมาประกอบการวางแผนเชิงกลยุทธ์

    (4) ระบบงานและสมรรถนะหลักขององค์กร ระบบงานที่สำคัญขององค์กร และวิธีการในการตัดสินใจเรื่องระบบงาน

    ข.วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์

    (1) วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ มีอะไรบ้าง ระบุตารางเวลาที่จะบรรลุวัตถุประสงค์เหล่านั้น

    (2) การพิจารณาวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ

    2.2 การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ : (50 คะแนน)

    ก. การจัดทำแผนปฏิบัติการและการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ

    (1) การจัดทำแผนปฏิบัติการ ทั้งระยะสั้นและระยะยาวที่สำคัญขององค์กร

    (2) การนำแผนปฏิบัติการไปปฏิบัติ การถ่ายทอดแผนปฏิบัติการสู่การปฏิบัติทั่วทั้งองค์กร

    (3) การจัดสรรทรัพยากร ด้านการเงินและด้านอื่นๆ พร้อมใช้ในการสนับสนุนแผนปฏิบัติการ

    (4) แผนด้านบุคลากร แผนปฏิบัติการทั้งระยะสั้นและระยะยาว

    (5) ตัววัดผลการดำเนินการ ที่ใช้ติดตามผลลัพธ์

    (6) การปรับเปลี่ยนแผนปฏิบัติการ ในกรณีที่สถานการณ์บังคับ

    ข. การคาดการณ์ผลการดำเนินการ การคาดการณ์ผลการดำเนินการตามกรอบเวลาของการวางแผนทั้งระยะสั้นและระยะยาวขององค์กร การเปรียบเทียบกับผลของคู่แข่งหรือขององค์กรในระดับที่เทียบเคียงกันได้

    หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ ในหมวดการวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ เป็นการตรวจประเมินว่าองค์กรเลือก รวบรวม วิเคราะห์ จัดการ และปรับปรุงข้อมูลสารสนเทศ และสินทรัพย์ทางความรู้อย่างไร และองค์กรมีการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไร นอกจากนี้ ยังตรวจประเมินว่าองค์กรใช้ผลการทบทวนเพื่อปรับปรุงผลการดำเนินการอย่างไร

    4.1 การวัด การวิเคราะห์ และการปรับปรุงผลการดำเนินการขององค์กร: (55 คะแนน)

    ก. การวัดผลการดำเนินการ

    (1) ตัววัดผลการดำเนินการ เพื่อติดตามการปฏิบัติการประจำวัน และผลการดำเนินการโดยรวมขององค์กร

    (2) ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในระดับปฏิบัติการและระดับกลยุทธ์

    (3) ข้อมูลลูกค้า เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในระดับปฏิบัติการและระดับกลยุทธ์

    (4) ความคล่องตัวของการวัดผล เพื่อตอบสนองความเปลี่ยนแปลงทั้งภายในหรือภายนอกองค์กรที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหรือที่ไม่ได้คาดคิด

    ข. การวิเคราะห์และทบทวนผลการดำเนินการ การทบทวนผลการดำเนินการและขีดความสามารถขององค์กร

    ค. การปรับปรุงผลการดำเนินการ

    (1) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ ข้ามหน่วยงานและกระบวนการทำงาน

    (2) ผลการดำเนินการในอนาคต เพื่อคาดการณ์ผลการดำเนินการในอนาคต

    (3) การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและนวัตกรรม เพื่อใช้จัดลำดับความสำคัญและสร้างนวัตกรรม

    4.2 การจัดการความรู้ สารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศ: (45 คะแนน)

    ก. ความรู้ขององค์กร

    (1) การจัดการความรู้ การรวบรวมและถ่ายทอดความรู้

    (2) การเรียนรู้ขององค์กร ใช้ความรู้และทรัพยากรเพื่อให้การเรียนรู้ฝังรากลึกอยู่ในแนวทางการปฏิบัติการขององค์กร

    ข. ข้อมูล สารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศ

    (1) คุณลักษณะ แม่นยำ ถูกต้องและเชื่อถือได้ ทันกาล ปลอดภัยและเป็นความลับ

    (2) ข้อมูลและสารสนเทศพร้อมใช้งาน สำหรับบุคลากร ผู้ส่งมอบ พันธมิตร ผู้ให้ความร่วมมือรวมทั้งลูกค้า

    (3) คุณลักษณะของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ มีความเชื่อถือได้ ปลอดภัย และใช้งานง่าย

    (4) ความพร้อมใช้งานในภาวะฉุกเฉิน มีความพร้อมใช้งานอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองลูกค้าและความต้องการทางธุรกิจ/กิจการอย่างมีประสิทธิผล

    สรุปตอนที่ 3 - แนวทางการตอบเกณฑ์ ในการตอบหัวข้อในหมวด 1-6 ที่มีคำถาม "อย่างไร" องค์กรควรตอบคำถามดังกล่าวด้วยการนำเสนอสารสนเทศของกระบวนการที่สำคัญที่แสดงถึง

    • แนวทาง (Approach)
    • การถ่ายทอดสู่การปฏิบัติการ (Deployment)
    • เรียนรู้ (Learning)
    • การบูรณาการ (Integration)

    ***********************************************

    จบตอนที่ 3/9

หมายเลขบันทึก: 580786เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2014 21:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 ธันวาคม 2014 19:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท