​บันทึก 10 ปี สีนามิ (3)


บันทึก 10 ปี สีนามิ (3)

จากผู้รับกลายเป็นผู้ให้...

ผญ.ประชา คาวิจิตร บ้านบางติบ อ.คุระบุรี จ.พังงา กล่าวไว้ในที่ประชุม เตรียมกระบวนการศึกษาบทเรียนการฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยผ่านกองทุนฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยสึนามิ ในพื้นที่ จ.กระบี่ พังงา และระนอง เพื่อนำเสนอบทเรียนการฟื้นฟูสู่การพัฒนา และความพร้อมรับมือภัยพิบัติของชุมชน

หลังเกิดปัญหามากมายจากการดำเนินกิจกรรมของกองทุนหมุนเวียนขนาดเล็กที่ดำเนินการร่วมกับมูลนิธิรักษ์ไทยในการฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยสึนามิ เน่ื่องจากความไม่พร้อมของกลุ่มฯ หลายกองทุนต้องยุติบทบาทลงหลังภาระกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยในภาวะเร่งด่วนจบลง แนวความคิดในการรวมกันเป็นเครือข่ายเพื่อความร่วมมือในการพัฒนากองทุนเกิดขึ้น จนถึงปัจจุบันเรายังเห็นการเดินหน้าของหลายๆกองทุนไปสู่เป้าหมายที่เครือข่ายวางไว้

" เครือข่ายสถาบันการเงินในชุมชนที่เข้มแข็ง ด้วยการบริหารจัดการที่ยึดหลักธรรมาภิบาล การส่งเสริมสวัสดิการชุมชน เป็นที่พึงพิงของกลุ่มคนที่ไม่สามารถเข้าถึงสถาบันการเงินที่เป็นทางการ เป็นต้นทุนที่สำคัญในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลง เศรษฐกิจ สังคม สวล. และภัยพิบัติ (เป็นต้นแบบชุมชนฟื้นฟูประสบภัยพิบัติ) "

โครงการศึกษาบทเรียนการฟื้นฟูพื้นที่ภัยพิบัติผ่านกองทุนฟื้นฟูหลังสึนามิ โดยมูลนิธิรักษ์ไทยร่วมกับเครือข่ายกองทุนฟื้นฟูสึนามิ จ.กระบี่ พังงา ระนอง...

หมายเลขบันทึก: 580728เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2014 09:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2014 09:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท