เหตุผล__ ที่คุณไม่ควรสักร่างกาย


p>

ภาพ__ การสักแขน เกอิชา จาก วิกิพีเดีย

.

ดิ เอโคโนมิสท์ ทำสารคดีสั้นเรื่อง "การสัก (tatoo) ส่งผลต่อ หน้าที่การงาน ของคุณอย่างไร", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

คนอเมริกัน อายุต่ำกว่า 40 ปี สักเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า

แล้วการสัก มีดีมีเสียอย่างไร

.

โลกตะวันตก (ฝรั่ง) นิยมแบ่งกลุ่มคนทำงานเป็น 3 กลุ่มได้แก่

(1). เกษตร

ประเทศที่มีระดับการพัฒนามากขึ้น

จะมีแรงงานเกษตรเต็มเวลา "ลดลง" ไปเรื่อยๆ

จนเหลือประมาณ 2-2.5% ของประชากร

.

(2). อุตสาหกรรม

เช่น วิศวกร ช่าง แรงงานฝีมือ-ไร้ฝีมือ ในโรงงาน ฯลฯ

การผลิตสมัยใหม่ ใช้แรงงานคน "ลดลง"

มีการใช้เทคโนโลยี แทนคนมากขึ้น เช่น

  • การใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ
  • โปรแกรมคอมพิวเตอร์ควบคุมการผลิต
  • หุ่นยนต์

.

(3). ภาคบริการ

ทุกวันนี้, ตำแหน่งงานที่เพิ่มในสหรัฐฯ

ส่วนใหญ่เป็นงานภาคบริการ

เช่น ธนาคาร ประกันชีวิต ประกันภัย ขนส่ง,

ลอจิสติก (ระบบขนส่งสินค้า-บริการ),

.

ร้านขายยา โรงพยาบาล รปภ.(ยาม),

พยาบาล ผู้ช่วยเหลือคนไข้ ฯลฯ

ถ้าคุณเป็น นักร้องเพลงร็อค

และมีเงินพอที่จะไม่ต้องหางานใหม่อีก

.

แบบนั้น... คงจะไม่เป็นไร

ทว่า... ถ้าเป็นคนที่ยังต้องทำงาน

หรือ หางานทำแล้ว

อย่าสักในที่ที่มองเห็น

.

เช่น แขน ขา หน้า คอ หน้าอก ไหล่ ฯลฯ

การสำรวจที่ผ่านมา พบว่า

31% ของนายจ้าง ในสหรัฐฯ

มีแนวโน้มจะ ไม่รับคนที่มีรอยสัก เข้าทำงาน

.

และ ไม่สนับสนุน (promote) ให้มีหน้าที่สูงขึ้น

ทำไม รอยสักจึงเป็นตราบาป หรือ สัญลักษณ์เชิงลบ (stigma)

คำตอบ คือ การศึกษาที่ผ่านมา พบว่า

คนที่สักร่างกาย มักจะมีพฤติกรรมเสี่ยง สูงกว่าคนที่ไม่สัก คือ

.

(1). จำนวนคู่นอน (sex partners) มากกว่า

การมีคู่นอนหลายคน เพิ่มเสี่ยงกามโรค

เช่น ไวรัสตับอักเสบ หนองใน หนองในเทียม เอดส์ ฯลฯ

หนองในเทียมส่วนหนึ่ง ไม่มีอาการ

ถ้าติดผู้หญิง เพิ่มเสี่ยงเป็นหมัน

.

(2). สูบบุหรี่ มากกว่า

(3). ติดเหล้า (alcohol abuse) มากกว่า

ปัจจัยเหล่านี้ เพิ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง

และ โรคเรื้อรัง ทำให้นายจ้างสหรัฐฯ ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลมากขึ้น

.

การสัก อาจเพิ่มเสี่ยงโรคหลายอย่าง

เช่น ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี

เอดส์ ฯลฯ

ถ้าไปสมัครงาน กับบริษัทญี่ปุ่น-เกาหลี

.

นายจ้าง อาจไม่รับเข้าทำงาน

เพราะ กลัวเป็นสมาชิกแก๊งค์

เช่น ยากูซ่า ฯลฯ

ขอให้ลองสังเกต คนทำงานมืออาชีพรอบๆ ตัวท่าน

.

เช่น

นักบิน นักบัญชี คนทำงานธนาคาร-ประกันชีวิต,

หมอฟัน พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล

พนักงานขายของในห้างสรรพสินค้า-ร้านสะดวกซื้อ

.

จะพบว่า อัตราการสักในส่วนที่ตามองเห็น

หรือ ส่วนนอกร่มผ้า เกือบ = 0%

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

.

From > http://youtu.be/-ZMceM-w8uk

.

หมายเลขบันทึก: 580602เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2014 08:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2014 08:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ประเด็นเรื่องการรังเกียจหรือกีดกัน stigma & discrimination ในกลุ่มนี้มีจริงๆ ครับ มีผู้ปกครองพาลูกมาให้หมอผิวหนัง ลบรอยสักด้วยเลเซอร์กันไม่น้อยครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท