บัดเดี๋ยวนี้


บัดเดี๋ยวนี้ คือ ปัจจุบันขณะ

บัดเดี๋ยวนี้

Presence

พันเอก มารวย ส่งทานินทร์

[email protected]

11 พฤศจิกายน 2557

บทความนี้ นำมาจากหนังสือเรื่อง Presence: Human Purpose and the Field of the Future ประพันธ์โดย Peter Senge, C. Otto Scharmer, Joseph Jaworski, and Betty Sue Flowers ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2004 โดยสำนักพิมพ์ SoL — The Society for Organizational Learning

Peter Senge เป็น senior lecturer ที่ MIT Sloan School of Management และเป็นผู้ประพันธ์หนังสือเรื่อง The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning Organization เขามีความคิดสร้างสรรค์ในเรื่องการบริหารจัดการและภาวะผู้นำ เขาเน้นเรื่องการนำหฤษฎีมาสู่การปฏิบัติด้วยเครื่องมือต่าง ๆ และเสาะแสวงหาความร่วมมือกับสถาบันต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง

ผู้ที่สนใจเอกสารแบบ PowerPoint (PDF file) สามารถศึกษาและ download ได้ที่ http://www.slideshare.net/maruay/presence-by-peter-senge

Presence เป็นหนังสืออธิบายทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงและการเรียนรู้ ที่เกิดจากการสนทนาของ Peter Senge, C.Otto Scharmer, Joseph Jaworski, และ Betty Sue Flowers เป็นเวลาหนึ่งปีครึ่ง แนวคิดเรื่องบัดเดี๋ยวนี้ (presence) นำมาจากหลักตามธรรมชาติ คือ ส่วนรวมเกิดจากส่วนย่อยมารวมกัน และส่วนย่อยเป็นส่วนหนึ่งของส่วนรวม

คำถามวิกฤตเพื่อให้คิด

1. มนุษย์เราสามารถเรียนรู้และเปลี่ยนจากการทำลายล้างผลาญโลกนี้ มาเป็นทำเพื่อสุขภาวะที่ดีของเราและของโลกได้หรือไม่?

2. เราและสังคมสามารถเรียนรู้ที่จะเลือกทำในสิ่งที่ดี โดยอาศัยการเรียนรู้ใหม่และการใช้ปัญญาได้หรือไม่?

3. แทนที่จะรอผลจากอดีต เราสามารถสร้างอนาคตที่ดีกว่าโดยทำปัจจุบันให้ดีได้หรือไม่?

แนวคิดสำคัญ

  • เรียนรู้จากการมองเห็น ต้องเปิดใจ
  • ความเข้าใจ ต้องใส่ที่ใจก่อนแล้วจึงใช้สมองคิด
  • ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เกิดตามธรรมชาติ ไม่ใช่กิริยาตอบสนอง
  • สถาบัน ต้องยึดโยงกับธรรมชาติ
  • วิทยาศาสตร์ต้องมองเป็นองค์รวม ไม่แยกส่วน
  • การนำที่แท้จริงต้องปล่อยวาง

การมองแยกส่วนกับมองแบบองค์รวม

การมองว่าองค์รวมเกิดจากองค์ประกอบต่าง ๆ เช่นเดียวกับส่วนต่าง ๆ ของเครื่องจักร เป็นโลกทัศน์ที่ไม่มีประโยชน์ เราต้องหัดมองใหม่ว่า สถาบันต่าง ๆ หรือองค์กร เป็นเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิต คือมีการเจริญเติบโตและมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ร่างกายคนเรา หรือต้นไม้ ผู้ประพันธ์แนะนำรูปแบบของการเรียนรู้ใหม่ ที่ไม่ได้เกิดจากการตอบสนองหรือลอกเลียนแบบ แต่เป็นการมองอย่างลึกซึ้ง มีการตื่นรู้ โดยการเกิดขึ้นมาจากภายใน

แนวทางใหม่ในการเรียนรู้

  • การเรียนรู้เกิดจากความคิดและการปฏิบัติ
  • การเรียนรู้แบบปฏิกิริยาสนองตอบ (reactive learning) คือความคิดที่ยึดตามรูปแบบอ้างอิง และการปฏิบัติที่เกิดจากนิสัย
  • การเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง (Deeper levels of learning) เป็นการเรียนรู้ที่ตระหนักถึงองค์รวมที่เป็นอยู่จริง และที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ เพื่อสร้างอนาคตที่ดีกว่าเดิม

การเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง (Second Type of Learning) แบ่งได้เป็น 4 ขั้นตอน โดยใช้ทฤษฎีรูปตัวยู (ในภาษาอังกฤษ) เป็นส่วนประกอบคำอธิบาย คือ

ขั้นตอนที่ 1 เรียนรู้การมองเห็นอย่างพินิจพิจารณา

การเกรงกลัวว่าเผ่าพันธุ์มนุษย์จะถึงกาลอวสาน อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ที่ต้องเกิดมาจากใจ เพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว การจะเปลี่ยนแปลงได้ จะต้องมองให้เห็นอย่างแท้จริง ปราศจากอคติ ( suspension of preconceptions) คือฟังเพื่อความเข้าใจ ไม่ใช่เพื่อการตัดสิน (nonjudgmental awareness) ซึ่งชาวตะวันตกโดยมากยังคงมองอย่างมีอคติ

ขั้นตอนที่ 2 ก้าวสู่ความสงบ

ถ้าใจไม่นิ่งพอ ปัญญาจะไม่เกิด เมื่อใจหยุดคิด จะเกิดการเรียนรู้ในระดับสูงขึ้น ( second type of learning) ที่อธิบายได้คือ เป็นส่วนต่ำที่สุดของตัวอักษร U ในภาษาอังกฤษ ถ้ายิ่งลึกมากเท่าใด ความรู้ที่เกิดก็จะลึกซึ้งมากขึ้นเท่านั้น ผู้ประพันธ์กล่าวว่า ส่วนต่ำที่สุดของตัว U คล้ายกับรูที่ใช้สนด้ายของเข็มเย็บผ้า การจะรอดผ่านรูนี้ได้ ต้องละทิ้งทุกสิ่งทุกอย่าง คือ ปล่อยวางความเป็นตัวของตัวตนเสีย จึงจะพบกับจุดนี้เรียกว่า ที่นี่เดี๋ยวนี้ (presence) นั่นเอง

ขั้นตอนที่ 3 เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ

วิสัยทัศน์ หรือ ภาพในอนาคตนั้น เมื่อมีปัญญาเกิดขึ้น จะปรากฏขึ้นเองตามธรรมชาติ ไม่ได้บังคับให้เกิด ไม่ได้คาดหวัง ไม่มองอย่างแยกส่วน ไม่เห็นแก่ตัว เป็นการมองเห็นภาพโดยรวม ว่าในอนาคตควรเป็นเช่นไร เราสมควรปฏิบัติตนเช่นไร การมองภาพในอนาคต เป็นการมองภาพใหญ่ ทำให้เกิดแนวคิดในการเปลี่ยนแปลงตนเอง ส่วนในการปฏิบัติ ให้ทำสิ่งเล็ก ๆ ที่สามารถประสบความสำเร็จและมีผลกระทบสูงก่อน การเรียนรู้แบบใหม่นี้ อาจนำไปสู่การเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง

ขั้นตอนที่ 4 ภาพอนาคตที่สดใส

วัฒนธรรมของโลกจะก้าวสู่อารยธรรมที่ดี ถ้าผู้นำได้นำแนวทางนี้ไปใช้ประโยชน์ เช่นเดียวกับอดีต นั่นคือ ผู้ที่อยู่ในอำนาจ ต้องสร้างเสริมศีลธรรมอันดีงามให้เกิดขึ้น ทั้งในตนและในองค์กร เช่นเดียวกัน วิทยาศาสตร์ ควรเกิดการบูรณาการ มีความสมดุลของความรู้และปัญญา ( balancing knowledge and wisdom) ผู้ประพันธ์ได้อธิบายขั้นตอน U Concept ในรายละเอียด เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนมากขึ้น และส่วนที่เป็นจุดต่ำสุดของตัว U นั้น ยังไม่สามารถอธิบายออกมาเป็นคำพูดได้

ทฤษฎีรูปตัว U ประกอบด้วย 7 กิจกรรม คือ

1. พินิจพิจารณา (Suspending – seeing our seeing, transforming perception)

2. ปรับมุมมอง (Redirecting – seeing from the whole)

3. ปล่อยวาง (Letting go)

4. ผุดบังเกิด (Letting come)

5. เห็นชัด (Crystallizing – envisioning what seeks to emerge)

6. มีแนวทาง (Prototyping – realizing transforming action, enacting living microcosms)

7. ลงมือทำ (Institutionalizing – embodying the new)

1. พินิจพิจาณา เป็นการมองสิ่งต่าง ๆ อย่างปราศจากอคติ ฟังแบบไม่ตัดสิน ฟังเพื่อให้เข้าใจ (fresh eyes) โดยอย่าเพิ่งรีบสรุปตามความเคยชิน และให้ระวังความคิดของตนเอง (voice of judgment) อย่าให้มีอิทธิพลเหนือความรู้ตัว

2.ปรับมุมมอง ให้มองที่เหตุ มองให้เห็นตลอดสาย (attention toward the source rather than the object) จึงจะทำให้มองได้ครอบคลุมและกว้างไกลขึ้น เช่น ไม่เพียงแค่เห็นใบไม้หนึ่งใบ แต่ให้มองถึงองค์ประกอบของกระบวนการในทุกขั้นตอนที่ทำให้เกิดเป็นใบไม้ขึ้นมาได้ มองให้เห็นเป็นองค์รวม มองให้เห็นถึงจิตวิญญาณ เช่นเดียวกับหลักการทำสมาธิ (meditation)

3, 4 ปล่อยวางไปตามธรรมชาติ เปรียบได้กับการเกิดและดับ ต้องรู้จักปล่อยวาง (letting go) ไม่ยึดมั่น ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ เมื่อตัวรู้เกิด (letting come) สถานการณ์ในอนาคตก็จะเริ่มปรากฏขึ้นมาเองตามธรรมชาติ

5,6 การเห็นชัดและมีแนวทาง เป็นธรรมชาติของผู้มีความเพียร ไม่ลดละ ที่ทำให้เกิดการรู้ชัด ของหนทางปฏิบัติใหม่ ๆ การมีแนวทางหมายถึง สิ่งที่ยังเป็นต้นแบบ หรือยังไม่สมบูรณ์แบบ ต้องมีการทดลองหรือทดสอบก่อน

7. ลงมือทำ เป็นการลงมือปฏิบัติ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ตามแนวทางและโครงสร้างใหม่

ถ้ามนุษย์สูญพันธุ์ ก็ถึงคราวลิงกอริลลาบ้าง จากหนังสือเรื่อง Ishmael ประพันธ์โดย Daniel Quinn ที่กล่าวถึงคนผู้หนึ่งสนทนากับกอริลลา ซึ่งลิงกล่าวว่าโลกคงจะดีกว่านี้ถ้าไม่มีมนุษย์ โดยที่ในห้องนั้นมีแผ่นป้ายเขียนว่า ถ้ามนุษย์สูญพันธุ์ กอริลลาจะมีโอกาสบ้างหรือไม่ (With man gone, will there be hope for gorilla?) ซึ่งจะไม่มีทางเป็นไปตามนั้นได้ ถ้าเรารู้จักให้ นั่นคือเราต้องเรียนรู้ที่จะอยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ รวมถึงสิ่งที่ไม่มีชีวิตด้วย เช่น น้ำ ท้ายเล่ม ผู้ประพันธ์กล่าวว่า จุดมุ่งหมายของแนวคิดนี้ เพื่อการดำรงคงอยู่ของเผ่าพันธุ์มนุษย์

การนำแนวทางไปใช้ประโยชน์ ให้หัดเรียนรู้ในการมองอย่างปราศจากอคติ (see your own seeing) ซึ่งจะทำให้มองเห็นตามความเป็นจริง เห็นโอกาสในการเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาของชีวิต การรู้จักสงบใจ ฟังเสียงจากภายในของตนเอง มีประโยชน์หลายอย่างคือ ทำให้รู้ว่าอะไรคือสิ่งที่สำคัญ คลายความเครียด สร้างสัมพันธภาพที่ดี และเป็นผู้นำของตนเอง กลุ่มและสถาบัน สามารถนำแนวทางไปใช้ เพื่อสร้างอนาคตที่ดีขึ้น ซึ่งการนำแนวทางนี้ไปใช้ ไม่ได้เป็นเพียงแค่การรวมความคิดเห็น แต่เป็นการรวมจุดประสงค์ที่มีร่วมกัน มาปฏิบัติให้เกิดผล

บัดเดี๋ยวนี้ คือ ปัจจุบันขณะ ผู้ประพันธ์ยอมรับว่า แนวคิดนำมาจากแนวทางการเกิดปัญญาของยุคโบราณ โดยเฉพาะพุทธศาสนา เช่นคำว่า บัดเดี๋ยวนี้ (presence) ก็คือ ณ ปัจจุบันขณะ (be here now) ซึ่งตรงกับหลักพุทธศาสนาคือ ให้ดำรงอยู่กับปัจจุบัน เช่นเดียวกับ การฟังเสียงจากภายใน (listening to what is within) ก็คล้ายกับการทำใจให้สงบ (stilling the mad monkey the mind)

การพัฒนาจากข้างใน เมื่อจิตใจมีความสงบ จะพบกับความเงียบและความนิ่งที่แท้จริง ทำให้เกิดความคิดที่ทำให้สามารถบรรลุเป้าประสงค์ที่ต้องการ การจะเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ได้ ต้องใช้ 7 กระบวนการคือ ตื่นตัว หยุด สงบ นิ่ง สันติ คิดได้ และ ทำสำเร็จ (awareness, stopping, calmness, stillness, peace, true thinking, and attainment)

การนำแนวคิดไปใช้ประโยชน์ ทุกคนคงไม่มีเวลามานั่งสมาธิที่ต้องใช้เวลานานเพื่อให้เกิดปัญญา แต่สามารถนำหลักการไปใช้ได้คือ เรียนรู้ที่จะหยุด ไตร่ตรอง และฟัง (อย่างเปิดใจ ไม่มีอคติ) อีกกระบวนการหนึ่งคือ นำไปใช้ในการสนทนาแบบกลุ่มที่มีความแตกต่าง ซึ่งจะทำให้เราเห็นมุมมองใหม่

อนาคตอันสูงสุด อนาคตที่สดใสยังรอเราอยู่ ถ้าเรามีความมุ่งมั่น (อิทธิบาท) คือ

  • มุ่งมั่นทำด้วยจุดประสงค์ที่แท้จริง (Commitment to begin operating from our deepest purpose)
  • มุ่งมั่นใส่ใจในความตั้งใจอยู่เสมอ (Commitment to focus our attention on our intention)
  • มุ่งมั่นกระทำเพื่ออนาคต ไม่ใช่อดีต (Commitment to train our actions to be based in the field of the future rather than patterns of the past)

สรุปโดยย่อ

หนังสือนี้อธิบายทฤษฎีและการปฏิบัติ ที่ได้มาจากประสบการณ์ที่ผู้ประพันธ์ได้พบมาด้วยตนเอง และจากการสัมภาษณ์นักวิทยาศาสตร์และนักลงทุนกว่า 150 ราย เพื่อวิเคราะห์ว่า การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้อย่างไร ซึ่งพอสรุปได้คือ อาศัยความสามารถของเราในการรู้เห็น รับรู้ และทำให้เป็นจริง ( see, sense, and realize) โดยผ่านกระบวนการของการเรียนรู้ภายในตน เพื่ออนาคตที่ดีกว่า

****************************************

หมายเลขบันทึก: 580235เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2014 18:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 ธันวาคม 2014 17:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

It seems to me another way to apply (without giving due credits to sources some 2600 years ago) "learning by senses". Buddhists' learning known as the "5 khandhas" summarises this principle. I suggest this 'interpretation' (from 6. A sense to connect, match, think and know).

The '5 khandhas' also describe very clearly the dynamics of our learning from (common) senses:
@ รูป (ruupa): form or body of an object in contact with sense organs
@@@ เวทนา (vedanaa): feeling or sensing or measuring / reckoning the object
@@@@@ สัญญา (sa~n~naa): recognition of the object and its properties and statuses
@@@ สังขารา (sankhaara): thinking up what the object may be/do to/for us
@ วิญญาณ (vi~n~naana): knowing or 'consciousness' of the object+sensin

The 5 khandhas are already well-learned, No need to remember any new principle!

เรียกว่า ททท นะครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท