7-S Model : ความอ่อนและแข็งในการบริหารจัดการ


     ต่อจาก 7-S Model ที่ได้บันทึกไว้ครั้งที่แล้ว วันนี้มาต่อกันที่ 7-S Model : ความอ่อนและแข็งในการบริหารจัดการ หรือ Soft and Hard Approaches to Management ผู้ที่ทำการพัฒนา 7-S Model ขึ้นมา คือ McKinsey ซึ่งได้ให้ความสำคัญของความสมดุลและสอดคล้องกันขององค์ประกอบทั้ง 7 S แต่ต่อมาก็มีการศึกษาค้นคว้าเพื่อขจัดจุดอ่อนให้หมดไป ก็ได้พบว่า การดำเนินธุรกิจของบริษัทญี่ปุ่นจะมีความสำเร็จสูงกว่าบริษัทในอเมริกามาก เป็นเพราะเทคนิคการจัดกลุ่มความอ่อนและความแข็งในการบริหารจัดการ ซึ่งเรื่องนี้ Antony ได้เขียนไว้ในหนังสือ The Art of Japanese Management (รายละเอียดเรื่องราวเหล่านี้หาอ่านได้จาก Strategic management ใน http://en.wikipedia.org) โดยจัดให้

          ปัจจัยอ่อน หรือ Soft Elements มี 4 ตัว คือ ทักษะ ทีมงาน (คน) สไตล์ และที่สำคัญที่สุดคือ ค่านิยมร่วม ซึ่งจะ เป็นส่วนที่ “อุ่นและอ่อน” (เขาว่าไว้อย่างนั้น)
          ส่วนปัจจัยแข็ง หรือ Hard Elements มี 3 ตัว คือกลยุทธ์ โครงสร้าง และระบบ ซึ่งเป็นส่วนที่เย็นชา (กระด้างด้วยมั้งครับ) ที่สุด อยู่เหนือผู้บริหารด้วยซ้ำ
     ที่สำคัญ (อีกเรื่อง) พบว่าบริษัทที่ประสบความสำเร็จคล้าย ๆ กัน ทั้งของญี่ปุ่น และ อเมริกา จะมีความเหมือนกันคือการทำให้คุณลักษณะทั้งแข็งและอ่อนที่ว่าเข้าด้วยกันได้อย่างลงตัว ครับ

     ที่นี้ลองเอามาจับดูกับ เครือข่ายหน่วยบริการเขาชัยสน ที่เป็นหน่วยงานสาธารณสุข ประกอบขึ้นด้วย โรงพยาบาลชุมชน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และสถานีอนามัย ซึ่งผมเข้าไปเป็นวิทยากรนำฯ หรือพี่เลี้ยง ในการดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์ ดังนี้ครับ

          1) ก็ให้ถือว่า “ค่านิยมร่วม” คือ เป้าหมายสูงสุดร่วมกันที่จะไปให้ถึง

          2) “ทีมงาน” และ 3) “ทักษะ” ของทีมงาน ถือว่าเป็นส่วนที่จะทำให้องค์กรนี้มีประสิทธิภาพหรือไม่มี

          4) “สไตล์” ก็ให้ถือว่า เป็นรูปแบบการจัดบริการที่เน้นให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้ง่าย และอยู่ใกล้ชิดประชาชน เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุด

          5) “ระบบ” เน้นที่การปฏิบัติ การจัดบริการเพื่อประชาชน และการสนับสนุนเพื่อการจัดบริการฯ

          6) “โครงสร้าง” ให้พยายามลดความเข้มงวดลง ลดสายบังคับบัญชา เพิ่มความเรียบง่าย และเพิ่มการประสานงานในแนวราบให้มากขึ้น และ

         7) "กลยุทธ์" จะเน้นที่ความยืดหยุ่น มีความไวในการปรับเมื่อปัญหาเปลี่ยนรูปแบบไป โดยไม่ต้องยกเลิกกลางคัน

หมายเลขบันทึก: 5802เขียนเมื่อ 24 ตุลาคม 2005 01:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยากทราบเกี่ยวกับ 7-S ว่ามีประโยชน์อย่างเมื่อนำไปใช้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท