10 วิธีดูโรงพยาบาลคุณภาพ


ถึงแม้ว่าการเปรียบเทียบจะแตกต่างกัน (ความเป็น รพ.และ หน่วยบริการปฐมภูมิ) ตามความรู้สึกของเรา แต่เมื่อไปสอบถามประชาชนในพื้นที่ (จากการพูดคุยสนทนากัน 5 คน) กลับพบว่าคล้าย ๆ กัน เพียงแต่อะไรที่สถานีอนามัยไม่มีก็ไม่เป็นไร และใช้วิธีให้ชุมชนช่วยเสริมให้ตามแต่ชุมชนนั้น ๆ จะเห็นสมควร

     ลองเปรียบเทียบวิธีดูโรงพยาบาลคุณภาพ จากคู่มือประชาชน 10 วิธีดูโรงพยาบาลคุณภาพ ที่ บรรณาธิการโดย นางสาวสารี  อ๋องสมหวัง (2548) จัดพิมพ์ขึ้นโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กับที่ได้เขียนไว้ที่ แล้วประชาชนอยากได้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในลักษณะอย่างไร ? ทั้ง 8 ด้าน ซึ่งได้มาจากการศึกษา ลักษณะบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิที่พึงประสงค์ของประชาชนจังหวัดพัทลุง เมื่อปี 2546 ก็จะพบว่ามีความสอดคล้องสัมพันธ์กันดังนี้ครับ (ดูจากองค์ประกอบย่อยในแต่ละด้าน)

          1. หน่วยบริการนั้น ได้พยายามพัฒนาคุณภาพโดยมีระบบการพัฒนาคุณภาพบริการอย่างน้อยสักหนึ่งระบบ หรือไม่ จะมีความสอดคล้องกับด้านคุณภาพของบริการสุขภาพ
          2. หน่วยบริการ ได้ให้ความสำคัญกับการให้บริการกรณีเร่งด่วนก่อนการถามถึงสิทธิของผู้รับบริการ หรือไม่ สอดคล้องกับด้านบริการที่ตอบสนองต่อความจำเป็นด้านสุขภาพ และด้านประสิทธิภาพของบริการสุขภาพ
          3. หน่วยบริการนั้น ได้พยายามให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง ความรู้พื้นฐานในการดูแลสุขภาพ หรือการสร้างเสริมสุขภาพ หรือไม่ ซึ่งสอดคล้องกับด้านการมีส่วนร่วมในการจัดบริการและการตรวจสอบ และด้านการสร้างเสริมสุขภาพ
          4. หน่วยบริการนั้น ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลการวินิจฉัย แนวทาง ทางเลือก และผลการรักษา รวมทั้งผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ก่อนให้ผู้ป่วย ญาติ หรือผู้ใช้บริการได้ตัดสินใจเลือกแนวทางการรักษานั้น ๆ หรือการถูกส่งต่อ หรือไม่ มีความสอดคล้องกับด้านการมีส่วนร่วมในการจัดบริการและการตรวจสอบ
          5. หน่วยบริการนั้น หน่วงเหนี่ยวการส่งต่อไปที่อื่น กรณีที่ไม่สามารถให้บริการที่จำเป็นต่อไปได้แล้ว หรือไม่ จะสอดคล้องกับด้านความเสมอภาคของบริการสุขภาพ
          6. หน่วยบริการนั้น ได้ให้ความสำคัญเรื่องสิทธิผู้ป่วยทั้ง 10 ข้อ หรือไม่ ซึ่งสอดคล้องกับด้านความเสมอภาคของบริการสุขภาพ
          7. หน่วยบริการนั้น ได้เปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบที่มาที่ไปของเวชภัณฑ์ทั้งที่เป็นยา และไม่ใช่ยา ว่าได้มาตรฐานเพียงใด หรือไม่ มีความสอดคล้องกับด้านการมีส่วนร่วมในการจัดบริการและการตรวจสอบ อย่างชัดเจน
          8. หน่วยบริการนั้น ได้มีความพยายามที่จะตอบข้อซักถาม ความคับข้องใจ หรือการเปิดเผยข้อมูล แก่ผู้มารับบริการ ผู้ป่วย หรือญาติ อย่างเต็มใจ และตรงไปตรงมาแล้วหรือไม่ จะสอดคล้องกับด้านคุณภาพของบริการสุขภาพ (เชิงสังคม) และด้านความเสมอภาคของบริการสุขภาพ
          9. หน่วยบริการนั้น ได้พยายามจัดให้มีการให้คำปรึกษา ความเป็นสัดส่วน สะอาด ไม่แออัด และมีระบบป้องกันการติดเชื้อที่ดี หรือไม่ จะสอดคล้องกับด้านบรรยากาศและสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดบริการสุขภาพมาก ซึ่งยังมีเพิ่มเติมเช่นสถานที่รอพักเพื่อเฝ้าญาติด้วย
          10. หน่วยบริการนั้น ได้จัดให้มียานพาหนะเพื่อการส่งต่อผู้ป่วย เมื่อจำเป็นไปโรงพยาบาลใกล้เคียงในกรณีฉุกเฉิน โดยผู้รับบริการไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแล้ว หรือไม่ ซึ่งมีความสอดคล้องกับด้านความพร้อมของทรัพยากรสุขภาพ โดยมีข้อเสนอว่าใช้ชุมชนเป็นฐานก็ได้ เช่นมูลนิธิ หรือองค์กรการกุศล ก็สามารถเรียกกันได้เมื่อมีความจำเป็นเกิดขึ้น

     ถึงแม้ว่าการเปรียบเทียบจะแตกต่างกัน (ความเป็น รพ.และ หน่วยบริการปฐมภูมิ) ตามความรู้สึกของเรา แต่เมื่อไปสอบถามประชาชนในพื้นที่ (จากการพูดคุยสนทนากัน 5 คน) กลับพบว่าคล้าย ๆ กัน เพียงแต่อะไรที่สถานีอนามัยไม่มีก็ไม่เป็นไร และใช้วิธีให้ชุมชนช่วยเสริมให้ตามแต่ชุมชนนั้น ๆ จะเห็นสมควร

หมายเลขบันทึก: 5800เขียนเมื่อ 23 ตุลาคม 2005 22:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท