บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6 เรื่อง รวม story telling


เรื่องเล่า Story Telling

แบงค์ร้อยสร้างคุณค่าชีวิต

ชื่อผู้เล่า : นางสาวณัฐฏ์พัชรสรสมบัติ

ตำแหน่ง : ครู คศ. 1

ชื่อเรื่อง : แบงค์ร้อยสร้างคุณค่าชีวิต

ปัญหาที่เกี่ยวกับ : นักเรียนห้องท้ายๆ ไม่สนใจเรียนหนังสือ หนีเรียนไปเล่นกีฬาอยู่เป็นประจำ

เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ : ปีการศึกษา 2555

สถานที่ : โรงเรียนเพชรพิทยาสรรค์จังหวัดชัยภูมิ

เนื้อเรื่องย่อ : นางสาวณัฐฏ์พัชรสรสมบัติ เป็นครูบรรจุใหม่ในโรงเรียนเพชรพิทยาสรรค์สอนวิชาภาษาอังกฤษนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 /3 ซึ่งเป็นนักเรียนห้องท้ายๆ ที่มีพฤติกรรมไม่ตั้งใจเรียนหนังสือ มักจะชวนกันหนีเรียนและไปเล่นฟุตบอลอยู่เป็นประจำ ครูหลายคนมักจะคุ้นชินกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของนักเรียนห้องนี้เป็นอย่างดี นักเรียนห้องนี้มักจะก่อเหตุอยู่เป็นประจำ เช่น เตะฟุตบอลโดนกระจกแตก อยู่มาวันหนึ่งขณะที่ถึงชั่วโมงเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ครูณัฐฏ์พัชรสร ก็เข้าสอนอย่างที่เคยเป็นมา แต่นักเรียนห้องนี้กลับไม่เข้าเรียน และไปเล่นฟุตบอลอยู่ในสนามกีฬา ในขณะนั้นเอง ผอ. เดินผ่านห้องเรียนวิชาภาษาอังกฤษที่มีแต่ ครูณัฐฏ์พัชรสร ไม่มีนักเรียน ผอ. จึงเชิญ ครูณัฐฏ์พัชรสร ไปพบพร้อมกับเรียกพบนักเรียนห้องนั้นด้วย ผอ. ได้ว่ากล่าวและตำหนิครูณัฐฏ์พัชรสร ต่อหน้านักเรียนที่หนีเรียน นักเรียนบางคนร้องไห้ ทั้งที่เป็นผู้ชายและ ผอ. ไม่ได้โทษนักเรียนเลยที่นักเรียนหนีเรียน หลังจากที่ออกจากห้อง ผอ. นักเรียนที่หนีเรียนทั้งหมดไปหาครูณัฐฏ์พัชรสร พร้อมกับกล่าวคำขอโทษที่ทำให้ครูต้องเดือดร้อน ครูณัฐฏ์พัชรสร จึงสอนนักเรียน โดยหยิบธนบัตรใบละหนึ่งร้อยบาทขึ้นมาแล้วขยำๆ จนยับยู่ยี่ แล้วถามนักเรียนเหล่านั้นว่า “ธนบัตรที่ยับอย่างนี้ ยังมีใครอยากได้อีกไหม” นักเรียนตอบว่า “อยากได้ครับ เพราะยังสามารถใช้ซื้อของได้” ครูณัฐฏ์พัชรสร ถามต่อไปว่า “ถ้าครูเอาธนบัตรใบนี้ไปจุ่มขี้โคลนหละ ยังมีใครอยากได้อยู่ไหม” นักเรียนยังตอบว่า “อยากได้ครับ” ครูครูณัฐฏ์พัชรสร จึงเปรียบเทียบธนบัตรนี้กับชีวิตนักเรียนว่า “ต่อให้นักเรียนจะเป็นเช่นไร ชีวิตของนักเรียนทุกคนก็ยังมีคุณค่า ครูเข้าใจกับเหตุผลที่นักเรียนทำพฤติกรรมแบบนี้ แต่ถ้านักเรียนประพฤติตัวให้ดีขึ้นชีวิตของนักเรียนก็จะมีคุณค่ามากกว่าเดิมด้วย คนอื่นจะเห็นคุณค่าในตัวของนักเรียนเอง” หลังจากนั้นเป็นต้นมา นักเรียนห้องนี้มีพฤติกรรมที่ดีขึ้น นักเรียนเห็นคุณค่าของตนเองมากขึ้น เข้าเรียนเป็นประจำ เคารพครูอาจารย์ และเข้าร่วมกิจกรรมที่ทางโรงเรียนจัดขึ้น เมื่อเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนเหล่านี้ได้ไปประกอบอาชีพที่สุจริต สามารถหาเลี้ยงชีพตนเองได้

ขุมความรู้จากเรื่องที่เล่า

ปัญหา : นักเรียนห้องท้ายๆ ไม่สนใจเรียนหนังสือ หนีเรียนไปเล่นกีฬาอยู่เป็นประจำ

วิธีการแก้ปัญหา : พูดเปรียบเทียบธนบัตรกับคุณค่าชีวิตของนักเรียนทุกคน พูดให้นักเรียนเห็นคุณค่าในตัวเอง ใช้คำพูดที่แสดงให้เห็นถึงความรักความห่วงใยที่ครูมีต่อนักเรียน และแสดงให้นักเรียนเห็นว่าครูเข้าใจนักเรียนทุกคน

ผลที่เกิดขึ้น : นักเรียนห้องนี้มีพฤติกรรมที่ดีขึ้น เห็นคุณค่าของตนเอง เข้าเรียนเป็นประจำ เคารพครูอาจารย์ และเข้าร่วมกิจกรรมที่ทางโรงเรียนจัดขึ้น เมื่อเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนเหล่านี้ได้ไปประกอบอาชีพที่สุจริต สามารถหาเลี้ยงชีพตนเองได้

แก่นความรู้ที่ได้รับ : คนทุกคนมีคุณค่าในตัวเอง ขึ้นอยู่กับว่าจะแสดงออกให้คนอื่นเห็นคุณค่าในตัวเองมากน้อยแค่ไหน และคนทุกคนมีเหตุผลที่แตกต่างกันไป ครูจะต้องเข้าใจนักเรียนแต่ละคน

กลยุทธ์ในการทำงาน : พูดให้นักเรียนเห็นคุณค่าของตนเอง เป็นสิ่งที่สำคัญและน่าสนใจที่จะนำไปปรับใช้ในโรงเรียนของข้าพเจ้า เช่นนักเรียนบางคนมีนิสัยขี้เกียจ ไม่อยากทำงาน เกเร ชอบแกล้งเพื่อน เพื่อนๆในห้องจึงไม่ยอมรับเข้าร่วมทำงานกลุ่มด้วย เพื่อนๆ ไม่อยากคบ ครูจึงจำเป็นที่จะต้องพูดให้นักเรียนที่มีพฤติกรรมดังกล่าว เห็นคุณค่าในตัวเองและยอมเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อที่เพื่อนในห้องจะได้เห็นคุณค่าของนักเรียนเหล่านั้นบ้าง และนักเรียนเหล่านั้นจะได้เป็นที่ยอมรับของเพื่อนๆในห้องด้วย

ลงชื่อ......................................... ผู้บันทึก

(นางสาวเสาวลักษณ์บรรดาศักดิ์)

เรื่องเล่า Story Telling

ครูคือแบบอย่าง และสั่งสอนนักเรียนให้ประสบความสำเร็จได้

ชื่อผู้เล่า : นางอัมพรนันทะเสนา

ตำแหน่ง : ครูอัตราจ้าง

ชื่อเรื่อง : ครูคือแบบอย่าง และสั่งสอนนักเรียนให้ประสบความสำเร็จได้

ปัญหาที่เกี่ยวกับ : นักเรียนไม่ทำความสะอาดบริเวณโรงเรียนตามที่ได้รับมอบหมาย

นักเรียนไม่มีจิตสาธารณะ

เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ : ปีการศึกษา 2552

สถานที่ : โรงเรียนศรีสุขวิทยาจัหวัดนครราชสีมา

เนื้อเรื่องย่อ :ปีการศึกษา 2552 ครูอัมพรนันทะเสนา ได้ทำงานอยู่ที่ โรงเรียนศรีสุขวิทยา ตำแหน่งครูอัตรา จ้าง ได้รับมอบหมายให้เป็นครูที่ปรึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 และนักเรียนห้องนี้ได้รับมอบหมายให้ทำความสะอาดบริเวณห้องสมุดของโรงเรียน ครูอัมพรก็ได้แจ้งให้นักเรียนทำความสะอาดบริเวณ แต่นักเรียนไม่ช่วยกันทำ นักเรียนต่างคนต่างหลบหลีก ไม่อยากจะทำ เช้าวันหนึ่งครูอัมพรรีบมาโรงเรียนแต่เช้า เมื่อมาถึงโรงเรียนครูอัมพรก็รีบทำความสะอาดบริเวณโรงเรียน และปัดกวาดเช็ดถูห้องสมุด จัดเก็บหนังสือให้เข้าที่ ครูอัมพรทำทุกอย่างที่เป็นหน้าที่ของนักเรียนในที่ปรึกษาของท่าน เมื่อนักเรียนเห็นครูอัมพรทำความสะอาดบริเวณ นักเรียนก็เริ่มมาทำความสะอาดบริเวณมากขึ้น ครูอัมพรได้ทำแบบนั้นอยู่เรื่อยๆ ทำให้เป็นแบบอย่าง นักเรียนเห็นครูทำ นักเรียนจึงมาทำบ้าง นอกจากนั้นครูอัมพรก็ยังสอนให้นักเรียนมีจิตสาธารณะ ทำทุกสิ่งทุกอย่างอย่างตั้งใจและไม่ต้องหวังสิ่งตอบแทน ผลแห่งความดีนั้นก็จะคืนกลับมาหาตัวของผู้ทำความดีเอง ต่อจากนั้นมา นักเรียนก็ช่วยกันทำความสะอาดบริเวณเป็นอย่างดี ทำด้วยความตั้งใจ ไม่หวังสิ่งตอบแทน และนักเรียนก็มีจิตสาธารณะอีกด้วย

ขุมความรู้จากเรื่องที่เล่า

ปัญหา : นักเรียนไม่ทำความสะอาดบริเวณโรงเรียนตามที่ได้รับมอบหมานักเรียนไม่มีจิตสาธารณะ

วิธีการแก้ปัญหา : ครูอัมพรทำความสะอาดบริเวณห้องสมุด จัดหนังสือใส่ชั้นและ เก็บกวาดห้องสมุด เพื่อให้นักเรียนได้ดูเป็นตัวอย่าง

ผลที่เกิดขึ้น : นักเรียนช่วยกันทำความสะอาดบริเวณเป็นอย่างดี ทำด้วยความตั้งใจ ไม่หวังสิ่งตอบแทน และนักเรียนก็มีจิตสาธารณะอีกด้วย

แก่นความรู้ที่ได้รับ : การทำความดีนั้น ไม่ต้องทำเพื่อหวังสิ่งตอบแทน เมื่อตั้งใจทำความดี ผลของความดีที่ทำ จะส่งผลให้คนที่ทำความดีนั้นมีความสุข

กลยุทธ์ในการทำงาน : จะฝึกให้นักเรียนมีจิตสาธารณะตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ซึ่งที่โรงเรียนมีนักเรียนบางคนที่ไม่มีจิตสาธารณะ จะฝึกให้นักเรียนมีจิตสาธารณะมากขึ้นด้วยการที่ครูจะทำให้นักเรียนดูเป็นแบบอย่าง อย่างเช่น เมื่อเดินผ่านขยะ จะเก็บให้นักเรียนเห็น กวาดห้องเรียนให้นักเรียนดูเป็นแบบอย่าง และจะฝึกจิตสาธารณะโดยการนำนักเรียนไปบำเพ็ญประโยชน์ในชุมชน และวัดวาอาราม

ลงชื่อ......................................... ผู้บันทึก

(นางสาวเสาวลักษณ์บรรดาศักดิ์)

กล่องข้อความ: บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6 เรื่อง รวม Story Telling ชื่อนางสาวเสาวลักษณ์ บรรดาศักดิ์ รหัส 57D0103120 สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน วิชา การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ผู้สอน ผศ.ดร.อดิศร เนาวนนท์ วันที่บันทึก 14 กันยายน พ.ศ. 2557


<p class="MsoNormal" style="text-align:center;line-height:normal" align="center"> เรื่องเล่า Story Telling </p> <p class="MsoNormal" style="text-align:center" align="center"> เงินออมของหนู </p> <p class="MsoNormal"> ชื่อผู้เล่า : นางสาวโชติรสเจษฎาสิริ </p> <p class="MsoNormal"> ตำแหน่ง : ครู คศ. 1 </p> <p class="MsoNormal"> ชื่อเรื่อง : เงินออมของหนู </p> <p class="MsoNormal"> ปัญหาที่เกี่ยวกับ : นักเรียนไม่ไว้วางใจครูนักเรียนจึงไม่ฝากเงินออมทรัพย์กับครู </p> <p class="MsoNormal"> เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ : ปีการศึกษา 2556 </p> <p class="MsoNormal"> สถานที่ : โรงเรียนบ้านหนองปรึก จังหวัดนครราชสีมา </p> <p class="MsoNormal"> เนื้อเรื่องย่อ : เมื่อครูโชติรสได้ย้ายมาสอนที่โรงเรียนแห่งนี้ ครูโชติรสได้รับมอบหมายให้เป็นครูประจำชั้นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งได้ทำเอกสารชั้นเรียนหลายอย่างซึ่งหนึ่งในนั้นคือการเก็บเงินออมทรัพย์ของนักเรียนชั้น ป. 6 เมื่อครูโชติรส ให้นักเรียนฝากเงินออมทรัพย์ ปรากฏว่ามีนักเรียน 2-3 คนที่มาฝากเงิน ซึ่งครูโชติรสก็สงสัยว่าทำไมนักเรียนไม่ฝากเงิน ครูโชติรสคิดว่านักเรียนได้เงินมาโรงเรียนน้อย แต่พอศึกษาข้อมูลของนักเรียนแล้ว ก็พบว่าฐานะทางบ้านของนักเรียนแต่ละคนอยู่ในระดับปานกลางถึงดี วันต่อมาครูโชติรสจึงถามนักเรียนว่าทำไมนักเรียนถึงไม่ฝากเงินกับครู มีนักเรียนชายคนหนึ่งตอบว่า “ถ้าผมฝากเงินกับครูแล้วผมจะได้เงินคืนไหมครับ ปีที่แล้วผมฝากเงิน แต่ผมไม่ได้เงินคืน ” ครูโชติรสถึงกับอึ้งกับคำถามของนักเรียน ขณะนั้นครูโชติรสไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับนักเรียน ครูโชติรสจึงกล่าวว่า “ได้สิค่ะ” แล้วก็ชี้แจงการเก็บออมเงินให้นักเรียนทุกคนฟัง ครูจะชี้แจงความคืบหน้าของบัญชีเงินทุกๆเดือน นักเรียนจะได้รู้ว่าตนเองฝากมากน้อยเท่าไร และครูโชติรสพูดโน้มน้าว พูดให้นักเรียนไว้วางใจ จากนั้นเป็นต้นมา นักเรียนก็เกิดความไว้วางใจครู และทุกคนได้นำเงินมาฝากออมทรัพย์กับครูโชติรสทุกวันอีกด้วย </p> <p class="MsoNormal" style="text-align:center;line-height:normal" align="center"> </p> <p class="MsoNormal" style="text-align:center;line-height:normal" align="center"> ขุมความรู้จากเรื่องที่เล่า </p> <p class="MsoNormal"> ปัญหา : นักเรียนไม่ไว้วางใจครูนักเรียนจึงไม่ฝากเงินออมทรัพย์กับครู </p> <p class="MsoNormal"> วิธีการแก้ปัญหา : ทำพฤติกรรมให้นักเรียนไว้วางใจ เชื่อใจ และมีบัญชีการเก็บเงินออมทรัพย์อย่างเป็นระบบ และชี้แจงความเคลื่อนไหวของยอดเงินนักเรียนทุกๆเดือน </p> <p class="MsoNormal"> ผลที่เกิดขึ้น : นักเรียนเกิดความไว้วางใจครู และทุกคนได้นำเงินมาฝากบัญชีออมทรัพย์กับครูประจำชั้นทุกวัน </p> <p class="MsoNormal"> แก่นความรู้ที่ได้รับ : ครูจะต้องเป็นบุคคลที่นักเรียนไว้วางใจได้ในเรื่องทุกเรื่อง เพราะนอกจากพ่อแม่แล้ว นักเรียนก็จะมีครูที่นักเรียนจะพึ่งพาอาศัย ในวันหนึ่งๆ นักเรียน จะใช้ชีวิตอยู่กับครูที่โรงเรียนเป็นส่วนใหญ่ ทำกิจกรรมต่างๆอยู่กับครู ดังนั้นครูจึงจำเป็นต้องเป็นบุคคลที่นักเรียนไว้วางใจได้ เป็นคนดี และเป็นมิตรกับนักเรียนทุกคน </p> <p class="MsoNormal" style="line-height:normal"> กลยุทธ์ในการทำงาน : เนื่องด้วยที่โรงเรียนได้มีการเก็บสะสมเงินออมทรัพย์ของนักเรียนเช่นกัน ก็จะนำเรื่องนี้เป็นข้อเตือนใจ ให้ครูทำพฤติกรรมที่น่าไว้วางใจ จัดทำบัญชีเงินออมทรัพย์อย่างเป็นระบบ มีการแจ้งยอดเงินให้นักเรียนได้ทราบอยู่เป็นประจำด้วย และรักษาบัญชีออมทรัพย์ไว้เป็นอย่างดี พอสิ้นเทอมก็รวมเงินของนักเรียนแต่ละคน แล้วคืนเงินให้นักเรียน </p> <p class="MsoNormal" style="line-height:normal"> </p> <p class="MsoNormal" style="line-height:normal"> </p> <p class="MsoNormal" style="line-height:normal"> ลงชื่อ………………………………….. ผู้บันทึก </p> <p class="MsoNormal" style="line-height:normal"> (นางสาวเสาวลักษณ์บรรดาศักดิ์) </p> <p class="MsoNormal"> </p>

คำสำคัญ (Tags): #story telling
หมายเลขบันทึก: 580181เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2014 20:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2014 20:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท