บันทึกอนุทินครั้งที่ 6 เรื่อง การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ)


บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

เรื่อง การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ)

นางสาวประมวล พยัคฤทธิ์ รหัส 57D0103109 ป.โท สาขาหลักสูตรและการสอน ภาคพิเศษ รุ่นที่ 13 หมู่ 1

รายวิชา การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ 102611

วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2557

อาจารย์ผู้สอน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศร เนาวนนท์

องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization : LO) ในความหมายของโรงเรียนเทศบาล 4 นั้น LO คือ การถาม การตอบ แลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และเป็นการแข่งขันการพัฒนากับโรงเรียนอื่นๆ การจัดทำ LO จะใช้แนวคิดของบิลเกต ที่ว่า ทรัพย์สินทางปัญญามีค่าเท่ากับการเก็บรักษากล้วยหอมเท่านั้น และ ยิ่งให้มากเท่าไหร่ ยิ่งได้มากเท่านั้น มาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการจัดทำ LO ในสถานศึกษา ซึ่งการจัดทำ LO นั้น จะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ตามโมเดลของ Senge ได้แก่ 1)ระดับองค์กร คือการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน 2)ระดับกลุ่ม คือการเรียนรู้จากกันและกัน 3)ระดับปัจเจกบุคคล คือการใฝ่รู้ มุ่งมั่นในการทำงาน หมั่นฝึกฝน ไม่ยึดติด ซึ่งเมื่อทั้ง 3 ระดับดำเนินไปด้วยกัน ไปพร้อมๆ กัน ก็จะกลายเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ หรือ LO และ KM หรือ Knowledge Management เป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่นำไปใช้ในองค์กร ให้องค์กรเกิดการเรียนรู้ เป็นเครื่องมือที่ช่วยพัฒนางาน เป็นเครื่องมือที่คอยดึงศักยภาพของคนออกมาใช้ หรือที่เราชอบเรียก KM ว่า การจัดการความรู้ ซึ่งความรู้ที่เราจะนำมาจัดการนั้น มีอยู่ 2 ประเภท คือ Explicit Knowledge และ Tacit Knowledge การจัดการความรู้ของโรงเรียนเทศบาล 4 จะจัดการความรูทั้ง 2 ประเภทไปพร้อมกัน

ความรู้ชัดแจ้ง หรือเด่นชัด สามารถเชื่อมโยงกับความรู้ฝังลึก หรือซ่อนเร้น ได้ ด้วยเทคนิคการจัดการในส่วนของความรู้ชัดแจ้ง คือ การรวบรวมจัดเก็บการเข้าถึงตีความ การนำไปปรับใช้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อยกระดับความรู้ด้วยกระบวนการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยี (2T) ในส่วนของความรู้ฝังลึก คือ การเรียนรู้ร่วมกันเพื่อสร้างความรู้และยกระดับความรู้ให้สูงขึ้น นำไปปรับใช้ แล้วสรุปบทเรียนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันต่อไป กระบวนการดังกล่าว เน้นที่ คน และกระบวนการ (2P) เมื่อดำเนินการเช่นนี้แล้วจะทำให้วงจรพัฒนาคนด้วยการจัดการความรู้ เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

หลังจากนั้นท่านผู้อำนวยการก็ได้อธิบายเชื่อมโยงไปถึงวงจรปลาทู ว่าวงจรปลาทูจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน

ส่วน "หัวปลา" (Knowledge Vision- KV) หมายถึง ส่วนที่เป็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์ หรือทิศทางของการจัดการความรู้ โดยก่อนที่จะทำจัดการความรู้ ต้องตอบให้ได้ว่า "เราจะทำ KM ไปเพื่ออะไร" โดย "หัวปลา" นี้จะต้องเป็นของ "คณกิจ" หรือ ผู้ดำเนินกิจกรรม KM ทั้งหมด โดยมี "คุณเอื้อ" และ "คุณอำนวย" คอยช่วยเหลือ

ส่วน "ตัวปลา" (Knowledge Sharing-KS) เป็นส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ซึ่ง "คุณอำนวย" จะมีบทบาทมากในการช่วยกระตุ้นให้ "คุณกิจ" มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ โดยเฉพาะความรู้ซ่อนเร้นที่มีอยู่ในตัว "คุณกิจ" พร้อมอำนวยให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเป็นทีม ให้เกิดการหมุนเวียนความรู้ ยกระดับความรู้ และเกิดนวัตกรรม

ส่วน "หางปลา" (Knowledge Assets-KA) เป็นส่วนของ "คลังความรู้" หรือ "ขุมความรู้" ที่ได้จากการเก็บสะสม "เกร็ดความรู้" ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "ตัวปลา" ซึ่งเราอาจเก็บส่วนของ "หางปลา" นี้ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น ICT ซึ่งเป็นการสกัดความรู้ที่ซ่อนเร้นให้เป็นความรู้ที่เด่นชัด นำไปเผยแพร่และแลกเปลี่ยนหมุนเวียนใช้ พร้อมยกระดับต่อไป เพาะชำโมเดล เป็นนวัตกรรมหนึ่งที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อดำเนินการการเป็นองค์กรแห่งการเรียน รู้ในสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) ซึ่งดำเนินการได้อย่างเป็นระบบครอบคลุมทั้ง 4 กลุ่มงาน 4 ช่วงชั้น และ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ บุคคลในองค์กรให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี มีความรับผิดชอบ มีความสามัคคี ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จในการจัดองค์กรแห่งการเรียนรู้ และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับสถานศึกษาอื่น

บรรยากาศของการศึกษาดูงาน

เพื่อนนักศึกษาทุกคนให้ความร่วมมือในการศึกษาดูงาน มีความกระตือรือร้น ตรงเวลา แต่งกายสุภาพให้เกียรติวิทยากรและสถานที่ มีความสนใจในการฟังการบรรยายครั้งนี้เป็นอย่างดี สังเกตได้จากการฟังแล้วจดบันทึก มีการถามคำถามกับวิทยากร และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

การนำไปประยุกต์ใช้

ท่านผู้อำนวยการโรงเรียน และเจ้าหน้าที่โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) ให้การต้อนรับคณะนักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน รุ่นที่ 13 เป็นอย่างดี ในการศึกษาดูงานครั้งนี้ ห้องประชุมสะอาด สื่อที่ใช้มีความทันสมัย เหมาะสมในการรับฟังการบรรยาย การบรรยายในวันนี้ ถือได้ว่าเป็นหัวข้อที่มีประโยชน์อย่างมาก เพราะสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการนำมาใช้ในองค์กรได้จริง

คำสำคัญ (Tags): #หนังสือ
หมายเลขบันทึก: 580087เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2014 22:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2014 22:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท