After Action Review 3 อบรมทิศทางและแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรและการสอนในศตวรรษที่ 21 เมื่อวันที่ 31 ส.ค. 2557 โดย ท่าน รศ.ดร.พิมพันธ์ เดชะคุปต์


After Action Review 3

อบรมทิศทางและแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรและการสอนในศตวรรษที่ 21 เมื่อวันที่ 31 ส.ค. 2557

โดย ท่าน รศ.ดร.พิมพันธ์ เดชะคุปต์

นางสาวประมวล พยัคฤทธิ์ รหัส 57D0103109 ป.โท สาขาหลักสูตรและการสอน ภาคพิเศษ รุ่นที่ 13 หมู่ 1

รายวิชา การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ 102611

วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557

อาจารย์ผู้สอน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศร เนาวนนท์

การเข้าร่วมอบรมโครงการการอบรมทิศทางแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรและการสอน ในวันที่ 31 สิงหาคม 2557 โดย ดร.พิมพันธ์ เดชะคุปต์ ในการจัดการเรียนรู้แต่ละคนได้พัฒนาตนเองสูงสุด ตามศักยภาพของแต่ละคน เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ความต้องการ ความถนัด และมีวิธีการสอนที่หลากหลายวิธี อย่างการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้น (5 step) มีขั้นระบุคำถาม (Learning to Question) คือการทำให้นักเรียนเกิดความสงสัย การคาดคะเนคำตอบหรือตั้งสมมติฐาน คำตอบอาจไม่ถูกต้อง แต่ครูไม่มีการเฉลยคำตอบ ต่อมาคือขั้นแสวงหาสารสนเทศ (Learning to Search) คือการพิสูจน์เพื่อหาคำตอบ และขั้นสร้างความรู้ (Learning to construct) มีการสะท้อนความคิดกัน และแต่ละกลุ่มปรับแก้ไขความรู้ที่สร้างขึ้นเอง ขั้นต่อมาขั้นสื่อสาร (Learning to Communicate) เป็นการนำเสนอความรู้ที่ได้จากการสร้างความรู้ความเข้าใจหน้าชั้นเรียน และขั้นสุดท้ายคือขั้นตอบแทนสังคม (Learning to Server) นักเรียนนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่างๆได้ สำหรับเทคนิคการใช้พหุปัญญา(Technique of using multiple intelligences) พหุปัญญา ประกอบด้วยปัญญา 8 ด้าน ประกอบด้วย ปัญญาด้านภาษา ปัญญาด้านการคิดปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ ปัญญาด้านรอบรู้ธรรมชาติ ปัญญาด้านดนตรี ปัญญาด้านการเคลื่อนไหว ปัญญาด้านสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ปัญญาด้านรู้จักตนเอง และมีวิธีการสอนที่น่าสนใจคือ การสอนแบบวิธีนิรนัย PPP teaching model ,P– presentation (บอก/ อธิบาย), P- practice (ทำแบบฝึกหัด), P- production (นำความรู้ไปใช้สร้างชิ้นงาน) การสอนแบบวิธีนิรนัยนี้ ครูจะเป็นศูนย์กลาง คอยป้อนความรู้และจัดวางแผนทั้งหมด แต่หากเป็นการสอนแบบวิธีอุปนัยจะเป็น CIP-PPP teaching model (CIP-3P teaching model) เป็นการสอนแบบอ้อม สอนโดยเด็กเป็นศูนย์กลาง C- Construct of new knowledge (การสร้างความรู้) I- interaction (ปฏิสัมพันธ์), P- process of learning (กระบวนการเรียนรู้), P– presentation (บอก/ อธิบาย), P- practice (ทำแบบฝึกหัด), P- production (นำความรู้ไปใช้สร้างชิ้นงาน) การสอนแบบวิธีอุปมัยจะเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ คิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก ไม่ว่าจะเป็นการสอนแบบใด การสอนทุกวิธีล้วนมีจุดหมายเดียวกัน คือให้ผู้เรียนมีความรู้ และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

บรรยากาศในห้องเรียนเต็มไปด้วยความสนุกสนาน ดร.พิมพันธ์เดชะคุปต์ พูดเร็วมาก และพูดบรรยายในหัวข้อที่น่าสนใจมาก มีการแสดงความคิดเห็นและเล่นเกม ทุกคนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีและตั้งใจฟังดีมาก

การนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน ดิฉันคิดว่าการสอนแบบวิธีอุปมัย CIP-PPP การสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็นการสอนแบบอ้อม ให้ผู้เรียนสร้างความรู้ คิด บอก อธิบาย นำไปสร้างเป็นชิ้นงาน ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก เหมาะสมกับการสอนภาษาอังกฤษ สามารถนำมาใช้กับการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยให้นักเรียนออกแบบสมุดคำศัพท์ เขียนคำศัพท์ที่นักเรียนสนใจ และนำมาส่งเป็นชิ้นงาน

คำสำคัญ (Tags): #หนังสือ
หมายเลขบันทึก: 580082เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2014 21:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2014 21:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท