บันทึกอนุทินครั้งที่ 4 เรื่อง การจัดการความรู้ (KM)


บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

เรื่อง การจัดการความรู้ (KM)

รายวิชา การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ 102611

วันอาทิตย์ ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2557

อาจารย์ผู้สอน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศร เนาวนนท์

ผู้บันทึก นางสาวประมวล พยัคฤทธิ์ รหัส 57D0103109 หลักสูตรและการสอน ภาคพิเศษ รุ่นที่ 13 หมู่ 1

ความรู้ความเข้าใจที่ได้รับ

การจัดการความรู้ คือ การจัดการความรู้หรือที่เรียกย่อๆว่า KM คือเครื่องมือเพื่อใช้ในการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 3 ประการไปพร้อมๆกัน ได้แก่ บรรลุเป้าหมายของงานบรรลุเป้าหมายการพัฒนาคนและบรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคล หรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge)

เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)เป็น ความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม การจัดการความรู้นั้นมีหลายรูปแบบ มีหลากหลายโมเดล แต่ที่น่าสนใจ คือ การจัดการความรู้ ที่ทำให้คนเคารพศักดิ์ศรีของคนอื่น เป็นรูปแบบการจัดการความรู้ที่เชื่อว่า ทุกคนมีความรู้ปฏิบัติในระดับความชำนาญที่ต่างกัน เคารพความรู้ที่อยู่ในคน เพราะหากถ้าเคารพความรู้ในตำราวิชาการอย่างเดียวนั้น ก็เท่ากับว่าเป็นการมองว่า คนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ เป็นคนที่ไม่มีความรู้

การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

จากความรู้ที่ได้รับนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งเรื่องความรู้ซ่อนเร้น และความรู้เด่นชัด ที่เป็นเรื่องใกล้ตัวเรา อีกทั้งเป็นความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคลก็เป็นความรู้ที่เราสามารถนำมาใช้ในเหตุการณ์หรือประสบการณ์ต่างๆ ทั้งในและนอกสถานศึกษา การจัดการความรู้เป็นเหมือนกับความรู้ที่เราได้รับจากการถ่ายทอดและพรสวรรค์ของแต่ละบุคคล โดยเราสามรถนำการพัฒนาการเรียนรู้ที่หลากหลาย ทั้งการพัฒนาบุคคลให้มีความรู้ พัฒนาองค์กรให้มีความเข้มแข็งและฝึกให้ผู้เรียนใช้ทักษะในการคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหาเป็น

บรรยากาศในการเรียนการสอน

มีการใช้ทักษะการคิด การตอบคำถามโดยไม่นิ่งเฉย ทุกคนมีความสุขกับการเรียน อาจารย์จะคอยชี้แนะแนวทางให้นักศึกษาคิด มีการโต้ตอบ แสดงความคิดเห็นอยู่ตลอดเวลา และอาจารย์จะพูดหัวข้อโยงเข้ากับการเรียน นักศึกษาทำความเข้าใจตามที่มีการสอน คิดตาม และยกตัวอย่างที่มาจากประสบการณ์ของตนเอง มีการจดบันทึก ทำความเข้าใจกับเรื่องที่เรียน

คำสำคัญ (Tags): #หนังสือ
หมายเลขบันทึก: 580077เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2014 20:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2014 20:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท