การควบคุมคุณภาพของลำไย


เกล็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับการทำลำไย จากนู๋ยุ้ย :

ปัจจุบันเทคโนโลยีทางเคมี ช่วยให้ลำไยพัฒนาการเร็วขึ้น

เกษตรกรส่วนใหญ่ มักจะดูแลผลผลิตในเรื่องของขนาด และสีผิวของลำไย ด้วยการใช้ปุ๋ยเคมี และฮอร์โมน ยากำจัดเชื้อรา รวมไปถึงใช้เคมีเพื่อการกัดกร่อนผิวของลำไย...เท่านั้น

ทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่ขาดการดูแลเรื่องสำคัญอีกประการหนึ่งคือ...คุณภาพของเนื้อลำไย ด้วยการตรวจระดับของความหวานของเนื้อลำไย

ปกติ ขนาดของลำไยจะขยายเพิ่มขึ้นทุกๆ วัน เมื่อได้รับน้ำที่เพียงพอ และเปลือกลำไยยังสามารถขยายตัวต่อไปได้..เรื่อยๆ

เมื่อลำไยสุุกจนเริ่มเข้าระยะแก่จัด แม้จะมีขนาดใหญ่ขึ้นมากก็จริง แต่ลำไยก็จะดึงน้ำตาลภายในเนื้อลำไยกลับไปใช้ ดังนั้น...ความหวานของเนื้อลำไยจะลดลง ตามระยะเวลาที่แก่จัดมากขึ้น..ค่ะ

เกษตรกรจึงควรหมั่นตรวจสอบขนาด ระดับความหวานของเนื้อลำไย ให้ได้ใกล้ระยะที่จะมีสัดส่วนที่เหมาะสม จากนั้นจึงทำการปรับแต่งสีผิวภายนอกของผลผลิต (หากต้องการ) เพื่อให้พอดีกับวันเก็บเกี่ยวผลผลิต จึงจะทำให้ได้ผลผลิตลำไย ที่มีคุณภาพ...สูงสุด

การนำเสนอคุณภาพของผลผลิตภายในสวนลำไย : นอกจากจะแสดงขนาด และสีผิวแล้ว เกษตรกรควรแสดงระดับความหวาน ต่อน้ำหนักผล หรือน้ำหนักของเนื้อลำไยต่อกรัม รวมไปถึงแสดงระยะเวลาที่ใช้ใน นับตั้งแต่วันที่ลำไยติดผล จนถึงวันเก็บเกี่ยวด้วย...ค่ะ

แม้จะดูเป็นเรื่องจุก..จิก แต่ข้อมูลที่ได้รับ จะเป็นแนวทางที่จะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรเอง ในการพัฒนา ปรับปรุง แก้ไขปัญหาด้านการผลิตลำไย เพื่อจะให้มีคุณภาพ

ข้อมูลต่างๆ ของเกษตรกรที่นำเสนอนั้น จะช่วยให้เกษตรกรท่านอื่นๆ ได้มีโอกาสศึกษาเปรียบเทียบ และนำแนวทางไปปฏิบัติ ซึ่งจะช่วยพัฒนาคุณภาพของผลผลิตลำไยในภาพรวมของไทย ให้ดีขึ้นด้วย...ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 579915เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2014 22:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มกราคม 2015 04:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท