"เทคนิคการผลิดผลลำไย" ด้วยการควบคุมปริมาณน้ำ ในช่วงลำไย....ลูกอ่อน


เกล็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับการทำลำไย จากนู๋ยุ้ย :

"เทคนิคการปลิดผลลำไย" ด้วยการควบคุมปริมาณน้ำ ในช่วงลำไย....ลูกอ่อน

การสร้างภาวะขาดน้ำในช่วงลำไยลูกอ่อนของเกษตรกรนั้น อาจส่งผลเสียมากกว่าผลดี

ทั้งนี้เพราะเมื่อลำไยเกิดภาวะขาดน้ำจริงๆ ตามธรรมชาติ จะส่งผลให้ลำไยเอาตัวรอดด้วยการปลิดลูก ปลิดช่อ สบัดใบ สลัดกิ่งอ่อน และสลัดกิ่งแก่ทิ้ง...ตามลำดับ

จนกระทั้ง กิ่งที่แห้งคาต้นอยู่นั้น ถูกเชื้อรา หรือกิ่งยังไม่ทันแห้ง ก็มีแมลงเจาะดูด มาเจาะ...อาศัยดูดน้ำเลี้ยงจากต้น (เพราะแมลงก็ต้องเอาตัวรอดในภาวะนี้...เหมือนกัน)

ดังนั้นลูกลำไยที่ไม่พร้อม ไม่สมบูรณ์ จะมีสีแดง เริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เริ่มแห้งแห้ง ตาย แต่ไม่ค่อยยอมหลุดร่วงไป

แต่บังเอิญว่า....บริเวณสวนลำไยดังกล่าว...ในอากาศ หรือในดิน.....มีปริมาณซัลเฟอร์สูง ลำไยจะเอาตัวรอดด้วยการ...ดึงซัลเฟอร์มาใช้ และสามารถลำเลียงธาตุอาหารมาใช้ได้ แม้จะมีน้ำน้อย หรือไม่มีน้ำก็ตาม...ลำไยจะไม่สบัดลูกทิ้ง

ผลที่เกิดขึ้นคือลูกลำไย....ไม่ร่วง แต่จะมีอาการ...ลูกแดง ออกน้ำตาล ส่งผลเสียทั้งช่อ จนกระทั้งเสียไปหมดทั้งสวน

ดังนั้นจึงไม่สนับสนุนให้เกษตรกรใช้วิธีดังกล่าว....ในการจัดการสวนลำไย

เกษตรกร...ควรเลือกใช้วิธีตัดแต่งช่อผลให้ให้มีจำนวนลูกลำไยต่อช่อ ให้เหมาะสม และดูแลให้ปุ๋ย ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ...ตามปกติ จะเป็นผลดีกว่าวิธีควบคุมน้ำ...ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 579914เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2014 22:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ตุลาคม 2019 18:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท