แนวคิดการใช้ศัตรูธรรมชาติควบคุมศัตรูพืช


มุ่งเน้นการลดการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชอย่างจริงจัง ในขณะเดียวกันชุมชนต้องมีความรู้ในการผลิตและใช้สารชีวภัณฑ์เช่น เชื้อราบิวเวอเรี่ย และเชื้อราไตรโคเดอม่า เป็นต้นและ มีการสำรวจตรวจนับแมลงในแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ ปัจจุบันยังมีความจำเป็นที่จะต้อง สร้างความเข้าใจร่วมกันกับอาสาสมัครเกษตรประจำหมู่บ้าน เกษตรกรผู้นำ ผู้นำชุมชน อปท.และหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง ต้องทำงานและกำหนดเป้าหมายในการทำงานร่วมกัน

                             

                     

                      แนวคิดการใช้ศัตรูธรรมชาติควบคุมศัตรูพืช โดยธรรมชาติมักจะสังเกตพบว่า นกกินแมลงศัตรูพืช จึงได้พยายามที่จะใช้วิธีการควบคุมโดยธรรมชาติให้เกิดประโยชน์ในการรักษาพืชผลทางการเกษตร ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการใช้ศัตรูธรรมชาติมาควบคุมศัตรูพืช โดยการการนำศัตรูธรรมชาติมาเพาะเลี้ยง แล้วนำไปปล่อยเพื่อควบคุมศัตรูพืช ซึ่งมีอยู่ ๒ แบบคือ ๑.ผลิตและขยายศัตรูธรรมชาติในท้องถิ่นสำหรับควบคุมศัตรูพืชในท้องถิ่น ๒. นำศัตรูธรรมชาติจากถิ่นเดิมมาผลิตและขยายสำหรับควบคุมศัตรูพืชในแหล่งอื่น


                     ในประเทศไทยได้มีการนำเข้าแมลงศัตรูธรรมชาติจากต่างประเทศเพื่อควบคุมแมลง ที่ระบาดในประเทศไทย เช่น ๑. การนำเข้าแตนเบียนแมลงดำหนามมะพร้าวในลักษณะมัมมี่(ซากหนอนตายที่มีดักแด้แตนเบียนอยู่ภายใน) จากประเทศเวียดนาม โดยความร่วมมือ FAO ซึ่งการใช้แตนเบียนอะซีโคเดสในการควบคุมแมลงดำหนามมะพร้าวในประเทศไทย ประสบผลสำเร็จทำให้การระบาดของแมลงดำหนามลดลง ๒. การใช้แตนเบียน Anagyrus Lopezi จากสาธารณรัฐเบนิน โดยใช้ร่วมกับวิธีการต่างๆ เช่นการแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังก่อนปลูก การปล่อยแมลงช้างปีกใส ทำให้ประสบผลสำเร็จในการควบคุมเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง



                       ในห้วงระยะเวลาที่ผ่านมาเมื่อต้นเดือนตุลาคม ๒๕๕๗   ท่านเกษตรจังหวัดลำปาง( นายสมพร เจียรประวัติ ) พร้อมด้วยทีมงานของกลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดลำปาง  ได้ลงพื้นที่เพื่อสำรวจและเเฝ้าระวังการระบาดของศัตรูข้าวในเขตอำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง พบว่า ศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว มีมากมายหลายชนิดที่เป็นทั้งตัวห้ำและตัวเบียน แต่ที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการควบคุมประชากรของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ได้อย่างมีประสิทธิภาพคือมวลเขียวดูดไข่ และแมงมุมสุนัขป่า

                  

                       


                    ลองมาทำความเข้าใจกับ มวนเขียวดูดไข่ เป็นตัวห้ำที่ดูดกินไข่ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและเพลี้ยจักจั่น ทำให้ไข่แฟบ มวนเขียวดูดไข่ตัวนี้เป็นศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่สำคัญมาก มักจะอพยพเข้ามาในนาข้าวพร้อมกับเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ถ้ามีมวนตัวห้ำมากกว่าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ๒-๓ เท่า ก็จะสามารถควบคุมไม่ให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพิ่มปริมาณจนถึงระดับทำลายความเสียหายแก่ข้าว


                       สำหรับ แมงมุมสุนัขป่า เป็นตัวห้ำที่กินเพลี้ยกระโดดและเพลี้ยจักจั่น ผีเสื้อหนอนกอข้าว ริ้นน้ำจืด และแมลงวันในนาข้าว ชอบกินตัวเต็มวัยของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมากกว่าตัวอ่อน สามารถกินตัวเต็มวัยมากกว่าตัวอ่อน สามารถกินตัวเต็มวัยได้ถึง ๒๔-๒๕ ตัวต่อวัน จะเข้าทำลายเหยื่อโดยอาศัยอยู่ตามบริเวณผิวน้ำกับโคนต้นข้าว เพื่อคอยดักเหยื่อ สามารถเคลื่อนไหวได้รวดเร็ว โดยวิ่งไปมาบนผิวน้ำระหว่างกอข้าว เป็นแมงมุมที่ไม่สร้างใยดักเหยื่อแบบแมงมุมทั่วไป ซึ่งสามารถจับเหยื่อกินโดยตรงตั้งแต่ตัวยังเล็กๆ มักไม่รวมกลุ่มเพราะจะกินกันเอง พบในนาข้าวตั้งแต่เริ่มหว่าน


                    เท่าที่ทีมงานได้ทำการศึกษา พบมีปัจจัยที่สำคัญในการอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติในแปลงนาอย่างยั่งยืน เกษตรกรชาวนาควรจะดำเนินการดังนี้ (๑) ต้องไม่ใช้สารที่มีพิษสูงต่อศัตรูธรรมชาติ และต้องหลีกเลี่ยงการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชในระยะกล้า หรือข้าวมีอายุไม่เกิน ๔o วัน เนื่องจากศัตรูธรรมชาติ เช่นมวลเขียวดูดไข่ จะอพยพมาพร้อมกับเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเจาะดูดทำลายไข่ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (๒) ควรเพิ่มแหล่งอาศัยให้แมลงศัตรูธรรมชาติ ได้อาศัยอยู่ตามต้นพืชเตี้ยๆหรือพืชล้มลุกอยู่บ้าง จะทำให้แมลงศัตรูธรรมชาติได้หลบอาศัยอยู่ในเวลากลางวันที่อากาศร้อนๆ (๓ ) เพิ่มแหล่งอาหารให้แก่ตัวเต็มวัยของแมลงศัตรูธรรมชาติ โดยเฉพาะตัวเบียน ซึ่งตัวเต็มวัยจะหากินโดยอิสระและส่วนใหญ่จะกินน้ำหวานจากดอกไม้และละอองน้ำ การสร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของแมลงศัตรูธรรมชาติ เช่นการปลูกพืชหมุนเวียน ฉีดพ่นน้ำให้บริเวณแปลงปลูกพืช ซึ่งเป็นการเพิ่มความชื้นจะสามารช่วยให้แมลงศัตรูธรรมชาติสามารถดำรงชีวิตและขยายพันธุ์ได้ ( ๔ ) ไม่เผาตอซังหลังการเก็บเกี่ยว เพราะการเผาตอซังจะทำลายระบบนิเวศและความสมดุลทางธรรมชาติ ศัตรูธรรมชาติจะถูกทำลาย ทำให้เกิดการระบาดของศัตรูพืชในช่วงต้นฤดูปลูก


           


                      ท้ายสุดนี้ ชุมชนต้องเข้ามีบทบาทในการอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ โดยเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน โดยมุ่งเน้นการลดการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชอย่างจริงจัง ในขณะเดียวกันชุมชนต้องมีความรู้ในการผลิตและใช้สารชีวภัณฑ์เช่น เชื้อราบิวเวอเรี่ย และเชื้อราไตรโคเดอม่า เป็นต้นและ มีการสำรวจตรวจนับแมลงในแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ ปัจจุบันยังมีความจำเป็นที่จะต้อง สร้างความเข้าใจร่วมกันกับอาสาสมัครเกษตรประจำหมู่บ้าน เกษตรกรผู้นำ ผู้นำชุมชน อปท.และหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง ต้องทำงานและกำหนดเป้าหมายในการทำงานร่วมกันต่อไป



เขียวมรกต

๓o ตค. ๕๗





หมายเลขบันทึก: 579490เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2014 22:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 ตุลาคม 2014 22:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับ และขอขอบคุณ คุณครูมะเดื่อที่กรุณาแวะมาทักทายและให้กำลังใจเสมอมา คิดถึงครับ

มีแมลงที่มีประโยชน์อยู่ในนาข้าวหลายชนิดนะครับ

คิดถึงโรงเรียนชาวนาที่สุพรรณและนครสวรรค์ครับ

ขอบคุณครับท่านอาจารย์ขจิต ที่กรุณาแวะมาทักทายกัน ยังมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เทคนิคของโรงเรียนชาวนาอยู่ครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท