ห้วยเตยโมเดลสู่การพัฒนาสุขภาพและผลผลิตโคนมเกษตรกรรายย่อยอย่างยั่งยืน


ปัจจุบันองค์ความรู้เรื่องการเลี้ยงโคนมมีอยู่มากมาย แต่ข้อจำกัดของการนำไปใช้ในการพัฒนาฟาร์มของเกษตรกรเกิดจากความรู้เหล่านั้นไม่สามารถตอบสนองตามสภาพความเป็นจริงของการเลี้ยงดูในแต่ละพื้นที่ กระบวนการจัดการความรู้จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างการพัฒนาดังกล่าวให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน เนื่องจากกระบวนการดังกล่าวทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักวิชาการและเกษตรกร และสร้างทางเลือกให้เกษตรกรนำผลงานวิชาการไปทดลองปฏิบัติในการพัฒนาฟาร์มตนเอง นอกจากนี้นักวิจัยสามารถสร้างงานวิจัยจากประเด็นปัญหาที่รับจากเกษตรกรทำให้งานวิจัยสามารถตอบและแก้ไขปัญหาของเกษตรกรได้ตรงประเด็น

หมายเลขบันทึก: 579436เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2014 16:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 ตุลาคม 2014 16:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท