​ความสุข ความผาสุก



                 วิถีชีวิตของประชาชนต่างจังหวัดโดยเฉพาะพื้นที่รอบนอกนั้นมีวิถีการดำเนินชีวิตที่อาศัยธรรมชาติเป็นเครื่องชี้วัดในการทำมาหากินทั้งนี้เพราะว่าธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำ ห้วย หนองคลองบึง ป่าไม้ ล้วนเป็นตลาดหรือซุปเปอร์มาเก็ตชั้นดีเพราะมีทุกอย่างที่สามารถนำมาประกอบเป็นอาหารเลี้ยงชีพสมาชิกในครอบครัวได้ ถือได้ว่าการดำเนินชีวิตของประชาชนเต็มไปด้วยความสุขหรือความผาสุก (Well-being)ที่มีอยู่กับธรรมชาติที่ล้อมรอบชุมชนอยู่ ซึ่งความสุขหรือความผาสุก (Well-being)นั้นเป็นความผาสุกคือสภาวะของการมีประสบการณ์แห่งความสุขเกษม ความปิติยินดี และความสุข ด้วยประสบการณ์ทางด้านจิตวิญญาณ ความเพียรพยายามในการตอบสนองต่ออุดมคติของตนเอง และด้วยการคงไว้ซึ่งลักษณะเฉพาะตัวของตัวเองอย่างไม่ลดละ และความผาสุก (Well-being) เป็นความรู้สึกเป็นสุข ซึ่งเป็นภาวะทางอารมณ์ทางบวกและอารมณ์ทางลบ นอกจากนั้นยังเป็นความรู้สึกพึงพอใจที่มีต่อชีวิตของตนเองในด้านต่างๆ ซึ่งประเวศ วะสี ให้ความหมายของความสุขไว้ว่า ความสุข คือ การรู้จักตนเองเข้าใจตนเอง และสามารถบังคับควบคุมตนเองอย่างถูกต้อง ทำให้เกิดความคิด การพูดและการกระทำต่างๆ ตลอดจนการเลี้ยงชีพอย่างถูกต้อง และมีจิตใจที่ผ่องใส มีความพากเพียร ความไม่ประมาท และความตั้งมั่น ทำให้เจ้าของชีวิตได้เข้าถึงเป้าหมายของการเกิดมาเป็นมนุษย์ คือมีชีวิตที่สงบเย็นและเป็นประโยชน์[1]


                  รวมทั้งพระธรรมปิฎก กล่าวว่ามีความสุข 2 แบบ คือ ความสุขจากภายใน หมายถึงความสงบใจตนเอง หรือมีความสุขจากการรู้เท่าทันเข้าใจความจริงของสิ่งของทั้งหลาย เป็นความสุขทางปัญญา เนื่องจากเห็นแจ้งความโปร่งใส ไม่มีความติดขัด บีบคั้นใจ ความสุขภายนอก คือ การมีสุขภาพดี การมีทรัพย์สินเงินทอง การมีอาชีพการงานเป็นหลักเป็นฐาน การมียศ ฐานะ ตำแหน่ง การเป็นที่ยอมรับในสังคม การมีมิตรสหายบริวารและการมีชีวิตครอบครัวที่ดี[2]


            สรุปได้ว่า ความสุขเป็นสภาพชีวิตที่เป็นสุขเป็นผลจากการมีความสามารถในการจัดการแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต บุคคลที่มีความสุขคือ บุคคลที่ไม่มีความรู้ที่คั่งค้าง หรือมีอดีตที่คอยรบกวนให้ไม่สบายใจ สามารถขจัดความรู้สึกและเรื่องที่คั่งค้าง (Unfinished business) ภายในจิตใจให้หมดไปได้ ใช้พลังความสามารถที่มีอยู่ อยู่กับปัจจุบันและบุคคลที่มีสุขภาพจิตดี คือผู้ที่รับรู้ความรู้สึก ความต้องการของตนเอง สัมผัสถึงสิ่งเร้าภายในตัวเอง ตลอดจนรับรู้ถึงสภาพแวดล้อม และความสัมพันธ์ของตนเองกับสภาพแวดล้อม ได้ถูกต้อง ใช้ความนึกคิด ความรู้สึก และประสาทสัมผัส อยู่ในสภาวะปัจจุบัน ไม่ปล่อยให้ตัวเองติดตรึงอยู่กับอดีตหรือคอยคำนึงหวาดหวิดถึงอนาคตที่ยังไม่เกิด

เอกสารอ้างอิง

1. ประเวศ วะสี, ทิศทางอนาคตไทยเพื่อความสุขถ้วนหน้า, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน, 2530)

2. พระธรรมปิฎก, พุทธธรรม : ฉบับขยายความ, พิมพ์ครั้งที่ 8, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541)

3. ภาพประกอบ : ถ่ายเอง

หมายเลขบันทึก: 579425เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2014 14:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 ตุลาคม 2014 14:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท